Google Analytics คือ

อยากสร้างโอกาสการเข้าถึงลูกค้าบนเว็บไซต์ให้ถึงขีดสุด ต้องอาศัย Google Analytics ซึ่งเป็น เครื่องมือที่จะช่วยให้เหล่านักการตลาดทุกคน ได้รับรู้ถึงข้อมูลเบื้องลึกของเว็บไซต์ แล้วสามารถขำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้พัฒนากลยุทธ์การตลาดต่อไปได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

แถมบทบาทของเว็บไซต์ในยุคปัจจุบัน ยังมีแนวโน้มจะได้รับความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine จำนวนมาก เว็บไซต์จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ยอดเยี่ยม และ Google Analytics หรือ Google Analytics 4 ที่มีการอัปเดตใหม่เข้ามา จะกลายเป็นเครืองมือสำคัญที่ช่วยให้เราปรับปรุงเว็บไซต์ได้มีคุณภาพ ตรงต่อความต้องการของลูกค้าอย่างแน่นอน

Google Analytics คืออะไร 

Google Analytics (GA) คือ เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์ของเรา ให้ออกมาเป็นข้อมูลในเชิงสถิติ พร้อมด้วยเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา (SEO) ซึ่งเจ้าเครื่องมือตัวเก่งมาจาก Google Marketing Platform ที่เปิดให้ทุกคนได้เข้าใช้งานฟรี ขอเพียงแค่มีบัญชีกับ Google ก็ใช้งานได้เลยทันที

สำหรับรายละเอียดหน้าที่ของ Google Analytics อันแสนสำคัญในมุมมอง Digital Marketing นอกเหนือจากการวิเคราะห์ ก็ยังมีอีกหลายอย่าง ตามลิสต์ดังต่อไปนี้

  • ติดตามประสิทธิภาพของเว็บไซต์
  • รวบรวมข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม
  • ช่วยระบุแหล่งที่มาของการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน
  • วัดผลความสำเร็จของแคมเปญทางการตลาด
  • ค้นพบรูปแบบหรือแนวโน้มที่ได้รับการตอบรับ

Google Analytics ทำงานอย่างไร 

การทำงานของ Google Analytics

การทำงานของ Google Analytics คือ การรับข้อมูลจากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ผ่านการใช้แท็กเพจที่ถูกแทรกโค้ดลงในแต่ละหน้าของเว็บ เพื่อทำการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานแต่ละคน แล้วส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์รวบรวมข้อมูลของ Google โดยตรง และจากนั้น Google Analytics จึงทำการแสดงผลข้อมูลที่ได้มาเป็นแบบ Visual ให้ทุกคนสามารถมองเห็นข้อมูล Insight ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด

ทำไมธุรกิจควรมี Google Analytics 

เหตุผลที่ช่วยสนับสนุนให้ทุกธุรกิจควรมี Google Analytics อย่างมาก จะมาจากทางด้านคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถระบุแนวโน้ม และรูปแบบที่ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ รวมถึงด้านอื่นที่ประกอบไปด้วย

  • เครื่องมือในการสร้างภาพข้อมูลและตรวจสอบ รวมถึง Dashboard ดัชนีชี้วัด พร้อมภาพ Visual ที่อัปเดตตามข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบ Real Time
  • การกรองข้อมูล การจัดการ และการวิเคราะห์ช่องทาง
  • อินเทอร์เฟซโปรแกรมการรวบรวมข้อมูล API
  • การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์, ข่าวกรอง และการตรวจจับความผิดปกติ
  • การแบ่งกลุ่มสำหรับการวิเคราะห์ชุดย่อย
  • รายงานสำหรับโฆษณาที่กำหนดเอง, Acquisition, พฤติกรรมของผู้ชม และ Conversion
  • การแบ่งปันการสื่อสารทางอีเมล และการผสานร่วมกันกับเครื่องมืออื่น เช่น Google Ads, Google Data Studio, Salesforce Marketing Cloud, Google AdSense, Google Optimize 360, Google Search Ads 360, Google Display & Video 360, Google Ad Manager and Google Search Console

