sitemap

ใครที่ทำเว็บไซต์แล้วต้องการทำ SEO ให้ติดอันดับบนหน้า Search Engine อย่าง Google นอกจากเรื่องของคอนเทนต์, การทำ On-Page SEO หรือการทำ Off-Page แล้ว คงจะเคยได้ยินคำว่า Sitemap หรือแผนผังเว็บไซต์มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่ง Sitemap Website ถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนที่คนทั่วไปมักไม่รู้และอาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำอย่างไร 

ดังนั้น บทความนี้ Digital Tips จะมาอธิบายว่า Sitemap คืออะไร ทำไมสารบัญของหน้าเว็บไซต์เหล่านี้จึงสำคัญต่อการทำ SEO รวมถึงจะทำ Sitemap Website อย่างไรถึงจะดี บทความนี้เราได้รวบรวมคำตอบมาให้คุณแล้ว ลองไปดูพร้อม ๆ กันเลย

ใครที่ยังปูพื้นฐานเรื่อง SEO ไม่แน่น ไปอ่านบทความสำหรับมือใหม่ได้ที่ : SEO คืออะไร

Sitemap คืออะไร

Sitemap คืออะไร

Sitemap คือ โครงสร้างของเว็บไซต์ที่ช่วยให้ Search Engine เข้าถึงหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ของคุณ รวมถึงทำการส่ง Bot ไปอ่านและตีความข้อมูลเพจใหม่ๆ (Crawl) และจัดทำดัชนี (Index) ของเว็บไซต์เพื่อทำการจัดอันดับผลการค้นหา อีกทั้ง Sitemap SEO ยังช่วยบอก Search Engine ด้วยว่าหน้าไหนในเว็บไซต์ของคุณที่มีความสำคัญที่สุดได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ: Search Engine คืออะไร

ความสำคัญของ Sitemap ต่อเว็บไซต์และ SEO 

ความสำคัญของ Sitemap

Sitemap website คือ แผนที่หรือแผนผังของเว็บไซต์ จึงมีความสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น…

  • ช่วยทำให้ Googlebot เข้ามาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะมีไม่กี่หน้าหรือมีเป็นร้อย ๆ หน้า หากวางแผนทำ Sitemap Create ก็จะช่วยทำให้ Bot เก็บข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ครบทุกหน้าได้เช่นเดียวกัน
  • มีผลต่อ Google Image และ Google Video สำหรับเว็บไซต์ที่มีภาพและวิดีโอเป็นส่วนประกอบ
  • ช่วยทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ในหน้าต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและไม่สับสน ส่งผลให้การทำ Content Marketing คือ การทำการตลาดด้วยคอนเทนต์บนเว็บไซต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่า มีส่วนช่วยในการเพิ่มยอด CTR ให้กับเว็บไซต์ได้ด้วย
  • ช่วยทำให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์เข้าใจโครงสร้างทั้งหมด รู้ว่ามีกี่หน้าหรือมีกี่บท ทำให้พัฒนาเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น 
  • การทำ Sitemap ที่เป็นระเบียบจะช่วยทำให้มีโอกาสทำอันดับ SEO ในตำแหน่งที่ดีขึ้นได้ และไม่ใช่อันดับจะดีขึ้นแค่ในฝั่ง Web Search เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Image Search และ Video Search อีกด้วย

รูปแบบของ Sitemap 

รูปแบบของ Sitemap จะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทตามการใช้งานชนิดของไฟล์ที่อยู่ใน Sitemap โดยจะแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่

HTML Sitemap

Sitemap HTML คือ Sitemap ที่เขียนขึ้นโดย HTML ทำหน้าที่เป็นสารบัญของเว็บไซต์ด้วยการรวบรวมลิงก์ต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์เอาไว้ในหน้าเพจนั้น ๆ ซึ่งจะทำขึ้นเพื่อให้ User สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ดีขึ้น เนื่องจาก User จะเห็นว่าบนเว็บไซต์มีข้อมูลอะไร และอยู่หน้าไหน

HTML Sitemap

หน้าตาของ Sitemap HTML ส่วนใหญ่จะออกแบบมาเป็นลิสต์ที่สามารถคลิกไปเป็น Hyperlink ได้ เราจะพบ Sitemap HTML ได้บ่อยที่บริเวณ Footer ของหน้าเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น 

