9 เทคนิคการพูดในที่ประชุม สำหรับมือใหม่ที่ขาดความมั่นใจ

สำหรับ First Jobber หรือคนที่ไม่เคยมีบทบาทในที่ประชุมอย่างเป็นทางการ การยกมือถามคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมอาจเป็นเรื่องยาก จนทำให้คุณรู้สึกไม่อยากไปทำงาน แต่ไม่ว่าอย่างไร เมื่อเปลี่ยนหน้าที่การงานใหม่ หรือขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขึ้น สักวันเราทุกคนก็ต้องเป็นตัวละครสำคัญในที่ประชุมอยู่ดี และเพื่อการนี้ Digital Tips จึงรวบรวม 9 เทคนิคการพูดในที่ประชุมมาฝากคุณ แชร์เก็บไว้อ่านก่อนการประชุมได้เลย!

1. ทำการบ้านล่วงหน้า ก่อนการประชุมจะเริ่ม

ทำการบ้านก่อนการประชุม

ที่มา: https://www.goto.com/blog/6-things-meeting-boost-productivity 

หากการประชุมไม่ได้จัดขึ้นเป็นวาระเร่งด่วน (นัดตอนเช้า ประชุมตอนบ่าย หรือนัดก่อนประชุมแค่ครึ่งชั่วโมง) ก็ถือได้ว่าเป็นโอกาสดีสำหรับมือใหม่ เพราะคุณจะได้มีระยะเวลาอย่างน้อย 1 วันสำหรับเตรียมตัวก่อนเข้าประชุมจริง โดยสิ่งแรกที่คุณควรทำ คือทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องที่จะประชุม ทบทวนข้อมูลจากไฟล์งาน ลิสต์ข้อสงสัย และข้อเสนอแนะต่าง ๆ หรือถ้ามีเวลามากพอ คุณอาจทดลองจำลองสถานการณ์ ว่าจะมีคนถามคำถามอะไรบ้าง และคุณจะโต้ตอบอย่างไร

2. เก็บข้อมูลเรื่องนิสัยใจคอของผู้ร่วมประชุม

ทางลัดอีกข้อสำหรับมือใหม่ คือการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ร่วมประชุมให้ได้มากที่สุด หากเป็นการประชุมภายใน คุณอาจลองสอบถามเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ ว่าผู้จัดการ หัวหน้า หรือเจ้านายที่เข้าร่วมประชุมด้วยนั้นมีนิสัยใจคออย่างไร เช่น ใจดี ชอบสอดแทรกเรื่องตลกขำขัน หรือเป็นคนจริงจัง ชอบจี้ถามองค์ประชุมเป็นรายบุคคล หรือถ้าเป็นการประชุมกับลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ คุณอาจลองสอบถามข้อมูลจากหัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานที่เคยคุยกับลูกค้าเจ้านั้น ๆ ว่าอีกฝ่ายมักแสดงท่าทีอย่างไร และควรรับมืออย่างไร

เตรียมการพูดในที่ประชุม

ที่มา: https://blog.talaera.com/speak-up-meetings 

การเก็บข้อมูลเรื่องนิสัยใจคอของผู้ร่วมประชุม จะช่วยให้คุณลดความประหม่าลง และหาหนทางรับมือกับคนทีละหลาย ๆ คนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. หยุดดูถูกตัวเอง และมองว่าตัวเอง “ไม่ใช่บุคคลสำคัญ”

เป็นธรรมดาที่ First Jobber หรือพนักงานทั่วไปจะมองว่าตัวเองไม่ใช่ Key Person ในการประชุม แตกต่างกับหัวหน้าแผนก ผู้จัดการ หรือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ แต่หากคุณอยากปรับการพูดในที่ประชุมให้ดีขึ้น การลบความรู้สึกนี้ออกจากใจคือสิ่งที่ต้องทำ นั่นเพราะการมองว่าตัวเองไม่ใช่บุคคลสำคัญ จะทำให้คุณเพิกเฉยต่อประเด็นในที่ประชุม และเลือกที่จะเงียบมากกว่าพูดในที่สุด ดังนั้น พึงระลึกไว้เสมอว่า ทุกคน (รวมถึงคุณ) ต้องถูกเรียกเข้ามาเป็นองค์ประชุมด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า ทุกคน ณ ที่นี้ล้วนมีความสำคัญ และมีสิทธิ์จะแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน

4. เมื่ออยู่ในที่ประชุม ให้ตั้งใจฟังสิ่งที่ทุกคนพูดอย่างละเอียด

เมื่อเวลาที่คุณต้องเข้าไปนั่งในที่ประชุมมาถึง ปล่อยให้การพูดในที่ประชุมเป็นเรื่องรอง และลองตั้งใจฟังทุก ๆ คำพูดของทุกคนดูก่อน เพื่อจับประเด็นว่าใครรับผิดชอบ Present ในประเด็นไหน และใครสงสัยในเรื่องอะไร อย่าลืมพกอุปกรณ์จดบันทึก สำหรับบันทึกว่ามีคนตั้งคำถามเรื่องอะไรบ้าง นอกจากนี้ อย่าลืมเตรียมคำตอบคร่าว ๆ ไว้ในใจ เพราะคุณอาจใช้โอกาสช่วง Q&A หลังจบการประชุม เพื่อพลิกสถานการณ์ได้ โดยการตอบคำถามเหล่านั้น

