พอเราทำธุรกิจไปสักระยะ จะให้มานั่งออกแบบภาพลงคอนเทนต์เองไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ต้องไปทำมาหากินอย่างอื่นกันพอดี ไหนจะแชทลูกค้าก็ต้องตอบ ของก็ต้องส่ง วิธีที่ดีที่สุดจึงตกมาถึง “การใช้เงินแก้ปัญหา” หลายคนพอธุรกิจเริ่มขยับขยายก็มีความคิดที่จะจ้างนักออกแบบมาประจำบ้าง มารับเป็นฟรีแลนซ์บ้าง แต่ติดกันอยู่เรื่องเดียวตรงที่ไม่ว่าจะหามาสักกี่คนก็ทำงานไม่ได้ดังใจเราเลยสักคน ปัญหานี้ถ้ามองดีๆ อาจไม่ได้เกิดจากฝีมือของคนที่คุณจ้างก็ได้ แต่เกิดจากการบรีฟและสื่อสารงานที่ไม่เข้าใจกันมากกว่า วันนี้เราจึงนำเทคนิคการบรีฟงานให้กับนักออกแบบมาฝากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้นำไปปรับใช้กัน

พูดคุยคอนเซ็ปต์ให้ละเอียด
ในเมื่อคุณเป็นเจ้าของสินค้านั้น คงไม่มีใครที่จะเข้าใจมันได้ดีไปกว่าคุณอีกแล้ว สิ่งที่ควรบอกนักออกแบบคือคอนเซ็ปต์ที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรก ถ้าหากไม่มีก็ให้พูดถึงสิ่งที่คุณเคยทำมาตั้งแต่เริ่มว่าคอนเทนต์ที่ทำไปในแต่ละโพสต์นั้นออกแบบเป็นอย่างไร มีการใส่ข้อมูลอะไรบ้าง การใช้สี ใช้ภาพแนวไหน เป็นต้น ส่วนถ้าจะให้นักออกแบบช่วยแนะนำก็ลองเปิดใจรับฟังพวกเขาดูบ้าง เพราะแนวทางคนเป็นเจ้าของ กับคนอื่นมองอาจไม่เหมือนกันก็ได้


หาตัวอย่างแบบที่คุณอยากได้

ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายที่สุดหากสิ่งที่คุณอยากให้นักออกแบบทำยังไม่เคยมีในเพจของคุณ ตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับแบบที่คุณต้องการมากที่สุด (Reference) จะช่วยให้นักออกแบบเข้าใจงานที่จะต้องทำมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าโยนตัวอย่างให้เขาเสร็จก็ไม่อธิบายอะไรเลย ควรจะขยายความในสิ่งที่อยากได้ เช่น สีเป็นประมาณนี้ แต่รูปที่ใช้อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นแบบนั้น ข้อความจะส่งให้ หรือให้นักออกแบบหาเอาเองก็ควรระบุให้ชัดเจนเพราะการต้องให้นักออกแบบมานั่งตามข้อมูลจากคุณนั้นนอกจากจะเสียเวลาแล้วยังอาจทำให้การทำงานของคุณล่าช้าลงไปอีกด้วย

ตกลงกันให้เรียบร้อยว่า แก้งานได้กี่ครั้ง
โดยปกติแล้วหากจ้างนักออกแบบฟรีแลนซ์พวกเขาจะมีข้อจำกัดในการแก้งานทุกชิ้น ซึ่งถ้ามองเป็นกลางก็เหมาะสมเพราะบางครั้งคนว่าจ้างก็เล่นแก้งานแบบไม่จบไม่สิ้น แต่เรื่องนี้คุณสามารถเจรจาตกลงกับนักออกแบบได้เลยเพราะหลายๆ คนก็ไม่ได้จำกัดจำนวนการแก้ไข หรือแก้ไขเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ได้นับในจำนวนที่กำหนดไว้

ค่าใช้จ่ายก็คุยให้จบ
เพื่อป้องกันทั้งสองฝ่าย ควรตกลงตัวเลขที่ชัดเจนไปเลยตั้งแต่แรกว่าราคานี้ทำได้กี่ชิ้นงาน เสร็จแล้วให้ไฟล์อะไรกับเราบ้าง ลิขสิทธิ์ต้องตกเป็นของใคร ฯลฯ รวมถึงควรทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง


ยิ่งพร้อมเท่าไหร่งานยิ่งเสร็จเร็วเท่านั้น

ความพร้อมที่ว่าคือข้อมูลและไฟล์ต่างๆ ที่เจ้าของควรมอบให้แก่นักออกแบบเอาไว้ เช่น โลโก้ รวมถึง Ci (Corporate Identity) อื่นๆ ภาพสินค้า เป็นต้น

การจ้างนักออกแบบนั้นเราแนะนำให้คุณจ้างเมื่อคุณพร้อม พร้อมในที่นี้คืองบประมาณพร้อม สินค้าพร้อม แบรนด์พร้อม เพราะถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่พร้อมนอกจากนักออกแบบจะทำงานลำบากแล้วอาจเกิดปัญหาการทำผลงานออกมาสุดท้ายไม่ได้ใช้เพราะธีมหลักของแบรนด์มาเปลี่ยนทีหลังดังนั้นควรวางแผนถึงเรื่องนี้ให้ดีเพราะภาพ การออกแบบรวมถึง Ci ของแบรนด์ล้วนแล้วแต่จะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าจดจำเราได้ แบรนด์ใหญ่ๆ เขาถึงได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการออกแบบอย่างมาก

แต่ถ้าคุณอยากเริ่มต้นด้วยตัวเอง ทำด้วยตัวเองทุกวันนี้ก็มีคอร์สออนไลน์มากมายหรือจะเรียนฟรีๆ ในยูทูป ไม่เพียงแค่นั้นแอปพลิเคชันบนมือถือก็มีให้ใช้ฟรีหลายแอปด้วยเช่นกัน ทีนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วล่ะว่าจะขวนขวายได้แค่ไหน

Virtual Try-on บน Google
AI Marketing | Google
Virtual Try-on ฟีเจอร์สำหรับลองเสื้อก่อนซื้อจริงบน Google Shopping

ท่ามกลางกระแส E-commerce ที่กำลังมาแรง Google โปรแกรม Search Engine อันดับ 1 ของโลกจึงกระโดดลงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันในสนามนี้บ้าง ด้วยการเปิดตัว Google…

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…