วิธีสังเกตเพจปลอม

เคยไหม? ไถฟีด Facebook อยู่ดี ๆ ก็เจอโพสต์รวมสินค้าแบรนด์ดังลดกระหน่ำ แถมยังลดเฉพาะช่องทางออนไลน์เท่านั้น ต้องคลิกลิงก์ Sale Page บนโพสต์ อย่าเพิ่งใจร้อน! สังเกตให้ดี ๆ ก่อน เพราะนั่นอาจเป็นโพสต์จากเพจหลอกโอนเงินก็ได้ หากคุณอยากทราบวิธีสังเกตเพจปลอมแบบสั้น ง่าย ตรงประเด็น Digital Tips รวมมาให้คุณแล้ว แชร์เก็บไว้ แล้วอย่าลืมส่งต่อให้เพื่อน ๆ ด้วยนะ

1. วิธีสังเกตเพจปลอมขั้นแรก: ดูยอดไลก์เพจก่อน

วิธีสังเกตเพจปลอมขั้นแรกไม่มีอะไรซับซ้อน ทันทีที่เห็นโพสต์แปลก ๆ ผ่านหน้าฟีด ให้คลิกที่ชื่อเพจก่อน เพื่อเข้าไปดูหน้าโปรไฟล์หลัก เพราะเพจปลอมเหล่านี้มักจะคัดลอกรูปโปรไฟล์และชื่อของเพจดัง ๆ มาใช้ ทำให้คนตกหลุมพรางได้ง่าย ๆ ดังนั้น หากคลิกเข้าไปแล้วพบว่า มียอดไลก์เพียง 2-3 ไลก์ หรือหลักสิบไลก์ ก็ฟันธงได้เลยว่าเป็นเพจปลอม

Alt: สังเกตยอดไลก์เพจปลอม

อย่างไรก็ดี หากเพจต้องสงสัยไม่ใช่การคัดลอกรูปและชื่อของเพจดังมาใช้ และมียอดไลก์ถึงหลักพัน ก็เป็นไปได้ว่าไม่ใช่เพจปลอม แต่อาจจะเป็นเพจใหม่ หรือไม่เคยยิงโฆษณามาก่อน ต้องสังเกตด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป


2. สังเกตเครื่องหมาย Meta Verified

Alt: Meta Veiried
ที่มา: https://about.fb.com/news/2023/09/meta-verified-for-businesses/

การสมัครขอใช้ติ๊กถูกสีฟ้า หรือชื่อทางการว่า Meta Verified จะต้องมีการยืนยันตัวตน 2 ขั้นบนเพจ และยืนยันตัวจริงซ้ำอีกครั้งด้วยเอกสารทางราชการ เช่น ใบขับขี่ หรือบัตรประชาชน ดังนั้น หากเพจใดก็ตามได้รับเครื่องหมายนี้ ก็สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเพจจริง อย่างไรก็ดี เพจบริษัทเล็ก ๆ ที่มียอดไลก์ประมาณหลักพันก็อาจไม่เคยสมัครขอใช้เครื่องหมายนี้ จึงไม่ได้หมายความเพจที่ไม่มี Meta Verified จะเป็นเพจปลอมเสมอไป


3. ลองเช็กว่าเพจเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อนหรือไม่

Alt: ประวัติการเปลี่ยนชื่อเพจ
ที่มา: https://dfrlab.org/2023/04/17/malware-masquerading-as-google-bard-ads-targets-millions-of-facebook-users/ 

เพื่อป้องกันข้อสงสัยเรื่องยอดไลก์ เพจมิจฉาชีพบางเพจจึงใช้วิธีไปซื้อเพจที่มียอดไลก์สูง ๆ แล้วนำมาเปลี่ยนชื่อ ปรับโฉม หรือปลอมตัวเป็นเพจอื่นให้ดูน่าเชื่อถือ แต่เชื่อหรือไม่? ไม่ว่าจะเปลี่ยนมาแล้วกี่ชื่อ คุณก็สามารถตรวจสอบได้ เพียงไปที่หน้าโปรไฟล์เพจ >> เลือกเมนู “เกี่ยวกับ (about)” >> ดูข้อมูล “ความโปร่งใสของเพจ (Page Transparency)” 


4. วิธีสังเกตเพจปลอมเชิงลึก: สังเกตดูไลก์และคอมเมนต์แต่ละโพสต์

วิธีนี้เหมาะแก่การสังเกตเพจต้องสงสัยที่ชอบปลอมตัวเป็นเพจดัง เนื่องจากเพจใหญ่ ๆ มักจะมียอดไลก์ ยอดแชร์ และคอมเมนต์ในแต่ละโพสต์เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเป็นเพจปลอมก็จะตรงกันข้าม หรือถ้าโพสต์ไหนมียอดไลก์ กับคอมเมนต์เยอะ ๆ สวนทางกับจำนวนไลก์ของเพจ ให้ลองคลิกเข้าไปดูว่า โปรไฟล์ของคนที่มาคอมเมนต์มีตัวตนจริง ๆ หรือไม่ หรือเป็นเพียงโปรไฟล์ปลอม มีเพื่อน 10 – 20 คนเท่านั้น


5. สังเกตรูปที่นำมาโพสต์

อีกหนึ่งวิธีสังเกตเพจปลอมคือการดูรูป เพราะรูปที่นำมาโพสต์เพื่อใช้หลอกคน มักจะเป็นรูปที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์ หรือ Facebook อื่น ๆ ซึ่งเป็นรูปถ่ายระยะไกล ไม่เห็นตัวคน ป้ายชื่องาน หรืออะไรก็ตามที่สามารถยืนยันวัน – เวลาของเหตุการณ์ที่อยู่ในภาพได้ เช่น รูปภาพคนต่อคิวรอซื้อของหน้า Shop นับร้อยคน แต่ดูแล้วไม่สามารถยืนยันได้ว่า Shop ไหน อีเวนต์อะไร หากเจอรูปแบบนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นเพจปลอม


6. สังเกต URL ของหน้า Sale Page ที่แปะไว้ให้ชอปออนไลน์

Alt: สังเกต URL เว็บไซต์ปลอม

ช่วงระยะ 2-3 เดือนมานี้ มิจฉาชีพหลอกสายชอปกำลังระบาดหนัก โดยวิธีที่มิจฉาชีพเหล่านี้ใช้ คือการทำโพสต์ลดกระหน่ำ หลอกคนที่ชอบชอปออนไลน์ ผ่าน Sale Page ที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อหลอกคนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ Sale Page ของมิจฉาชีพมักจะมี Interface คล้ายเพจจริงมากจนแทบไม่เห็นจุดแตกต่าง ให้คุณสังเกต URL ของเว็บไซต์ให้ดี ว่ามีตัวอักษรแปลก ๆ หรือ Domain Name แตกต่างจากเว็บไซต์จริงบ้างหรือไม่ เช่น เว็บไซต์จริงใช้ .com แต่ของมิจฉาชีพอาจเป็น .cc เป็นต้น


7. หากเป็นเพจรับสมัครงาน ลอง Search หาข้อมูลว่าบริษัทนั้นมีตัวตนจริง ๆ หรือไม่

บางครั้งมิจฉาชีพก็มาในนาม “ว่าที่นายจ้าง” ออกแบบประกาศรับสมัครงานปลอม ๆ เพื่อหลอกให้คนแอดไลน์ แล้วค่อยกล่อมให้เดินทางเข้าวงการแชร์ลูกโซ่ ดังนั้น ก่อนตบปากรับคำส่งเรซูเม่ไป แนะนำให้ลอง Search ข้อมูลดูก่อนว่าบริษัทนี้มีตัวตนจริง ๆ หรือไม่ ตั้งอยู่ที่ไหน และถ้ามี พวกเขามี Facebook Fanpage อยู่แล้วหรือไม่ เช็กให้แน่ใจ ก่อนสมัครงานผ่าน Facebook


สรุป

ทั้งหมดนี้ คือวิธีสังเกตเพจปลอมแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ เพราะมิจฉาชีพระบาดมากขึ้นทุกวัน หากรู้ไม่เท่าทันก็มีแต่จะเสียทรัพย์ หรืออาจเผลอแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือการฉุกคิด และสังเกตสิ่งต่าง ๆ อย่างใจเย็น ก่อนจะตัดสินใจทำบางสิ่งลงไป


อ้างอิง

McFree. How To Spot A Fake Facebook Account

Available from: https://www.mcafee.com/blogs/family-safety/spot-fake-facebook-account/ 

Kinsta. The Definitive Guide to Finding and Reporting Fake Facebook Pages

Available from: https://kinsta.com/blog/how-to-report-a-fake-facebook-page/

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…