ภายใน Dashboard ของ Google Analytics ผู้ใช้งานทุกคนสามารถบันทึกโปรไฟล์สำหรับหลายเว็บไซต์ได้ และเข้าดูรายละเอียดทางด้านข้อมูลได้ตามกำหนด นับว่าเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการขับเคลื่อนการตลาด ในรูปแบบ Data Driven  

ข้อจำกัดของ Google Analytics 

ในเรื่องของจำกัด Google Analytics ที่เราจะกล่าวต่อจากนี้ เป็นมุมมองล่าสุดที่ Google ปรับ GA ธรรมดาให้กลายเป็น GA4 หรือก็คือ Google Analytics 4 ซึ่งเปลี่ยนไปทั้งหน้าตาของแพลตฟอร์มในการใช้งาน และมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ยังมีขีดจำกัดที่เป็นจุดอ่อนให้เราได้พบเจออยู่บ้าง เช่น 

  •     ไม่สามารถย้ายประวัติข้อมูลจาก Universal Analytics ไปยัง Google Analytics 4 ได้
  •     ขีดจำกัดในการรวบรวมข้อมูล แม้ว่า GA4 มีพารามิเตอร์ให้กำหนดเองถึง 25 รายการ แต่ก็อาจจะยังไม่มากพอสำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ และถ้าต้องการอัปเกรดเป็น Google Analytics 360 จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
  •     การปฏิบัติตามกฎ GDPR ของยุโรป ที่ทำให้เกิดขีดจำกัดในด้านการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานบางส่วน เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวเอาไว้ตามกฎดังกล่าว
  •     ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดิบได้ คุณจะได้เห็นเฉพาะข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ และนำเสนอในรูปแบบสรุปจาก GA4 เท่านั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : CTR หรือ Click Through Rate คืออะไร สำคัญต่อการยิง Ads อย่างไรบ้าง

ตัวชี้วัดที่สำคัญใน Google Analytics (Metrics)

รายงานที่มาจาก Google Analytics นั้นประกอบไปด้วยข้อมูลและเมตริกที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงข้อมูลในการรายงานได้อย่างแท้จริง การทำความเข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่าง จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ก่อนเข้าใช้งาน

Metrics & Dimensions บน Google Analytics

มุมมองใน Google Analytics (Dimensions) 

โดย Dimensions เป็น Attributes หรือป้ายกำกับเชิงคุณภาพที่ใช้เพื่ออธิบาย และจัดระเบียบข้อมูลบน Google Analytics เช่น หากมีการวัดความยาว Session เฉลี่ยในภูมิภาคต่าง ๆ หลางแห่ง มิติข้อมูลจะถูกกำหนดออกมาเป็น “ภูมิภาค” “ระยะเวลา Session โดยเฉลี่ย” ซึ่งเป็นการวัดแบบเชิงปริมาณ โดยเรายังสามารถปรับแต่งมิติข้อมูลได้เอง ตัวอย่างเช่น

  •     ภาษา
  •     ประเภทเบราว์เซอร์ที่ใช้
  •     เมืองและประเทศ
  •     รุ่นของอุปกรณ์
  •     กลุ่มอายุผู้ใช้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : CRM คืออะไร (Customer Relationship Management) มีระบบการทำงานอย่างไร

Metrics ต่างจาก Dimensions อย่างไร 

เพื่อให้การเปรียบเทียบระหว่างมิติข้อมูลต่าง ๆ บน Google Analytics มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการใช้ Metrics เข้ามาช่วยวัดเชิงปริมาณของข้อมูลประเภทเดียว เช่น ความยาวเซสชั่นเฉลี่ย, การดูหน้าเว็บ, จำนวนหน้าต่อเซสชั่น และเวลาเฉลี่ยบนเว็บไซต์ 

Tips: Sessions คือ ตัวเลขที่แสดงถึงการเปิดเข้ามาเยี่ยมชมบนหน้าเว็บไซต์ เป็น Metric ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนับสถิติ เพราะสามารถนับจำนวนครั้งได้ง่ายกว่า ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับจำนวนคนเข้าใช้งาน และมีความคลาดเคลื่อนน้อย

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Engagement คืออะไร ธุรกิจสร้าง Engagement จากอะไรได้บ้าง

Google Analytics สามารถวิเคราะห์ข้อมูลอะไรได้

ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลของ Google Analytics แบ่งได้ตามประเภทรายงาน 4 กลุ่มหลัก

Audience Report

รายงานประเภทแรกจาก Google Analytics เป็น Audience Report ที่จะเน้นการพูดถึงภาพรวมของข้อมูลเป็นหลัก นำเสนอในด้านประชากรศาสตร์ และแสดงถึง Sessions การเข้าชมเว็บไซต์ และการตอบโต้ที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อมูลด้านอื่น ๆ ได้แก่

Audience Report Google Analytics

  • จำนวนผู้ใช้งานโดยรวมในช่วงเวลาหนึ่ง
  • ผู้ใช้ใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนด
  • จำนวน Sessions โดยรวม
  • จำนวนครั้งที่ผู้ใช้แต่ละคนเข้าชมเว็บไซต์
  • จำนวนการดูหน้าเว็บต่อ Sessions โดยเฉลี่ย
  • เวลาเฉลี่ยที่ใช้บนเว็บไซต์
  • Bounce Rate 

Tips : Bounce Rate คือ Metric ที่ Google Analytics ใช้วัดผลประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดยอิงจากการตอบโต้ของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม ว่าเข้ามาเพียงหน้าเดียวแล้วออกไป หรือมีการโต้ตอบคลิกลิงก์ และเข้าชมหน้าอื่นเพิ่มเติมไหม หากมีเปอร์เซ็นต์จาก Bounce Rate มากเท่าไหร่ ยิ่งแปลว่าผู้ชมเข้ามาแล้วไม่ได้ตอบโต้อะไรกับเว็บไซต์เลย

 

Acquisition Report

Acquisition Report จะเป็นตัวช่วยรายงานจาก Google Analytics ว่าผู้คนค้นพบเว็บไซต์ของเราได้อย่างไร เช่น

Acquisition Report Google Analytics

  • ช่องทางการตลาดใดที่นำผู้ชมเข้ามา: การค้นหาทั่วไป, โฆษณาเสียค่าใช้จ่าย, อีเมล, Social Media ฯลฯ
  • แพลตฟอร์มไหนที่ส่งผู้ชมเข้ามา: Google, Bing, Facebook เป็นต้น

Keyword ไหนที่ช่วยให้ผู้คนพบเจอเว็บไซต์ของเรา (ต้องมีการซิงค์กับ Google Search Console ก่อน ถึงจะสามารถใช้งานได้)

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : CTA

Behavior Report

ความสามารถในการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ชมบนเว็บไซต์ มาจาก Behavior Report ของ Google Analytics ที่ทำไว้อย่างน่าสนใจ เพราะเราสามารถกำหนดข้อมูลรายงานที่สนใจได้ เช่น

Behavior Report Google Analytics

  • ผู้เข้าชมกำลังเปิดหน้าไหนอยู่
  • ระยะเวลาที่ผู้ชมเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์
  • เส้นทางไหนที่ผู้ชมกำลังเข้าใช้งาน
  • จุดไหนที่ทำให้ผู้คนออกจากเว็บไซต์ไป

ประโยชน์ที่ชัดเจนอย่างมากของ Google Analytics ผ่าน Behavior Report จะทำให้ทราบว่าเว็บไซต์ของเราได้มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุด ให้กับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมแล้วหรือยัง เราได้มอบเนื้อหาคอนเทนต์ที่ลูกค้าค้นหาอยู่หรือไม่ ถ้าหากว่ายัง เราจะมองเห็นจากการรายงานนี้ แล้วสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

Conversion Report

รายงานประเภทสุดท้ายของ Google Analytics คือ Conversion Report รายงานที่แสดงให้เราได้เห็นถึงเป้าหมายที่เรากำลังติดตามบนเว็บไซต์ ว่ามีประสิทธิภาพอย่างไร โดยเราสามารถนำข้อมูลจากรายงานชุดนี้มาใช้งานได้ด้านต่าง ๆ ดังนี้

Conversion Report

  • ติดตามการตอบโต้บนเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มจะเป็น Lead ผ่านการกรอกข้อมูล, ซื้อสินค้า, สมัครสมาชิก
  • ตรวจสอบอัตราการ Conversion และช่องทางทั้งหมด เพื่อพิจารณาว่าเหมาะสมหรือควรปรับปรุง
  • กำหนดแหล่งที่มาที่ให้ผลลัพธ์ Conversion ได้ดีที่สุด

