ugc

User-generated content หรือ UGC คือ คอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากลูกค้าของแบรนด์ตัวจริง ที่เนื้อหาของคอนเทนต์จะมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์เช่นการรีวิวสินค้าบน Facebook, Instagram หรือการเขียนบทความแนะนำสินค้าบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ฯลฯ

ซึ่งประโยชน์ของการทำ UGC คือช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณในยุคที่ผู้บริโภคเลือกใช้ช่องทางออนไลน์เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการสักอย่าง เพราะฉะนั้นเพื่อให้คุณได้เข้าใจศาสตร์นี้กันให้มากขึ้น Digital Tips เลยขอมาอธิบายให้ว่า User-generated content (UGC) คืออะไร สำคัญต่อการทำแบรนด์อย่างไร? ไปติดตามกันค่ะ

UGC หรือ User-generated content คืออะไร

User-generated content หรือ UGC คือคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก ‘ลูกค้า’ ของแบรนด์ ซึ่งเนื้อหาที่ว่านั้นต้องมีการพูดถึงสินค้าหรือบริการของแบรนด์ด้วย โดยสิ่งสำคัญของ UGC คือ การสร้างคอนเทนต์ต้องเป็นเนื้อหาที่ลูกค้าเต็มใจโพสต์โดยที่ทางแบรนด์ของคุณไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ้างเลยแม้แต่บาทเดียว ซึ่งการทำ User-generated content หรือ UGC นั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Content Marketing อีกด้วย

ugc คือ

โดยตัวอย่างของการทำ UGC คือการรีวิวสินค้าบน Facebook ขายของใน TikTok หรือ Social Media แพลตฟอร์มอื่น ๆ, การเขียนบทความแนะนำสินค้าบนเว็บไซต์ต่าง ๆ กระทั่งการเขียนกระทู้รีวิวสินค้าบน Pantip ก็นับว่าเป็นการทำ User-generated content หรือ UGC ด้วยกันทั้งสิ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Social Media Marketing (SMM) คืออะไร ส่งผลต่อธุรกิจของคุณอย่างไร 

ความสำคัญของ User-generated content 

User-generated content หรือ UGC เข้ามามีความสำคัญต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะอิทธิพลจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทั้ง Social Media หรือเว็บไซต์ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการบางอย่างจากผู้บริโภค ทำให้การทำ UGC กลายเป็นเทคนิคการทำ Content Marketing ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือก่อนการตัดสินใจซื้อให้กับแบรนด์ได้  

UGC ข้อดี

“UGC คือคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคกว่า 56% มองว่าสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ได้มากที่สุด”

 

แต่นอกจากนั้นการทำ User-generated content หรือ UGC ยังมีความสำคัญในด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจคุณอีก ดังนี้

เพิ่ม Brand Loyalty ได้ดี

เพราะการทำ User-generated content หรือ UGC คือการให้ผู้บริโภคมีส่วนในการสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาให้แบรนด์ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าแบรนด์มีการสร้างแคมเปญ User-generated content ขึ้นมาให้ลูกค้าได้สร้างสรรค์คอนเทนต์ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ เห็นถึงความสำคัญที่แบรนด์มีต่อพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยเพิ่ม Brand Loyalty และการทำ Branding ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณา

การทำ UGC คือตัวเลือกที่คุ้มค่ามาก ๆ สำหรับธุรกิจที่ต้องการโปรโมตแบรนด์ของตัวเองโดยที่ไม่ต้องเสียเงินเยอะแยะอะไรเลยค่ะ เพราะอย่างที่เราบอกไปว่าการทำ UGC นั้นลูกค้าที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ขึ้นมาจะต้องเป็นเนื้อหาที่ลูกค้าเต็มใจโพสต์ (โดยที่แบรนด์ไม่ต้องบังคับหรือจ่ายเงินให้ลูกค้าเหล่านั้นเลย) ซึ่งการทำ UGC จะช่วยให้แบรนด์ได้พื้นที่ในการโปรโมตบนสื่อออนไลน์ไปเต็ม ๆ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินโฆษณาเลย แถมยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคได้มากกว่าการทำโฆษณาจากทางแบรนด์อีกด้วย

เพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO 

การทำ UGC ไม่จำเป็นต้องใช้ Social Media ในการเผยแพร่คอนเทนต์เสมอไป เพราะลูกค้ายังสามารถใช้ช่องทางอย่าง เว็บไซต์ ในการเผยแพร่คอนเทนต์บทความได้อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีบทความถูกเผยแพร่ลงเว็บไซต์ก็จะส่งผลดีต่อการทำ SEO ของแบรนด์ด้วย หากลูกค้าที่ทำ UGC เหล่านั้นมีการใส่ Keyword คำค้นหาหลักเป็นชื่อแบรนด์หรือชื่อสินค้าของคุณค่ะ 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : SEO คืออะไร?

ช่วยให้แบรนด์ได้รับประสบการณ์จริงจากลูกค้า

การทำ User-generated content หรือ UGC นั้นจะช่วยให้แบรนด์ได้รับ Feedback หรือประสบการณ์การใช้งานจริงของลูกค้าที่เอามาถ่ายทอดลงในคอนเทนต์ (ที่อาจจะมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์ต่อแบรนด์มาก เพราะแบรนด์จะได้รับทราบ Feedback ที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของตัวเองและเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง พัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

คอนเทนต์ของ UGC มาจากใครบ้าง

ถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนน่าจะสงสัยใช่ไหมคะว่าแล้วการทำคอนเทนต์ UGC ใครจะสามารถทำให้แบรนด์ได้บ้าง ซึ่งการทำ UGC นั้นสามารถทำขึ้นได้จากหลายกลุ่มคน เช่น

ลูกค้า (Customer)

ลูกค้าคือกลุ่มคนที่สำคัญที่สุดในการทำ User-generated content หรือ UGC เพราะกลุ่มคนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ใช้งานสินค้าหรือบริการของคุณจริง ๆ เช่นคอนเทนต์ Unbox แกะกล่องสินค้าใน Youtube หรือ TikTok , คอนเทนต์รีวิวสินค้าหลังใช้งานจริงมา 1 เดือนเป็นต้น ซึ่งการที่ทำให้พวกเขาเหล่านี้มาสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้คุณได้นั้นจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้มากที่สุด และยังช่วยในการเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับแบรนด์ได้ด้วยค่ะ 

ผู้จงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalists)

บางทีการทำ User-generated content หรือ UGC นั้นก็ไม่จำเป็นต้องมาจากลูกค้าเสมอไปก็ได้ค่ะ แต่สามารถเกิดขึ้นได้จาก ผู้จงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalists) ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้นอาจไม่ใช่ลูกค้าของคุณแต่มีความชื่นชอบในแบรนด์หรือสินค้าของคุณเป็นพิเศษ โดยเราจะเห็นกลุ่มคนนี้ได้มากที่สุดในคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการพูดถึงสินค้าที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ หรือ สินค้าแบรนด์เนม เป็นต้น

พนักงานในองค์กร (Employees) 

พนักงานในองค์กรถือว่าเป็นอีกกลุ่มที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำ UGC ได้ดีอีกกลุ่มหนึ่งเลยค่ะ เพราะการที่ได้ User-generated content จากกลุ่มคนเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ของคุณเช่น รูปภาพของพนักงานบรรจุสินค้ารอการจัดส่งหรือวิดีโอของทีมของคุณที่พูดถึงสาเหตุที่พวกเขาชอบทำงานให้กับบริษัทของคุณ ฯลฯ

ครีเอเตอร์ที่แบรนด์จ้างทำคอนเท้นต์ (UGC creators) 

