Five Forces Model

คุณเองก็เป็นเหมือนกันใช่ไหม? อยากเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างจริงจัง แต่ไม่มั่นใจว่าตัวเองต้องเจอกับอะไรบ้าง หรือต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องอะไร Five Forces Model คือสิ่งที่จะให้คำตอบคุณได้ ลองเริ่มจากการวิเคราะห์ธุรกิจผ่านทั้ง 5 แง่มุมนี้ เพื่อมองให้เห็นจุดอ่อน – จุดแข็งของธุรกิจคุณ


>> อ่านเพิ่มเติม: SWOT คืออะไร (SWOT Analysis) ตัวอย่างการวิเคราะห์ธุรกิจในปัจจุบัน

Five Forces Models คืออะไร คิดค้นโดยใคร?

Alt: Five Forces Model
ที่มา: https://studyblog.smart-edge.in/five-forces-model-of-competition-michael-porter-hbs/

Five Forces Model คือ แบบจำลองหรือกรอบความคิดที่ใช้วิเคราะห์ภูมิทัศน์การแข่งขันของทุก ๆ ธุรกิจ รู้จักกันในนาม Porter’s Five Forces เพราะคิดค้นโดยศาสตราจารย์ Michael Porter แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยแบบจำลองนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อปี 1979 และได้กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในเวลาต่อมา


ประโยชน์ของ Five Forces Models คืออะไร 

Five Forces Model ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎีที่จำเป็นมากสำหรับธุรกิจใหม่ เพราะมีคุณูปการมากมายต่อการขยับขยายสายป่านและพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม ดังจะอธิบายต่อไปนี้

1. วิเคราะห์การแข่งขัน

Five Forces Model ช่วยให้คุณมองเห็นจุดแข็ง – และจุดอ่อนของธุรกิจ ทำให้คุณสามารถประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างธุรกิจของตัวเองกับธุรกิจอื่นได้ และทำให้มองเห็น Positioning (การวางตำแหน่งของแบรนด์) ชัดเจนขึ้น

>> อ่านเพิ่มเติม: รู้จักกับ STP Marketing บันไดขั้นแรกของการทำ Social Media Marketing  

2. ประเมินสิ่งที่ธุรกิจของตัวเองยังขาดอยู่

Five Forces Model จะทำให้คุณเริ่มมองเห็นว่า อะไรบ้างที่คุณจำเป็นต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้มีทัดเทียมกับธุรกิจอื่น เช่น พันธมิตรที่เป็นดีลเลอร์ส่งสินค้าให้ พาร์ทเนอร์ที่ช่วยกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานในยุค Digital Transformation เป็นต้น

3.บริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อคุณเข้าใจสิ่งที่ธุรกิจของตัวเองมีอย่างดีแล้ว คุณก็จะสามารถวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รู้ว่าอะไรควรใช้ประโยชน์เพื่อส่วนไหน หรือควรโยกย้ายทรัพยากรอะไร เพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด


Five Forces Models ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

Five Forces Model คือกรอบแนวคิดที่มี 5 องค์ประกอบตามชื่อ อันได้แก่

  • Competitive Rivalry
  • Threat of New Entrants
  • Bargaining Power of Suppliers
  • Bargaining Power of Buyers
  • Threat of Substitutes

1. Competitive Rivalry – การแข่งขันกับธุรกิจคู่แข่ง

Alt: Competitive Rivalry
ที่มา: https://www.sundreamgroup.com/blog/how-to-identify-the-ferocity-of-competitive-rivalry-in-an-industry/

หมายถึง ความเข้มข้นของการแข่งขันระหว่างผู้เล่นที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม หรือก็คือ ธุรกิจของคุณและบรรดาธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการแบบเดียวกัน ซึ่งปัจจัยที่จะต้องพิจารณา หนีไม่พ้นจำนวนและขนาดของคู่แข่ง ความหลากหลายของข้อเสนอ และระดับความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี หากในตลาดที่คุณอยู่มีการแข่งขันสูง ก็ควรเตรียมหากลยุทธ์รับมือกับสงครามราคา ผลกำไรที่ลดลง และความยากลำบากในการพิชิตตลาด (หากคุณเป็นธุรกิจใหม่)

2. Threat of New Entrants – การมาของผู้ประกอบการรายใหม่

โมเดลนี้ใช้ในการวิเคราะห์ความยากง่ายของบริษัทใหม่ ในการผลักดันตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม โดยปัจจัยที่ต้องพิจารณา คืออุปสรรคในการเข้าร่วม เช่น ต้นทุนสตาร์ทอัพที่สูง ความภักดีต่อแบรนด์ กฎระเบียบของรัฐบาล และการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งแน่นอนว่า หากตลาดที่คุณอยู่มีผู้ประกอบการรายใหม่ทยอยตบเท้ากันเข้ามา ก็หมายความว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของแต่ละธุรกิจก็จะน้อยลงไป และผลกำไรก็มีสิทธิ์จะน้อยลงด้วยเช่นกัน

3. Bargaining Power of Suppliers – อำนาจของซัพพลายเออร์

Alt: Supplier Power
ที่มา: https://dfreight.org/blog/types-of-suppliers-to-source-your-products/

บางครั้งซัพพลายเออร์ก็มีอิทธิพลต่อราคาและเงื่อนไข หากซัพพลายเออร์ของคุณเป็นผู้เดียวที่สามารถให้บริการด้านนั้นๆ ได้ แสดงว่าซัพพลายเออร์เจ้านั้นมีอำนาจในการจัดหาค่อนข้างมาก และอาจรวมถึงสามารถเพิ่มราคาหรือลดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลงได้ด้วย ทั้งนี้ แม้ว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนซัพพลายเออร์ได้ แต่ก็ต้องพิจารณาว่าการเปลี่ยนซัพพลายเออร์จะมีความคุ้มค่าหรือไม่อีกอยู่ดี

4. Bargaining Power of Buyers – อำนาจต่อรองของลูกค้า

ไม่เพียงแต่ซัพพลายเออร์เท่านั้น ลูกค้าเองก็มีอำนาจต่อรองเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะถ้าลูกค้ากลุ่มนั้นเป็นรายได้หลักของธุรกิจคุณ พวกเขาอาจมีกำลังซื้อครั้งละมาก ๆ หรือมาพร้อมสายป่านที่ดี คุณจึงควรวางกลยุทธ์สำหรับรักษาฐานลูกค้าเหล่านี้ เพราะการซื้อของพวกเขามีผลต่อการอยู่รอดของธุรกิจคุณ

5. Threat of Substitutes – ภัยคุกคามจากสิ่งทดแทน

สิ่งทดแทนในที่นี้ ก็คือสินค้า/บริการอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณกำลังผลิตอยู่ แต่ราคาถูกกว่า และสามารถใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ของลูกค้า และส่งผลต่อผลกำไรโดยรวมของคุณ ดังนั้น คุณจึงควรสำรวจการมีอยู่ของสิ่งทดแทนเหล่านี้ และพยายามรักษาคุณภาพของสินค้าให้คงที่ ตลอดจนสร้าง Brand Loyalty เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ให้เหนียวแน่นที่สุด


สรุป

ทั้งหมดนี้ คือการวิเคราะห์ธุรกิจผ่าน Five Forces Model ซึ่งจะช่วยให้คุณมองธุรกิจของตัวเองได้อย่างรอบด้าน ครบทุกแง่มุม และสามารถวางกลยุทธ์เพื่อพัฒนาธุรกิจต่อได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญ ยังสามารถวางแผนรับมือกับการเติบโตของคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้อีกด้วย


อ้างอิง

MindTools. Porter’s Five Forces – The Framework Explained

Available from: https://www.mindtools.com/at7k8my/porter-s-five-forces 

Forbes. Porter’s Five Forces: Definition & How To Use The Model

Available from: https://www.forbes.com/advisor/business/porters-five-forces/

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…

KOL Management ต้องอ่าน! รวม KPI ของงานจ้างอินฟลูที่คุณต้องรู้
Marketing
KOL Management ต้องอ่าน! รวม KPI ของงานจ้างอินฟลูที่คุณต้องรู้

ดังที่บุคลากรสายการตลาดทราบกันดีว่า Influencer Marketing คือหนึ่งในเทคนิคการตลาดยอดนิยมแห่งยุค เนื่องจากความนิยมของคอนเทนต์ประเภทคลิปวิดีโอสั้น และวัฒนธรรมการเสพวิถีชีวิตของคนมีชื่อเสียง จึงทำให้ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้มีสายงานใหม่ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ…