เป็นที่ทราบกันดีว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปจากสมัยก่อน ย้อนกลับไปสัก 10-20 ปี สื่อโฆษณาทางทีวี คือ ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ แต่ปัจจุบันผู้บริโภคตัดสินใจคุณค่าของสินค้าผ่านกระทู้รีวิวบนเว็บบอร์ด วิดีโอสั้น หรือโพสต์ประกอบภาพสั้น ๆ จากผู้ใช้จริง ซึ่งการสร้างคอนเทนต์แบบนี้ มีชื่อเรียกว่า User-generated Content หรือ UCG มารู้จักกับสิ่งนี้ให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน!

User-generated Content (UGC)

UGC คืออะไร?

User-generated Content หรือ UCG คือ คอนเทนต์ที่สร้างโดย User หรือผู้ใช้งานจริงของแบรนด์ โดยมีเนื้อหากล่าวถึงตัวแบรนด์โดยตรง ปัจจุบัน UGC มีอยู่ด้วยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บทความบนเว็บบอร์ด คลิปวิดีโอ ภาพถ่าย พอตแคสต์ ข้อความทวีต ฯลฯ แต่ทุกรูปแบบจะมีลักษณะร่วมกันอยู่ 2 ประการ คือ เป็นเนื้อหาที่ทำขึ้นเพื่อโพสต์ลงบน Social Media และสร้างสรรค์โดยบุคคลที่ไม่ใช่นักแสดง ศิลปิน Influencers หรือคนดังที่ได้รับค่าจ้างจากแบรนด์

ประโยชน์ของ UGC คืออะไร?

เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันความรู้เรื่องวงการโฆษณาแพร่หลายเป็นวงกว้าง และคนสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้แทบทุกคน ผู้บริโภคจึงเชื่อถือในโฆษณาแบบเดิม ๆ น้อยลง และพยายามมองหารีวิวจากผู้ใช้จริง ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีข้อดีหรือข้อเสียมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น แบรนด์ที่ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างผ่าน User-generated Content จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับความเชื่อมั่นมากกว่าใคร

เพิ่มโอกาสในการปิดการขาย

ผลการสำรวจของ Stackla ระบุว่า ลูกค้ากลุ่มตัวอย่างรู้สึกพึงพอใจใน User-generated Content มากกว่า Brand Content มากถึง 2.4 เท่า นั่นแสดงให้เห็นว่า คอนเทนต์ประเภทนี้จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น 

เป็นเครื่องมือสร้าง Brand Awareness ชั้นดี

เนื่องจาก UGC คือ คอนเทนต์ที่อยู่บน Social Media หากโพสต์ใดมี Engagement ดี ก็มีแนวโน้มที่ผู้คนจะแชร์ต่อกันเป็นจำนวนมาก และเปิดใจทำความรู้จักกับแบรนด์มากขึ้น โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองงบโฆษณา หรือว่าจ้างผู้ที่มีชื่อเสียงมาถ่ายทำโฆษณาเหมือนในอดีต นอกจากนี้ แบรนด์ยังมีโอกาสเชื่อมสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อรับฟังความต้องการของพวกเขา และเพิ่มยอดการติดตามบนช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย 

จะทำอย่างไรให้ User-generated Content เกิดขึ้นจริง?

แม้ User-generated Content หรือ UGC จะต้องรอให้ User เป็นคนสร้าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์จะวางแผนให้คอนเทนต์ประเภทนี้เกิดขึ้นจริงไม่ได้ และนี่คือ 5 เทคนิคที่จะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายในการสร้าง UGC

ตัวอย่างการใช้ Social Media ของเพจ KFC

ที่มา: https://web.facebook.com/kfcth/photos/a.135993533122352/5910746468980334/ 

พูดคุยกับลูกค้าผ่าน Social Media ให้ได้มากที่สุด

การทำคอนเทนต์ลงเพจ หรือโพสต์คลิป โพสต์ข้อความ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป็นประจำ จะทำให้พวกเขารู้สึกเปิดใจให้กับแบรนด์ และสนุกสนานกับการติดตามเนื้อหาบนช่องทางของแบรนด์มากขึ้น เมื่อผู้บริโภครู้สึกสบายใจที่จะเอ่ยถึงแบรนด์ หรือรับรู้ได้ว่าแบรนด์มองเห็นและใส่ใจติดตาม Feedback อยู่ตลอด พวกเขาก็จะพูดถึงแบรนด์บน Social Media มากขึ้นในที่สุด

ตัวอย่างเช่น แบรนด์ KFC ที่เรียกเสียงฮือฮาให้กับโลกออนไลน์ ด้วยการโพสต์กราฟิกและแคปชันเด็ด ๆ สุดกวน พร้อมแอดมินที่ตอบทุกคอมเมนต์จากผู้บริโภคอย่างใส่ใจ จนทำให้ชื่อของ KFC ถูกกล่าวถึงในแง่ดีมาจนถึงทุกวันนี้

แคมเปญ #ShareACoke 

ที่มา: https://instagram.com/rinthegalah?igshid=YmMyMTA2M2Y= 

ลองสร้างแคมเปญเล็ก ๆ บนช่องทางออนไลน์

บางครั้ง User-generated Content ก็เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ จากไอเดียที่ตรงไปตรงมา เพียงคุณโพสต์เชิญชวนให้ผู้บริโภคโพสต์ภาพ หรือรีวิวความพึงพอใจที่มีต่อตัวสินค้า โดยอาจตั้งชื่อให้เป็นแคมเปญเล็ก ๆ พร้อมติด Hashtag แลกกับการที่ช่องทางหลักของแบรนด์จะตามไปแชร์ภาพ หรือมอบของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการตอบแทน วิธีนี้เหมาะสำหรับแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้นผลักดันเรื่อง User-generated Content เป็นครั้งแรก หรือแบรนด์ดังที่ต้องการปลุกกระแสบนโลก Social เพื่อช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาดเพิ่มเติม

