Data-Driven คือ

Data Driven เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของการทำ Digital Marketing และวางกลยุทธ์ในยุคปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในยุคที่ต้องใช้ข้อมูลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจด้านกาบริหารธุรกิจ ทำให้การทำ Data Analytics กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการวางแผนงานต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

Data-Driven คืออะไร?

Data-Driven คือ การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ของจากหลากหลายช่องทาง มาทำการรวบรวมและวิเคราะห์ วัดผล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาสินค้า บริการ แนวทางการตลาด แนวทางการทำ Social Media Marketing ไปจนถึงแนวทางการทำ Customer Relationship Management (CRM) ให้ตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค ไปจนถึงการบริหารองค์กร การบริหารบุคคลและการตัดสินใจต่าง ๆ ด้วย Data-Driven

5 ขั้นตอนการใช้ Data-Driven เพื่อทำธุรกิจ

 1. กำหนดเป้าหมายในการทำ Data Driven Strategy 

การตั้งเป้าหมายและกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ Data-Sriven ให้ชัดเจนเพื่อที่จะทำให้คุณได้ทราบว่า ต้องทำการเก็บข้อมูลอะไรที่เกี่ยวข้องบ้างเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น หรือรูปแบบของข้อมูลที่ต้องการนั้นมีอะไรบ้าง เช่นหากธุรกิจของคุณต้องการหา Leads ใหม่ ๆ ผ่านช่องทางเว็บไซต์คุณก็อาจจะแค่โฟกัสกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านเว็บไซต์ที่ธุรกิจเคยได้เก็บมา โดยไม่ต้องสนใจข้อมูลในแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเลย 

 2. กำหนดแหล่งข้อมูลทั้งหมด ที่เป็นส่วนสำคัญในการทำ Data Analysis 

ขั้นตอนต่อมาคือ การกำหนดแหล่งข้อมูลทั้งหมด ที่เป็นส่วนสำคัญในการทำ Data Analysis รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้วางแผนในการทำการตลาดต่อไป ซึ่งในการกำหนดแหล่งข้อมูลนี้มักต้องอาศัยแหล่งข้อมูลจำนวนมากมาประกอบในการตัดสินใจและวางแผนการทำการตลาดอย่าง Open Data ที่เป็นเว็บไซต์เปิดให้นำข้อมูลไปใช้ได้ฟรีเช่น งานวิจัย ผลสำรวจ ฯลฯ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการทำการตลาดของคุณ เป็นต้น

 3. รวบรวม Data ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายให้มากที่สุด 

จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการเก็บรวบรวม Data ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย โดยเทคนิคที่เราอยากจะแนะนำก็คือให้คุณรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งหรือทุกแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องมาเก็บไว้ในที่เดียวกัน (ทำเหมือนเป็น Big Data ของบริษัท) เพื่อให้ทีมสามารถนำไปใช้งานได้ง่ายและสะดวก ลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น

 4. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data)

เมื่อได้ข้อมูลสำหรับการทำ Data-Driven ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ เพื่อที่จะสามารถเลือกรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมและผลักดันกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจคุณต่อไปได้ โดยรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) ที่เราจะแนะนำก็มีด้วยกันดังนี้

  • Descriptive Analytics คือการวิเคราะห์แบบพื้นฐาน โดยวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
  • Diagnostic Analytics คือการวิเคราะห์เพื่อทำ Data-Driven แบบวินิจฉัย เป็นการค้นหาสาเหตุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัยใดผ่านการความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันทางใดทางหนึ่ง
  • Prescriptive Analytics คือการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ เป็นการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สิ่งที่ควรจะทำในอนาคต
  • Predictive & Prescriptive Analytics คือการวิเคราะห์แบบพยากรณ์ หรือคาดการณ์แนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากในอดีตเป็นวิธีที่นิยมใช้กันในการทำ Data Driven

การเลือกว่าคุณจะใช้รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการทำ Data-Driven แบบใด ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจและแหล่งข้อมูลที่คุณได้เตรียมมาใช้ แต่ทั้งนี้ทุกรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการทดลองทำหลาย ๆ แบบเพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะทำให้คุณหารูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการทำ Data-Driven ที่เหมาะสำหรับธุรกิจของคุณมากที่สุดได้

 5. การนำ Data Insight มาประยุกต์ใช้งาน 

หัวใจหลักของการทำ Data-Driven คือการเปลี่ยน Insights หรือผลของการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาให้นำมาสร้างผลลัพธ์กับธุรกิจให้ได้ โดยนำ Insights ที่ได้มาตั้งสมมติฐาน ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ และหมั่นวัดผลการทดลองอยู่เสมอ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพจากพฤติกรรมของลูกค้าจริง ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงเหมือนในปัจจุบัน

5 ประโยชน์ของ Data-Driven ต่อธุรกิจในปัจจุบัน

ประโยชน์ Data-Driven Marketing

1. Data-Driven ช่วยในการทำ Research Keyword เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล Insight 

“เว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าแรกของ Google จะสามารถเพิ่ม Traffic เข้าเว็บไซต์ได้ถึง 95%”

