ยุคแห่งการแข่งขันบนสังเวียนการตลาดดิจิทัลนั้นในปัจจุบันเรานิยามว่ามันคือ การทำตลาดแบบปลาเร็วกินปลาช้า ดังนั้นเงินจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญหลักในการคว้าชัยชนะเหนือคู่แข่งอีกต่อไป แต่แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะเลือกใช้โซเชียลมีเดียทั่วๆ ไปที่คนไทยเล่นอาทิ Facebook, Instagram, Twitter รวมถึง Youtube ซึ่งเราก็แนะนำอย่างนั้นหากคุณไม่มีเวลามากพอที่จะทำทั้งหมดนี้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าโซเชียลมีเดียไม่ได้มีเพียงเท่านี้

ยิ่งคุณมีช่องทางการติดต่อมากขึ้นเท่ากับโอกาสในการจะได้ลูกค้าก็มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากให้คุณลองมองหาเวลาเผื่อไว้สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ ไว้เป็นช่องทางสำรองสำหรับธุรกิจของคุณ

Pinterest
ถ้าคุณขายสินค้าที่เน้นภาพสวยๆล่ะก็ อย่าพลาดที่จะใช้ Pinterest เพราะทุกคนต่างทราบกันดีว่ามันคือเว็บไซต์ที่รวบรวมภาพสวยๆ จากทั่วทุกมุมโลก นอกเหนือจากการใช้เป็นแรงบันดาลใจในการคิดสินค้าใหม่ๆ แล้ว คุณยังสามารถนำสินค้าของคุณไปเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนทั้งโลกได้อีกด้วย และไม่แน่วันดีคืนดีคุณอาจจะได้ลูกค้าจากต่างประเทศก็เป็นได้!

LinkedIn
สำหรับแพลตฟอร์มนี้เหมาะกับองค์กร หรือธุรกิจที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ LinkedIn เป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งบริษัทมากมายทั่วโลก และคนทำงานที่มีศักยภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าแหล่งรวมคนโปรไฟล์ดี ซึ่งบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่มักเลือกคนทำงานจาก LinkedIn ถ้าหากคุณอยากเจอ Partner ธุรกิจ หรือพนักงานใหม่ ลองเข้าไปใช้ LinkedIn ดูก็ไม่เสียหาย

Google My Business
หากคุณอยากให้คนใช้ Google ค้นหาชื่อร้านของคุณแล้วมีธุรกิจของคุณอัปเดตขึ้นให้พวกเขาอ่านล่ะก็ Google My Business ก็ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม แม้ว่า Facebook จะเป็นโซเชียลมีเดียที่คนนิยมเล่น แต่อย่างไรเสียผู้คนก็ยังคงค้นหาข้อมูลบน Google อยู่ดี ดังนั้นหากมีเวลาเราก็แนะนำให้ใช้

IGTV
เมื่อใช้ Instagram แล้วอย่าลืม IGTV เชียว เพราะยุคนี้เป็นยุคของวิดีโออย่างแท้จริง IGTV ทำออกมาเพื่อตีตลาดการรับชมวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือและถือเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ถ้าคุณเริ่มก่อนก็มีสิทธิ์ที่จะประสบความสำเร็จก่อน เราแนะนำให้คุณลิงก์มันเข้ากับบัญชี Instagram ของธุรกิจคุณด้วยเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Tiktok
อีกหนึ่งแอปพลิเคชันวิดีโอที่กำลังมาแรง ด้วยเหล่าดารา เซเลบริตี้ และคนดังต่างๆ พากันเล่นจนกลายเป็นกระแสแชร์กันให้ว่อน Facebook หากมองเผินๆ คุณอาจคิดว่าเป็นแอปฯ ไว้สำหรับคลายเครียดด้วยการเล่นพากย์เสียง ใส่เอฟเฟ็กต่างๆ แต่แท้จริงแล้วมันสามารถทำเพื่อการขายสินค้าได้ ไม่เชื่อก็ลองดูสิ! อาจจะทำเป็นแคมเปญร่วมสนุกหรือขายสินค้าแบบใส่มุขตลกก็น่าสนใจไม่น้อย

คุณอาจนำเวลาไปโฟกัสกับช่องทางโซเชียลมีเดียหลักของคุณซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่างที่เราบอกว่ายิ่งครบคุณก็ยิ่งได้เปรียบ ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนสำหรับทำการตลาดออนไลน์ในไตรมาสหน้าก็อย่าลืมใส่เรื่องพวกนี้ไปด้วยล่ะ ที่เหลือก็เป็นขั้นตอนการใส่ไอเดียทำคอนเทนต์ดีๆ ให้ลูกค้าได้เลือกชมกัน ส่วนเรื่องการขายสินค้าคุณก็สามารถสอดแทรกได้ตามความเหมาะสมเลย

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…

KOL Management ต้องอ่าน! รวม KPI ของงานจ้างอินฟลูที่คุณต้องรู้
Marketing
KOL Management ต้องอ่าน! รวม KPI ของงานจ้างอินฟลูที่คุณต้องรู้

ดังที่บุคลากรสายการตลาดทราบกันดีว่า Influencer Marketing คือหนึ่งในเทคนิคการตลาดยอดนิยมแห่งยุค เนื่องจากความนิยมของคอนเทนต์ประเภทคลิปวิดีโอสั้น และวัฒนธรรมการเสพวิถีชีวิตของคนมีชื่อเสียง จึงทำให้ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้มีสายงานใหม่ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ…