ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์รองเท้า หรือแบรนด์เครื่องประดับ เพราะนอกจากจะสะท้อนตัวตนของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมี Vibe ที่สนุก ท้าทาย และอยู่กับความสวยงาม ในบทความนี้ Digital Tips จึงรวบรวม 3 Case Study สำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่เช่นคุณต้องรู้มาฝาก ไปติดตามกันได้เลย!

>> อ่านเพิ่มเติม: 6 Step วางแผนการตลาดให้ปังกว่าใคร ฉบับธุรกิจเปิดใหม่ไฟแรง

ก่อนการทำแบรนด์เสื้อผ้า คุณต้องรู้อะไรบ้าง

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ เราแนะนำให้คุณเริ่มต้นจากการลำดับความคิดก่อนว่า มีอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ก่อนเปิดกิจการนี้ และนี่คือสิ่งที่เรารวบรวมมาได้:

เป้าหมายของแบรนด์คืออะไร

ธุรกิจจะไม่อาจไปต่อได้ หากขาดการวางหมุดหมายที่ชัดเจน ลองพิจารณาดูว่า Target Audience ของคุณเป็นใคร พวกเขามีไลฟ์สไตล์แบบใด และคุณเองอยากนำเสนอตัวตนแบรนด์แบบไหน แบรนด์ของคุณมีจุดยืนอย่างไร

คู่แข่งมีแบรนด์อะไรบ้าง และพวกเขามีจุดเด่น – จุดด้อยอย่างไร

ก่อนจะทำธุรกิจ การทำ Competitor Analysis คือสิ่งสำคัญ แนะนำให้ศึกษาคู่แข่งก่อนทุกครั้ง ว่าคู่แข่งของคุณมีแบรนด์ใดบ้าง พวกเขามีจุดเด่น – จุดด้อยอย่างไร และเมื่อเทียบกันแล้ว Brand Positioning ของคุณกับพวกเขาเป็นอย่างไร

จะออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไร

แน่นอนว่าสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า การออกแบบคือสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าลืมไตร่ตรองให้ดีว่าคุณจะพิจารณาเลือกวัสดุในการตัดเย็บอย่างไร ดีลกับโรงงานไหน และวางแผนอย่างไรจึงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

จะตั้งราคาอย่างไร

ลองสำรวจตลาด คิดคำนวณต้นทุน ทั้งต้นทุนหลักและต้นทุนแฝงให้ดี เพื่อตัดสินใจว่าคุณควรจะตั้งราคาอย่างไร ต่างจากคู่แข่งมากแค่ไหน และที่สำคัญ พึงตั้งราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย

จะวางกลยุทธ์การตลาดอย่างไร

อย่าลืมวางแผนว่าคุณจะโปรโมทสินค้าอย่างไร ผ่านช่องทางไหน จะว่าจ้าง Influencer หรือไม่ โดยวาง Marketing Strategy ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

3 Case Study การทำแบรนด์เสื้อผ้า สำหรับคนอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง

สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่ที่กำลังวางแผนจะสร้างแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง ลองศึกษาการวางกลยุทธ์การตลาด และวิธีการโปรโมทแบรนด์จาก 3 Case Study เหล่านี้!

UNIQLO

Uniqlo คือ แบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ก่อตั้งโดยคุณ Tadashi Yanai เจ้าของอาณาจักรธุรกิจแนว Fast Retailing ปัจจุบัน Uniqlo มีมากกว่า 300 สาขาในญี่ปุ่น และกว่า 1,000 สาขาทั่วโลก

Uniqlo

ที่มา: https://engoo.co.th/app/daily-news/article/uniqlo-family-business-to-fast-fashion-giant/qDkZXL8SEe6-TDu-QCqvxA