จริงอยู่ว่าการทำ User-generated content หรือ UGC คือการที่แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินในการทำโฆษณาหรือจ้าง Influencer แต่ในบางกรณีแบรนด์ก็สามารถจ้างกลุ่มคนที่เรียกว่า Content Creator มาช่วยในการสร้าง UGC ได้ แต่ต้องกำชับกับพวกเขาว่าให้พูดถึงสินค้าหรือบริการของคุณตามเนื้อผ้า เน้นเล่าเรื่องจริง ๆ ไม่ต้องแต่งเติมหรืออวยสินค้าของคุณจนเกินงาม 

ซึ่งข้อดีของการใช้งานคนกลุ่มนี้ในการทำ UGC คือพวกเขาจะมีความ Creative ในการเล่าเรื่องและสร้างสรรค์คอนเทนต์ออกมาให้น่าสนใจ และยังมีฐานผู้ติดตาม ซึ่งทำให้ธุรกิจของคุณได้รับ Brand Awareness ได้เป็นอย่างดี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Affiliate Marketing คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่าง

8 รูปแบบของ User-generated content 

การทำ User-generated content หรือ UGC นั้นสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ออกมาได้อย่างหลากหลายถึง 8 รูปแบบด้วยกันดังนี้

1. รูปภาพ (Images)

user generated content คือ

การถ่ายรูปภาพของสินค้าหรือบริการของคุณแล้วนำไปโพสต์ลงยังเว็บไซต์ หรือ Social Media ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok, Twitter ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก็นับว่าเป็นการทำ UGC ทันที เพราะถือว่าทำให้ผู้อื่นได้รับรู้แบรนด์ของคุณ

2. วิดีโอและไลฟ์สตรีม (Videos and live streams)

วิดีโอและไลฟ์สตรีม (Videos and live streams)

ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอคอนเทนต์ใน YouTube, Instagram Stories, วิดีโอที่ถ่ายทำเอง, สตรีมวิดีโอสดบน Facebook และแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นการทำ User-generated content หรือ UGC ทั้งนั้นแถมยังมีข้อดีตรงที่การทำ UGC แบบวิดีโอจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายของคุณเห็นถึงสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจนรู้สึกถึงความเป็นจริงมากกว่าคอนเทนต์รูปแบบอื่น ๆ 

3. คอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย (Social media content)

คอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย (Social media content)

การสร้างคอนเทนต์ใน Social Media เช่น การโพสต์ข้อความโซเชียลมีเดียใดๆ ที่พูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์ เช่น ทวีต โพสต์ Instagram หรือการอัปเดต Facebook ก็จัดว่าเป็นการทำ User-generated content หรือ UGC ที่ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายเลยค่ะ (และได้ผลลัพธ์ดีไม่แพ้คอนเทนต์รูปแบบอื่น ๆ เลย)

4. รีวิวสินค้า (Product reviews and testimonials)

การที่ลูกค้าสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบที่เป็น ‘การรีวิว’ พูดถึงแบรนด์ตามเนื้อผ้า เน้นเล่าความจริง ถือว่าเป็นรูปแบบของการทำคอนเทนต์ UGC ที่มีประสิทธิภาพอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าจะเผยแพร่ลงในเว็บไซต์หรือ Social Media ก็จะได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ (ต้องมั่นใจในคุณภาพของสินค้าหรือบริการของคุณด้วยนะ!) 

5. บทความต่างๆ (Blog posts)

การเขียนบทความลงในเว็บไซต์ส่วนตัว ก็จะช่วยเพิ่มช่องทางในการโปรโมตแบรนด์ของคุณผ่านทางเว็บไซต์ที่สามารถเขียนบรรยายได้ยาวหน่อย (เหมาะสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีรายละเอียดที่อยากให้กลุ่มเป้าหมายทราบเยอะ) และการเลือกใช้ บทความ ในการทำ UGC ยังเป็นผลดีต่อการทำ SEO ของแบรนด์ด้วยค่ะ

