เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้พูดคุยกับ “คุณต้อง – กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” เจ้าของเพจ “8 บรรทัดครึ่ง” เพจที่ให้ความรู้ทางธุรกิจ กระชับ อ่านง่าย รวมไปถึงพอดแคสต์ชื่อเดียวกันที่กำลังโด่งดังในขณะนี้

ซึ่งพี่ต้องก็ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับองค์กรอย่างไรในภาวะวิกฤติ ซึ่งไม่รวมถึงช่วง Covid-19 แต่เราสามารถใช้เป็นองค์ความรู้ที่ดีมากๆ อันนึงต่อไปได้ยาวๆ เลยค่า

ทิป: สวัสดีนะคะ วันนี้ดิจิตอลทิปเป็นเกียรติมากๆเลย ที่ได้มีโอกาสคุยกับพี่ต้อง กวีวุฒิ ก่อนอื่นขอให้พี่ต้องแนะนำตัวก่อนค่ะ

ต้อง กวีวุฒิ: ชื่อต้องนะครับ ชื่อจริง กวีวุฒิ ทำเพจชื่อแปดบรรทัดครึ่ง ทำพอดแคสต์ชื่อแปดบรรทัดครึ่ง ทำงานประจำทีม Innovation ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ในบริษัทลูกที่ชื่อ SCB10X ครับ

ทิป: ช่วงโควิด-19 ก็จะมีคนพูดถึง Lean Management เยอะมาก คำว่า Lean Management ใน Corporate ใหญ่ๆพอเข้าใจ พอมาเป็น SMEs เอาแนวคิด Lean มาปรับใช้กับธุรกิจขนาดกลาง พี่ต้องมีมุมมองยังไงคะ

พี่ต้อง: ก่อนอื่นต้องออกตัวว่าผมไม่ใช่ Expert หรือเป็นกูรูอะไรแบบนั้น วันนี้จะแชร์ในเชิงประสบการณ์และความคิดเห็นแล้วกัน คำว่า Lean ตรงข้ามกับคำว่า Fat Lean คือ ผอม คล่องแคล่ว เฟิร์ม เหมือนมนุษย์ Fat คืออุ้ยอ้าย ถ้าเราตัวใหญ่อ้วน เราจะกินเยอะ ค่าใช้จ่ายก็เยอะ เคลื่อนที่ช้าด้วย ซึ่งองค์กรในโลกยุคนี้ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น ควรเป็นองค์กรที่กินน้อย กินเท่าที่จำเป็นค่าใช้จ่ายก็จะน้อย แล้วก็ปรับตัวง่าย เพราะฉะนั้นฟังแบบนี้ไม่เกี่ยวกับองค์กรใหญ่เล็ก 

ทิป: แสดงว่าเอาเข้าจริง Lean ไม่ใช่องค์กรใหญ่ องค์กรเล็ก แต่คือเรื่องของการทำในสิ่งที่พอดีกับการเติบโตของธุรกิจเรา โดยที่ตัดเรื่องไม่จำเป็น พวก Luxury Extra ต่างๆ ออกไป ใช่มั้ยคะพี่ต้อง ที่นี้ สมมุติว่าเราเป็นเจ้าของบริษัท เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ต้องลดค่าใช้จ่าย บริษัทต้องกลับมาสำรวจตัวเองเยอะขึ้น พี่ต้องคิดว่า คนแบบไหนต้องไปก่อน ถ้าเป็นองค์กรพี่ต้องเอง

พี่ต้อง: คนที่นิสัยไม่ดี คนที่เอาเปรียบองค์กร เวลามีวิกฤติเราจะเริ่มเห็นว่าพนักงานไหนไปกับเรา คนไหนไม่ไปกับเรา คนไหนพอมีปัญหาแล้วไปกวนน้ำให้ขุ่น ทำให้ที่มันลำบากอยู่แล้วยิ่งแย่ ทำให้นอนไม่หลับ พวกนั้นไปก่อนเลยครับ

ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนก็ตามเพราะว่า คนพวกนี้อยู่ไปยิ่งลำบากเพราะว่าองค์กรยิ่งวิกฤติ เค้ามาอยู่ในใจเราตลอดเวลาจะยากจะทำให้เราทำงานยากมาก ถ้าทำอันนั้นทีนึงนะ พนักงานคนอื่นจะแฮปปี้มากเลย งานจะรู้อยู่แล้วว่าใครดีไม่ดี เป็นโอกาสที่จะเอาคนที่ Culture ไม่ Fit ออก

ทิป: ที่เราคุยกัน เราเข้าใจ Concept ของคำว่า Lean ชัดเจนขึ้น เราเข้าใจเราว่าเรื่องคาแรคเตอร์สำคัญ แต่ความยากสำหรับบางองค์กร เช่น เซลล์คนนี้ Performanceดีมากเลยนะ แต่มุมมองพี่ต้องคิดว่าถ้านิสัยไม่ดียังไง ก็ไม่ควรอยู่ถูกไหมคะ

พี่ต้อง: ใช่ ผมคิดว่ายุควิกฤติมันเหมือนเป็นโอกาสครับ เราดูเรื่องนี้แต่ผมว่าเรื่อง Cash Flow สำคัญสุดเป็นอย่างแรก คือผมไม่ได้พูดเรื่องนี้เพราะคิดว่าทุกคนคงทราบอยู่แล้วว่าเรื่อง Cash Flow ตัวเองก่อน ว่า Cash Flow อยู่ได้ไหมถ้าอยู่ได้ก็บริหารจัดการองค์กรให้ดี อันนั้นคือสำคัญที่สุด Cash Flow 

ทิป: ทีนี้ในช่วงวิกฤติเรื่อง Communication สำหรับคนที่เป็นผู้นำ ระหว่างเวลาที่ไม่วิกฤติกับวิกฤติการ Communicate แตกต่างไปจากเดิมไหมคะหรือว่ามีความสำคัญอะไรมากขึ้นเช่นเราต้อง สื่อสารบ่อยขึ้นไหม หรือเราต้อง Take Role ยังไง

พี่ต้อง: ผมว่าจริงๆ ไม่ควรจะต่างแต่มันสำคัญขึ้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคำว่า Empathy คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราสื่อสารให้พนักงานเรารู้อยู่แล้วว่าพนักงานรู้สึกอย่างไร ว่าตอนนี้ทุกๆ ครั้งที่เราเรียกประชุมเขาจะรู้สึกตื่นเต้น

อย่างแรกเลย เจ้าของธุรกิจต้องเข้าใจพนักงาน mentality เป็นยังไง อันนี้คือความรู้สึกที่ต้องพยายามให้ได้มากที่สุดหลังจากนั้นมันก็คือเรื่องของแอคชั่นแล้วว่าสิ่งที่ ควรจะทำก็คือจริงใจ 

 

ทิป: อันนี้เห็นด้วยนะ ล่าสุดทิปเจอผู้บริหารเจ้าหนึ่ง พี่โจ Pro plugin เขาบอกว่า ถึงขั้นเปิดงบให้พนักงานดูเลย ให้รู้เลยว่ารายได้เท่าไหร่แล้วตอนนี้ เป็นอย่างไร ให้พนักงานเห็นสถานการณ์ไปเลย

พี่ต้อง: เคยมีคนถามในเพจ 8 บรรทัดครึ่งว่า เราต้องเปิดโชว์กำไรขาดทุนให้พนักงานดูดีไหม คำถามที่ผมจะถามกลับก็คือทำไมไม่ดี ? คือ องค์กรช่วงปกติก็จะมีความรู้สึกแบบบางเรื่องพนักงานรู้ได้ไม่ได้ แต่ผมว่าต้องถามว่าอะไรกันแน่ที่พนักงานรู้ไม่ได้ 

