SEO คืออะไร

สำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เชื่อว่าคุณคงได้ยินเรื่องกลยุทธ์ SEO ผ่านหูมาบ้าง หรือในบางธุรกิจก็อาจเคยใช้บริการบริษัทรับทำ SEO มาแล้ว เนื่องจากการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization คือ วิธีเดียวที่ช่วยเพิ่มยอดการเข้าถึงเว็บไซต์ (Traffic) โดยไม่ต้องใช้งบโฆษณา ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณเคยพึ่งพาการตลาดที่เรียกว่า SEO หรือไม่ หรือกำลังสนใจจะเริ่มทำ SEO อย่างจริงจัง บทความนี้จะทำหน้าที่เป็นคัมภีร์สรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับ Google SEO โดยอธิบายให้คุณเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นว่า SEO คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร และกลยุทธ์ SEO แตกต่างกับ SEM หรือ Search Engine Marketing มากแค่ไหน มาเริ่มต้นเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน!



หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในการทำ SEO คุณควรจะต้องเข้าใจแน่ชัดก่อนว่า “ความหมายของคำว่า SEO คืออะไร” ซึ่งในที่นี้ ขออธิบายความหมายของคำ 2 คำที่เกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ SEO และ SEM

SEO (Search Engine Optimization) คืออะไร 

SEO กับ SEM แตกต่างกันอย่างไร

ผู้คนมากมายสงสัยมาตลอดว่า SEO SEM คืออะไร? – อันที่จริงแล้ว การทำการตลาดบน Search Engine เรียกรวม ๆ ว่า SEM หรือ Search Engine Marketing โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ SEO และ PPC

  • SEO หรือ Search Engine Optimization คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้สามารถติดอันดับแรก ๆ บน Search Engine ผ่านการปรับปรุงคอนเทนต์และโครงสร้างเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับการทำงานของ Algorithm เพื่อให้เกิดการมองเห็นจากผู้ค้นหา จนสามารถดึงดูดให้เข้ามาใช้งาน และสร้างโอกาสปิดการขายต่อไป จุดเด่นของการทำ SEO คุณสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องชำระเงิน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันคนมักจะเรียกการตลาดแบบ PPC ว่า SEM ทำให้เวลามีคำถามว่า “SEO และ SEM ต่างกันอย่างไร?” มักจะหมายถึง ให้เปรียบเทียบระหว่างการทำ SEO กับการซื้อโฆษณาบน Search Engine เช่น การทำ Google Ads ว่าแตกต่างกันอย่างไรนั่นเอง

>> อ่านเพิ่มเติม: SEM (Search Engine Marketing) คืออะไร ต่างจาก SEO อย่างไร


SEO สำคัญต่อนักการตลาดอย่างไร

SEO คือ

จากภาพรวมในเรื่องความหมายของ SEO คงทำให้ทุกคนมองเห็นภาพไปในทางเดียวกัน ถึงแก่นแท้ในด้านประโยชน์หลัก แต่นอกเหนือจากที่เรากล่าวมา SEO คือ กลยุทธ์ที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับ Digital Marketing อีกหลายประการ เช่น 

  • สร้างความน่าเชื่อถือมากที่สุด: เพราะเว็บไซต์ที่ติดอันดับแรก ๆ บน Search Engine จะถูกประเมินจากความเกี่ยวข้องของเนื้อหา ยิ่งข้อมูลตรงต่อคำค้นหามากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มีโอกาสติดอันดับดีมากขึ้นเท่านั้น
  • สร้างความได้เปรียบในตลาดการแข่งขัน: หากเราใช้กลยุทธ์ SEO (โดยเฉพาะ Google SEO) พร้อมปรับปรุง และพัฒนาอยู่เสมอ จะช่วยให้เรามีโอกาสติดอันดับเหนือกว่าคู่แข่ง พร้อมสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากมาย 
  • เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น: เนื่องจากการติดอันดับแรก ๆ ผู้ค้นหาจะมองเห็น Keyword หรือวลีที่เกี่ยวข้อง จนสามารถดึงดูด และแสดงผลให้ผู้คนเห็นได้มากขึ้นกว่าปกติ
  • งบประมาณที่ใช้ในการจัดทำ SEO ไม่สูงมากเท่าใดนัก: เพราะไม่จำเป็นต้องจ่ายงบโฆษณาให้กับแพลตฟอร์ม เพียงแต่อาจต้องใช้ SEO Tools เพิ่มเติม และอาจต้องชำระเงินเมื่อสมัครใช้งานเครื่องมือนั้น ๆ แบบ Pro Package
  • กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเว็บไซต์ตลอดเวลา: ดังที่คุณทราบดีว่า SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization ซึ่งหมายถึงการ Optimize หรือเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับ Search Engine ตลอดเวลา คุณจึงจำเป็นต้อง Audit ส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์อยู่ตลอด และนั่นจะทำให้เว็บไซต์ของคุณเสถียรและตอบโจทย์ผู้ใช้งานอยู่เสมอ 

