Color Psychology คือ? สำคัญกับการตลาดแค่ไหน ปรับใช้ยังไงได้บ้าง

การเลือกใช้สีตามหลักจิตวิทยาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่รู้จักกันมาช้านาน เนื่องจากทางจิตวิทยาเชื่อกันว่า สีคือสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของระบบประสาท และทำให้มนุษย์รู้สึกถึงอะไรบางอย่างแตกต่างกันได้ หากคุณเองก็กำลังสนใจศึกษาเรื่องของ Color Psychology หรือ จิตวิทยาสี Digital Tips รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นทุกอย่างมาไว้ในบทความนี้แล้ว มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน!

Color Psychology คืออะไร

Color Psychology 

ที่มา: https://www.serenaarchetti.com/blog/the-meaning-of-colors-how-to-use-colors-in-your-art 

จิตวิทยาสี หรือ Color Psychology คือ องค์ความรู้ทางจิตวิทยาที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่า สีส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของมนุษย์อย่างไร ซึ่งอาจต่อยอดไปถึงการศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มเติมด้วย เช่น สีกับบุคลิกภาพ สีกับอารมณ์ สีกับการเป็นสัญลักษณ์ ไปจนถึงการใช้สีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด

ความหมายและอารมณ์ที่สะท้อนผ่านสีต่าง ๆ

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวบรวมอารมณ์ความรู้สึกที่สะท้อนผ่านสีหลัก ๆ ไว้ทั้งสิ้น 10 สี เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการออกแบบชิ้นงานสำหรับทำคอนเทนต์หรือยิงโฆษณา โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

  • สีดำ: ให้ความรู้สึกเคร่งขรึม ลึกลับ น่ากลัว เศร้าหมอง และหดหู่
  • สีขาว: เป็นสัญลักษณ์ของความสะอาด บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา และการสงบศึก
  • สีแดง: เป็นสีที่สามารถดึงดูดความสนใจได้มากที่สุด ให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ กระปรี้กระเปร่า แข็งแกร่ง และกล้าหาญ
  • สีน้ำเงิน: สะท้อนความสงบเยือกเย็น ซื่อสัตย์ บรรเทาความเศร้าและกล่อมเกลาจิตใจได้ดี
  • สีเขียว: ให้ความรู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา ช่วยให้ปลายประสาทสายตาผ่อนคลายจากความเครียด
  • สีเหลือง: สะท้อนความสดใส ความเป็นหนุ่มสาว ความเฉลียวฉลาด ยินดีปรีดา และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
  • สีชมพู: สะท้อนธรรมชาติที่อ่อนนุ่ม คล้ายเด็กทารก
  • สีม่วง: สีม่วงโทนเข้มจะให้ความรู้สึกถึงเกียรติยศ และความภาคภูมิ ในขณะที่สีโทนอ่อนจะสะท้อนความลึกลับ วังเวง และซึมเศร้า
  • สีน้ำตาล: สะท้อนความกระวนกระวาย ไม่ไว้วางใจ
  • สีเทา: เป็นสีแห่งความประนีประนอม สะท้อนความชรา ความสุขุม รอบคอบ และสงบเสงี่ยม

ตัวอย่างการนำ Color Psychology ไปปรับใช้กับการตลาด

ข้อมูลจาก Hubspot ยืนยันว่า “93% ของลูกค้ากลุ่มตัวอย่างตัดสินใจซื้อสินค้าโดยพิจารณาจากภาพเพียงอย่างเดียว” และ “90% ของความประทับใจแรกของลูกค้ามาจากสี” ดังนั้น Color Psychology คือ องค์ความรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการตลาดได้จริง หากคุณยังไม่มีไอเดียในการปรับใช้ ศึกษาได้จากตัวอย่างเหล่านี้

การใช้โทนสีฟ้า – น้ำเงินออกแบบโลโก้บริษัทประกัน

Blue Cross Blue Shield Association 
Blue Cross and Blue Shield Association Logo

ที่มา: https://www.prnewswire.com/news-releases/blue-cross-blue-shield-association-collaborates

