ในยุคที่เกมเศรษฐกิจค่อนข้างท้าทาย ธุรกิจสื่อรวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องหาหนทางประชาสัมพันธ์แบบลดค่าใช้จ่าย หรือหารายได้ทางอ้อมผ่านการใช้ Barter Media หากคุณเองเพิ่งจะเคยได้ยินคำ ๆ นี้เป็นครั้งแรก มาทำความรู้จักกับวิธีการนี้ให้มากขึ้นกัน!
>> อ่านเพิ่มเติม: Owned Media, Earned Media, Paid Media สื่อ 3 ประเภทที่ทุกแบรนด์ควรรู้จัก
Barter Media คืออะไร?
ที่มา: https://www.javatpoint.com/barter
Barter Media คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนสื่อหรือบริการทางการตลาดระหว่างบริษัทหรือองค์กร โดยไม่ใช้เงินสดเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม แต่จะใช้มูลค่าเทียบเท่าของสินค้าหรือบริการที่แต่ละฝ่ายนำเสนอ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ดี กลยุทธ์นี้จะช่วยให้ผู้ลงโฆษณาใช้พื้นที่โฆษณาได้ โดยไม่กระทบต่อมูลค่าของสินค้าและบริการของตน
Barter Media มีประโยชน์อย่างไร?
แน่นอนว่า Barter Media มีประโยชน์อย่างมากต่อวงการสื่อและธุรกิจอื่น ๆ แม้ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ได้มองเห็นเป็นตัวเงินชัดเจน แต่ก็ช่วยลดรายจ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นลงไปได้มาก และนี่คือ 3 ประโยชน์ที่เราสามารถสรุปให้คุณเห็นได้ในภาพกว้าง ๆ
ที่มา: https://web.facebook.com/photo/?fbid=3932892150120997&set=gm.3631453656965385
เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำการตลาด
Barter Media เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถทดลองใช้บริการหรือสื่อใหม่ ๆ โดยไม่ต้องลงทุนเงินสด ทำให้สามารถปรับกลยุทธ์การตลาดตามความต้องการได้
ขยายการเข้าถึงตลาด
การแลกเปลี่ยนสื่อและบริการกับบริษัทที่มีฐานลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น
สร้างเครือข่ายและก่อกำเนิดความสัมพันธ์ใหม่ ๆ
Barter Media ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจต่าง ๆ และเสริมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก 2 ธุรกิจที่จับมือทำ Barter Media กัน จะต้องเกี่ยวข้องกันในฐานะพาร์ทเนอร์ และมีโอกาสสานสัมพันธ์เพิ่มเติมมากกว่าธุรกิจเจ้าอื่น ๆ
Barter Media แลกเปลี่ยนสื่อกันแบบไหนได้บ้าง?
หากคุณกำลังสงสัยว่า “แล้วเราจะเริ่มทำ Barter Media กับธุรกิจอื่น ๆ อย่างไร?” Digital Tips ขอเสนอวิธีแลกมีเดียที่ง่ายที่สุด 4 วิธี ดังนี้
ที่มา: https://nimloktradeshowmarketing.com/is-trade-show-sponsorship-worth-it/
แลกเปลี่ยนพื้นที่โฆษณา
บริษัทหนึ่งอาจแลกเปลี่ยนพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, บล็อก, นิตยสาร หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของตนกับพื้นที่โฆษณาของอีกบริษัทหนึ่ง โดยอาจเซ็นสัญญา MOU แลกตามมูลค่าของ Media Value หรือจำนวนครั้ง
แลกเปลี่ยนเนื้อหา
บริษัทหนึ่งสามารถแลกเปลี่ยนการผลิตเนื้อหากับอีกบริษัทหนึ่ง เช่น บทความ, วิดีโอ, หรือโพสต์บล็อก ยกตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตวิดีโอแลกเปลี่ยนบริการถ่ายทำวิดีโอกับบล็อกเกอร์ ที่สามารถเขียนบทความรีวิวสินค้าของบริษัทนั้นได้
แลกเปลี่ยนการสนับสนุนอีเวนต์ (Event Sponsorship)
บริษัทหนึ่งสามารถแลกเปลี่ยนการสนับสนุนอีเวนต์กับอีกบริษัทหนึ่ง เช่น การให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม การจัดกิจกรรมบนเวที หรือการให้พื้นที่โฆษณาในงาน ตัวอย่างเช่น ผู้จัดงานอีเวนต์แลกเปลี่ยนการให้พื้นที่บูธในงานกับร้านอาหาร ที่สามารถจัดหาอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมงาน เป็นต้น
แลกเปลี่ยนการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า
การทำ Barter Media วิธีสุดท้าย ซึ่งสามารถทำได้ แต่จะต้องทำสัญญาร่วมกันอย่างรัดกุม คือการที่ 2 บริษัทสามารถแลกเปลี่ยนการเข้าถึงฐานข้อมูลลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกัน เช่น การแลกเปลี่ยนลิสต์อีเมล หรือการโปรโมตผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำรายได้ไปพร้อม ๆ กัน
สรุป
Barter Media ถือเป็นทางเลือกทางรอดของธุรกิจในยุคนี้ โดยเฉพาะธุรกิจสื่อ หรือธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ Influencer Marketing ซึ่งสามารถนำหลักการ Barter Media ไปปรับใช้ เพื่อแลกเปลี่ยนพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์กับคอนเทนต์ในช่องทางของ Influencer ได้ อย่างไรก็ดี หัวใจสำคัญของ Barter Media อยู่ที่การร่างข้อสัญญา ซึ่งต้องกระทำอย่างรัดกุม ไม่ให้ผ่ายใดผ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์
อ้างอิง
LinkedIn. MEDIA BARTER – HOW IT HELPS BUSINESSES IN TOUGH ECONOMIC SCENARIOS?
Available from: https://www.linkedin.com/pulse/media-barter-how-helps-businesses-tough-economic-scenarios-baksh
fynk. Mastering the Art of Bartering: A Modern Guide to Ancient Exchanges
Available from: https://fynk.com/en/blog/bartering-guide-successful-trade-exchange/