หน้าตาของ Sitemap HTML

Sitemap HTML บริเวณ Footer

XML Sitemap

XML Sitemap

Google Sitemap XML คือ Sitemap ที่เน้นให้ฝั่ง Bot ของ Search Engine เข้ามาสำรวจและเก็บข้อมูล เพื่อทำ SEO โดย Sitemap จะมีความละเอียดและลงลึก รวมถึงเน้นเป็น URL ในแต่ละหน้าหรือแต่ละรูปโดยไม่มีชื่อ​ Sitemap กำกับและแยกเป็นหลายรูปแบบ ดังนี้

  • <?xml version=”1.0″ encoding=”UTF-8″?> 

เป็นการเขียนเพื่อบอก Search Engine ว่าใช้เวอร์ชัน XML ไหน และใช้ในการเข้ารหัส (เป็น Tag ไม่บังคับ)

  • <urlset xmlns=”http://www.example.com/schemas/sitemap/0.9″>

เป็นการเขียน Sitemap เพื่อระบุ URL ของรูปต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ซึ่งช่วยในเรื่องของ Image Search ผ่าน Google ได้ด้วย (เป็น Tag บังคับ)

  • <url>

เป็นการระบุคำสั่งลิงก์แต่ละเพจ และ Tag ทั้งหมดที่อยู่ด้านล่างคือ Tag รองของ Tag นี้ ซึ่งจะต้องมี Tag ปิดด้วยเสมอ (เป็น Tag บังคับ)

  • <loc>

เป็นการระบุลิงก์แต่ละหน้าเพจของเว็บไซต์ จะรวมถึง Http และต้องมีอักขระรวมกันไม่เกิน 2,048 ตัวอักษร (เป็น Tag บังคับ)

  • <lastmod>

เป็นการระบุวันที่และเวลาที่ทำการอัปเดตหน้าเพจ โดยจะใส่เป็นวันที่เต็มหรือจะเป็นวันที่แบบ ปี-เดือน-วัน ก็ได้ (เป็น Tag ไม่บังคับแต่สำคัญ)

  • <changefreq>

เป็นการระบุระยะเวลาที่ทำการอัปเดตหน้าเพจ โดยสามารถบอก Bot ได้ว่าจะให้มาเก็บแบบไหน เช่น

    • Always (บ่อย ๆ)
    • Hourly (ทุกชั่วโมง)
    • Daily (ทุกวัน)
    • Weekly (ทุกสัปดาห์)
    • Monthly (ทุกเดือน)
    • Yearly (ทุกปี)
    • Never (ไม่ต้อง)

หมายเหตุ: ปัจจุบัน Google ไม่ได้สนใจ Tag นี้

  • <priority>

เป็นการระบุลำดับความสำคัญของหน้าเพจนั้นๆ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 หากค่าเป็น 1.0 นั่นหมายถึงว่าสำคัญมาก และ 0.0 สำคัญน้อยที่สุด แต่ถ้าไม่ใส่จะเป็นค่ามาตรฐานคือ 0.5 

ยกตัวอย่างการเขียน Sitemap XML

หมายเหตุ: ปัจจุบัน Google ไม่ได้สนใจ Tag นี้

วิธีสร้าง Sitemap ใน WordPress ด้วย Yoast SEO

เข้าใจถึงนิยามและรูปแบบของการทำ Sitemap กันไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาของการสร้าง Sitemap ใน WordPress ด้วย Yoast Sitemap ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 ขั้นตอน ดังนี้

1. ทำการสร้าง Sitemap

ทำการสร้าง Sitemap

ขั้นแรกหากคุณทำ Sitemap บน WordPress สามารถทำการติดตั้ง Yoast SEO ที่เป็นปลั๊กอินสำหรับปรับแต่งด้าน Technical SEO เสียก่อน

โดยประโยชน์หลักของ Yoast SEO มีหลายอย่างทั้งการใช้ดู Density Keyword คือ การดูปริมาณของการใช้คีย์เวิร์ดบนหน้าเว็บไซต์ว่ามีมากเกินไปหรือไม่ (หากมากเกินไปอาจโดนมองว่าเป็นสแปมได้), ใช้ดูความยาวของ Titile และ Description ไปจนถึงการใช้เพื่อสร้าง XML Sitemap ได้แบบอัตโนมัติ เมื่อไหร่ที่คุณทำการเพิ่มหน้าเว็บไซต์ Yoast SEO ก็จะทำการเพิ่มลงในไฟล์ XML Sitemap ได้ในทันที

