Google ประเทศไทย เผย 3 หมวดหมู่พฤติกรรมแบบ New Normal ของคนไทยด้วยข้อมูลเชิงลึกจาก Google Trends ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Google Trends ที่เป็นสัญญาณสะท้อนพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงแบบ New Normal ที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าสนใจเป็น 3 หมวดหมู่ ดังนี้ 

 

  • พฤติกรรมแบบ “เริ่มแล้วเลิก”

 

 

การเกิดขึ้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทำให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นตัวที่จะค้นหาสินค้าเพื่อปกป้องตัวเองและครอบครัวจากเชื้อไวรัส รวมถึงเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอน เช่น 

 

ค้นหาการป้องกันและดูแลสุขภาพมากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่เราเห็นจากเทรนด์การค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคก็คือการค้นหาเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลสุขภาพต่าง ๆ ที่ดีดตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ หรือแอลกอฮอล์ทำความสะอาดต่าง ๆ

ดูแลตัวเองช่วงอยู่บ้าน

 

นอกจากนี้แล้ว สินค้าที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการใช้ชีวิตและดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน เช่น กรรไกรตัดผม แบตตาเลี่ยน และการตัดผมด้วยตัวเองก็เป็นอีกกลุ่มสินค้าที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้นในลักษณะแบบเดียวกัน


อย่างไรก็ตาม พฤติกรรม New Normal ในรูปแบบเหล่านี้อาจมีแนวโน้มที่จะกลับสู่รูปแบบปกติหลังจากที่มีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมต่าง ๆ  ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์จากรูปแบบพฤติกรรมที่สะท้อนจากการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จาก Google Trends แล้วนั้น ก็พอจะเห็นได้ว่ามีกลุ่มพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสประกอบกับการออกมาตรการควบคุม แต่พฤติกรรมเหล่านี้ก็เริ่มปรับทั้งในแง่ลดลงและฟื้นกลับมาเข้าใกล้ภาวะก่อนหน้าจะเกิดสถานการณ์ COVID-19

 

 

  • พฤติกรรมที่ผู้บริโภค “เริ่มแล้วทำต่อไป”

 

 

สภาพแวดล้อมและรูปแบบการใช้ชีวิตในสถานการณ์ COVID-19 นั้นทำให้ผู้บริโภคหลายกลุ่มเริ่มปรับตัวและแสดงพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น 

คอนเทนต์เพื่อการพัฒนาทักษะจากที่บ้าน

ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม การค้นหาเกี่ยวกับ “การเรียน” บน YouTube เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่การค้นหา “เรียนออนไลน์ ได้เกียรติบัตร” และ ”คอร์ส ออนไลน์” เพิ่มขึ้น 25 เท่า และ 4 เท่าตามลำดับ

ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เหล่าผู้ผลิตคอนเทนต์ปรับตัวตามไปด้วย คำค้นเรื่องการสอนออนไลน์สูงขึ้นกว่า 7 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า และการอัปโหลดคอนเทนต์วิดีโอที่มีคำว่า “อยู่บ้าน” อยู่ในชื่อวิดีโอก็เพิ่มสูงขึ้นกว่า 500% ทั่วโลก

ข้อจำกัดด้านการเดินทางทำให้เหล่าผู้บริโภคต้องมองหาตัวเลือกที่ช่วยให้พวกเขาอยู่บ้านได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา การค้นหาร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในจังหวัดอื่น ๆ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อกลับเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคเลือกไปจับจ่ายในช่วงกักตัว โดยการค้นหาไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้นแตะจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่เน้นความสะดวก

 

ความน่าสนใจของพฤติกรรมในรูปแบบนี้คือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังคงระดับไว้ซึ่งสะท้อนว่าผู้บริโภคได้รับพฤติกรรมเหล่านี้ให้กลายเป็นพฤติกรรมปกติของพวกเขาไปแล้ว

 

 

  • พฤติกรรมที่ผู้บริโภค “กระแสรองเป็นกระแสหลัก”

 

 

สถานการณ์ที่สร้างข้อจำกัดต่าง ๆ ให้กับผู้บริโภคนั้นกลายเป็นปัจจัยที่เร่งทำให้พฤติกรรมบางอย่างที่ถูกกลุ่มคนบางกลุ่มรีบไปใช้แล้วถูกนำไปปรับใช้ในวงกว้างอย่างรวดเร็วมากขึ้น วิถีชีวิตแบบออนไลน์กลายเป็นวิถีชีวิตที่ผู้คนต่างก็ปรับตัวเข้าหา เช่น

ช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาความจำเป็นต้องทานอาหารที่บ้านทำให้การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการส่งอาหารนั้นสูงเพิ่มขึ้น 4 เท่า การค้นหาเมนูอาหารเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนเหตุการณ์​ COVID-19

ในขณะเดียวกันความจำเป็นที่ต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านก็ขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคพยายามแสวงหากิจกรรมเพื่อความบรรเทิง และงานอดิเรกใหม่ ๆ ทำเมื่ออยู่บ้าน ทำให้การค้นหาอุปกรณ์ทำอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และของตกแต่งบ้านเพิ่มขึ้น   สิ่งที่น่าสนใจคือเหล่าผู้บริโภคไม่ได้มองหาสินค้าเหล่านี้แค่จากแพลตฟอร์ม e-commerce เท่านั้น แต่ยังค้นหาไปที่เว็บไซต์ของร้านค้าและตัวแทนจำหน่ายโดยตรง โดยการค้นหาแบรนด์ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และตกแต่งบ้านเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในช่วงกักตัว

 

ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ของรัฐบาลอย่างโครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่มีการจ่ายเงินเยียวยาผ่านช่องทาง Prompt Pay ก็ทำให้การค้นหาระบบเงินดิจิทัลของรัฐบาลนี้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม และมีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

New Normal ไม่ใช่อนาคต แต่คือปัจจุบัน

สิ่งสำคัญที่เราสามารถเห็นได้จากข้อมูลที่ปรากฏนั้นก็คือรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนไทย หรือที่เรียกกันว่า New Normal นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว และเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง เราต้องเรียนรู้ ศึกษา หมั่นสังเกต และทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อที่จะสามารถปรับการดำเนินธุรกิจของเราให้รับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อมูลพฤติกรรมการค้นหาสินค้าต่าง ๆ ที่เราได้สรุปมาข้างต้นนั้นเป็นข้อมูลจาก Google Trends เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ทั้งเหล่านักการตลาด และเจ้าของธุรกิจสามารถใช้เจาะลึกลงไปในแต่ละอุตสาหกรรม และความเคลื่อนไหวของตลาด

 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…