การทำ Data-Driven ช่วยในการทำ Research Keyword เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล Insight ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากธุรกิจของคุณมีการนำข้อมูลในส่วนของเว็บไซต์ มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาถึงสิ่งที่ผู้คนพูดถึงธุรกิจของคุณผ่านการใช้งาน Social Listening Tools คุณก็จะสามารถรู้ถึง Keyword สำคัญบางคำที่เป็นคำที่กลุ่มเป้าหมายกำลังพูดถึงหรือใช้ในการค้นหาธุรกิจของคุณ แล้วนำ Keyword เหล่านั้นมาใช้ในการทำ SEO เพื่อทำให้เว็บไซต์ได้ Traffic มากขึ้นจนติดอันดับการค้นหาบน Search Engine อีกทั้งคุณยังได้ทราบถึงข้อมูล Insight ที่สำคัญของลูกค้าจากการทำ Data-Driven ด้วยว่า พวกเขามีความต้องการอะไร (จากการทำ Keyword Research) แล้วนำความต้องการนั้นมาปรับกับการทำ SEO และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของคุณต่อไปในอนาคต

2. Data-Driven ช่วยให้ธุรกิจรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ 

89% ของผู้บริโภคเปลี่ยนใจซื้อสินค้า และบริการกับแบรนด์ที่ให้บริการแล้วสามารถมอบประสบการณ์เชิงบวกให้กับลูกค้าได้

ในการทำ Data Driven นั้นถึงแม้ว่าจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าและบริการของเราโดยตรง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดเพราะการทำ Data Driven ที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจรู้ความสัมพันธ์ รู้ที่มาที่ไปของข้อมูลต่าง ๆ เช่น การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในด้านการบริการมีมากแค่ไหน รู้ว่าทำไมลูกค้าถึงเลือกใช้งานสินค้าและบริการของธุรกิจเรา

แต่หากคุณไม่ได้ใช้ Data เข้ามาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ก็อาจจะทำให้ตัวคุณไม่รู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนสำคัญต่าง ๆ เช่น ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า เพราะสินค้าของเราไม่เป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนั้น ๆ ดังนั้นการทำ Data Driven ในการทำการตลาดจะช่วยให้ธุรกิจออกแบบสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นผ่านการเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูล

3. Data-Driven ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางกลยุทธ์ได้แม่นยำ จากการทำ Data Analysis 

การทำ Data-Driven ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางกลยุทธ์ได้แม่นยำ จากการทำ Data Analysis ถือเป็นขั้นตอนไฮไลท์สำคัญที่จะบ่งบอกว่าการทำ Data Driven ของคุณมีประสิทธิภาพและนำไปใช้งานต่อได้จริงหรือไม่ เพราะการทำ Data Driven ที่ดีนั้นจะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และวัดผลลัพธ์ (Data Analysis) ทำให้คุณวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจต่อไปได้ดียิ่งขึ้น แม่นยำ และไม่เสียเวลาไปกับการทำการตลาดที่ไม่มีทิศทางหรือไม่ตอบโจทย์ในการซื้อสินค้า

เพราะแน่นอนว่าธุรกิจแต่ละประเภทมีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน อยู่ในพื้นที่ต่างกัน และมีการทำโฆษณาที่ไม่เหมือนกัน หากคุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำมาต่อยอดได้มากเท่าไหร่ การตัดสินใจในการทำกลยุทธ์ครั้งต่อไปก็จะทรงพลังและนำไปสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้จริง 

4. Data-Driven ช่วยในการวัดผลการดำเนินงาน จากการทำ Performance Tracking 

การทำ Data-Driven ยังมีส่วนช่วยในการวัดผลการดำเนินงานจากการทำ Performance Tracking ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจาก Tools จำพวก Dashboard ที่คอยรายงานข้อมูลผลลัพธ์ในการทำการตลาดแบบ Real Time โดยเฉพาะการทำการตลาดแบบ Omni Channel ที่เป็นการทำการตลาดจากทั้งช่องทางออนไลน์ และช่องทางออฟไลน์ 

Data Driven กับการทำ Performance Tracking

โดยในการทำ Data-Driven Performance Tracking ที่ดีนั้นจะช่วยให้คุณเห็นถึงข้อมูลหรือความเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ที่ได้แบบอัปเดตตลอดเวลา ซึ่งทำให้การวัดผลการดำเนินงานของคุณสามารถปรับแก้ได้อย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์ เรียกได้ว่าพบรอยรั่วตรงไหนก็แก้ไขปัญหาได้ทันที ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมาก ๆ สำหรับในยุคการทำการตลาดดิจิทัลที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการทำงาน

5. Data-Driven ช่วยทำให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้า และพัฒนาสินค้าได้ตรงตามความต้องการ 

Data-Driven Marketing ช่วยให้ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ ROI เพิ่มสูงขึ้นเมื่อนักการตลาดทำการตลาดแบบ Personalized ถึง 5-8 เท่า

การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะช่วยสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้รู้จักกับลูกค้าของคุณมากขึ้นซึ่ง Data ที่นำมาวิเคราะห์นั้นสามารถใช้ข้อมูลด้าน Demographic และพฤติกรรมของลูกค้าในการใช้งานสื่อออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าเว็บไซต์ที่ธุรกิจสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มานั้นมาพัฒนาสินค้าและบริการต่อไปให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าต่อไป

หรือก็คือการทำ Data Driven สามารถต่อยอดการทำการตลาดแบบ Personalization ที่ทำให้ธุรกิจตอบโจทย์ตรงใจมากขึ้น โดยสินค้าและบริการที่มีการปรับปรุงมาใหม่ จากการทำ Data Driven สามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้หรือตอบสนองความพึงพอใจได้มากขึ้น รวมทั้งการสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับลูกค้าของคุณมากขึ้นได้อีกด้วย

 

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Data-Driven ในการทำธุรกิจ

ตัวอย่างที่ 1 : Netflix

ตัวอย่าง Data-Driven ของ Netflix

คุณเคยสงสัยไหมว่าทุกครั้งที่เข้า Netflix คุณจะได้พบกับคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการหรือสไตล์ในการรับชมคอนเทนต์ของคุณเสมอ นั่นเป็นเพราะว่า Netflix มีการทำ Data Driven ที่ต้องการสร้าง Personalized Marketing ให้กับผู้ชมผ่านการใช้งานตัวเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของ User (Data-Driven) ที่เป็นเทคโนโลยี AI โดยจะคัดเลือกหนังในแนวเดียวกับที่เราชอบดูอยู่บ่อย ๆ (แม้จะกดดูแค่ไม่กี่ตอน) หรือเคยกดค้นหาเอาไว้ขึ้นมาแสดงให้ User เห็นก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ รวมถึงภาพ Thumbnails ของคอนเทนต์แต่ละเรื่องทาง Netflix ก็จะมีการใช้ AI ตัวเดียวกันในการปรับเปลี่ยนภาพไปตามสไตล์การใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนด้วย 

ตัวอย่างที่ 2 : Spotify

ตัวอย่างที่ Data-Driven : Spotify

Spotify มีการทำ Data Driven ที่น่าสนใจและแหวกแนวมาก ๆ ก็คือการสร้างฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Wrapped ขึ้นมาโดยฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้งานเฉพาะช่วงสิ้นปีเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการนำ AI ของ Spotify มารวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนว่าในปีนั้นทั้งปี พวกเขาฟังเพลงอะไร ศิลปินคนไหน แนวเพลงที่ชอบ มากที่สุดในแต่ละปีเป็นอย่างไร หรือพูดง่าย ๆ ว่าเหมือนเป็น Report การใช้งานของ User แต่ละคน

Spotify เลือกที่จะนำ Data Driven ที่ตัวเองเก็บมาได้จาก User แต่ละคนมาโชว์ให้ผู้ใช้งานได้ทราบและสามารถแชร์ออกไปยัง Social Media ต่าง ๆ  ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย ฝั่ง User เองก็จะได้ข้อมูล Insight ของตัวเองและยังสร้างคอนเทนต์แสดงรสนิยมการฟังเพลงของตัวเองให้ผู้ติดตามใน Social Media ทราบได้ ฝั่ง Spotify เองก็ได้ทั้ง Brand Exposure จากการแชร์ของ User, ได้ผู้ใช้งานใหม่ ๆ และมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับ User จากการทำ Data-Driven ได้แบบเต็ม ๆ 

ข้อสรุปของ Data Driven 

ประโยชน์ของ Data Driven นั้นมีมากมายที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า ซึ่งถ้าหากเราสามารถปรับกลยุทธ์ และนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วนั้นก็จะยิ่งทำให้ธุรกิจของคุณสามารถสร้างการเติบโตได้ในอนาคตของการทำการตลาดดิจิทัล อีกทั้งการทำ Data Driven ยังต่อยอดไปสู่การนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจแบบอื่น ๆ เช่น Data Science, Data Analysis หรือการทำธุรกิจไปสู่โลก Metaverse ที่จะเข้ามามีบทบาทในระยะเวลาอีกไม่นาน



อ้างอิงข้อมูล
Sisense Team, 5 Steps to Data-Driven Business Decisions, https://www.sisense.com/blog/5-steps-to-data-driven-business-decisions/ 
Michelle Knight, What Is Data-Driven?, March 31, 2021, https://www.dataversity.net/what-is-data-driven/ 
Stéphane Kirchacker, 6 Ways a Data-Driven Approach Helps Your Organization Succeed, https://www.sinequa.com/blog/intelligent-enterprise-search/6-ways-a-data-driven-approach-helps-your-organization-succeed/ 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…