เพิ่มลงในไฟล์ XML Sitemap

ส่วนใครที่ไม่ได้ใช้ WordPress อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่น เช่น Sitemap Google Generator อื่นอย่าง XML-Sitemaps.com เป็นต้น

2. ทำการ Submit Sitemap บน Google Search Console

ให้คุณเข้าไปที่ Google Search Console ซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานฟรีจาก Google เหมือนกับ Google Analytics และ Google Trend เมื่อคุณทำการสมัครใช้งาน Google Search Console เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นเลือก “Index” → “Sitemaps” ตามภาพด้านล่าง

Submit Sitemap บน Google Search Console

จากนั้นทำการคัดลอกข้อความส่วนท้ายของ URL  ที่หน้าการตรวจสอบ Sitemap ของเว็บไซต์คุณมาวางเพื่อทำการ Submit

ตรวจสอบ Sitemap

หากตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจะพบข้อมูลปรากฏขึ้นมาในหน้า Submitted Sitemaps และมีสเตตัส Success

Submitted Sitemaps

เราจะดู Sitemap ของเว็บไซต์ต่างๆได้จากไหน

Sitemap ของเว็บไซต์ต่างๆ

ส่วนใครที่ไม่มั่นใจว่าเว็บไซต์ของคุณได้มีการสร้าง Sitemap ขึ้นแล้วหรือยัง ให้พิมพ์ลิงก์ URL “ชื่อเว็บไซต์/sitemap.xml” ไปบนช่อง Browser เพื่อทำการตรวจสอบ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ CMS (Content Management System) ของคุณและโปรแกรมที่คุณใช้สร้าง Sitemap ด้วย หากคุณใช้ CMS อื่นที่ไม่ใช่ WordPress ก็ต้องหาวิธีการจาก CMS ที่ใช้เพิ่มเติม

ตัวอย่าง Sitemap

ตัวอย่าง Sitemap

ยกตัวอย่างการทำ Sitemap HTML จะเห็นว่าจะมีการจัดกลุ่มของ Links ต่าง ๆ เอาไว้ภายใต้ Category ใหญ่ ซึ่งลิงก์เหล่านี้จะเป็นลิงก์ที่พาไปยังหน้าหลักของเว็บไซต์ ซึ่งการสร้าง Sitemap HTML จะช่วยทำให้เห็นโครงสร้างของเว็บไซต์ในภาพรวมได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงทำให้รู้ด้วยว่า Sitemap ของเรานั้นยังขาดเนื้อหาในส่วนใดที่สำคัญสำหรับ User ไปบ้าง 

อาจจะมีการทำ Sitemap HTML  โดยการแยกจากส่วนต่าง ๆ ของหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติมก็ได้ เพื่อทำให้เห็นตำแหน่งของ URL เพิ่มเติม

แต่สำหรับเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บเพจจำนวนมาก เช่น เว็บไซต์ E-Commerce ก็อาจจะทำ Sitemap HTML โดยการให้รายละเอียดสินค้าในแต่ละ URL ภายใต้หมวดหมู่สินค้าประเภทเดียวกันได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

เว็บไซต์ของเราจำเป็นต้องมี Sitemap ไหม 

เว็บไซต์ของเราจำเป็นต้องมี Sitemap ไหม เรื่องนี้จะขึ้นอยู่กับว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นรูปแบบไหน เช่น เป็นเว็บไซต์ที่ใหญ่ ก็จำเป็นต้องมี Sitemap หรือถ้าเป็นเว็บไซต์ขนาดเล็กที่ทำ Internal Link เชื่อมโยงกันดีก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมี

ลักษณะเว็บที่ควรมี Sitemap

  • เป็นเว็บไซต์มีขนาดใหญ่มาก ทำให้ Google อาจพลาดที่จะรวบรวมข้อมูลหน้าใหม่หรือหน้าที่เพิ่งอัปเดตบางหน้าไปบ้าง
  • เว็บไซต์มีแฟ้มที่ใช้เก็บเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบถาวรขนาดใหญ่ที่แยกจากกันหรือไม่ได้ลิงก์กันไว้ดีพอ อาจทำให้ Google มองไม่เห็นหน้าบางหน้าได้  
  • เป็นเว็บไซต์ใหม่และมี External Links จำนวนไม่มากลิงก์มายังเว็บไซต์ เพราะปกติ Bot จะติดตาม External Links ต่าง ๆ เพื่อเข้ามาเก็บข้อมูล แต่ถ้าหากมีน้อยก็อาจทำให้หาหน้าเหล่านั้นไม่เจอ
  • เว็บไซต์มีสื่อที่ใช้เป็นจำนวนมาก (วิดีโอ รูปภาพ) หรือแสดงอยู่ใน Google News ซึ่งถ้าหากมี Sitemap ก็จะช่วยในการจัดอันดับในตำแหน่งที่เหมาะสมได้มากขึ้น

ลักษณะเว็บที่อาจไม่ต้องใช้ Sitemap

  • เว็บไซต์มีขนาด “เล็ก” โดยคำว่าเล็กในที่นี้ หมายถึง เว็บไซต์มีหน้าเว็บเพจไม่เกิน 500 หน้า (ยอดรวมนี้จะนับเฉพาะหน้าที่ต้องการให้ปรากฏในผลการค้นหาเท่านั้น) หากนึกไม่ออกว่าเว็บแบบไหนที่ไม่ต้องมี Sitemap ก็อย่างเช่น เว็บไซต์ที่เป็นหน้า Landing Page ที่ใช้สำหรับการทำ SEM คือ Search Engine Marketing เป็นต้น
  • เว็บไซต์ที่ทำ Internal Link อย่างครอบคลุม ซึ่งช่วยทำให้ Google สามารถค้นหาหน้าสำคัญๆ ของเว็บไซต์ผ่านลิงก์เหล่านี้ได้ทั้งหมด โดยการทำ Internal Link สามารถทำได้หลายแบบ เช่น การทำ Anchor Text, การใช้ CTA เป็นต้น
  • บนเว็บไซต์มีไฟล์สื่อ (วิดีโอ รูปภาพ) หรือหน้าข่าวที่จะต้องการให้ติดหน้า SERP (Search Engine Results Page) น้อย ทำให้ไม่จำเป็นที่ต้องมี Sitemap ช่วย

เกร็ดน่ารู้ เกี่ยวกับ Sitemap

  • สำหรับเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ให้ทำการแบ่งสิ่งต่าง ๆ ออกเป็น Sitemap ที่มีขนาดเล็กลง โดย Sitemap ควรมี URL ไม่เกิน 50,000 รายการ หากมีหน้าเว็บไซต์จำนวนมากกว่านี้ก็ควรแบ่ง Sitemap ออกเป็นหลายๆ ไซต์ เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูล
  • ในหน้า Sitemap จะมีการระบุวันที่ของ URL ที่คุณทำการแก้ไขล่าสุดเชื่อมโยงอยู่ด้วย แนะนำให้เปลี่ยนวันที่เหล่านี้ มิฉะนั้น Google จะเตือนว่าการอัปเดตวันที่ในหน้าเว็บที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสแปมได้

เกร็ดน่ารู้ เกี่ยวกับ Sitemap

  • ไม่จำเป็นต้องมี Sitemap สำหรับวิดีโอ เนื่องจากมี Video Schema ใช้แทนได้
  • Google และ Bing อนุญาตให้ใช้ขนาด Sitemap ไม่เกิน 50 MB
  • Google และเครื่องมือค้นหาอื่นๆ ไม่ได้ใช้ HTML Sitemap ในการเก็บข้อมูล แต่ใช้ XML  Sitemap เท่านั้น ดังนั้นการทำ HTML Sitemap จึงมีประโยชน์สำหรับแค่ผู้ใช้งานเว็บไซต์ ดังนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ (ยกเว้นคุณคิดว่ามีประโยชน์กับผู้เข้าชมจริง ๆ )

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Sitemap 

หาก Google Search Console พบว่า XML Sitemap Error ต้องทำอย่างไร 

หากเกิด Sitemap Error ก็ต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาที่เกิดขึ้นให้เจอเสียก่อน เช่น เกิดจากการที่ Google อ่าน Sitemap ไม่ได้ ก็ต้องทำการส่ง  Sitemap ใหม่ไปอีกครั้ง, Google เข้าถึง URL ไม่ได้ แนะนำให้ใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL เพื่อดูว่า URL พร้อมใช้งานสำหรับ Google ไหม เป็นต้น 