ทำความรู้จักกับ GA4 หรือ Google Analytics 4 

หลังจากที่บางหัวข้อเราได้กล่าวถึง Google Analytics 4 (GA4) กันมาบ้างแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาอธิบายกันแบบชัดเจนอีกทีหนึ่ง ว่ามันคืออะไรกันแน่ สำหรับ GA4 นั้นเปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2020 ถือเป็นการยกเครื่องใหม่ทั้งหมดของระบบ Google Analytics เวอร์ชั่นก่อนหน้า ให้กลายมาเป็นรูปแบบใหม่หมดจด 

Google Analytics 4 มีอินเทอร์เฟซการใช้งานรูปแบบใหม่ที่ดูใช้งานง่ายขึ้น เปลี่ยนจากการพึ่งพาคุกกี้ของบุคคลที่ 3 ไปสู่การใช้งาน Machine Learning เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่แม่นยำกว่าเดิม สำหรับคุณลักษณะใหม่ที่มีเฉพาะใน GA4 คือ

  • Machine Learning และ AI ที่ชาญฉลาด
  • การผสานเข้ากันกับ Google Ads 
  • การรายงานที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
  • คุณสมบัติการติดตามแบบไร้โค้ดเพิ่มเติม สามารถให้ข้อมูลได้โดยมีเวลาน้อยลง
  • คุณสมบัติการควบคุมข้อมูลที่ปรับปรุงสำหรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการจัดการข้อมูล

ตอนนี้ธุรกิจไหนที่กำลังต้องการเครื่องมือช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์ ที่ค่อนข้างครอบคลุมต่อความต้องการ ควรรีบเข้าใช้งาน Google Analytics 4 ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน ทำความเข้าใจ Report ที่ได้รับ เพื่อนำไปสานต่อกลยุทธ์การตลาดให้แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Marketing Funnel คืออะไร กลยุทธ์การตลาดพื้นฐานสำหรับการทำธุรกิจ

วิธีการติดตั้ง Google Analytics (ฉบับอัพเดท GA4) 

ขั้นตอนในการติดตั้ง Google Analytics 4 จะมีทั้งหมด 7 ขั้นตอนด้วยกัน และก่อนอื่นคุณต้องมีบทบาท Editor Role สำหรับบัญชีที่ต้องการติดตั้ง GA4 ด้วย จากนั้นจึงทำตามคำแนะนำด้านล่าง ซึ่งสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องสนใจว่าก่อนหน้านี้มีการติดตั้งแท็ก Google Analytics (gtag.js หรือ analytics.js) แท็ก Google Ads (gtag.js) หรือคอนเทนเนอร์ Google Tag Manager หรือไม่

1. ในหน้า Google Analytics คลิกไปที่สัญลักษณ์เฟืองที่มีคำว่า “Admin”

คลิก Admin ในหน้า Google Analytics

2. เลือกที่เมนู GA4 Setup Assistant ที่อยู่ใต้แถว property

เลือกที่เมนู GA4 Setup Assistant

3.  คลิกที่ “Get Started” ได้เลย

คลิก Get Started เพื่อมเริ่มการติดตั้ง Google Analytics 4

4.  คลิกต่อไปที่ “Create Property”

ขั้นตอน Create property Google Analytics 4

5.  คลิกไปที่ปุ่ม See your GA4 property จากนั้นจะไปปรากฏที่หน้า Setup Assistant แล้วค่อยคลิกลูกศร (>) ที่อยู่ในช่อง Tag Installation เพื่อเข้าไปที่หน้า Data Streams

คลิกเลือก See your GA4 property

6.  คลิกไปต่อที่ลูกศร (>) ในช่อง

กดลูกศรเพื่อเข้าสู่หน้าถัดไป Google Analytics 4 Setup

7. ในหน้า Web Stream Details ให้มองหาช่อง Measurement ID ได้ที่มุมขวาบน เพียงเท่านี้การอัปเกรดเป็น GA4 ก็เสร็จสิ้นแล้ว

หน้าสุดท้ายที่ยืนยันว่าการติดตั้ง Google Analytics 4 เสร็จสมบูรณ์

เมนูที่นิยมใช้ใน GA4 

เจาะลึกเข้าไปอีกนิดเกี่ยวกับเมนูยอดนิยมหรือเมนูสุด COOL ที่อัปเดตเข้ามาใน Google Analytics 4 แล้วเราควรทำความรู้จักเอาไว้บ้าง

