เป็นคำถามที่ทำเอาผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกุมขมับได้เลยทีเดียวกับเรื่องของการมองหา Interest เพื่อใช้ในการซื้อโฆษณาบน Facebook สำหรับผู้ที่ขายสินค้าเฉพาะกลุ่มที่ค้นหาสินค้าในความสนใจเท่าไหร่ก็ไม่เจอสักที ก่อนอื่นเราอยากให้เจ้าของธุรกิจทุกท่านใจเย็นๆ พร้อมทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า การที่หาคำ Interest ได้ตรงตามสินค้าที่ขาย ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขายของได้และไม่ได้หมายความว่าโฆษณาที่ทำอันนั้นจะแม่นยำ 100% หากอยากรู้ว่าทำไมหลังจากใจเย็นลงแล้ว มาลองอ่านบทความนี้พร้อมทำความเข้าใจกัน
ความสนใจ คือสิ่งที่เราเคย Like และ Engage
คนที่เคยทำโฆษณาบน Facebook มาก่อนจะเข้าใจว่า Interest หรือความสนใจนั้นคืออะไร หากท่านเป็นมือใหม่ขออธิบายแบบเร็วๆ ว่า Interest นั้นคือช่องสำหรับการใส่คีย์เวิร์ดเพื่อเป็นตัวแปรในการกำหนดความสนใจของผู้ใช้บน Facebook ที่มีต่อคำนั้นๆ โดยสอดคล้องกับธุรกิจหรือสินค้าที่อยากจะทำโฆษณาหรือไม่ก็ได้ เช่นหากคุณขายเสื้อผ้าแฟชั่น ความสนใจที่คุณค้นหาอาจจะเป็นคำว่า Vogue, Elle, Style ฯลฯ
แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดนั่นก็คือ คิดว่าความสนใจที่ Facebook ที่แสดงให้เห็นนั้นเป็นคำที่รวบรวมคนที่สนใจเรื่องนั้นจริงๆ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะว่า Interest ที่เราได้นั้นมาจากการรวบรวมคนที่เคยกดไลก์เพจในหมวดหมู่ต่างๆ นั้นไว้ รวมถึงเคยมีการ Engage หรือแม้แต่เข้าไปดูบ่อยๆ หมายความว่าเราจะไม่รู้เลยว่าคนทั้งหมดในคำๆ นั้นพวกเขาจงใจที่จะกดไลก์เพจต่างๆ สนใจเรื่องนั้นจริง หรือแค่มือลั่นไปกดไลก์เอาไว้เมื่อนานมาแล้ว
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า Interest เป็นรูปแบบการซื้อโฆษณาที่มีความแม่นยำน้อยที่สุดในปัจจุบัน หากพูดให้เห็นภาพคุณอาจเป็นคนที่ไม่ได้ชื่นชอบแฟชั่นเลยแม้แต่น้อย เป็นผู้ชายที่ไม่เคยสนใจเรื่องความสวยความงาม แต่เคยเผลอไปกดไลก์เพจนิตยสาร Vogue เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เข้าไปอ่านบทความบนเพจของ Vogue อยู่เป็นเนืองๆ พอคนยิงโฆษณาเสื้อผ้าผู้หญิงมาที่คำหมวดแฟชั่นนี้คุณก็จะได้เห็นโฆษณาไปด้วยนั่นเอง
แล้วจะแยกแยะได้อย่างไรว่า คำไหนถึงจะเหมาะกับธุรกิจจริงๆ
Interest นั้นแบ่งเป็นสองหมวดใหญ่ๆ นั่นคือ Direct Interest กับ Indirect Interest
Direct Interest คือความสนใจแบบตรงๆ เช่นคุณขายรถยนต์ พอคุณค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์แล้วเจอก็ใช้คำพวกนั้นเลย เช่น รถยนต์, Honda, Toyota ฯลฯ
Indirect Interest คือความสนใจทางอ้อม เช่นขายรถยนต์ แต่แทนที่จะใช้ความสนใจเป็นยี่ห้อรถ อะไหล่รถ อาจใช้เป็นชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องใช้รถขับเข้าไป หรือนักแข่งรถชื่อดัง ฯลฯ ก็ได้ คือมีความเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องตรงๆ
แล้วจะรู้ได้ไงล่ะว่าคำนั้นใช่ หรือไม่ใช่
คำตอบคือ “เราก็ไม่สามารถบอกได้” คุณจึงต้องทำการทดลองหรือ A B Testing โฆษณาของคุณก่อนหากสินค้าของคุณเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีขายทั่วๆ ไป ก็อาจใช้ Audience Insight ในการช่วยค้นหาและศึกษาพฤติกรรมของคนที่สนใจคำต่างๆ ที่คุณพอจะนึกออก แล้วเลือกมาจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มคำไว้ใช้ทดสอบการทำโฆษณา ก็จะช่วยให้เห็นผลความแตกต่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
สินค้า: กาวดักแมลงวัน
AD1 ใช้ความสนใจเป็น – แมลงสาบ ยุงลาย ยุงลายบ้าน แมลงสาบ แมลงวัน
AD2 ใช้ความสนใจเป็น – ยาฆ่าแมลง สัตว์รังควาน
จากตัวอย่างจะสังเกตได้ว่าสินค้าที่ขายค่อนข้างเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายที่เราใส่ไว้ก็ไม่มีอันไหนที่เป็น Direct Interest เลย (คำว่า กาวดัก กาวดักแมลงวัน) หมายความว่ามีอีกหลายธุรกิจที่ไม่สามารถหากลุ่มเป้าหมายแบบตรงๆ ได้ ดังนั้นให้เลือกใช้กลุ่มเป้าหมายทางอ้อมประกอบกับการทำ A/B Testing ควบคู่กันไป จากนั้นลองวัดผลดูว่าโฆษณาตัวไหนไปได้สวย โดยนอกจากดูที่ตัวเลขที่ระบบแสดงแล้ว อาจสังเกตดูว่าคนที่เข้ามาไลก์เพจตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่ มีคนทักเพิ่มมากมั้ย ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ก็แค่เปลี่ยนโฆษณาและทำการทดสอบต่อไป
การทำโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Facebook ด้วยแล้วไม่มีสูตรสำเร็จใดๆ มาบอกคุณได้ว่าทำวิธีนั้นสิรับรองได้ผล วิธีนี้สิรับรองขายได้ ต้องอาศัยระยะเวลา ความอดทนและการทำอย่างสม่ำเสมอ แล้วคุณจะเจอความสนใจที่เป็นของคุณเข้าสักวันอย่างแน่นอน

รวมวิธีเช็กเวลาโพสต์ YouTube ที่ดีที่สุดสำหรับช่องของคุณ
ครีเอเตอร์มือโปรต้องไม่พลาด! Digital Tips รวบรวมวิธีเช็กเวลาโพสต์ YouTube ที่ดีที่สุดสำหรับช่องของคุณมาให้แล้ว โดยอ้างอิงจากสถิติผู้ชมในช่องของคุณเอง มีความแม่นยำสูง และสามารถช่วยเพิ่มยอดวิว YouTube ได้จริง หากคุณคือครีเอเตอร์ที่กำลังมองหาทริคดี…

5 ตัวอย่าง Call to action ระดับเทพ สำหรับปรับใช้ใน Social Media
ท่ามกลางโพสต์นับร้อยนับพันบนหน้าฟีด Social Media หากคุณต้องการจะดึงดูดลูกค้าให้หยุดสายตาไว้ที่โพสต์ของคุณ การใช้ Call to action คือทางเลือกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะกับโพสต์ที่ยิงแอด ซึ่งคนส่วนมากมักจะเลื่อนผ่าน และในบทความนี้…

How to แทร็กข้อมูล Offline Conversion บน Google Ads ใน 4 ขั้นตอน
เป็นที่ทราบกันดีว่า เราสามารถใช้ Google Tag Manager สำหรับแทร็กข้อมูล Conversion ที่เกิดจาก Google Ads ได้ ซึ่งในความเข้าใจของคนส่วนใหญ่…