SEO ทำงานอย่างไร

ต้องเท้าความไปถึงระบบการทำงานของ Search Engine สักเล็กน้อย ก่อนพูดถึงการทำงานของ SEO ซึ่งการทำงานของ Search Engine อย่างเช่น Google หรือ Bing นั้นจะใช้ Bot ที่เข้าไปเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ มารวบรวมเอาไว้ แล้วติด Tag เรื่องราวให้กับแต่ละเว็บไซต์ เพื่อนำเสนอผลลัพธ์เมื่อมีการค้นหาที่เกี่ยวข้อง ขึ้นสู่ SERP แล้วจึงมีการจัดอันดับตามความเกี่ยวข้องระหว่างเนื้อหากับคำหรือวลีที่ผู้ค้นหาต้องการ

การทำ SEO

ซึ่งการทำ SEO จะช่วยให้การค้นหาข้อมูลของเจ้า Bot จาก Search Engine เจอคอนเทนต์ของเราง่ายขึ้น ประกอบกับการความเกี่ยวข้องที่ถูกเสริมด้วยกลยุทธ์นี้จะทำให้ Google ประเมินการแสดงผลในอันดับที่ดีขึ้น ตามโครงสร้างที่เหมาะสม ดังนั้น ยิ่งหากเราพัฒนาขั้นตอน SEO ได้ครบถ้วนและรอบคอบมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสทำให้หน้าเว็บไซต์แสดงผลอันดับที่ดีขึ้นมากเช่นกัน

Tips: หากคุณต้องการพัฒนาการทำ SEO  ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในด้านการค้นหาที่ติดอันดับ พร้อม ๆ กับสร้างโอกาสปิดการขายไปด้วย ลองหยิบกลยุทธ์ Content Marketing หรือการสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ โดยมีวัตถุประสงค์ทางการตลาดไปใช้งานเพิ่มเติม

Algorithm ของ Google สำคัญอย่างไรในการทำ SEO 

ระบบการทำงานของ Search Engine อันดับ 1 ของโลกอย่าง Google ที่เรามักเรียกติดปากกันว่า Algorithm นั้น สำคัญอย่างมากต่อการทำ SEO โดยสามารถสรุปได้เป็น 5 ปัจจัย ดังนี้ 

  • Algorithm ของ Google สำคัญอย่างไรในการทำ SEO

    ความหมายในการค้นหา:

  • ความเกี่ยวข้องของเว็บเพจ: Algorithm จะวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ผู้ใช้งานค้นหาเกี่ยวข้องกับข้อมูลบนเว็บไซต์ไหนบ้าง โดยอ้างอิงจากการใช้ Keyword ที่แทรกอยู่ในเนื้อหา หรือบนหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงออกถึงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวนั้น ๆ โดยเฉพาะ ทั้งนี้ การทำ Keyword Research คือ สิ่งที่จำเป็นต่อการเขียนบทความ SEO มาก เพราะจะเป็นข้อมูลให้คุณทราบว่า Keyword ใดที่มียอดการค้นหา (Search Volume) ดีที่สุด และเหมาะแก่การทำ SEO มากที่สุด

  • คุณภาพของเนื้อหา: ความอัจฉริยะของ Algorithm สามารถระบุได้ว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์ไหนที่ผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความน่าเชื่อถือ และมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา

  • การแสดงผลของเว็บเพจ: เนื่องจากการค้นหานั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายอุปกรณ์ Algorithm จึงรวบรวมข้อมูลว่าเว็บไซต์ไหน เหมาะกับการแสดงผลบนเครื่องมือใด เพื่อให้ผู้ค้นหาพบเจอหน้าเว็บที่เหมาะสมต่ออุปกรณ์ที่ใช้ค้นหามากที่สุด

  • บริบทและการตั้งค่า: Search Engine จะทำงานผสานกับ Algorithm เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติการค้นหาที่ผ่านมา และตั้งค่าการค้นหาเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานกำลังสนใจสิ่งไหนมากที่สุด เช่น ค้นหาคำว่า ฟุตบอล ในประเทศไทย เราจะได้รูปแบบผลลัพธ์การค้นหา ที่แตกต่างจากประเทศอื่น เป็นต้น

>> อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: Data-Driven Marketing กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล


5 ขั้นตอนเริ่มต้นทำ SEO 

หลังจากที่คุณได้ทราบรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับ SEO กันไปแล้ว ว่า SEO หมายถึงอะไร และความสำคัญของการทำ SEO คืออะไร ลำดับต่อไป เราจะลองมาดูขั้นตอนทั้งหมดของการทำ SEO ใครอยากมีกลยุทธ์การตลาดที่ช่วยเพิ่ม Engagement ให้กับเว็บไซต์ ไม่ควรข้ามหัวข้อนี้ด้วยประการทั้งปวง!

1. ทำแผนการตลาด SEO 

ทำแผนการตลาด SEO 

ขั้นตอนที่ 1 การตลาด SEO คือสิ่งที่ต้องวางแผน เพื่อให้สามารถคุมงบประมาณในการพัฒนาเว็บไซต์ได้อย่างคุ้มค่า โดยควรจะมีการกำหนดภาพรวมร่วมกันว่า ในแต่ละ Phase เราจะเริ่มต้นพัฒนาปัจจัยไหนบ้าง สำหรับการสนับสนุนกลยุทธ์ SEO ของเราตลอดแคมเปญ และที่สำคัญ! อย่าลืมทำ Report Data ไว้รายงานความคืบหน้าของการทำงานว่า ปัจจุบันใน Keyword ที่เราเลือกใช้ มีความก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว

>> อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: Data Analytic คืออะไร? การใช้ Big Data สามารถต่อธุรกิจได้ขนาดไหน?

2. Research Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ธุรกิจ 

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการทำ SEO

ขั้นตอนที่ 2 Keyword คือ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการทำ SEO ดังนั้น หลังจากการวางแผนการตลาด SEO เสร็จสิ้น ขั้นตอนต่อมาคือการเริ่มค้นหา Keyword เพื่อวิเคราะห์ว่า Keyword หรือ วลีไหน ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา และเหล่าผู้ค้นหาให้ความสนใจมากเป็นพิเศษทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการทำ Keyword Research คือ การทำความเข้าใจ Intent ของ Keyword แต่ละตัว เพื่อการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์การค้นหามากที่สุด ดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้

  • Informational Keyword: คำที่ใช้ค้นหาข้อมูลหรือค้นหาคำตอบ บางกรณีอาจมีการค้นหาในรูปแบบประโยคคำถาม เช่น “SEO คือ”, “Search Engine Marketing คืออะไร” หรือ “SEO กับ SEM” เป็นต้น
  • Navigational Keyword: คำที่ใช้ค้นหาเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่ผู้ค้นหามักรู้จักชื่อธุรกิจดีอยู่แล้ว เช่น “Digital Tips”, “Netflix” หรือ “Amazon” เป็นต้น
  • Commercial Keyword: คำค้นหาทั่วไปที่เหล่าผู้ใช้งานต้องการสืบค้นข้อมูล เอาไว้เปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้ออะไรบางอย่าง เช่น “เครื่องสำอางเกาหลีน่าซื้อ” หรือ “ที่พักเชียงใหม่ ราคาดี” เป็นต้น
  • Transactional Keyword: คำเฉพาะเจาะจงที่เอาไว้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ และยังเกี่ยวข้องกับธุรกรรมอื่น ๆ อีกด้วย เช่น “คูปอง Shopee”, “ผ่อน Macbook Pro” หรือ “Apple Watch ราคา” เป็นต้น

ทั้งนี้ หากคุณเพิ่งจะเริ่มต้น Research Keyword เป็นครั้งแรก และต้องการทราบความนิยมของ Keyword ต่าง ๆ บน Google เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ แนะนำให้ใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Google Trend ซึ่งเป็นเครื่องมือฟรี ดูรายละเอียดได้ที่: Google Trend คืออะไร สำคัญต่อการทำ SEM อย่างไร

3. วางโครงสร้าง Website Structure ให้เหมาะกับหลัก SEO

วางโครงสร้าง Website Structure ให้เหมาะกับหลัก SEO

ขั้นตอนที่ 3 การวาง Website Structure หรือที่เรียกว่า Sitemap จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมการทำ SEO ได้ง่ายขึ้น และสามารถเชื่อมโยงโครงสร้างต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์เข้าด้วยกันได้อย่างเหมาะสม เพราะหากเราสามารถแบ่งลำดับหน้าออกเป็นหมวดหมู่ตาม Keyword ที่เราใช้งานได้ ก็จะช่วยเสริมให้กลยุทธ์ SEO ของเรามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 

