รวมสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อต้องการใช้ psychology of pricing เป็น banner

คุณใช่ไหม? ที่อยากใช้ Pricing Strategy แต่กลับเดินผิดทางจนลูกค้าเก่า – ใหม่หายหมด เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่เช็กด่วน! สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing และเทคนิคตั้งราคาสินค้า ที่อาจจะฟังเขามา แต่ใช้ไม่เป็น

Content Summary: 

  • เทคนิคตั้งราคาสินค้า ด้วยหลักจิตวิทยาถือได้ว่ามีความสำคัญ เพราะสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับราคา กระตุ้นการซื้อ การตัดสินใจ และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าเข้าถึงง่ายขึ้น
  • จิตวิทยาราคา แม้จะช่วยเพิ่มยอดขายได้จริง แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น ความรู้สึกซ้ำซาก ความเสี่ยงด้านผลกำไร การที่ลูกค้ารอซื้อเฉพาะช่วงที่มีส่วนลด และความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด
  • พึงระวัง 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing อันได้แก่ การตั้งราคาสินค้าตามหลักจิตวิทยา โดยไม่คำนึงถึงต้นทุน, การเผลอทำลายชือ่เสียงของแบรนด์, การฉวยโอกาสลดคุณภาพสินค้า, การไม่สนใจธรรมชาติของสินค้า และการขาดความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ เพราะอาจทำให้คุณสูญเสียทั้งลูกค้าเก่า – ใหม่ 

จิตวิทยาราคา คือองค์ความรู้ที่ฟังดูมีเสน่ห์และดึงดูดให้เจ้าของธุรกิจอยากทำตาม แต่หากเจ้าของธุรกิจไม่ศึกษาให้ดี หรือเผลอใช้คำโฆษณาที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง แทนที่เทคนิคตั้งราคาด้วยหลักจิตวิทยาที่เรียนรู้มาจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้า ก็อาจให้ผลตรงกันข้าม และเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณ Digital Tips จึงรวบรวมสิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing มาฝากเจ้าของธุรกิจทุกท่าน ลองดูแล้วเช็กให้ดี…ว่าเผลอใช้หลักจิตวิทยาแบบผิด ๆ ไปบ้างแล้วหรือยัง

การใช้เทคนิคตั้งราคาสินค้า ด้วยหลักจิตวิทยา สำคัญอย่างไร

แน่นอนว่าการตั้งราคาสินค้าไม่ให้ขาดทุน ควรตั้งต้นจากการคำนวณต้นทุน ต้นทุนแฝง และกำไร แต่บางครั้งแบรนด์ก็จำเป็นต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเข้าช่วย ซึ่งหลักการดังกล่าวมีความสำคัญดังนี้Psychological of Pricing

ที่มา: https://www.startupyeti.com/business/psychology-of-pricing/

  • เพิ่มความน่าสนใจให้กับราคา: เทคนิคตั้งราคาสินค้า ด้วยหลักจิตวิทยา จะทำให้ราคาดูเหมือนถูกลงในสายตาของลูกค้า และช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคานั้นน่าซื้อขึ้น
  • กระตุ้นให้เกิดการซื้อแบบทันที: จิตวิทยาราคามักจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องรีบซื้อ เพราะโอกาสพิเศษอาจหมดลง
  • สร้างความมั่นใจในการตัดสินใจ: เทคนิคตั้งราคาสินค้าที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น การตั้งราคาตามเลขซ้าย, Decoy Effect หรือการใช้คำเชิญชวนอย่าง ฟรี! คุ้มที่สุด! รีบซื้อก่อนหมด! เข้าช่วย จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ
  • ปรับมุมมองให้สินค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น: ลูกค้าจะรู้สึกว่าสินค้าเหล่านั้นมีมูลค่าที่เหมาะสมกับราคาที่จ่ายไป และเต็มใจจะซื้อหาสินค้าใหม่ ๆ ภายใต้แบรนด์เดิมมากขึ้น

ข้อจำกัดของ Psychological of pricing ที่คุณต้องระวัง

ดังที่เราได้กล่าวไปในตอนต้น ว่าความรู้เรื่องจิตวิทยาราคามีข้อจำกัด หากใช้อย่างไม่ถูกทาง ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นไปดังหวัง และนี่คือ 4 ข้อจำกัดที่คุณต้องระวัง

Pricing Mistakes

ที่มา: https://www.pricingsolutions.com/pricing-blog/three-common-pricing-mistakes-and-how-to-avoid-them/

ความรู้สึกซ้ำซาก / จำเจ

การตั้งราคาให้ลดลงจากราคาปกติเล็กน้อย ในบางครั้งอาจจูงใจคนซื้อได้เพียงบางช่วงระยะเวลา เพราะปัจจุบันอาจมีโปรโมชันมากมายที่น่าสนใจกว่า จนทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าราคาดังกล่าวไม่น่าสนใจ และไม่ดึงดูดให้ซื้ออีกต่อไป

ความเสี่ยงที่กำไรจะลดลง

ก่อนใช้เทคนิคตั้งราคาสินค้าใด ๆ ก็ตาม คุณจะต้องมั่นใจว่าราคาที่ตั้งใหม่จะไม่กระทบผลกำไร เพราะอย่าลืมว่าของทุกอย่างมีต้นทุน และคุณคงไม่อาจขายสินค้าลดราคาได้ตลอดไป

ลูกค้าจะซื้อก็ต่อเมื่อมีส่วนลดเท่านั้น

เนื่องจากกลยุทธ์วิธีการตั้งราคาส่วนใหญ่ มักจำเป็นจะต้องลดราคาลงจากเดิมเล็กน้อยเพื่อจูงใจ หลาย ๆ ธุรกิจจึงทำเช่นนั้น จัดโปรโมชันทุกเทศกาล ทุกช่วงเวลาสำคัญ จนพบว่าเมื่อไม่มีโปรแกรมลดราคาสินค้า ยอดขายก็จะลดลงจนน่าใจหาย

การใช้คำเลี่ยงบาลี อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด

บางแบรนด์พยายามจะนำความรู้เรื่องเทคนิคตั้งราคามาใช้ ด้วยการเขียนคำโฆษณาบนป้ายราคาให้บิดเบือนจากความเป็นจริง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้ลูกค้าสูญเสียความไว้วางใจ 

เช็กด่วน! 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing 

สำหรับแบรนด์ที่พยายามจะใช้ Psychological of Pricing แต่พบว่ายอดขายยังไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจตกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ลองเช็กดูว่าคุณได้เผลอทำสิ่งที่ไม่ควรทำเหล่านี้หรือไม่

Famous Brandname

ที่มา: https://www.reliuredart.com/?ggcid=1784515

ใช้เทคนิคตั้งราคาสินค้าให้ถูกลง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบระยะยาว

แบรนด์ควรเข้าใจว่า การใช้กลยุทธ์ลดราคาสินค้า ไม่สามารถสร้างผลกำไรในระยะยาวได้ เป็นเพียงกลยุทธ์การตั้งราคาให้ดึงดูดใจผู้บริโภคเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น เมื่อต้องการจะลดจำนวนสินค้าในสต็อก หรือเมื่อต้องการจะสร้างยอดขายในแคมเปญใดแคมเปญหนึ่งให้แซงคู่แข่ง ดังนั้น หากคุณลดราคาสินค้ามากเกินไป หรือบ่อยเกินไป อาจทำให้ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ได้

บ่อนทำลายชื่อเสียงของแบรนด์

เทคนิคตั้งราคาสินค้า อาจทำให้ลูกค้าสูญเสียความไว้วางใจ และเผยแพร่ข้อผิดพลาดของแบรนด์จนส่งผลเสียในระยะยาวได้ หากคุณตั้งราคาให้ต่ำกว่า สูงกว่าความจริงมาก ๆ หรืออาจใช้คำชักจูงจนทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด เช่น เขียนให้เข้าใจว่าซื้อ 2 แถม 1 แต่ที่จริงแล้วลูกค้าจ่ายค่าสินค้าในราคาที่ซื้อได้ 3 ชิ้น เป็นต้น

ลดคุณภาพสินค้าลงแบบเนียน ๆ

บางแบรนด์ก็ฉวยโอกาสจากการใช้จิตวิทยาการตั้งราคา ด้วยการตั้งราคาสินค้าให้ถูกลงตามหลักจิตวิทยาจริง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็แอบลดคุณภาพสินค้าลงแบบเงียบ ๆ ไปด้วย ซึ่งการทำเช่นนี้ถือว่ามีความเสี่ยงอย่างมาก เพราะหากมีลูกค้าคนใดคนหนึ่งสังเกตได้ ชื่อเสียงของแบรนด์อาจเสียหายตลอดไป

ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบไม่สนใจธรรมชาติของสินค้า

อย่าลืมว่าสินค้าทุกประเภทไม่ได้เหมาะกับการนำมาทำโปรโมชันลดราคา เช่น เครื่องประดับ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือเสื้อผ้าสำหรับใส่ออกงาน หากคุณนำสินค้าที่ปกติต้องราคาแพงจึงจะมีคุณภาพดีมาลดราคา ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่กล้าซื้อ และเข้าใจว่าเป็นสินค้าเกรดตกได้

ขาดความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์

ความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ เช่น การเลือกฟอนต์ การใช้สี การเลือกขนาดตัวอักษร ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้การรู้เรื่องเทคนิคตั้งราคา เพราะคุณอาจพลาดโอกาสในการจูงใจลูกค้า เพียงเพราะว่าพิมพ์ราคาปกติกับราคาเซลล์ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดเล็กเท่ากันก็ได้

สรุป

และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อแบรนด์ต้องการใช้ Psychological of Pricing หากเจ้าของแบรนด์ท่านใดเผลอกระทำผิดไปแล้วบางข้อ คุณยังสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่คุณไม่ควรลืมให้ความสำคัญ คือคุณภาพของสินค้าและการบริการหลังการขาย เพราะถ้าลูกค้าประทับใจและสามารถจดจำคุณได้ พวกเขาก็เต็มใจจะซื้อสินค้าของคุณจนมองเรื่องราคาเป็นเรื่องรองแล้ว

อ้างอิง

Priceva. Psychological Pricing: Definition, Examples, Pros & Cons

Available from: https://priceva.com/blog/psychological-pricing#:~:text=While%20psychological%20pricing%20strategy%20can,could%20damage%20your%20brand’s%20reputation.&text=Regularly%20assess%20how%20customers%20respond%20to%20your%20pricing%20tactics

Competera. The Power of Psychological Pricing

Available from: https://competera.ai/resources/articles/the-guide-to-psychological-pricing-in-retail#:~:text=Could%20Harm%20Brand%20Reputation:%20If,fall%20for%20psychological%20pricing%20tactics

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…