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้วิธีนี้ คือ แบรนด์น้ำดำชื่อดังอย่าง Coca-Cola ที่เคยคิดแคมเปญ #ShareACoke เพื่อชักชวนให้ลูกค้าโพสต์รูปกับผลิตภัณฑ์ของของแบรนด์บน Social Media และได้รับผลตอบรับมากกว่า 6 แสนโพสต์บน Instagram

 

ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์ช่องทางออนไลน์ 

ที่มา: https://www.studioid.com/springboard/how-to/10-ideas-for-getting-more-user-generated-content/ 

ประชาสัมพันธ์ช่องทางออนไลน์ในทุกพื้นที่

อย่างที่คุณทราบ UGC คือ การสร้างคอนเทนต์บนช่องทางออนไลน์ แต่ธุรกิจจำนวนมากที่มีหน้าร้านออฟไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต มักประสบปัญหา “ลูกค้าไม่ทราบ หรือจดจำช่องทางออนไลน์ของแบรนด์ไม่ได้” ทำให้แม้ลูกค้าเหล่านั้นจะประทับใจในคุณภาพสินค้า แต่ก็ไม่เคยลงโพสต์รีวิว หรือทำคลิปวิดีโอเพื่อรีวิวให้บน Social Media ของตัวเองเลย เพื่อแก้ปัญหานี้ แนะนำให้แบรนด์ที่มีหน้าร้าน วางป้ายหรือสติกเกอร์ที่รวบรวมชื่อช่องทางออนไลน์ของร้านไว้ให้ครบถ้วน อาจพิมพ์ติดไว้กับถุงสินค้า ป้าย Tag สินค้า นามบัตร คูปอง ฯลฯ นอกจากนี้ แนะนำให้ประชาสัมพันธ์พร้อม Hashtag สโลแกนที่แบรนด์ใช้เป็นประจำด้วย เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้มากขึ้น 

ตัวอย่างอีเวนต์ออฟไลน์

ที่มา: https://www.vogue.co.th/lifestyle/article/lancome-happiness-2022-event-at-siam-paragon 

จัดอีเวนต์พิเศษบนโลกออฟไลน์

อีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ คือ การทดลองจัดอีเวนต์พิเศษบนโลกออฟไลน์ อาจเป็นงานเปิดตัวสินค้าใหม่ หรือการจัดประกวดแข่งขัน โดยมีแบรนด์เป็นผู้สนับสนุน แม้วิธีนี้จะไม่ได้ช่วยสร้าง User-generated Content โดยตรง แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นให้คนเริ่มพูดถึงแบรนด์ เริ่มใช้ Hashtag ชื่อแบรนด์ ทำให้แบรนด์มีตัวตนบน Social Media ซึ่งจะนำไปสู่  User-generated Content ได้ในที่สุดนั่นเอง

หากเริ่มมี UGC เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว ลองแชร์คอนเทนต์ของผู้ใช้ลงบนช่องทางของคุณดูสิ!

เมื่อเริ่มมีคนพูดถึงแบรนด์ของคุณแล้ว อาจเป็นคลิปวิดีโอหรือโพสต์รีวิวสั้น ๆ ลองติดต่อไปทางเจ้าของคอนเทนต์ เพื่อขออนุญาตแชร์คอนเทนต์ลงบน Official Site ของคุณ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และเพิ่ม Engagement ให้กับโพสต์เหล่านั้น เพื่อทำให้ User-generated Content ที่เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ มีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ในอนาคต!

สิ่งที่แบรนด์พึงกระทำ เมื่อมี UGC คืออะไร?

  • พึงระลึกไว้เสมอว่า User-generated Content ควรเป็นคอนเทนต์ที่มาจากผู้ใช้งานจริง ไม่ใช่คนที่ได้รับการว่าจ้างจากแบรนด์ 
  • คอนเทนต์เหล่านี้สร้างโดยผู้ใช้งาน แบรนด์ไม่อาจควบคุมทิศทางได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีทั้งคอนเทนต์ที่พูดถึงข้อดี และข้อเสีย ซึ่งไม่ว่าจะมีเนื้อหาในทิศทางไหน สิ่งสำคัญคือแบรนด์ควรเก็บข้อมูลไว้ เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
  • การแชร์คอนเทนต์จากช่องทางส่วนตัวของผู้ใช้งาน ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของคอนเทนต์ก่อนเสมอ 

สรุป

User-generated Content หรือ UGC คือ ตัวช่วยในการเพิ่มยอดขายที่สำคัญอย่างยิ่งในยุคนี้ และยังสามารถเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ได้มากกว่าการโฆษณา อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องของยอดขายแล้ว User-generated Content ยังเป็นตัวช่วยเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาดได้มากขึ้นอีกด้วย

อ้างอิง

Sproutsocial. User-generated content: 5 steps to turn customers into advocates

Available from: https://sproutsocial.com/insights/user-generated-content-guide/ 

Hootsuite. What is User-Generated Content? And Why is it Important?

Available from: https://blog.hootsuite.com/user-generated-content-ugc/#Why_is_user-generated_content_important 

Springboard. 10 Ideas for Getting More User-Generated Content

Available from: https://www.studioid.com/springboard/how-to/10-ideas-for-getting-more-user-generated-content/

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…