5. การพูดในที่ประชุมของคุณจะดูมีเสน่ห์มากขึ้น หากเป็นการเสนอแนวคิดใหม่ ๆ

ย้อนกลับไปในข้อแรก ที่เราแนะนำให้คุณทำการบ้านก่อนการประชุม ซึ่งหนึ่งในการบ้านนอกเหนือจากการเตรียมคำถาม คือการเตรียม “แนวคิดใหม่ ๆ” เอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากต้องเข้าร่วมประชุมเรื่อง “แนวทางการแก้ปัญหายอดขายออนไลน์ลดลง” แนะนำให้คุณลองไปศึกษาข้อมูล และหาวิธีแก้ปัญหายอดขายออนไลน์ตกมานำเสนอแก่ที่ประชุม เพราะการเป็นผู้เสนอแนวทางใหม่ ๆ จะทำให้ที่ประชุมเริ่มสนใจคุณ และมองเห็นศักยภาพของคุณมากยิ่งขึ้น

6. หลีกเลี่ยงการถามคำถามแบบขัดจังหวะ 

ถามคำถามในที่ประชุม

ที่มา: https://www.add-on.com/knowing-when-to-speak-up-in-a-meeting/ 

แม้จะเชี่ยวชาญด้านการพูดในที่ประชุมขนาดไหน แต่หากเผลอไปขัดจังหวะสมาชิกท่านอื่น ๆ ในเวลาที่ไม่สมควร ก็อาจสร้างความไม่พอใจให้กับที่ประชุมได้ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะรู้สึกกระตือรือร้นอย่างไร แนะนำให้เปิดไมค์ หรือแสดงสัญญาณขอถามคำถาม เมื่อถึงช่วงการถามคำถามเท่านั้น อาทิ ช่วง Q&A ท้ายการประชุม หรือเมื่อผู้นำเสนอให้สัญญาณว่า “ใครมีคำถามสามารถถามได้เลยครับ/ค่ะ”

7. ลองสอดแทรกมุกตลกลงไปขณะพูดเล็กน้อย

หากคุณกำลังนั่งอยู่ในที่ประชุมที่ไม่ได้จริงจัง เคร่งเครียด หรือมาคุจนเกินไป แนะนำให้สร้างความน่าสนใจโดยการสอดแทรกมุกตลกลงไปในคำพูดของคุณบ้าง เพื่อให้สมาชิกรู้สึกผ่อนคลาย และอยากจะฟังความคิดเห็นของคุณต่อไป อย่างไรก็ดี พึงหลีกเลี่ยงมุกตลกที่เกี่ยวกับการเมือง ศาสนา เชื้อชาติ สีผิว หรือประเด็นอ่อนไหวทางสังคมต่าง ๆ

8. สบตาผู้ฟังทุกครั้งขณะนำเสนองานหรือถามคำถาม อย่าอ่านแต่สคริปต์

การพรีเซนต์งาน

ที่มา: https://eslide.com/powerpoint-presentation-help-for-quarterly-internal-meetings/ 

การก้มหน้าอ่านสคริปต์ขณะพูด จะทำให้เสน่ห์การพูดในที่ประชุมของคุณลดลงไป เพราะผู้คนมักไม่สนใจฟังคนที่ดูไม่มั่นใจ และไม่เชื่อมั่นในคำพูดของตัวเอง ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นต้องดูโครงร่างในกระดาษ พยายามจ้องมองไปที่องค์ประชุมให้ครบทุกคนขณะพูด เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่า คุณกำลังนำเสนอสิ่งที่คุณคิดจากข้างในด้วยความมั่นใจจริง ๆ

9. ทำใจให้สบาย อย่าเคร่งเครียดกับการประชุม

ความประหม่าและอาการตื่นเต้น คือความรู้สึกที่สะท้อนออกมาจากข้างใน เราจึงแนะนำให้คุณทำใจให้สบาย และเข้าใจว่า การประชุมเป็นเพียงการพูดคุยกันของกลุ่มคนมากกว่า 2 คนเท่านั้น และการพูดคุยกันในครั้งนี้ก็เป็นไปเพื่อให้ทุกคนบรรลุข้อตกลงร่วมกัน มิใช่การตัดสินชะตาชีวิตของผู้ใดทั้งสิ้น

สรุป

และทั้งหมดนี้ คือ 9 เทคนิคการพูดในที่ประชุม ที่มือใหม่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า 2 สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเข้าประชุม คือ ข้อมูล และความจริงใจในการพูด จะช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจ และพร้อมแสดงความคิดเห็นอย่างเข้มข้นในการประชุมครั้งถัด ๆ ไป

อ้างอิง

Professional Development Harvard. 10 Tips for Improving Your Public Speaking Skills

Available from: https://professional.dce.harvard.edu/blog/10-tips-for-improving-your-public-speaking-skills/ 

Saint Leo. 9 Tips to Improve Your Public Speaking Skills

Available from: https://www.saintleo.edu/about/stories/blog/9-tips-to-improve-your-public-speaking-skills 

 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…