จุดขายของ Uniqlo คือการผสานความเป็น Fast Fashion เข้ากับนวัตกรรมการผลิตเสื้อผ้าชั้นสูง ทำให้ผู้สวมใส่จดจำ Uniqlo ในฐานะ ‘แบรนด์เสื้อผ้าคุณภาพ’ ซึ่งสะท้อนภาพนี้ได้ชัดกว่าแบรนด์ Fast Fashion ธรรมดา นอกจากนี้ ยังวางแผนการตลาดโดยนำเสนอแนวคิดหลัก ‘LifeWear Fashion’ เป็นตัวชูโรง ตอกย้ำให้ผู้บริโภคมีภาพจำเรื่องคุณภาพควบคู่ไปกับการจดจำตราสินค้าของ Uniqlo

นอกจากวางรากฐานของแนวคิดที่ชัดเจน และการกำหนด ‘จุดแข็ง’ ของแบรนด์ที่ยากเกินกว่าแบรนด์อื่น ๆ จะก้าวตามแล้ว การให้ความสำคัญกับ CI ของแบรนด์นี้ก็น่าสนใจ พวกเขาเลือกใช้สีหลักเพียง 2 สี คือสีแดงกับสีขาว ใช้ฟอนต์ที่มีความหนาพอดี และมักออกแบบอาร์ตเวิร์กที่มีเลย์เอาท์ไม่ซับซ้อน จับต้องได้ง่าย เพื่อสะท้อนภาพความเรียบง่ายของ Uniqlo ให้ชัดเจนขึ้น

เสน่ห์อีกหนึ่งข้อที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคเดินเข้าร้าน Uniqlo คือการ Mix & Match ชุดบนตัวหุ่นให้โมเดิร์น แต่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตจริง ไม่เน้นโชว์ดีไซน์หรือเนื้อผ้าที่หวือหวา และไม่มีข้อห้าม หากลูกค้าอยากจะถ่ายภาพเก็บไว้ เพื่อใช้เป็น Reference ในการแต่งกาย

MERGE

MERGE แบรนด์ไทยน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้ราว ๆ 1 – 2 ปี โดยคุณพรปวีณ์ ด่านมิ่งเย็นวงศ์ CEO สาวเจ้าของแบรนด์ แนวคิดของการทำแบรนด์เสื้อผ้าแบรนด์นี้ คือการให้ความสำคัญกับความหลากหลาย และเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหนก็สามารถดูดีได้ในแบบฉบับของตนเอง

MERGE

ที่มา: https://www.pomelofashion.com/th/en/clothes/merge

ด้วยจุดขายที่ไปด้วยกันได้กับแนวคิดเรื่อง Diversity นี้เอง ทำให้ MERGE ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงเปิดตัว และยังคงเป็นที่จับตามองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก MERGE ให้ความสำคัญกับการนำเสนอตัวตนบน Social Media และมักนำเสนอภาพถ่ายของนางแบบหลากไซซ์ หลายสไตล์ ทำให้ลูกค้าหลาย ๆ คนมั่นใจในการแต่งกายมากขึ้น

SABINA

SABINA อีกหนึ่งแบรนด์ไทยที่ถือกำเนิดจากการผลิตชุดชั้นในสตรี ก่อนจะพัฒนาโดยผสมผสานเรื่องแฟชั่นเข้าไป และดีไซน์เสื้อผ้าผู้หญิงที่นำมา Mix&Match ได้ทั้ง Innerwear และ Outerwear ก่อตั้งมาแล้วราว 60 ปี โดยคุณอดุลย์และคุณจินตนา ธนาลงกรณ์

SABINA

ที่มา: https://page.line.me/mvn7586a/showcase/77910920856020/item/579622476570311

ปัจจุบัน SABINA ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ชุดชั้นในผู้หญิงแนวแฟชั่นแถวแรกของประเทศ และส่งขายไปทั่วโลก ด้วยการปรับตัวตามเทรนด์แฟชั่นในปัจจุบัน และการวาง Marketing Strategy อย่างเป็นรูปเป็นร่าง มีการพัฒนาภาพลักษณ์บน Social Media กำหนด Brand Charactor ที่ชัดเจน และจัดทำ Sales Content ควบคู่ไปกับ Knowledge Content แบรนด์นี้จึงถือเป็นหนึ่งใน Case Study การทำแบรนด์เสื้อผ้าที่มีจุดเด่นเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับตลาด และหมั่นศึกษาเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลานั่นเอง