ดังที่เราได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว สีน้ำเงินสามารถสะท้อนความสงบเยือกเย็นและความซื่อสัตย์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Blue Cross Blue Shield Association สมาพันธ์ประกันสุขภาพในอเมริกา ที่เชื่อกันว่าโทนสีฟ้า – น้ำเงิน จะสามารถเสริมสร้างความไว้วางใจ และทำให้ลูกค้าเชื่อถือในคุณภาพของบริการได้ พวกเขาจึงออกแบบโลโก้หลักของสมาพันธ์ด้วยโทนสีฟ้า รวมทั้งคุมโทน CI ของแบรนด์ให้เป็นสีฟ้าด้วย

การใช้สีแดงเพิ่มพลังให้กับแบรนด์ในโลโก้ Coca – Cola

Coca Cola

ที่มา: https://www.df.cl/empresas/consumo/coca-cola-eleva-sus-previsiones-de-ingresos-y-ganancias-por-el-alza-de 

Coca – Cola แบรนด์เครื่องดื่มน้ำดำเลื่องชื่อที่มีชื่อเสียงมานับศตวรรษ เลือกใช้สีที่ให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ กระปรี้ประเปร่า และมีพลังอย่างสีแดง เป็นสีหลักประจำแบรนด์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนรู้สึกได้ถึงความรีบด่วน ความหลงใหล และรู้สึกมีพลัง นอกจากนี้ สีแดงยังมีพลังกระตุ้นในระดับกายภาพ ทำให้ผู้คนรู้สึกหิวกระหายได้อีกด้วย

การใช้สีเหลืองกระตุ้นความสุขในโลโก้ McDonalds

McDonalds

ที่มา: https://www.wlzcxy.com/?category_id=1964730 

McDonalds เลือกใช้โทนสีเหลืองซึ่งกระตุ้นความรู้สึกเป็นหนุ่มสาว ความสดใสร่าเริง และความคิดสร้างสรรค์ เป็นสีหลักในโลโก้ เพื่อสะท้อนตัวตนของแบรนด์ที่ต้องการสร้างสัมพันธ์แห่งความสุขร่วมกับผู้บริโภค และพร้อมกันนี้ยังวางโลโก้สีเหลืองลงบนพื้นสีแดงที่กระตุ้นความอยากอาหารอีกด้วย 

การใช้สีชมพูสะท้อนความอ่อนเยาว์ในโลโก้ Barbie

Barbie

ที่มา: https://blog.logomyway.com/barbie-logo/ 

นอกจากจะเป็นสีแรก ๆ ที่ผู้คนนึกถึงเมื่อกล่าวถึงผู้หญิง สีชมพูยังเป็นสีที่แบรนด์ต่าง ๆ ใช้เพื่อสะท้อนความอ่อนเยาว์ และกระตุ้นจินตนาการอีกด้วย หนึ่งในนั้นคือ Barbie แบรนด์คาแร็กเตอร์การ์ตูนสีหวานที่ถูกสร้างมาเพื่อผู้หญิง เมื่อคุณมองโลโก้ Barbie หรือได้ชมการ์ตูนเรื่องนี้ คุณจะรู้สึกได้ถึงความเป็นเด็กสาวเยาว์วัย ไม่ว่าตัวจริงจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็ตาม

สรุป

Color Psychology คือ อาวุธที่ติดปีกให้กับการตลาดของคุณได้อย่างน่าทึ่ง เพราะสามารถนำไปปรับใช้ได้กับเกือบทุกส่วนของการสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโลโก้ ออกแบบ CI ออกแบบเครื่องแต่งกายของพนักงาน ตลอดจนธีมสีหลัก ๆ ของฉลากสินค้า ทั้งนี้ การเลือกใช้สีที่ตรงกับวัตถุประสงค์ จะกระตุ้นให้เป้าหมายรู้สึกสนใจในแบรนด์ของคุณ

อ้างอิง

Hubspot. Color Psychology: How To Use it in Marketing and Branding

Available from: https://blog.hubspot.com/the-hustle/psychology-of-color 

WebMD. What Is Color Psychology?

Available from: https://www.webmd.com/mental-health/what-is-color-psychology

Virtual Try-on บน Google
AI Marketing | Google
Virtual Try-on ฟีเจอร์สำหรับลองเสื้อก่อนซื้อจริงบน Google Shopping

ท่ามกลางกระแส E-commerce ที่กำลังมาแรง Google โปรแกรม Search Engine อันดับ 1 ของโลกจึงกระโดดลงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันในสนามนี้บ้าง ด้วยการเปิดตัว Google…

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…