ผมว่าเรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่บริษัทเช่นที่อเมริกา พวก Facebook อะไรพวกนี้เขาจะมี culture เรื่องของการ เอา presentation ที่คุยกันในบอร์ด Set นั้นเลย คุยกับพนักงาน 

ถ้าเรามี culture ที่ดีก่อนนะครับถ้าพนักงานเราดี ทำไมจะไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่เราจะรู้สึกว่าพนักงานเราเชื่อใจไม่ได้ ถ้าเราคิดแบบนี้ปุ๊บคำถามก็คือเราจ้างเขาทำไม มันก็จะไล่ถามกันไปเรื่อยๆ

ทิป: จำได้ว่าพี่ต้องเคยพูดไว้ว่าในช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ สิ่งที่องค์กรควรจะทำคือการ build trust ทั้งกับลูกค้าและพนักงานด้วย ถูกไหมคะพี่

พี่ต้อง: ใช่ พี่ยังจำไม่ได้เลย 5555

ทิป: จะบอกว่าพี่ต้องเขาพูดอะไรเยอะมากข้อมูลเขาเยอะมาก เวลาเราไป Remind เขาจะชอบบอกว่าเขาจำไม่ได้แต่จริงๆแล้วมาจากเขาแหละ นะคะทุกคน

ทิป: พี่เคยอยู่ในบทบาทที่ต้องสื่อสารเรื่องยากๆ ไหมพี่ เช่น ต้องบอกน้องคนนี้ว่าไม่ผ่านให้ออกหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นข่าวลบ ๆ ทั้งหลาย ทำใจอย่างไรในการที่จะ handle เรื่องนี้แล้วไปพูด กับเขาต้องทำอย่างไรบ้างพี่ 

พี่ต้อง: จริง ๆ แล้วในองค์กรการให้พนักงานออกเป็นเรื่องปกตินะ ไม่ใช่เรื่องปกติเป็นเรื่องที่มันเกิดขึ้นได้นะครับ เราอย่าคิดว่าเป็นเรื่องให้ออกจริงๆคือเขาไม่เหมาะกับงาน 

เอาแบบปกติก่อนนะครับ ถ้าเราคิดว่าเขาไม่เหมาะกับงานหลายๆครั้งเป็นการคุยกันด้วยซ้ำว่า เขาจะเหมาะกับตรงไหนมากกว่า 

ถ้าคุณหวังร้ายมันจะออกมาไม่ดี ต้องเชื่อกันว่าคุณโอเคแต่เขาอาจจะไม่เหมาะ ผิดที่เรา เราเอาเขาเข้ามาปิดงานอย่างนี้ก่อน 

ผมจะยกหลักการนึงที่ผมชอบของ แจ็ค เวลซ์ เป็น CEO ของบริษัท General Electric หรือ จีอี (GE) ที่เป็นระดับตำนาน หนังสือชื่อ Winning เป็นไม่กี่อันที่ผมจำได้และเอามาใช้เขาบอกว่า 

คุณจะสื่อสารอะไรเกี่ยวกับการให้คนออกหรืออะไรที่มันยากๆ อย่างแรกที่สุดคือ No Surprise หมายความว่า เฮ้ยทำไมพี่เพิ่งมาบอกผมตอนนี้วะ เข้าใจไหม 

คือแบบนี้ทะเลาะกันคือพนักงานที่ Performance ไม่ดี มันต้องบอกเขา ตั้งแต่แรกว่าอีกเดือนนึงเจอกันนะถ้าไม่ดี ระวังนะเว้ย นั่นการบอกเขาว่า Performance เขาเป็นอย่างไรต้องบอก 

ไม่ใช่ว่าวันนึงมาบอก เชื่อไหมครับว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่คิดว่าตัวเองทำงานห่วยนะ ไม่มีใครคิดว่าฉันทำงานไม่ดีถึงขนาดต้องออกไม่มีใครคาดคิด แล้วถ้าวันนึงเขาเจอ Conversation นั้น ทะเลาะกันทันที 

แต่สิ่งที่ดีก็คือคุยกันว่าอันนี้ไม่เวิร์คนะ อันนี้ไม่ไหวแล้วนะอีกเดือนนึงถ้าไม่เวิร์คเดี๋ยวต้องคุยกัน แล้วนะอย่างนี้พบว่า Conversation จะโอเคมาก 

ในตอนจบเขาจะรู้ตัวเลยว่าเขาไม่เหมาะ อย่าพูดวนไปวนมาถ้าเราเป็นเจ้าของเป็นหัวหน้ามันเป็นสิทธิ์ของเราเหมือนกัน หน้าที่เราก็คือสื่อสารออกไปให้เขาเข้าใจให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ อย่ากลัวที่จะสื่อสาร

ทิป: ทิปชอบนะที่ฟังที่ต้องพูด มันเป็นเรื่อง mind เยอะเหมือนกันนะ ตั้งต้นด้วยความปรารถนาที่ดี เราให้เกียรติเขา เราคิดว่าเราสื่อสารตรงๆ เลยเป็นการให้เกียรติทั้งเราและเขา มันไม่ใช่การที่จะให้ออกอีกแบบหนึ่ง Mindset อีกแบบหนึ่ง เช่น ฉันไม่ชอบแก แกออกไปเถอะ

พี่ต้อง: ใช่ครับอันนั้นสำคัญมาก

ผมว่าประสบการณ์ไม่ใช่ประสบการณ์ พอทำภาคปฏิบัติไปเยอะๆ แล้วมันง่ายกว่าการอ่านหนังสือ มันก็เป็นอย่างนี้แหละ ก็ไปทำให้ได้เท่านั้นเอง 

 

ทิป: เรื่องคนทิปเห็นด้วยกับพี่ต้อง อย่างช่วงนี้คุยกับเพื่อนที่เป็นเจ้าของธุรกิจเขาก็จะบอกเลยว่า ได้เห็นอะไรเยอะมาก คุยกับน้องกล้อง เจ้าของแบรนด์โจรสลัด เขาบอกว่าตอนสถานการณ์ปกติ เราไม่เคยรู้เลยว่าใครเป็นใคร 

แต่พอสถานการณ์ไม่ดีมีพนักงานแผนกนึงรวมตัวกันเขียนจดหมาย เขียนมาขอลดเงินเดือนตัวเอง รับ OT ไม่รับอะไรอะไรแบบนี้ เขาบอกว่ามันดีมากเลยเขาไม่เคยเห็นคนเหล่านี้เลย กลายเป็นว่าคนเรานี้เหมือนเป็นฮีโร่ในยามวิกฤตแสดงตัวออกมา 

พี่ต้อง: มีเรื่องหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจใหญ่ในตลาดเคยเล่าให้ผมฟังและผมยังจำมาถึงทุกวันนี้ คุณต้องมองออกไปว่าถ้าองค์กรคุณรอดแล้วคุณช่วยใครได้บ้าง คนบางคนคุณไม่มีโอกาสช่วยเขานะในเวลาปกติเพราะว่าเขาใหญ่มากไงแต่ว่าตอนนี้มันมีคนลำบากเยอะมาก 

องค์กรคุณแข็งแรงคุณมีโอกาสที่จะออกไป Build Relationship ใหม่ๆ พี่เขาเล่าให้ผมฟังอย่างนี้ครับว่ามันเหมือนราชสีห์กับหนู ไม่มีทางจะเป็นเพื่อนกันได้ถ้าหากราชสีห์ไม่ติดบ่วง แล้วหนูมากับบ่วงของราชสีห์ขาดหลังจากนั้นราชสีห์จะรักหนูมาก หนูตัวนี้จะเป็นหนูพิเศษ