6. การแลกเปลี่ยนความเห็นบนเว็บไซต์ (Q&A forum)

การสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบ. การแลกเปลี่ยนความเห็นบนเว็บไซต์ (Q&A forum) ตามกระทู้ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ เช่น Pantip, DekD ฯลฯ คอนเทนต์รูปแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าคนอื่น ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้เพิ่มมากขึ้น และยังเป็นพื้นที่ที่ให้แบรนด์มาตอบคำถาม คลายข้อสงสัยให้กับกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะยังมีสงสัยหรือคำถามต่อสินค้าและบริการของแบรนด์อีกด้วย

7. กรณีศึกษา (Case studies) 

คอนเทนต์ในรูปแบบของ กรณีศึกษาหรือ Case studies คือการสร้างคอนเทนต์ที่เป็นบทวิจารณ์จากลูกค้าโดยละเอียดซึ่งอธิบายถึงข้อดีข้อเสียของผลิตภัณฑ์และบริการเชิงลึก ซึ่งกลุ่มคนที่มักจะสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้จงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalists) และพนักงานในองค์กร (Employees) เป็นส่วนใหญ่ค่ะ

8. แบบสำรวจ (Surveys)

อาจเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่หลายคนมองข้ามไป แต่ในต่างประเทศการทำแบบสำรวจ (Surveys) นั้นเป็นรูปแบบการทำ UGC ที่ค่อนข้างที่จะให้แบรนด์ได้รับ Feedback ที่สำคัญเพื่อมาพัฒนาธุรกิจ ซึ่งหากแบรนด์ไหนที่ต้องการทำ UGC ในคอนเทนต์รูปแบบนี้แนะนำให้เลือกจ้างกลุ่ม Content Creator มาช่วยในการเผยแพร่คอนเทนต์จะง่ายและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดค่ะ

วิธีสร้าง UGC เพื่อเพิ่มยอดขาย 

หลังจากที่เราได้รู้รูปแบบของคอนเทนต์ UGC กันไปแล้ว เราลองมาดูกันค่ะว่าแล้วแบรนด์จะเริ่มสร้าง User-generated content หรือ UGC เพื่อเพิ่มยอดขายได้อย่างไรหรือมีเทคนิคอะไรในการทำงานบ้าง

1. สร้างแคมเปญแข่งขันทำคอนเทนต์ UGC

สร้างแคมเปญแข่งขันทำคอนเทนต์ UGC

การสร้างแคมเปญแข่งขันทำคอนเทนต์ UGC ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าของแบรนด์เริ่มทำคอนเทนต์ UGC ได้ง่ายที่สุดเพราะมีของรางวัลมาล่อใจพวกเขา โดยเรามักจะเห็นรูปแบบการสร้างแคมเปญแข่งขันทำคอนเทนต์ UGC กับแบรนด์ที่มีสินค้าประเภทกล้องถ่ายรูป, สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์เดินป่าและแคมป์ปิ้ง ฯลฯ 

ตัวอย่างเช่น GoPro ที่เคยจัดแข่งขันให้ลูกค้าของพวกเขาถ่ายรูปและวิดีโอผ่านกล้อง GoPro ซึ่งภาพใดที่ผ่านการคัดเลือกก็จะได้รางวัลและถูกโพสต์ลง Instagram และเว็บไซต์ของ GoPro อีกด้วย

2. สร้าง Hashtag ของแบรนด์

สร้าง Hashtag ของแบรนด์

ในกรณีที่แบรนด์ของคุณอยากโดดเด่นจนลูกค้าจดจำได้ขึ้นใจ เราแนะนำให้ลอง Hashtag สำหรับการทำ UGC ที่ไม่เหมือนใครขึ้นมา สิ่งนี้จะช่วยให้คุณค้นหา UGC ที่เกิดจากลูกค้าเพื่อนำไปใช้งานต่อได้ง่ายขึ้น เช่นตัวอย่างของ CalvinKlein แบรนด์เสื้อผ้าแฟชันชื่อดังที่ได้สร้าง Hashtag #MyCalvins ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สร้างคอนเทนต์นำ Hashtag นี้ไปใช้และฝั่งแบรนด์ก็จะสามารถเข้ามาดูได้ด้วยว่ามีผู้ใช้ Hashtag นี้ประกอบคอนเทนต์เยอะมากน้อยเพียงใด 

3. มอบรางวัลหรือตอบแทนลูกค้าที่สร้างคอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์

มอบรางวัลหรือตอบแทนลูกค้าที่สร้างคอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์

สำหรับแบรนด์ไหนที่ไม่ได้จัดแคมเปญแข่งขันการทำ UGC อะไรขึ้นมาแต่พบว่ามีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์ (โดยที่แบรนด์ไม่ได้จ้างคนกลุ่มนั้นด้วย) แนะนำว่าแบรนด์ควรมอบรางวัลหรือของตอบแทนอะไรบางอย่างให้ลูกค้ากลุ่มนั้นด้วยจะเป็นเรื่องที่ดีมากเลยค่ะ 

เพราะลูกค้าที่ทำ UGC ให้แบรนด์เมื่อพวกเขาได้รับของตอบแทนอะไรบางอย่างจากแบรนด์ พวกเขาจะรู้สึกว่าแบรนด์เห็นถึงความสำคัญของผู้บริโภคตัวเล็ก ๆ อย่างพวกเขาและทำให้พวกเขาพร้อมที่จะสนับสนุนแบรนด์ของคุณไปต่ออีกในอนาคตแน่ ๆ 

4. แบรนด์ต้องหมั่นแชร์คอนเทนต์ UGC ที่ได้มาจากลูกค้า

อีกหนึ่งสิ่งเป็นความต้องการของลูกค้าที่ทำคอนเทนต์ User Generated Content คือ การที่แบรนด์เห็นคอนเทนต์ที่พวกเขาทำและเลือกที่จะหยิบไปแชร์ลงในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์ม Social Media ที่เป็น Official Account ของแบรนด์ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความรู้สึกดีและ Brand Loyalty ให้แก่ลูกค้าได้อย่างดีเลยค่ะ

 แบรนด์ต้องหมั่นแชร์คอนเทนต์ UGC ที่ได้มาจากลูกค้า

ตัวอย่างเช่น The North Face ที่เป็นแบรนด์ขายอุปกรณ์ Camping และการผจญภัยที่มักจะนำรูปภาพที่ลูกค้าของพวกเขาถ่ายตอนผจญภัยทำกิจกรรมต่าง ๆ (ที่เห็นสินค้าของ The North Face) มาแชร์ลงใน Instagram ของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ

5. นำสิ่งที่ลูกค้าพูดถึงแบรนด์ในด้านดี มาต่อยอด

หากคุณเห็นแล้วว่าคอนเทนต์ UGC ที่ลูกค้าของคุณสร้างสรรค์ขึ้นนั้นมีประโยชน์หรือมีอะไรบางอย่างที่สามารถนำไปต่อยอดในการเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ ได้ อย่าช้าค่ะ! ให้คุณนำข้อความหรือคอนเทนต์เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ต่อให้เต็มที่ได้เลย

เช่นการนำข้อความที่ลูกค้าเขียนชมเชยในแบรนด์ของคุณ ไปสร้างเป็นคอนเทนต์ Testimonial แบบโพสต์ Facebook หรือเอาข้อความนั้นไปแปะในเว็บไซต์เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพของแบรนด์ก็ทำได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการนำคอนเทนต์ UGC ที่แบรนด์ได้มาไปต่อยอดสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้อีก

เครื่องมือในการทำ UGC  

ลองมาดูตัวอย่างของ เครื่องมือในการทำ UGC ที่เราอยากแนะนำกันบ้างค่ะว่าจะมีเครื่องมืออะไรบ้าง จะขอยกตัวอย่างมา 5 เครื่องมือ