สรุป

ทั้ง 3 Case Study ข้างต้น เป็นตัวอย่างการทำแบรนด์เสื้อผ้าให้กับคุณได้ในแง่มุมที่ต่างกัน กล่าวคือ Uniqlo เป็นภาพแทนของแบรนด์ที่กำหนดตัวตนและจุดขายไว้อย่างชัดเจน MERGE คือภาพแทนของแบรนด์ที่เล่นกับกระแสสังคม และ SABINA คือภาพแทนของแบรนด์ที่รู้จักปรับตัว จนสามารถพยุงแบรนด์ให้อยู่ยืนยง ดังนั้น พึงศึกษาจาก 3 แบรนด์นี้ และนำเอาข้อดีของแต่ละแบรนด์ไปปรับใช้กับแบรนด์ใหม่ของคุณ

 

อ้างอิง

Thairath Money. รู้จักปรัชญา “LifeWear Fashion” ของ Uniqlo กับการปั้นแบรนด์ที่ไม่ขอยืนบนตลาดฟาสต์แฟชั่นอีกต่อไป

Available from: https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/corporates/2756663

TODAY. ลาซาด้า ร่วมฉลองวันสตรีสากล ส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการหญิงยุคใหม่

Available from: https://workpointtoday.com/lazada-merge/

ของมือสองเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กับกระแส YONO เพราะราคาถูกและยังอยู่ในสภาพดี
Money Tips
รู้จัก YONO (You Only Need One) เมื่อความฟุ่มเฟือยไม่ใช่เทรนด์ในหมู่วัยรุ่นอีกต่อไป!

เมื่อสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้เราอู้ฟู่ งั้นก็ควรหันมาประหยัดกันได้แล้ว! รู้จักกับเทรนด์ YONO (You Only Need One) จากวัยรุ่นเกาหลีใต้ ชวนทุกคนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต เมื่อพูดถึงมุมมองในการใช้ชีวิต วัยรุ่นหลายคนคงเลือกทำทุกวันให้เหมือนกับวันสุดท้าย…

แอป Duolingo เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาที่เรียนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน
Marketing Psychology
หลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในแอป “Duolingo” ทำอย่างไรให้คนเสพติดการเรียนภาษา

ถ้าพูดถึงแอปเรียนภาษายอดฮิตก็ต้องนึกถึงแอป Duolingo ที่ไม่ได้มีดีแค่ความปากจัดของนกฮูกเขียว แต่มีหลักจิตวิทยาแอบซ่อนเอาไว้ ที่ทำให้ผู้เรียนทุกคนเสพติดการเรียนแบบไม่รู้ตัว! ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยเห็นมีมของ “นกฮูกเขียว” ผ่านตากันมาบ้าง ทั้งประโยคชวนเจ็บจี๊ดและแสนจิกกัด หรือหน้าตาแอปพลิเคชันตลก ๆ ที่คนแชร์กันเต็มโซเชียล…

วิธีการจัดการคิวของลูกค้าตามหลัก Psychology of Waiting
Marketing Psychology
Psychology of Waiting ทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ต่อคิว ไม่รู้สึกว่ารอนานจนอยากเลิกซื้อ!

หลายแบรนด์เสียโอกาสทางการค้า เพราะลูกค้าเห็นความยาวของแถวต่อคิวแล้วรู้สึกท้อ ขอเลือกซื้อของเจ้าอื่นแทนดีกว่า มาใช้หลักการ Psychology of Waiting ในการจัดการแถวคิวกันเถอะ! เวลาเห็นร้านไหนมีคนต่อแถวยาว เรามักจะมองว่าร้านนั้นต้องขายดีมากแน่ ๆ แต่หลายครั้งก็อาจเห็นผู้คนบ่นลงโซเชียลมีเดียบ่อย…