โฆษณา YouTube มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไร ตั้งค่าเองได้ไหม

ใครไม่ได้ซื้อ YouTube Premium ยกมือขึ้น! คุณอยากรู้ไหม ว่าโฆษณา YouTube ที่โผล่มาขัดจังหวะระหว่างดูคลิปมีทั้งหมดกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร และที่สำคัญ หากเราอยู่ในสถานะของ YouTube Creator เราจะสามารถกำหนดประเภทโฆษณาที่แสดงบนคลิปของตัวเองได้ไหม เพื่อไขข้อสงสัยในเรื่องนี้ Digital Tips รวมทุกคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปดูกันเลย!

>> อ่านเพิ่มเติม: 7 เหตุผลที่ธุรกิจคุณควรลุยสนาม YouTube Marketing

โฆษณา YouTube คืออะไร แตกต่างกับ โฆษณา Google อย่างไร

วิธีตั้งค่า Video Ads

โฆษณา YouTube คือ โฆษณาสินค้าทั้งหมดที่แสดงผลบนแพลตฟอร์ม YouTube โดยโฆษณา YouTube ถือเป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา Google เนื่องจากเวลาแบรนด์จะซื้อพื้นที่โฆษณาบนแพลตฟอร์ม YouTube จะต้องเข้าไปตั้งค่าใน Google Ads ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งค่าตั้งแต่ “วัตถุประสงค์ (Objective)” เลือก “การเข้าถึง การรับรู้ และการพิจารณา” หรือ “สร้างแคมเปญโดยไม่มีคำแนะนำของเป้าหมาย” จากนั้นจึงค่อยเลือกแคมเปญเป็นวิดีโอ

โฆษณา YouTube แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

เราสามารถแบ่งโฆษณา YouTube ได้ทั้งสิ้น 5 ประเภท โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

Skippable in-stream ads (โฆษณาแบบกดข้ามได้)

โฆษณาแบบกดข้ามได้ คือ โฆษณา YouTube ที่จะต้องมีความยาวเกินกว่า 10 วินาที (ไม่จำกัดความยาวสูงสุด แต่แนะนำให้ไม่เกิน 3 นาที) จุดเด่นของโฆษณารูปแบบนี้ คือหลังจากผู้ชมมองเห็นโฆษณาครบ 5 วินาที ก็จะมีปุ่ม Skip ปรากฏขึ้น ซึ่งถ้าผู้ชมกด Skip เมื่อใด  ครีเอเตอร์ก็จะไม่ได้ส่วนแบ่งจากโฆษณาชิ้นนั้น  

Skippable in-stream ads

ที่มา: https://www.youtube.com/ads/how-it-works/set-up-a-campaign/consideration/ 

ช่วงเวลาที่โฆษณาจะปรากฏ: ได้ทั้งก่อนเริ่มคลิป ระหว่าง หรือหลังจบคลิป

ข้อดีของโฆษณาแบบกดข้ามได้: ผู้ชมจะรู้สึกมีทางเลือก และเฝ้ารอที่จะชมคลิปต่อ

ข้อเสียของโฆษณาแบบกดข้ามได้: ผู้ชมส่วนมากมักจะกดข้าม ซึ่งส่งผลให้ทั้งผู้ลงโฆษณาและครีเอเตอร์ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

Non – skippable in-stream ads (โฆษณาแบบกดข้ามไม่ได้)

โฆษณาแบบกดข้ามไม่ได้ คือ โฆษณาความยาว 15 – 30 วินาที ที่จะไม่มีปุ่ม Skip ปรากฏขึ้นหลังผ่านไปแล้ว 5 วินาที เพื่อบังคับให้ผู้ชมดูโฆษณาจนจบ เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand awareness) หรือกระตุ้นให้เกิดยอดขาย เนื่องจากผู้ชมมีโอกาสที่จะได้เห็นโฆษณาซ้ำ ๆ หลายครั้ง

Non - skippable in-stream ads

ที่มา: https://megadigital.ai/en/blog/non-skippable-ads-on-youtube/ 

ช่วงเวลาที่โฆษณาจะปรากฏ: ได้ทั้งก่อนเริ่มคลิป ระหว่าง หรือหลังจบคลิป

ข้อดีของโฆษณาแบบกดข้ามไม่ได้: ครีเอเตอร์จะได้รับส่วนแบ่งค่าโฆษณาแน่นอน และในขณะเดียวกัน ผู้ชมก็มีโอกาสที่จะจดจำแบรนด์ได้เพิ่มขึ้น

ข้อเสียของโฆษณาแบบกดข้ามไม่ได้: ผู้ชมอาจรู้สึกเบื่อหน่าย และตัดสินใจไม่ชมคลิปต่อ

In – feed video ads (โฆษณาวิดีโอในหน้าฟีด)

โฆษณาวิดีโอในหน้าฟีด คือ รายการวิดีโอที่ขึ้นว่า Ad ซึ่งจะปรากฏคั่นอยู่ตามรายการค้นหา เพื่อโปรโมตเนื้อหาวิดีโอที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับวิดีโอบนรายการค้นหานั้น ๆ เช่น หากคุณกำลัง Search หาวิดีโอเกี่ยวกับโปรแกรม CRM คุณก็อาจจะพบ In-feed video ads ของบริษัทรับทำ CRM คั่นอยู่ระหว่างผลการค้นหา เป็นต้น

In-feed video ads

ที่มา: https://megadigital.ai/en/blog/youtube-in-feed-video-ads/ 

ตำแหน่งที่โฆษณาจะปรากฏ: ฟีดหน้าแรก หรือ หน้าผลการค้นหาของ YouTube

ข้อดีของโฆษณาวิดีโอในหน้าฟีด: ไม่รบกวนการรับชม และมีโอกาสที่ผู้ชมจะได้เห็นค่อนข้างมาก

ข้อเสียของโฆษณาวิดีโอในหน้าฟีด: แม้จะเห็นโฆษณาประเภทนี้บนหน้าฟีด แต่ก็มีผู้ชมส่วนน้อยที่จะตัดสินใจคลิกชมคลิปที่เป็นโฆษณา

Bumper ads (โฆษณาสั้น 6 วินาที)

โฆษณาแบบ Bumper Ads คือ โฆษณา YouTube ที่จะมีความยาวจำกัดแค่ 6 วินาทีเท่านั้น และเนื่องจากเป็นโฆษณาที่สั้นมาก จึงไม่อนุญาตให้ผู้ชมกดข้าม เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสื่อสารข้อความเร่งด่วนสั้น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโปรโมชันหรือวันเปิดตัวแคมเปญใหม่ 

Bumper ads

ที่มา: https://instapage.com/blog/youtube-bumper-ads/ 

ช่วงเวลาที่โฆษณาจะปรากฏ: ได้ทั้งก่อนเริ่มคลิป ระหว่าง หรือหลังจบคลิป 

ข้อดีของโฆษณา Bumper ads: ผู้ชมจะไม่รู้สึกว่าถูกรบกวนมาก และครีเอเตอร์จะได้รับส่วนแบ่งค่าโฆษณาแน่นอน

ข้อเสียของโฆษณา Bumper ads: มีความยาวเพียง 6 วินาที ทำให้สื่อสารได้ค่อนข้างน้อย และไม่ค่อยเป็นที่จดจำ

Masthead ads (โฆษณาวิดีโอด้านบนของหน้าฟีด YouTube)

โฆษณาแบบ Masthead ads คือ โฆษณาวิดีโอขนาดใหญ่ที่จะปรากฏบนหน้าฟีด YouTube โดยจะแสดงผลแบบไม่มีเสียงนานสูงสุดถึง 30 วินาที เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมบนหน้าฟีด นอกจากนี้ ธุรกิจเจ้าของโฆษณายังสามารถเลือกได้ว่า จะโชว์โฆษณาแบบจอกว้างด้านบนหน้าฟีดปกติ หรือจะโชว์แบบจอแนวตั้ง 16:9 และมีแผงข้อมูลทางด้านขวาซึ่งใช้เนื้อหาจากช่องของคุณโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี โฆษณาประเภทนี้ไม่สามารถตั้งค่าเองผ่าน Google Ads ได้ ต้องจองผ่านตัวแทนขายของ Google เท่านั้น

Masthead ads

ที่มา: https://www.searchenginejournal.com/google-makes-youtube-masthead-ads-available-to-all-advertisers/317957/ 

ตำแหน่งที่โฆษณาจะปรากฏ: ฟีดหน้าแรกของ YouTube

ข้อดีของโฆษณา Masthead ads: ค่อนข้างโดดเด่น เตะตา และเป็นที่จดจำ

ข้อเสียของโฆษณา Masthead ads: ราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับธุรกิจที่เป็นแบรนด์ใหญ่

ครีเอเตอร์สามารถตั้งค่าเองได้ไหม ว่าอยากให้โฆษณา YouTube รูปแบบใดโชว์อยู่ในคลิป?

หนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับคนอยากเป็น YouTuber คือ ครีเอเตอร์สามารถตั้งค่าประเภทโฆษณา YouTube ในคลิปของตัวเองได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ “ครีเอเตอร์สามารถกำหนดประเภทโฆษณาในคลิปของตัวเองได้” โดยเข้าไปที่ YouTube Studio >> การตั้งค่า >> รายได้ >> การตั้งค่าโฆษณา

สรุป

โฆษณา YouTube ทั้ง 5 ประเภทนี้ อาจผ่านตาคุณในฐานะผู้ชมมาแล้วไม่มากก็น้อย และแม้ว่าที่ผ่านมาคุณจะมองหาปุ่ม Skip เพื่อกดข้ามอยู่ตลอดเวลา แต่หากคุณสนใจจะลองสร้าง YouTube Channel เป็นของตัวเอง แนะนำให้ลองดูโฆษณาทุก ๆ คลิปจนจบดูสักครั้ง เพื่อสังเกตการณ์ดูว่า YouTube Channel ที่ประสบความสำเร็จทั้งหลาย มักจะตั้งค่าโฆษณาในคลิปของพวกเขาอย่างไร

อ้างอิง

Support Google. About video ad formats

Available from: https://support.google.com/youtube/answer/2375464?hl=en 

Google Ads Help. YouTube Masthead

Available from: https://support.google.com/google-ads/answer/9709826?hl=en 





Virtual Try-on บน Google
AI Marketing | Google
Virtual Try-on ฟีเจอร์สำหรับลองเสื้อก่อนซื้อจริงบน Google Shopping

ท่ามกลางกระแส E-commerce ที่กำลังมาแรง Google โปรแกรม Search Engine อันดับ 1 ของโลกจึงกระโดดลงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันในสนามนี้บ้าง ด้วยการเปิดตัว Google…

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…