โดยส่วนใหญ่เครื่องมือที่ยกตัวอย่างมาจะเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Social Listening Tools หรือเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามว่าในขณะนี้มีใครกำลังกล่าวถึงหรือทำคอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์ของเราบ้าง ซึ่งสามารถติดตามได้ทั้งเว็บไซต์และแพลตฟอร์ม Social Media ทุกตัว    

NOTE : แต่ทั้งนี้เครื่องมือบางตัวอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการสมัครใช้บริการ อย่าลืมศึกษารายละเอียดและราคาของแต่ละเครื่องมือด้วยนะคะ

ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการทำ UGC 

Coca-Cola หรือโค้กแบรนด์น้ำอัดลมเบอร์ใหญ่ของโลก คือตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการทำ UGC ซึ่งมีไอเดียที่น่าสนใจมาก 

โดยในปี 2011 Coca-Cola ได้ทำการเปลี่ยนแพคเกจจิ้งกระป๋องน้ำอัดลมของตัวเองที่มีการระบุ ชื่อเล่น ของคนส่วนใหญ่กว่า 400 คนกระจายลงในกระป๋องน้ำอัดลมแล้วจัดส่งไปทั่วโลก เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนุกในการค้นหากระป๋องที่มีชื่อของตัวเอง ซึ่งเมื่อผู้บริโภคเจอกระป๋องที่มีชื่อตัวเองอยู่พวกเขาก็จะถ่ายรูปลง Social Media ทันที พร้อมติด Hashtag #ShareACoke ลงไปด้วย

ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการทำ UGC

แคมเปญ UGC นี้ของ Coca-Cola แม้จะไม่ได้ระบุตัวเลขของการเติบโตที่แน่นอนออกมา แต่ก็ประเมินได้จากตาเปล่าเลยค่ะว่าแคมเปญนี้ประสบความสำเร็จมาก ๆ ถึงขั้นเป็นกระแสตามหากระป๋องที่มีชื่อตัวเองกันเต็มโซเชียลเลย ซึ่งถือว่าเป็นการทำแคมเปญการทำ User-generated content หรือ UGC ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนุกไปกับแบรนด์ จนพร้อมใจกันสร้างคอนเทนต์ UGC กันแบบถล่มทลาย

เคล็ดลับการทำ UGC ให้ประสบความสำเร็จ

มาดูกันค่ะว่าเคล็ดลับการทำ UGC ให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องอาศัยเทคนิคหรือวิธีการอะไรบ้าง เราสรุปมาให้คุณเข้าใจกันแบบง่าย ๆ แล้ว!

  • ขอความยินยอมจากลูกค้าก่อนเสมอ

บางครั้งลูกค้าที่สร้างคอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์คุณนั้นพวกเขาอาจจะสร้างขึ้นมาเพราะชื่นชอบจริง ๆ แต่ไม่ได้ต้องการให้แบรนด์เอาไปโพสต์ซ้ำหรือไม่อยากให้เป็นกระแส ดังนั้นหากจะนำคอนเทนต์ UGC ของลูกค้าคนไหนมาใช้งานในแพลตฟอร์มของแบรนด์ตัวเองต้องขอความยินยอมจากลูกค้าเจ้าของคอนเทนต์ก่อนเสมอ

  • อย่าลืมให้เครดิตเจ้าของคอนเทนต์ก่อนนำไปเผยแพร่

เมื่อขอความยินยอมได้แล้ว เวลาที่แบรนด์นำไปเผยแพร่ต้องให้เครดิตกับเจ้าของคอนเทนต์เสมอ เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจต่อเจ้าของคอนเทนต์ และทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วย

  • ติดตามและปรับปรุงผลลัพธ์การทำงานอย่างสม่ำเสมอ

การทำคอนเทนต์ UGC นั้นสามารถนำไปต่อยอดเพื่อติดตามและปรับปรุงผลลัพธ์การทำงานได้ เช่นคุณอาจจะลองใช้ UTM เพื่อติด Tracking ในการวัดผลลิงก์ต่าง ๆ, หรือลองนำคอนเทนต์ UGC ที่ลูกค้าสร้างขึ้นมาทำการยิงแอด Facebook เพื่อทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ก็ได้เช่นกันนะคะ

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ UGC 

การสร้างเนื้อหาที่เปิดกว้างและมีส่วนร่วมจากทุก ๆ คน ถือเป็น UGC หรือไม่? 

“ถือว่าเป็น UGC” ขอเพียงแค่เนื้อหาเหล่านั้นมีการพูดถึงแบรนด์ เช่นสินค้าหรือบริการ ฯลฯ โดยจะมาจากผู้คนกลุ่มใดก็ได้ และที่สำคัญคือคุณไม่ได้จ้างคนกลุ่มนั้นมาช่วยสร้างคอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์

การทำ UGC เหมาะกับธุรกิจแบบใด?

การทำ UGC เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภทที่ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ เพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ หรือกำลังขยายการเติบโตแบบใช้กลยุทธ์ Inbound Marketing ที่ทำให้แบรนด์สามารถเพิ่มยอดขาย ดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ โดยไม่ใช้งบประมาณ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Inbound Marketing คืออะไร ทำไมธุรกิจควรทำการตลาดแบบดึงดูด

ข้อสรุปของ UGC 

การทำ User-generated content หรือ UGC คือวิธีในการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการทำให้แบรนด์ของคุณเติบโตที่นอกจากจะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือแล้ว ยังเป็นสิ่งที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง 

เพราะการแข่งขันของธุรกิจโลกออนไลน์ที่ในปัจจุบันกำลังมุ่งเน้นไปที่การสร้างความน่าเชื่อถือและการทำ Branding ที่ดีให้กับลูกค้า ก็จะทำให้การสร้างยอดขายเกิดได้ง่ายขึ้นเพราะลูกค้าเลือกที่จะตัดสินใจซื้อ หรือ บริโภคจากการดูผลลัพธ์การใช้งานที่มาจากลูกค้ากันเองมากกว่าการตัดสินรูปแบบอื่น ๆ 

Digital Tips หวังว่าบทความเรื่อง User-generated content หรือ UGC คืออะไร ที่เราได้อธิบายมาทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจของคุณได้นะคะ 

อ้างอิงข้อมูล

Claire Beveridge, What is User-Generated Content? And Why is it Important?, January 13, 2022 https://blog.hootsuite.com/user-generated-content-ugc

Tamilore Oladipo, A Straightforward Approach to User Generated Content that Connects, June 6, 2022 https://buffer.com/resources/what-is-user-generated-content/ 

Hannah Williams, The Best User-Generated Content Examples & Ideas, April 19, 2022 https://www.meltwater.com/en/blog/user-generated-content-examples 

3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้
Business | Marketing | SME Inspire
3 กรณีศึกษาสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้

ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์รองเท้า หรือแบรนด์เครื่องประดับ เพราะนอกจากจะสะท้อนตัวตนของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมี Vibe ที่สนุก…

Aggressive Marketing
Marketing | SME Inspire
Aggressive Marketing คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง

แต่ละธุรกิจย่อมมีวิธีการหาลูกค้าที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้วิธียิงโฆษณาแบบ Lead Generation ติดโปสเตอร์ ทำคลิป หรือติดต่อผ่าน Connection ที่รู้จักกัน แต่สิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนควรรู้ไว้ คือเทคนิคการหาลูกค้าในสมัยนี้จะเน้น ‘เชิงรุก’…

Customer Insight
Marketing | Social Media Strategy
รู้จัก Customer Insight และแชร์เทคนิคการหา Insight ของลูกค้า สำหรับนักการตลาด

ในยุคที่การตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งขึ้น การรู้จักและเข้าใจ Customer Insight จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Customer Insight…