4. สร้างคอนเทนต์ SEO คุณภาพ

สร้างคอนเทนต์ SEO คุณภาพ

ขั้นตอนที่ 4 หัวใจสำคัญของ SEO Marketing คือ การสร้างคอนเทนต์คุณภาพให้สอดคล้องไปกับกลยุทธ์ SEO เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ค้นหาข้อมูลด้วย Keyword ต่าง ๆ มีโอกาสค้นเจอเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น โดยคอนเทนต์ที่เขียนเพื่อ SEO นั้น จะต้องมีเนื้อหาชัดเจน ไม่สั้นจนเกินไป ง่ายต่อการทำความเข้าใจ มีการกระจาย Keyword SEO ในเนื้อหาอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีองค์ประกอบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Meta Description, Heading Tag, URL Slug, Internal Links หรือ External Links เพื่อให้สอดรับกับการทำงานของ Algorithm มากที่สุด นอกจากนี้ สิ่งที่จะช่วยให้การทำ SEO บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มยอดขายได้ดียิ่งขึ้น คือการเขียน CTA หรือ Call to Action แฝงไว้ในบทความ หรือในหน้าบริการบนเว็บไซต์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CTA คืออะไร? พร้อม 9 เทคนิคเขียน Call to Action ให้ Users อยากคลิก

Tips: ลองวิเคราะห์ Insight ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการค้นหาจากธุรกิจของเรา หรือข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อลูกค้า เพราะยิ่งเราแทรกซึมกลยุทธ์ SEO ภายใต้เนื้อหาที่มีคุณภาพสูง และตอบโจทย์ต่อการค้นหามากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสแสดงผลได้มากขึ้นเท่านั้น 

5. ปรับปรุง Website SEO ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ 

ปรับปรุง Website SEO

ขั้นตอนที่ 5  Content SEO คือการเขียนบทความที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาเป็นประจำ เนื่องจาก Algorithm ของ Search Engine จะมีการอัปเดตอยู่เสมอ ซึ่งอาจมีผลทำให้อันดับของเว็บไซต์เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ หลังจากที่เริ่มทำ SEO แล้ว เราต้องเริ่มจัดเก็บข้อมูล และติดตามพฤติกรรมการเข้าชมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Google Analytics และ Google Search Console แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็น Report ในแต่ละเดือน เพื่อสรุปภาพรวมว่าจุดไหนที่เราควรพัฒนามากที่สุด


กลยุทธ์การทำ SEO ให้ติดหน้าแรกของ Google 

แน่นอนว่าเป้าหมายของ SEO คือ การผลักดันให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกของผลการค้นหา แต่เนื่องจากการทำ SEO ต้องใช้เวลาขั้นต่ำ 3-6 เดือนจึงจะเห็นผล และยังเต็มไปด้วยปัจจัยประกอบมากมาย จึงไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในกลยุทธ์นี้ นี่คือ 5  กลยุทธ์ ที่สามารถช่วยคุณได้!

Technical SEO 

Technical SEO คือ การทำ SEO โดยอาศัยเทคนิคพิเศษ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบทความนี้ Digital Tips ลิสต์รายการเทคนิคมาแนะนำให้เพียบ ไปดูเลย!

1. Keyword Research and Selection

Keyword Research and Selection

การวิเคราะห์คำหลักที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็มี Search Volume สูงเพื่อสร้างโอกาสการค้นพบ และการวิเคราะห์ Keyword ที่คู่แข่งใช้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ทั้งนี้ หากคุณอยากเลือก Keyword ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระดับความยากของ Keyword หรือ SEO Difficulty คือหนึ่งในปัจจัยที่คุณต้องพิจารณา เพราะหาก Keyword ที่คุณสนใจมีค่า SD หรือ SEO Difficulty สูง ก็เท่ากับว่าเป็น Keyword ที่มีการแข่งขันสูง และทำให้ติดอันดับ SEO ได้ยาก

2. Create Quality Content

ในการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ SEO Title คือสิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับเนื้อหาคอนเทนต์ เพราะ SEO Title หรือก็คือชื่อบทความ จะอยู่ในตำแหน่ง Heading Tag 1 ซึ่งเป็นจุดแรกที่ Algorithm ของ Search Engine จะมองเห็น และเก็บข้อมูลว่าเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ในส่วนของเนื้อหา แน่นอนว่าจะต้องสามารถตอบได้อย่างครบถ้วน ชัดเจน และเข้าใจง่าย

3. Develop Unique SEO Titles & Meta Descriptions

Develop Unique SEO Titles & Meta Descriptions

นอกจากจะสร้าง SEO Title ที่น่าดึงดูดแล้ว ก็ต้องมี Meta Descriptions ที่อธิบายเนื้อหาได้ครอบคลุม น่าสนใจ พร้อมบรรยายว่าเนื้อหาในเว็บนี้ตอบโจทย์ผู้ค้นหาอย่างไรบ้างควบคู่กันด้วย

4. ใช้ PPC ช่วยเสริม

การโฆษณาแบบชำระเงินจะสามารถช่วยปรับปรุงอัตรา CTR ได้อย่างยอดเยี่ยม 

5. อย่าลืม Alt Text Image 

พูดง่าย ๆ คือ การใส่คำอธิบายให้ฝังอยู่ในรูปภาพ เพื่อให้ Algorithm ของ Search Engine เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับรูปภาพของเรามากขึ้น ทั้งนี้ควรมี Keyword อยู่ในเนื้อหา Alt Text ด้วย

6. URL Slug 

การกำหนด URL เพื่อให้ในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราไม่ซ้ำกับหน้าอื่น โดยเพิ่ม Keyword เข้าไปใน URL เพื่อแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบนเว็บไซต์

7. สร้างการเชื่อมโยงภายในบทความ

วิธีการนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำ Internal Links และ External Links ให้กับเว็บไซต์ ซึ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับ SEO โดยวิธีการก็คือแทรกลิงก์บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเราลงไป เพื่อให้เกิด Traffic ในเว็บไซต์ หากลิงก์ที่แทรกเป็นลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ของเราเอง จะเรียกว่า Internal Links แต่หากเป็นลิงก์จากเว็บไซต์อื่นจะเรียกว่า External Links

8. ปรับให้เว็บไซต์แสดงผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

ระยะเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ ก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ Algorithm จะนำมาคำนวณเพื่อจัดอันดับ SEO ด้วย ดังนั้น นอกจากคุณจะต้องหมั่นพัฒนาบทความ SEO อยู่เสมอแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับระบบ Back-end ของเว็บไซต์ด้วย

9. เพิ่มสิ่งที่ทำให้ผู้คนหยุดอยู่ในเว็บไซต์ของเรานานขึ้น

เป็นความจริงที่เนื้อหาบทความ SEO ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้ “คน” อ่านเท่านั้น แต่ยังเขียนขึ้นมาเพื่อให้ “ระบบ” (หรือก็คือ Algorithm) อ่านอีกด้วย แต่นั่นมิได้หมายความว่า เราควรจะมุ่งทำ SEO โดยโฟกัสเรื่องโครงสร้างแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ใส่ใจเรื่องความถูกต้องของเนื้อหา ความสวยงาม หรือความน่าสนใจ นั่นเพราะหากเว็บไซต์ไม่สามารถจูงใจคนให้ใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์นาน ๆ ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Bounce Rate ขึ้น ซึ่ง Bounce Rate หมายถึง อัตราของผู้ใช้งานที่คลิกเข้ามาชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวแล้วกดปิดทันที ไม่คลิกไปหน้าอื่น ๆ ต่อ ทั้งนี้ หากเว็บไซต์ไหนมี Bounce Rate สูงขึ้น Algorithm ก็จะมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ และจะมีผลต่อการจัดอันดับ SEO ในที่สุด

>> อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: Lead คืออะไร ทำไมธุรกิจควรมี Lead Generation Strategies

On-Page SEO

การปรับแต่งบนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทคนิค On-Page SEO นั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักที่เราควรทำอย่างมาก ได้แก่

On-Page SEO
  • คอนเทนต์บนเว็บไซต์: เนื้อหาต้องมีคุณภาพสูง มี Keyword ที่ตรงกันกับคำค้นหา มีความสดใหม่ มีภาพประกอบหรือวิดีโอ และมีคำตอบสำหรับคำค้นหาครบถ้วน
  • โครงสร้างเว็บไซต์: โครงสร้างเว็บไซต์ออกแบบให้ง่ายต่อการค้นหา ไม่มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน ความเร็วในการโหลดเข้าเว็บสูง URL มี Keyword ตรงกับหัวข้อและคำค้นหา ใช้ HTTPS หรือระบบรักษาความปลอดภัย SSL
  • การเขียนโค้ดหลังบ้าน: ใส่ Title Tag, Meta Description, Site Structure หรือ Site Map 

Off-page SEO 

Off-Page SEO หรือ Backlink SEO คือ การเขียนบทความด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ แล้วนำไปโพสต์ในช่องทางอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของตัวเอง เช่น เว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ทำสัญญาตกลงกันไว้ โดยทำ Internal Links เพื่อลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Backlink คือ 4 ปัจจัย ดังนี้

Off-page SEO
  • ความน่าเชื่อถือ: เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือจากการอ้างอิงด้วยเว็บที่น่าเชื่อถือ, มีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ 
  • Links: Quality Backlink ที่มีคุณภาพสูง, การทำ Anchor Text (การสร้าง Internal Link ใน Keyword), จำนวน Backlink ที่เข้ามาในเว็บไซต์
  • Personal: การทำเนื้อหาให้ตอบโจทย์คนค้นหาแต่ละประเทศ, เนื้อหาตอบโจทย์ผู้คนในพื้นที่, ทำให้ผู้คนเข้ามาใช้งานเว็บไซต์เป็นประจำ
  • Social: เนื้อหามีการแชร์บน Social Media, จำนวนการแชร์บน Social Media

 >> อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: Google Tag Manager (GTM) คืออะไร พร้อมวิธีติดตั้งแบบอัปเดตปี 2022

PBN (Private Blog Network)

Private Blog Network หรือ PBN คือ การสร้างเว็บไซต์ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก Backlink เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์ของตัวเอง เนื่องจากในปัจจุบันเนื้อหา Off-page SEO ที่โพสต์ลงบนเว็บบอร์ด มักถูกจัดอันดับว่าเป็นเนื้อหาคุณภาพต่ำ และการฝาก Backlink ไปลงบนเว็บไซต์คุณภาพอื่น ๆ ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น บรรดาเอเจนซี่การตลาดจึงนิยมสร้างเว็บไซต์ที่เป็นของตัวเองขึ้นมา สำหรับเป็น Hub รวมบทความ Off-page SEO ของตัวเองโดยเฉพาะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

Mobile Friendly

ปัจจุบัน Search Engine ยอดนิยมอย่าง Google ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น คุณจึงควรออกแบบ UX และ UI ของเว็บไซต์ ให้ตอบโจทย์การใช้งานทั้งบน Desktop และ Mobile เพื่อการทำ SEO ที่ได้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น


ข้อควรระวังในการทำ SEO 

หากคุณสามารถทำตามเทคนิคการทำ SEO ด้านบนได้อย่างครบถ้วน ก็จะยิ่งช่วยส่งผลให้คะแนนเว็บไซต์ของคุณดีขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับ SEO  ได้ในที่สุด อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ห้ามทำเป็นอันขาดอยู่ด้วย 

  • ไม่คัดลอกเนื้อหาหรือรูปภาพจากเว็บไซต์อื่น: โดยเฉพาะการคัดลอกเนื้อหาแบบ Copy + Paste รวมถึงการใช้รูปภาพที่มีลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้ให้เครดิตอย่างถูกต้อง หากมีการละเมิดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของเนื้อหาหรือรูปภาพ อาจส่งเรื่องให้ Google ให้แบนเว็บไซต์ได้ทันที
  • ไม่ควรใส่ Banner โฆษณามากจนเกินไป: จนเข้ามาบังเนื้อหาหลักในบทความ SEO เนื่องจาก Google จะมองว่านั่นคือสิ่งที่รบกวนการใช้งานของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และอาจส่งผลให้ Algorithm ลดอันดับเว็บไซต์ของเราให้ต่ำลงได้ อย่างไรก็ดี หากมีความจำเป็นต้องใช้งาน แนะนำโชว์เป็น Banner ขนาดเล็ก และมีปุ่ม x ให้กดปิดได้ง่าย
  • ใช้ HTTPS ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของเว็บไซต์: หากไม่มีการใช้งานระบบป้องกันนี้ Google จะโชว์ข้อความคำเตือนเล็ก ๆ เอาไว้ว่า “เว็บไซต์อาจถูกแฮ็ก” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เว็บไซต์ของคุณขาดความน่าเชื่อถือนั่นเอง
  • ตลอดเวลาที่ผ่านมา Algorithm ของ Google จะมีการอัปเดตอยู่เสมอ: คุณจึงจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการเขียนคอนเทนต์ หรือวิธีการปรับโครงสร้างเว็บไซต์อยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การเริ่มใช้มาตรฐาน Core Web Vitals เมื่อปี 2022 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้ ทำให้เว็บไซต์ที่มีดีไซน์ไม่สวยงาม มีตัวหนังสือมากเกินไป หรือใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่ได้ ต้องออกแบบใหม่ มิเช่นนั้นเว็บไซต์อาจหายไปจากหน้าการค้นหา และไม่มียอดคลิกเข้าชมอีกเลย

เครื่องมือในการทำ SEO 

การเลือกใช้งานเครื่องมือที่เข้ามาช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ SEO จะทำให้คุณประหยัดเวลาการทำ Keyword Research หรือสามารถลดระยะเวลาในการพัฒนาได้มากทีเดียว ดังนั้นใครกำลังเริ่มต้นกลยุทธ์นี้ มาดูการแนะนำ 5 เครื่องมือเจ๋ง ๆ ไปพร้อมกัน 

Google Analytics and Search Console.

Google Analytics and Search Console.

Google Optimization คือ กระบวนการที่สำคัญอย่างมากต่อการทำ SEO ซึ่งเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ คือ Google Analytics และ Google Search Console โดยเครื่องมือทั้ง 2 มีหน้าที่แตกต่างกันออกไปในการสนับสนุน SEO ดังจะอธิบายข้อมูลเครื่องมือ พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ เป็นลิสต์ดังนี้

  • Google Analytics: เครื่องมือที่จะช่วยในการเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ต่อได้ง่าย ใช้งานควบคู่ได้กับการทำการตลาด, การซื้อโฆษณา, การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ และการหาสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สนใจได้ด้วย
  • Google Search Console: เครื่องมือช่วยให้เราตรวจสอบและดูแลเว็บไซต์ให้สามารถปรากฏบนหน้า SERP ของ Google ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ทำให้อันดับ SEO ตก จึงทำให้พัฒนาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

 >> อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: Marketing Funnel คืออะไร กลยุทธ์การตลาดพื้นฐานสำหรับการทำธุรกิจ

Yoast SEO

Yoast SEO

Yoast SEO คือ Plug-in ยอดฮิตบนแพลตฟอร์ม WordPress ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาองค์ประกอบ SEO ให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราเป็นมิตรต่อ Google เมื่อเราลงบทความโดยที่มีเจ้า Plug-in ตัวนี้คอยช่วย Checklist ว่ามีสิ่งใดบ้างที่บทความของเรายังขาดไป ถ้าหากเราปรับแต่งให้ครบถ้วน ก็จะมีส่วนช่วยให้การแสดงผลในกระบวนการ SEO มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

Google Trends

Google Trends อีกหนึ่งเครื่องมือยอดฮิตในการนำ Keyword มาค้นหา เพื่อดู Trend ในปัจจุบัน และช่วงเวลาที่ผ่านมา ว่า Keyword นั้นได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหนในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้ Google Trends จะช่วยแนะนำได้ด้วยว่ามี Keyword ที่เกี่ยวข้องตัวไหนบ้าง ที่กำลังได้รับความนิยมสูง ซึ่งประโยชน์ของมันช่วยให้เราประหยัดเวลาขั้นตอน Keyword Research สำหรับ SEO ไปมา

Google Data Studio

Google Data Studio

Google Data Studio คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ที่อำนวยความสะดวกในการทำ Report โดยสามารถดึงข้อมูลมาได้โดยตรงจาก Google Sheet, Google Doc, Google Analytics, Google Search Console และ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า Google Data Studio นิยมใช้ในการทำ Report SEO ด้วย  

ahrefs

ahrefs

ahrefs คือ เครื่องมือสำหรับการสำรวจทุก ๆ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำ SEO ทั้งของเว็บไซต์ตัวเองและเว็บไซต์คู่แข่ง อาทิ ค่า DA, PA หรือ Reffering Domain ของเว็บไซต์ ตลอดจนจำนวน Blog และ Backlink ที่ทำ และ Keyword ที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ SEO


คำถามที่พบบ่อยในการทำ SEO 

1. Local SEO คืออะไร? 

Local SEO คือ การใช้กลยุทธ์เสริมประสิทธิภาพการค้นหา ที่มุ่งเน้นให้ติด Keyword เฉพาะพื้นที่ซึ่งมีการจำกัดขอบเขตเอาไว้ ถือเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ SME เป็นอย่างมาก

>> อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: SWOT คืออะไร (SWOT Analysis) ตัวอย่างการวิเคราะห์ธุรกิจในปัจจุบัน

2 .SEO สายเทาคืออะไร ควรทำหรือไม่? 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวงการ SEO มาพักใหญ่ จะต้องเคยได้ยินคำว่า SEO สายเทา ผ่านเข้าหูมาอย่างแน่นอน ซึ่ง SEO สายเทา คือ การทำ SEO เพื่อ Support เว็บไซต์ผิดกฎหมาย และด้วยการนำเสนอที่ไม่สามารถติด Backlink สู่เว็บไซต์ทั่วไปได้ ทำให้ต้องมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไป เช่น การ Redirect และการ SPAM เนื้อหาล้วนเป็นสิ่งที่ SEO สายขาวทั่ว ๆ ไปไม่ควรทำ เพราะจะทำให้อันดับการค้นหาตกต่ำลงอย่างมาก พร้อมกับถูกลดคะแนนของเว็บไซต์อีกด้วย 

3. SEO Specialist คือตำแหน่งอะไร มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?

SEO Specialist คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Search Engine Optimization โดยตรง โดยหน้าที่หลัก ๆ คือการค้นหา Keyword Research, การทำ SEO On-Site, การทำ Off-Site และจัดทำ SEO Report

4. SEO บนเว็บไซต์ ต้องทำนานแค่ไหนถึงจะเห็นผล?

โดยปกติแล้วกระบวนการทำ SEO บนเว็บไซต์ บอกยากมากว่าจะต้องใช้เวลาแค่ไหน ถึงจะสามารถมองเห็นผลได้ แต่ถ้าหากให้ลองพิจารณาและเฉลี่ยแบบภาพรวม สามารถตีความได้ว่า ประมาณ 4-12 เดือนกันเลยทีเดียว

5. ถ้าไม่มีเว็บไซต์ จะสามารถทำ SEO ได้หรือไม่?

รู้หรือไม่? แม้จะไม่มีเว็บไซต์ คุณก็สามารถทำ SEO ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ เช่น Youtube SEO และ Facebook SEO โดย Facebook SEO คือ การปรับแต่งหน้า Facebook Fanpage ให้ Fanpage ของคุณติดอันดับการค้นหาบน Google ในทำนองเดียวกัน Youtube SEO คือ การทำให้หน้า Youtube Channel ติดอันดับบน Google นั่นเอง

6. เริ่มทำ SEO ตอนไหนดีที่สุด? 

การทำ SEO สามารถเริ่มทำได้ทันที ยิ่งเริ่มทำเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เนื่องจาก SEO คือกลยุทธ์การตลาดที่จำเป็นต้องอาศัยเวลาขั้นต่ำ 3-6 เดือน


เว็บไซต์ของคุณเริ่มทำ SEO หรือยัง? 

โดยสรุปแล้ว SEO คือ กลยุทธ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการตลาดในยุค Digital Marketing เพราะการมีอยู่ของเว็บไซต์ธุรกิจในมุมมองของลูกค้า ยังคงมอบความน่าเชื่อถือ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาซื้อ-ขาย ดังนั้น การเสริมประสิทธิภาพการค้นหาด้วย SEO จึงเข้ามาช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสเจอสิ่งที่ต้องการบนเว็บไซต์ของเรามากขึ้น และสามารถปลี่ยนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้กลายมาเป็นลูกค้าต่อได้ในอนาคต

3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้
Business | Marketing | SME Inspire
3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้

ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์รองเท้า หรือแบรนด์เครื่องประดับ เพราะนอกจากจะสะท้อนตัวตนของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมี Vibe ที่สนุก…

Aggressive Marketing
Marketing | SME Inspire
Aggressive Marketing คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง

แต่ละธุรกิจย่อมมีวิธีการหาลูกค้าที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้วิธียิงโฆษณาแบบ Lead Generation ติดโปสเตอร์ ทำคลิป หรือติดต่อผ่าน Connection ที่รู้จักกัน แต่สิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนควรรู้ไว้ คือเทคนิคการหาลูกค้าในสมัยนี้จะเน้น ‘เชิงรุก’…

Customer Insight
Marketing | Social Media Strategy
รู้จัก Customer Insight และแชร์เทคนิคการหา Insight ของลูกค้า สำหรับนักการตลาด

ในยุคที่การตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งขึ้น การรู้จักและเข้าใจ Customer Insight จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Customer Insight…