คือโอกาสตอนนี้ถ้าคุณรอดก่อนคุณมองออกไปข้างนอก Partner คุณคนไหนลำบากที่เมื่อก่อนเขาอาจจะนิสัยไม่ดี ถ้าเขาลำบากคุณช่วยเขาสิ เขาจำคุณจนวันตายเลย ก็เป็นข้อดีอันหนึ่งของวิกฤติถ้าคุณแข็งแรงพอ

ทิป: ในมุมทิปวิกฤติก็มีค่าดีบางอย่าง เช่น สำหรับคนที่มีcash flow เยอะ ก็เป็นเวลาที่จะได้ของราคาถูก อย่างเช่น พี่ต้องเคยพูดไว้เรื่อง M&A*

*(Mergers and Acquisitions หมายถึง การควบรวมและการซื้อกิจการ โดยแบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ Merger หรือ การควบกิจการ(Amalgamation/Consolidate) และ Acquisition หรือ การซื้อกิจการ)

พี่ต้อง: ผมอาจจะพูดในมุมมองประสบการณ์ทำ M&A ขนาดใหญ่หน่อย แต่ผมคิดว่ามันได้หมด หลักๆ คือ ยามองของถูก ให้มองของดี มันควรจะเป็นว่าถ้าเกิด ธุรกิจนี้อยู่ในเศรษฐกิจปกติฉันก็อยากได้ เป็นธุรกิจที่ดีต้องอย่างนี้ก่อนแล้วพอธุรกิจมันแย่ Cash Flow มีปัญหา มันก็ยังดีอยู่

ถ้าสถานการณ์ปกติมันยังดีอยู่เราช่วยเขาได้คำว่าเราช่วยเขาได้ หรือช่วยกันได้ภาษานึงของการทำ M&A เรียกว่า synergy คือความเกี่ยวข้องช่วยเหลือกันไม่ใช่ 1 + 1 = 2 นะ มันคือ 1 + 1 แล้วเป็น 3 แล้วเป็น 4 

ทิป: ทิปเคยเห็นดีลหลายๆ ดีล ที่ธุรกิจไปซื้อธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกันเลย แล้วเราเองก็ไม่ได้คิดว่าเรามี Expertise อะไรเราทำอันนี้ ไม่ได้แต่เรารวมคนนี้มาเราจะมีรายได้อีกช่องทางหนึ่ง แต่ไม่มี Synnergy เลยพี่ต้องมองยังไง

พี่ต้อง: จริงๆทำได้นะครับ ถ้าเกิดว่าของดีราคาถูกไม่เกี่ยวกับธุรกิจเราก็ทำได้ แต่ต้องมั่นใจว่ามันจะยากตรงที่ว่าถ้าคุณไม่มีประสบการณ์คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ของมันดีจริง

เป็นอีกหนึ่งบทสัมภาษณ์ที่ดีมากๆ เลย เชื่อได้ว่าผู้อ่านคงจะได้ความรู้ ในด้านการบริหาร จัดการองค์กรไป แบบจุใจเลยทีเดียว ต้องขอขอบคุณ พี่ต้อง กวีวุฒิ อีกครั้งนะคะ ที่ให้เกียรติมาให้สัมภาษณ์กับเราในวันนี้ 

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…

KOL Management ต้องอ่าน! รวม KPI ของงานจ้างอินฟลูที่คุณต้องรู้
Marketing
KOL Management ต้องอ่าน! รวม KPI ของงานจ้างอินฟลูที่คุณต้องรู้

ดังที่บุคลากรสายการตลาดทราบกันดีว่า Influencer Marketing คือหนึ่งในเทคนิคการตลาดยอดนิยมแห่งยุค เนื่องจากความนิยมของคอนเทนต์ประเภทคลิปวิดีโอสั้น และวัฒนธรรมการเสพวิถีชีวิตของคนมีชื่อเสียง จึงทำให้ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้มีสายงานใหม่ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ…