ผู้หญิงถือถุงช็อปปิ้งพร้อมรอยยิ้ม คลายความเครียดด้วยการช็อปปิ้ง

Topic Summary: ใครเคยเครียดแล้วช้อปยกมือขึ้น! Digital Tips พาคุณไขปริศนาอาการช้อปตอนเครียด หรือช้อปเกินจำเป็นจนบางคนมีปัญหาทางการเงิน พร้อมเคลัยร์ชัดขอบข่ายของโรคเสพติดการช้อปปิ้ง อ่านเลย

Content Summary: 

  • Shopaholic คือ พฤติกรรมการเสพติดการซื้อของอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกหนีจากความรู้สึกเชิงลบที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
  • การช้อปตอนเครียด ทำให้เรารู้สึกว่าสามารถควบคุมความเป็นไปในชีวิตของตัวเองได้ เราจึงรู้สึกดีเวลาช้อปตอนเครียด
  • วิธีสังเกตว่าตัวเองเข้าข่าย Shopaholic หรือไม่ ดูจากการซื้อของเกินจำเป็น และการซื้อของฟุ่มเฟือยบ่อย ๆ
  • หากรู้สึกว่าตัวเองเข้าข่ายเสพติดการช้อป ให้ลองแก้ปัญหาด้วยการจัดของที่เคยซื้อมาให้เป็นระเบียบ, ทำบันทึกขอบคุณสิ่งดี ๆ ในชีวิต และทำ Challenge ประหยัดเงิน

คุณเองก็เป็นใช่ไหม? เครียดเรื่องงานทีไร ลงท้ายก็ต้องบำบัดใจด้วยการเดินเข้าห้างทุกที แถมพอใช้เงินตอนเครียดบ่อยเข้าก็รู้สึกผิด กลัวตัวเองจะมีปัญหาทางการเงินในอนาคต เพื่อช่วยคุณหาทางออกในเรื่องนี้ Digital Tips จึงรวบรวมความรู้เกี่ยวกับอาการช้อปตอนเครียดมาฝาก พร้อมพาไปทำความรู้จักกับโรคเสพติดการช้อป หรือ Shopaholic มาศึกษาประเด็นนี้เพิ่มเติมและเช็กให้หายคาใจว่า คุณเป็นโรคเสพติดการช้อปหรือไม่กันดีกว่า!

โรคเสพติดการช้อป หรือ Shopaholic คืออะไร

Shopaholic Sign

ที่มา: https://queendomblog.wordpress.com/2015/06/10/signs-you-might-be-a-shopaholic/

Shopaholic คือ พฤติกรรมการเสพติดการซื้อของอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกหนีจากความรู้สึกเชิงลบที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น อาการวิตกกังวล ซึมเศร้า แต่ความสุขที่ได้จากการช้อปปิ้งเป็นความสุขที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครู่เท่านั้น เนื่องจากผู้ที่มีอาการเสพติดการช้อปมักจะซื้อของเกินความจำเป็นจนเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาทางการเงิน ปัญหาการงาน ปัญหาครอบครัว ดังนั้น โรคเสพติดการช้อป แม้จะเป็นอาการทางจิตที่ไม่รุนแรง แต่ก็ควรสังเกตอาการและรักษาเช่นกัน 

ไขปริศนา ทำไมเราถึงรู้สึกดีเวลาที่ช้อปตอนเครียด

จากการศึกษาเรื่อง Retail Therapy โดยนักวิจัยจาก Penn State พบว่า 62% ของคนที่ซื้อของให้ตัวเองเป็นประจำ ทำเพื่อปรับอารมณ์ของตัวเองให้ดีขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของ Selin Atalay และ Margaret Meloy ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา ที่ยืนยันว่าการช้อปปิ้งช่วยบรรเทาความเครียดได้จริง

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการช้อปตอนเครียด ทำให้เรารู้สึกว่าสามารถควบคุมความเป็นไปในชีวิตของตัวเองได้ (อำนาจการจับจ่ายอยู่ในมือเรา) ทันทีที่กำเงินไปซื้อของที่ตัวเองอยากได้ นักช้อปจะรู้สึกว่าตัวเองกำลังเป็น ‘ผู้เลือก’ มากกว่า ‘ผู้ถูกเลือก’ และอำนาจต่อรองนั้นก็ทำให้นักช้อปที่รู้สึกไม่พอใจชีวิตประจำวันของตัวเองรู้สึกดีขึ้นมา

 

คนชอบช้อปตอนเครียดต้องอ่าน! ช้อปแค่ไหนถึงเรียกว่าเสพติด

เรารู้แล้วว่าการใช้เงินตอนเครียดเติมเต็มชีวิตอย่างไร คำถามต่อไปก็คือ “จะรู้ได้อย่างไรว่าช้อปแค่ไหนจึงเข้าข่ายเสพติด?” เว็บไซต์ VeryWell Mind ซึ่งนำเสนอข้อมูลเชิงจิตวิทยา ได้เปรียบเทียบความแตกต่างของการช้อปแบบปกติ กับอาการเสพติดการช้อปเอาไว้อย่างเข้าใจง่าย ดังนี้

Shopaholic Characteristics

ที่มา: https://www.verywellmind.com/what-is-compulsive-shopping-disorder-2510592 

การช้อปแบบปกติ

  • เลือกซื้อแต่สิ่งของที่จำเป็น หรือต้องใช้งานจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ขณะช้อปปิ้ง ไม่มีความรู้สึกว่าถูกบังคับ หรือมีแรงขับให้ต้องทำ
  • ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทางการเงิน
  • อาจใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบ้าง แต่เป็นครั้งคราว

อาการเสพติดการช้อป

  • เลือกซื้อแต่สิ่งของที่ไม่จำเป็น ส่วนใหญ่ของที่ซื้อมามักจะตั้งทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้
  • รู้สึกว่าตัวเองเครียด และเพราะความเครียดนั้นจึงจำเป็นต้องมาช้อปปิ้ง
  • เริ่มมีความเดือดร้อนทางการเงิน พึ่งพาการผ่อนชำระ
  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอย่างต่อเนื่อง

รู้สึกได้ว่าตัวเองเป็นโรคเสพติดการช้อป ควรแก้ไขอย่างไร

หากข้อมูลข้างต้นทำให้คุณมั่นใจว่าตัวเองคือหนึ่งในคนที่เป็นโรค Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อป Digital Tips มีทางแก้ 3 วิธีดังนี้

Shopaholic Problem

ที่มา: https://www.marketwatch.com/story/prozac-for-shopaholics-compulsive-shopping-is-a-real-disorderhow-to-recognize-if-you-have-a-serious-problem-4cdc5eb4 

แทนที่จะออกไปช้อปตอนเครียด ลองจัดของคลายเครียดดูสิ!

เชื่อเถอะว่า มีสินค้ามากมายที่คุณเคยซื้อมาเก็บไว้แต่จำไม่ได้ โดยเฉพาะเวลาช้อปแหลกตอนเครียดบ่อย ๆ ดังนั้นต่อไปนี้ แทนที่จะคลายเครียดด้วยการซื้อของเพิ่มจนเกิดปัญหาทางการเงิน ลองเปลี่ยนเป็นนำของที่เคยซื้อไว้ออกมาจัดให้เป็นระเบียบดูสิ! คุณอาจค้นพบไอเท็มใหม่ ๆ ที่ทำให้คุณมีความสุขขึ้นก็ได้

ขอบคุณสิ่งดี ๆ ในชีวิตคุณ

ลองทำบันทึกขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่คุณมี ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ โดยเฉพาะสิ่งของที่คุณหาซื้อใหม่ได้ตลอด ลองลิสต์ดูว่าปัจจุบันคุณมีสิ่งของต่าง ๆ ทั้งหมดกี่ชิ้น แต่ละชิ้นมีความหมายต่อชีวิตคุณอย่างไร ซื้อมาตอนไหน หรือมีใครในชีวิตให้คุณมา แล้วขอบคุณสิ่งของเหล่านั้น เพื่อเติมเต็มความว่างเปล่าในจิตใจคุณ

ทำ Challenge ใหม่ ใช้จ่ายให้น้อยลง

ลองท้าทายตัวเองด้วยการทำ Challenge ประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อดูว่าว่าเดือน ๆ หนึ่งคุณจะสามารถประหยัดงบประมาณลงได้เท่าไหร่ วิธีนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้โรคเสพติดการช้อปปิ้งบรรเทาลงเท่านั้น ยังทำให้สถานการณ์ทางการเงินของคุณดีขึ้นอีกด้วย!

สรุป

แม้การช้อปตอนเครียดจะทำให้สบายใจ แต่ถ้าช้อปหนักไปก็อาจทำให้เครียดมากกว่าเดิม ดังนั้น ก่อนออกไปช้อปปิ้งทุกครั้ง อย่าลืมประมาณการเงินในกระเป๋าตัวเอง และคิดให้รอบคอบถึงปัญหาที่จะตามมา ทั้งนี้ ยังมีวิธีคลายเครียดอีกมากมายที่จะทำให้คุณมีความสุขขึ้นได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงมีปัญหาทางการเงิน

อ้างอิง

WILEY. Retail therapy: A strategic effort to improve mood

Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/mar.20404 

VeryWell Mind. What Is a Shopping Addiction?

Available from: https://www.verywellmind.com/shopping-addiction-4157288 

VeryWell Mind. Using Shopping as a Stress Reliever

Available from: https://www.verywellmind.com/retail-therapy-and-stress-3145259#:~:text=How%20Common%20Is%20Retail%20Therapy,more%20prone%20to%20this%20behavior

ของมือสองเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กับกระแส YONO เพราะราคาถูกและยังอยู่ในสภาพดี
Money Tips
รู้จัก YONO (You Only Need One) เมื่อความฟุ่มเฟือยไม่ใช่เทรนด์ในหมู่วัยรุ่นอีกต่อไป!

เมื่อสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้เราอู้ฟู่ งั้นก็ควรหันมาประหยัดกันได้แล้ว! รู้จักกับเทรนด์ YONO (You Only Need One) จากวัยรุ่นเกาหลีใต้ ชวนทุกคนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต เมื่อพูดถึงมุมมองในการใช้ชีวิต วัยรุ่นหลายคนคงเลือกทำทุกวันให้เหมือนกับวันสุดท้าย…

แอป Duolingo เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาที่เรียนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน
Marketing Psychology
หลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในแอป “Duolingo” ทำอย่างไรให้คนเสพติดการเรียนภาษา

ถ้าพูดถึงแอปเรียนภาษายอดฮิตก็ต้องนึกถึงแอป Duolingo ที่ไม่ได้มีดีแค่ความปากจัดของนกฮูกเขียว แต่มีหลักจิตวิทยาแอบซ่อนเอาไว้ ที่ทำให้ผู้เรียนทุกคนเสพติดการเรียนแบบไม่รู้ตัว! ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยเห็นมีมของ “นกฮูกเขียว” ผ่านตากันมาบ้าง ทั้งประโยคชวนเจ็บจี๊ดและแสนจิกกัด หรือหน้าตาแอปพลิเคชันตลก ๆ ที่คนแชร์กันเต็มโซเชียล…

วิธีการจัดการคิวของลูกค้าตามหลัก Psychology of Waiting
Marketing Psychology
Psychology of Waiting ทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ต่อคิว ไม่รู้สึกว่ารอนานจนอยากเลิกซื้อ!

หลายแบรนด์เสียโอกาสทางการค้า เพราะลูกค้าเห็นความยาวของแถวต่อคิวแล้วรู้สึกท้อ ขอเลือกซื้อของเจ้าอื่นแทนดีกว่า มาใช้หลักการ Psychology of Waiting ในการจัดการแถวคิวกันเถอะ! เวลาเห็นร้านไหนมีคนต่อแถวยาว เรามักจะมองว่าร้านนั้นต้องขายดีมากแน่ ๆ แต่หลายครั้งก็อาจเห็นผู้คนบ่นลงโซเชียลมีเดียบ่อย…