ตรวจสอบอย่างไรว่า Website มี XML Sitemap ไหม

หากใช้ WordPress ให้ตรวจสอบโดยการพิมพ์ https://ชื่อเว็บไซต์/sitemap.xml หากเว็บไซต์ของคุณทำการติดตั้ง Yoast SEO ด้วยจะเห็นว่า URL จะเปลี่ยนเป็น https://ชื่อเว็บ/sitemap_index.xml หลังจากนั้นก็จะมีผลลัพธ์ของ Sitemap_index.xml ที่รวบรวม Sitemap แต่ละรายการที่ทำเอาไว้ให้ในหน้าเดียว

ตรวจสอบอย่างไรว่า Website มี XML Sitemap ไหม

เราสามารถอัปเดต XML Sitemap ได้อย่างไร 

จริงๆ แล้วคุณสามารถทำการเข้าไปอัปเดต XML Sitemap ด้วยตัวเองได้ แต่วิธีนี้คุณจะต้องทำการอัปเดตเองอยู่ตลอด ดังนั้น แนะนำให้ใช้ Yoast SEO ในการอัปเดต Sitemap แบบอัตโนมัติจะเป็นการดีที่สุด

เราสามารถใช้ <priority> ใน XML Sitemap ของตัวเองได้ไหม 

หากเป็นในอดีตผู้คนมักเข้าใจว่าการใช้ <priority> จะส่งสัญญาณให้ Google ทราบว่า Google จะต้องจัดลำดับความสำคัญของ URL นั้น ๆ ก่อน แต่จริง ๆ แล้ว Google ไม่ได้ใช้ <priority> ในการจัดอันดับแต่อย่างใด ดังนั้น <priority> จึงไม่ใช่ attribute ที่สำคัญที่จะต้องระบุไว้ใน XML Sitemap

ข้อสรุปของ Sitemap 

Online Sitemap คือ หนึ่งในวิธีการที่ทำให้เว็บไซต์ใช้งานได้ง่ายมากขึ้นด้วยการทำสารบัญหน้าเว็บไซต์ที่ User และ Googlebot สามารถเข้าใจได้ อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของด้าน Technical SEO ที่พลาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะช่วยทำให้อันดับของ SEO ดีขึ้นได้อีกด้วย 

ใครที่ไม่อยากยิง Google Ads  (หรือก็คือการทำอันดับบน Google ด้วยการเสียเงินโฆษณา) ก็ต้องไม่ลืมที่จะเตรียมทำ Google Stemap เอาไว้ด้วย เพราะเรื่องนี้ถือเป็นงานที่สามารถทำได้ในขั้นตอนแรกๆ ของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ 

 

Source

backlinko. (n.d.) Sitemaps. [Online]. Available from: https://backlinko.com/hub/seo/sitemaps

Meike Hendriks. (2022) What is an XML sitemap and why should you have one?. [Online]. Available from: https://yoast.com/what-is-an-xml-sitemap-and-why-should-you-have-one/

umbraco. (n.d.) What is a sitemap?. [Online]. Available from: https://umbraco.com/knowledge-base/sitemap/

Google Serach Central. (n.d.) Build and submit a sitemap. [Online]. Available from:  https://developers.google.com/search/docs/crawling-indexing/sitemaps/build-sitemap?hl=en

 

3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้
Business | Marketing | SME Inspire
3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้

ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์รองเท้า หรือแบรนด์เครื่องประดับ เพราะนอกจากจะสะท้อนตัวตนของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมี Vibe ที่สนุก…

Aggressive Marketing
Marketing | SME Inspire
Aggressive Marketing คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง

แต่ละธุรกิจย่อมมีวิธีการหาลูกค้าที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้วิธียิงโฆษณาแบบ Lead Generation ติดโปสเตอร์ ทำคลิป หรือติดต่อผ่าน Connection ที่รู้จักกัน แต่สิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนควรรู้ไว้ คือเทคนิคการหาลูกค้าในสมัยนี้จะเน้น ‘เชิงรุก’…

Customer Insight
Marketing | Social Media Strategy
รู้จัก Customer Insight และแชร์เทคนิคการหา Insight ของลูกค้า สำหรับนักการตลาด

ในยุคที่การตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งขึ้น การรู้จักและเข้าใจ Customer Insight จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Customer Insight…