  • Audience-Based Conversion ความสามารถในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ชม
  • GA4 กับการวัดผลเรื่องเวลาการตอบโต้ ที่ช่วยให้เรารับรู้ได้ว่าผู้ชมใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะผ่านในแต่ละส่วน
  • Event Based Funnels ที่ให้เราสามารถเปรียบเทียบเส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของเว็บไซต์ จากการวัดพฤติกรรมของผู้ใช้งาน
  • การอัปเดตข้อมูลแบบ Real Time ที่ทำให้เราเห็น Flow ของเหล่าผู้ใช้งานบนเว็บไซต์
  • คุณลักษณะการรายงานแบบใหม่ที่ใช้งานง่ายขึ้นบนหน้า Explorer
  • Machine Learning & AI ที่ช่วยให้เราเห็น Metrics การคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : SEM คืออะไร

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Google Analytics

Google Analytics vs Google Tag Manager ใช้งานต่างกันอย่างไร 

สิ่งที่ทำให้หลายคนเกิดความสับสนระหว่าง Google Analytics กับ Google Tag Manager อาจเป็นเพราะความเชื่อมโยงของกันและกัน แต่ทั้งนี้การแบ่งแยกทุกอย่างให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการยกให้ 

  • Google Tag Manager ตัวกลางระหว่างเว็บไซต์และเครื่องมือ ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเว็บไปยัง Google Analytics หรือเครื่องมืออื่น ๆ ในรูปแบบแท็ก
  • Google Analytics มีหน้าที่ในการจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล 

สนใจคอร์สเรียน: “คอร์สสอน Google Ads 101 ปูพื้นฐานการทำการตลาดผ่าน Google Ads

สรุปเนื้อหาของ Google Analytics  

โดยรวมแล้วการใช้งาน Google Analytics จะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของเรา เพื่อนำรายงานที่ได้ไปพัฒนาเว็บไซต์, แคมเปญ, หรือ Content Marketing มุมอื่น ๆ เพิ่มเติม ให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ตามข้อมูลที่ได้รับรายงานจาก GA โดยตรง ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมอย่างมากกับทุกธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อให้อนาคตต่อจากนี้มีโอกาสเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม

 

Source

Exposure, 4 Google Analytics Reports Every Business Should Know, October 25, 2021 https://www.exposure.com/blog/4-google-analytics-reports-every-business-should-know/

 Marko Bodiroza, Google Analytics 4: How to Make the Switch from GA3 and Leverage 9 Great New Features, June 29, 2022 https://www.npws.net/blog/google-analytics-4-features

Julian Juenemann, Google Tag Manager vs Google Analytics, june 29, 2021 https://measureschool.com/google-analytics-vs-google-tag-manager/

 Darshk Patel, How to Setup Google Analytics 4 (GA4) – A Complete Guide, March, 2021 https://www.e2msolutions.com/blog/setup-google-analytics-4/

 Erin, 10 Key Google Analytics Limitations You Should Be Aware Of, May 9, 2022 https://matomo.org/blog/2022/05/google-analytics-limitations/

3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้
Business | Marketing | SME Inspire
3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้

ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์รองเท้า หรือแบรนด์เครื่องประดับ เพราะนอกจากจะสะท้อนตัวตนของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมี Vibe ที่สนุก…

Aggressive Marketing
Marketing | SME Inspire
Aggressive Marketing คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง

แต่ละธุรกิจย่อมมีวิธีการหาลูกค้าที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้วิธียิงโฆษณาแบบ Lead Generation ติดโปสเตอร์ ทำคลิป หรือติดต่อผ่าน Connection ที่รู้จักกัน แต่สิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนควรรู้ไว้ คือเทคนิคการหาลูกค้าในสมัยนี้จะเน้น ‘เชิงรุก’…

Customer Insight
Marketing | Social Media Strategy
รู้จัก Customer Insight และแชร์เทคนิคการหา Insight ของลูกค้า สำหรับนักการตลาด

ในยุคที่การตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งขึ้น การรู้จักและเข้าใจ Customer Insight จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Customer Insight…