Design Brief

บรีฟงานกราฟิกทีไร…ไม่เคยได้งานตรงใจ ปัญหาสุดคลาสสิกที่เจ้าของกิจการขนาดเล็กที่ว่าจ้าง Graphic Designer และ Content Creator หลาย ๆ คนต้องเคยเจอ ซึ่งต้นตอของปัญหามักเป็น “การสื่อสารที่ไม่ลงตัว” เพราะผู้รับหน้าที่บรีฟงานขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำ Design Brief ที่ถูกต้อง หากคุณอยากเพิ่มประสิทธิภาพในการบรีฟงานกราฟิกในครั้งต่อไป ลองอ่านบทความนี้!

Design Brief คืออะไร?

Design Brief คือเอกสารหรือสไลด์ที่ระบุรายละเอียดของงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น ภาพรวมของงาน (Overview) วัตถุประสงค์ในการสร้างงาน (Objective) ระยะเวลา ไปจนถึงแบบร่างงานดีไซน์ การใช้ฟอนต์ การใช้สี และการกำหนดขนาดของงาน เพื่อส่งต่อให้ทีม Graphic Designer ใช้เป็นแผนงานสำหรับสร้างสรรค์ชิ้นงานต่อไป

Alt: Design Brief คือ
ที่มา: https://milanote.com/templates/creative-briefs/app-design-brief

ทั้งนี้ Design Brief ที่ดี ควรเกิดจากการออกแบบเทมเพลตร่วมกันระหว่างฝ่ายที่รับหน้าที่บรีฟงานอย่าง Content Creator และฝ่ายที่รับหน้าที่ออกแบบชิ้นงานอย่าง Graphic Designer เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และงานที่เสร็จทันตามกำหนดเวลา


Design Brief ที่ดีควรมีอะไรบ้าง?

โดยทั่วไป Design Brief ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับวิธีการทำงานขององค์กรนั้น ๆ และสิ่งที่ Graphic Designer แต่ละคนต้องการ อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการไอเดียเริ่มต้นสำหรับวางเทมเพลต Design Brief ควรร่างให้มีองค์ประกอบดังนี้

Alt: Graphic Design Brief 
ที่มา: https://fakeclients.com/graphicdesign
    • รายละเอียดโดยรวมของงาน: เช่น ชื่อโปรเจกต์ ชื่อบริษัท และสินค้า/บริการที่เน้นขาย 
    • วัตถุประสงค์ของการออกแบบชิ้นงาน: ต้องการเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง เช่น ออกแบบกราฟิกบิลบอร์ด ออกแบบฉลากสินค้า หรือ ออกแบบ Artwork เพื่อโพสต์บน Facebook
    • จำนวนและขนาดของชิ้นงาน: ระบุให้ชัดว่าต้องการให้ออกแบบกี่ชิ้นงาน แต่ละชิ้นมีขนาดเท่าไหร่ หน่วยอะไร
    • ข้อความและภาพที่ต้องการให้มีบนชิ้นงาน: อาจเขียนบรรยายให้เข้าใจลักษณะ หรือวางเป็น Layout ให้ดู
    • Reference: ภาพตัวอย่างงานที่ใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ต้องการ
    • ระยะเวลา: ขอบเขตระยะเวลาคือสิ่งสำคัญ ควรระบุให้ชัดว่าส่งดราฟต์แรกได้เมื่อไหร่ แก้ไขได้กี่ครั้ง และดราฟต์สุดท้ายส่งได้วันไหน
    • ข้อจำกัดและ Material ที่จำเป็น: ระบุข้อจำกัด หรือข้อห้ามให้ชัดเจน เช่น ห้ามใช้สีแบบใด ห้ามใช้ภาพแบบใด พร้อมแนบลิงก์ Material ที่จำเป็น อาทิ CI บริษัท ไฟล์โลโก้ หรือภาพประกอบต่าง ๆ (ถ้ามี)

5 วิธีบรีฟงานให้กราฟิกเข้าใจฉบับมือโปร 

การบรีฟงานให้กราฟิกเข้าใจไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงผู้รับหน้าที่บรีฟมีความต้องการที่ชัดเจนมากพอ และอธิบายความต้องการนั้นได้ โดย Digital Tips สรุปออกมาเป็น 5 วิธีง่าย ๆ ให้คุณนำไปปรับใช้ ดังนี้

Alt: How to brief graphic designer
ที่มา: https://www.ayoa.com/templates/design-brief-template/

1. อย่าอธิบายเฉพาะเนื้องาน ควรอธิบายภาพรวมโปรเจกต์ด้วย

แม้จะทราบรายละเอียดของเนื้องานที่ต้องทำ แต่หาก Graphic Desinger มองภาพรวมของงานไม่ออก ว่าตัวเองกำลังออกแบบชิ้นงานเพื่อ Support งานส่วนใดในบริษัท หรือกำลังทำสิ่งนี้เพื่ออะไร ก็อาจทำให้ไอเดียการออกแบบถูกจำกัดวงแคบลง หรือผิดไปจากความต้องการของผู้บรีฟได้ คุณจึงควรเริ่มด้วยการอธิบายภาพรวมโปรเจกต์ก่อนเล็กน้อย พอให้พวกเขาเห็นภาพว่า โปรเจกต์นี้เป็นมาอย่างไร และมีขึ้นเพื่ออะไร

2. แจกแจงให้ชัดว่าจะนำชิ้นงานไปใช้ทำอะไรบ้าง

ควรระบุลงไปใน Design Brief ให้ชัด ว่าคุณต้องการจะนำชิ้นงานไปใช้ในสื่อแบบใด เป็นสื่อออฟไลน์ หรือออนไลน์ เนื่องจากลักษณะของการนำไปใช้ มีผลต่อการปรับแต่งความคมชัด การเลือกสี และการปรับขนาดไฟล์ด้วย

3. อย่าลืมส่ง Material ที่สำคัญต่าง ๆ ให้เป็นไฟล์ที่สามารถใช้การได้

หลาย ๆ ครั้งที่ Graphic Designer ต้องปวดหัวกับการได้ Material มาแล้ว แต่ไม่สามารถนำไปออกแบบชิ้นงานจริงได้ เช่น ลูกค้าส่งโลโก้มาให้ แต่ส่งมาเป็นไฟล์ PDF (ควรส่งเป็นไฟล์ .psd, .AI, หรือ .PNG) หรือลูกค้าอยากให้ใส่ภาพถ่ายจริง ๆ ลงไปในงาน แต่แปะภาพมาในไฟล์เอกสาร (ควรส่งเป็นไฟล์ .JPG) เป็นต้น ดังนั้น ก่อนส่งไฟล์งานทุกครั้ง หากไม่มั่นใจ อย่าลืมสอบถามประเภทไฟล์งานจากกราฟิกก่อน เพื่อให้พวกเขาสามารถเริ่มทำงานได้ทันที

4. ตกลงกับ Graphic Designer ให้ชัด ว่าสามารถแก้ไขงานได้กี่ครั้ง

โดยปกติแล้วงานออกแบบจะไม่เสร็จเรียบร้อยภายในดราฟต์เดียว จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ดังนั้น เพื่อไม่ให้กรอบระยะเวลาคลาดเคลื่อน แนะนำให้ตกลงเวลากับ Graphic Designer ให้แน่ชัดตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน ว่าแก้ไขได้สูงสุดกี่ครั้ง และต้องส่งงานแต่ละครั้งเมื่อไหร่

5. แนบ Reference ลงไปใน Design Brief ด้วยทุกครั้ง

เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคุณกับ Graphic Designer จะมองภาพเดียวกัน อย่าลืมแนบชิ้นงานอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกับภาพในจินตนาการของคุณที่สุด ไปเป็น Reference ใน Design Brief ด้วยทุกครั้ง


สรุป

Design Brief จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสายงานการตลาด ที่จำเป็นต้องสร้างชิ้นงานสำหรับโปรโมตสินค้าและตัวแบรนด์อยู่เสมอ คุณจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและฝึกสร้าง Design Brief ที่ถูกต้อง เพื่อให้การทำงานระหว่างคุณกับฝ่ายออกแบบราบรื่น และผลิตงานสร้างสรรค์ดี ๆ ออกมาได้มากที่สุด


อ้างอิง

Nuclino. What Is a Design Brief and How to Write It

Available from: https://www.nuclino.com/articles/design-brief 

MindMesh. What is Design Brief 

Available from: https://www.mindmesh.com/glossary/what-is-design-brief

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…