body languages

Topic Summary

อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร

ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าภาษากายที่ว่าจะแสดงออกผ่านร่างกายส่วนใดบ้าง และจุดสังเกตที่แท้จริงอยู่ตรงไหน เพื่อไขข้อข้องใจนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 10 ตำแหน่งของ Body Language ที่เราแนะนำให้คุณปรายตาสังเกตทันทีที่คู่สนทนามายืนอยู่ตรงหน้า จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

Content Summary

  • ตำแหน่งของ Body language คือ ท่าทางและการเคลื่อนไหวบนอวัยวะต่าง ๆ ของคู่สนทนา ที่จะสะท้อนสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกภายในจิตใจ
  • หากคุณรู้เรื่องตำแหน่งของ Body language คุณจะเข้าใจว่าควรสังเกตคนจากตรงไหน และเรียนรู้ที่จะหาวิธีแก้ไขบรรยากาศการสนทนาให้ดีขึ้น
  • 10 ตำแหน่งของ Body Language ที่คุณควรรู้ ได้แก่ นัยน์ตา คิ้ว ริมฝีปาก มือ แขน หัวไหล่ ขา ท่าทางการนั่ง ศีรษะ และการหายใจ

ตำแหน่งของ Body Language คืออะไร?

ตำแหน่งของ Body language ในที่นี้ หมายถึง ท่าทางและการเคลื่อนไหวบนอวัยวะต่าง ๆ ของคู่สนทนา ที่จะสะท้อนสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกภายในจิตใจของพวกเขาเหล่านั้น ถือเป็นอวัจนภาษา หรือการสนทนาแบบไม่มีเสียงพูด อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้แอบสังเกตภาษากายทุกตำแหน่งอย่างเงียบเชียบ ไม่ควรจ้องจนมองออกว่าตั้งใจ และไม่ควรเอ่ยทักถึงพฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม

ตำแหน่งของ Body Language สำคัญอย่างไร?

Body Language Position

Cr: https://wecommunication.blogspot.com/2015/09/nonverbal-communication-functions.html

แน่นอนว่าทุกตำแหน่งของ Body Language ย่อมมีความสำคัญ โดยสามารถสรุปเป็นองค์รวมได้ดังนี้

    • รู้ว่าควรสังเกตตรงไหน: ตำแหน่งต่าง ๆ ของภาษากาย จะทำให้เราสามารถจับจุดคู่สนทนาได้ทันที เพียงแค่ปรายตามองเฉพาะจุดที่ควรมอง ไม่จำเป็นต้องใช้สายตาสอดส่องไปทั่วจนเกิดความอึดอัด
    • แต่ละตำแหน่งอาจมีความหมายต่างกัน: การแสดงสีหน้า การเคลื่อนไหวของมือ หรือการเว้นระยะห่าง ย่อมมีความหมายที่แตกต่าง และการเรียนรู้ตำแหน่งของ Body Language ก็จะช่วยให้คุณจับสังเกตได้ทั้งหมด
    • หาวิธีเปลี่ยนบรรยากาศได้ทัน: หากสังเกตภาษากายจากร่างกายแต่ละตำแหน่งแล้วพบว่า คู่สนทนากำลังรู้สึกไม่ดี คุณก็จะสามารถหาวิธีลดความอึดอัดนั้นลงได้

10 ตำแหน่งของ Body Language ที่คุณควรสังเกต มีอะไรบ้าง?

มาดูกันว่า การเคลื่อนไหวในตำแหน่งใดของร่างกายบ้าง ที่บอกความในใจของคู่สนทนา โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรอให้พวกเขาพูดออกมา

Sitting Position

Cr: https://www.jagranjosh.com/general-knowledge/sitting-position-personality-test-1687180874-1

1. นัยน์ตา

การสบตาแสดงถึงความมั่นใจและความจริงใจ แต่การหลบตาหรือมองไปที่อื่นอาจแสดงถึงความไม่มั่นคงหรือการปกปิดบางอย่าง ในทางกลับกัน การกะพริบตาบ่อย ๆ อาจแสดงถึงความวิตกกังวลหรือความไม่สบายใจ

2. คิ้ว

การขมวดคิ้วแสดงถึงความสงสัย ความเครียด หรือความไม่พอใจ และการเลิกคิ้วขึ้นอาจแสดงถึงความประหลาดใจหรือความสนใจ

3. ริมฝีปาก

การยิ้มแสดงถึงความเป็นมิตรและความสุข ในขณะที่การเม้มปากแสดงถึงความเครียดหรือความไม่พอใจและการกัดริมฝีปากก็อาจบ่งบอกถึงความประหม่า

4. มือ

การใช้มือประกอบการพูดช่วยเน้นย้ำความมั่นใจและทำให้ผู้ฟังสนใจ การกำหมัดอาจแสดงถึงความโกรธหรือความกังวล ในขณะที่การถูมืออาจแสดงถึงความวิตกกังวลหรือความคาดหวัง

5. แขน

การไขว้แขนเป็นสัญญาณของการปิดกั้นหรือความระมัดระวัง แต่การปล่อยแขนให้สบายแสดงถึงความผ่อนคลายและเปิดกว้าง

6. หัวไหล่

การยกไหล่ขึ้นแสดงถึงความไม่แน่ใจหรือไม่มั่นใจ แต่การยืนตัวตรงและผายไหล่แสดงถึงความมั่นใจและความพร้อม

7. ขา

การไขว่ห้างแสดงถึงการปิดกั้นหรือความไม่มั่นใจ แต่การยืนหรือวางขาตรงแสดงถึงความมั่นใจและเปิดกว้าง

8. ท่าทางการนั่ง

การนั่งเอนหลังอาจแสดงถึงความผ่อนคลายหรือการไม่สนใจ ขณะที่การโน้มตัวเข้าหาแสดงถึงความสนใจและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี

9. ศีรษะ

การพยักหน้าแสดงถึงความเห็นด้วยหรือความเข้าใจ ในขณะที่การก้มศีรษะอาจแสดงถึงความอายหรือการไม่พอใจ

10. การหายใจ

การหายใจเร็วหรือแรงแสดงถึงความเครียด ความวิตกกังวล หรือความตื่นเต้น แต่การหายใจช้าและสม่ำเสมอแสดงถึงความผ่อนคลายและสงบ

ข้อควรระวัง ในการสังเกตแต่ละตำแหน่งของ Body Language 

  • อย่าด่วนสรุป: ทันทีที่เห็นคู่สนทนาทำพฤติกรรมที่อาจตีความได้ว่าเป็นภาษากาย โดยเฉพาะ Body Language ที่ไม่ควรทำต่าง ๆ พึงอย่าด่วนสรุปว่าเขากำลังรู้สึกเชิงลบ จนกว่าจะเห็นพวกเขาทำท่าทางเหล่านั้นซ้ำ ๆ
  • แม้จะมั่นใจแล้ว ก็อย่าพูดออกไป: กฎเหล็กของการศึกษาภาษากาย คือการศึกษาอวัจนภาษา และรักษาบรรยากาศโดยปล่อยให้มันเป็นอวัจนภาษาอยู่เช่นเดิม ไม่นำมาเป็น 1 ในหัวข้อการสนทนา

สรุป

และทั้งหมดนี้คือ 10 ตำแหน่งของ Body Language ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจผู้คนรอบตัวได้ดีขึ้น และหาหนทางรับมือกับสถานการณ์เชิงลบได้อย่างมืออาชีพ เหมาะกับผู้ประกอบการ หรืออาชีพที่จำเป็นต้องพบปะผู้คนบ่อย ๆ และสำหรับผู้ที่สนใจ Digital Tips ยังมีคอร์สน่าสนใจเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมด้านบุคลิกภาพมากมาย ดูรายละเอียดที่ Facebook: Digital Tips Academy หรือคลิกที่เมนู ‘คอร์สเรียน’ บนหน้าเว็บไซต์ thedigitaltips 




10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…

รวมสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อต้องการใช้ psychology of pricing เป็น banner
Marketing Psychology
ระวัง! สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing และเทคนิคตั้งราคาสินค้า ฉบับ (ไม่) แนะนำ

คุณใช่ไหม? ที่อยากใช้ Pricing Strategy แต่กลับเดินผิดทางจนลูกค้าเก่า – ใหม่หายหมด เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่เช็กด่วน! สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing…