ถ้าให้เราลองถามคุณเล่นๆ ว่า ทุกวันนี้คุณเล่นโซเชียลมีเดียอะไรกันบ้าง เชื่อเลยว่าร้อยทั้งร้อย คำตอบก็จะเป็น Facebook, Instagram ไม่ก็ Twitter แต่คุณรู้หรือไม่ว่ามีโซเชียลมีเดียนึงถูกทำขึ้นเพื่อคนทำงาน หรือทำธุรกิจที่ต้องการว่าจ้าง ต้องการหาพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญต่างๆ ได้ใช้กัน วันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับโซเชียลมีเดียที่มีชื่อว่า “ลิงค์อิน (LinkedIn)” 

LinkedIn ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่คนทำงาน แต่ในประเทศไทยนั้นยังถือว่ามีผู้ใช้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่เรียนจบจากเมืองนอกมา ไม่ก็คนที่ทำงานตำแหน่งสูงๆ ทั้งนั้นที่ใช้ แต่จริงๆ แล้ว LinkedIn ไม่ได้มีข้อกำหนดถึงคุณสมบัติของผู้ใช้เลยแม้แต่น้อย ใครๆ ก็สามารถใช้ได้เหมือนเล่น Facebook, Instagram หรือ Twitter แต่เหตุที่ LinkedIn ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไปก็เพราะแพลตฟอร์มนี้ถูกสร้างให้เป็นเครือข่ายในเชิงธุรกิจ จะมีโปรไฟล์ธุรกิจ ห้างร้าน บริษัทต่างๆ รวมถึงคนทำงาน คนที่กำลังหางานและนายจ้างที่กำลังหาพนักงาน แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะ LinkedIn ยังเป็นความหน้าเชื่อถืออย่างหนึ่งของธุรกิจได้ด้วย 

แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจสมัคร LinkedIn ซะตั้งแต่วินาทีนี้เราขอนำเสนอให้คุณได้กระจ่างขึ้นอีกสักหน่อยว่า การใช้ LinkedIn นั้นคุณจะได้อะไรและมีประโยชน์อะไร ยิ่งกับธุรกิจด้วยแล้วจะเป็นยังไงบ้าง

ช่องทางของเด็กจบใหม่
สำหรับเหล่าบัณฑิตใหม่ทั้งหลายคงจะเริ่มเข้าใจอย่างถ่องแท้กันแล้วถึงคำว่า “หว่านใบสมัคร” การสมัครงานแบบยุคเก่าคือการที่คุณจะต้องนำเสนอโปรไฟล์ของคุณไปให้กับแต่ละบริษัทที่อยากเข้าทำงานด้วย แต่ LinkedIn จะเป็นพื้นที่ให้คุณได้สร้าง นำเสนอโปรไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เรียน วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ คุณสมบัติความสามารถ ฯลฯ เพื่อที่เหล่า HR จากบริษัทต่างๆ ที่มีโปรไฟล์ใน LinkedIn เข้ามาดูและเมื่อพวกเขาสนใจก็จะติดต่อคุณเข้าไปทางข้อความ เราจึงอยากแนะนำให้สมัครและอัปเดตโปรไฟล์ของคุณลงไป

อยากได้งานบริษัทใหญ่ๆ ต้องใช้
หากคุณเข้าไปที่ www.linkedin.com ลองเข้าไปที่แท็บ Jobs สิ่งที่จะเห็นคือตำแหน่งงานว่างมากมายจากบริษัทชั้นนำที่อยู่ทั้งไทยและทั่วทุกมุมโลกให้คุณได้เลือกสมัครมากมาย เพราะทุกวันนี้หลายบริษัทชั้นนำก็เป็นพันธมิตรกับ LinkedIn เป็นที่เรียบร้อย แล้วขอแอบกระซิบไว้สักนิดว่า บริษัทต่างชาติ (ที่เงินเดือนสูงๆ) ส่วนมากมักจะหาคนจาก LinkedIn นี่ล่ะ

อัปเดตโปรไฟล์อยู่เสมอ และข้อมูลทุกอย่างต้องเป็นความจริง
หากคุณทำงานไปสักระยะเริ่มมีประสบการณ์ ผลงาน หรือแม้แต่ได้รับรางวัลพิเศษต่างๆ ก็ควรจะนำข้อมูลเหล่านั้นเข้าไปอัปเดตในโปรไฟล์ LinkedIn ของคุณให้เป็นข้อมูลใหม่อยู่เสมอ สำคัญที่สุดคือข้อมูลทุกอย่างต้องเป็นความจริง! เพราะถ้าคุณไม่กรอกตามความเท็จจริงเมื่อ HR เรียกไปสัมภาษณ์และตรวจสอบประวัติของคุณกับที่ทำงานเก่า พวกเขาก็จะได้รู้ความจริงอยู่ดี ความเสียหายที่จะตามมาก็คงจะเป็นการแบนคุณภายในบริษัทของพวกเขาหรืออาจมีการส่งต่อโปรไฟล์ของคุณในหมู่เพื่อน HR หลายๆ บริษัทไปเลยก็ได้

ความน่าเชื่อถือที่คุณสร้างเองได้
สำหรับคนทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแบรนด์หรือบริษัท การมีโปรไฟล์ LinkedIn จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้คุณอย่างมาก  (โดยเฉพาะธุรกิจแบบ B2B) แต่คุณก็ต้องหมั่นอัปเดตข้อมูลเช่นเดียวกับผู้ใช้ที่เป็นบุคคลเหมือนกัน แต่การอัปเดตในฝั่งของธุรกิจจะเป็นเรื่องของคอนเทนต์ ตำแหน่งงานที่เปิดรับ (อันนี้สำคัญมาก ตำแหน่งไหนที่ได้คนแล้วก็ควรจะเอาออก) ที่ตั้งบริษัท เวลาทำการ รางวัลต่างๆ ที่บริษัทได้รับ รวมไปถึงรีวิวจากลูกค้าพันธมิตร ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัทของคุณได้ แต่เช่นเดียวกับหัวข้อด้านบนคือ “ข้อมูลทุกอย่าง ต้องเป็นความจริง” เพราะเดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ตรวจสอบกันได้อย่างง่ายดาย

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงไม่ต้องบอกแล้วล่ะเนาะว่าคุณควรมี LinkedIn เป็นของตัวเองแล้วหรือยัง?

Virtual Try-on บน Google
AI Marketing | Google
Virtual Try-on ฟีเจอร์สำหรับลองเสื้อก่อนซื้อจริงบน Google Shopping

ท่ามกลางกระแส E-commerce ที่กำลังมาแรง Google โปรแกรม Search Engine อันดับ 1 ของโลกจึงกระโดดลงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันในสนามนี้บ้าง ด้วยการเปิดตัว Google…

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…