หากคุณคือเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และกำลังเดินหน้าทำ SEO อย่างเต็มกำลัง เพื่อพิชิตพื้นที่อันดับ 1 บน Google Search ให้ได้ Core Web Vitals คือหนึ่งในองค์ความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณ แล้ว Core Web Vitals คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อการทำ SEO อย่างไร มาเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กัน!

ทำความเข้าใจ Core Web Vitals คืออะไร

Core Web Vitals คืออะไร?

ที่มา: https://www.verenorth.com/blog/google-core-web-vitals/ 

Core Web Vitals คือ มาตรฐานชี้วัดที่ Google คิดค้นขึ้น เพื่อให้คะแนนประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ หรือ UX (User Experience) ว่าตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากแค่ไหน และเว็บไซต์นั้น ๆ ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพมากพอหรือไม่ นอกจากนี้ การถือกำเนิดของ Core Web Vitals ยังแสดงให้เห็นว่า แค่ทำคอนเทนต์ให้มีเนื้อหายาว หรือภาพประกอบสวย ๆ ไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ คือสิ่งที่ Google Algorithm ให้ความสำคัญด้วย 

องค์ประกอบของ Core Web Vitals มีอะไรบ้าง

การให้คะแนน Core Web Vitals ประกอบด้วย 3 ตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้

Core Web Vitals - LCP 

ที่มา: https://useo.es/core-web-vitals/ 

Largest Contentful Paint (LCP)

LCP หรือก็คือ ความเร็วที่ใช้ในการดาวน์โหลดเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดบนเว็บไซต์ ซึ่งมักเป็นส่วนของภาพและวิดีโอ โดยปกติแล้ว องค์ประกอบแต่ละส่วนบนหน้าเว็บไซต์จะใช้เวลาดาวน์โหลดไม่เท่ากัน การวัด LCP จึงต้องวัดเป็นช่วง ๆ ตามรอบการดาวน์โหลดเนื้อหานั้น ๆ อย่างไรก็ตาม Google กำหนดว่า เว็บไซต์ที่ดี จะต้องมีค่า LCP ไม่เกิน 2.5 วินาที และถ้าใช้เวลาดาวน์โหลดเกิน 4 นาที เว็บไซต์ของคุณจะได้คะแนนต่ำในส่วนนี้ และถูก Google Algorithm มองว่า เป็นเว็บไซต์ที่ต้องปรับปรุง

Core Web Vitals - FID

ที่มา: https://useo.es/core-web-vitals/ 

First Input Delay (FID)

FID หมายถึง ความเร็วในการตอบสนองต่อคำสั่งของผู้ใช้งาน เช่น เมื่อพวกเขาคลิกปุ่มต่าง ๆ คลิกที่รูป กดซูม หรือเลื่อนขึ้น-ลงไปมา โดยจะวัดว่าเว็บไซต์ตอบสนองเร็วแค่ไหน ใช้เวลาโหลดนานหรือไม่ มีช่วงเวลากระตุก หรือค้าง หรือไม่ โดยความเร็วที่เหมาะสมสำหรับ Google คือ ไม่เกิน 100 มิลลิวินาที หรือ 0.1 วินาที

Core Web Vitals - CLS

ที่มา: https://useo.es/core-web-vitals/ 

Cumulative Layout Shift (CLS)

CLS คือ ผลรวมคะแนนของการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เช่น ฟอนต์ ภาพ ปุ่ม แบนเนอร์ ฯลฯ ว่ามีส่วนที่ทำงานผิดพลาด หรือเป็นอุปสรรคต่การใช้งานหรือไม่ อาทิ ฟอนต์เด้งไปมา ปุ่มกดยาก ไอคอนเล็กจนคลิกยาก หรือหน้า Layout เล็กหรือใหญ่เกินไปจนอ่านยาก เป็นต้น โดยคะแนนที่เหมาะสมสำหรับ Google คือ CLS ไม่เกิน 0.1 และต้องไม่มากกว่า 0.25 

การปรับแต่งเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มคะแนน Core Web Vitals 

หากคุณอยากปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาคะแนน Core Web Vitals ให้ดีขึ้น สามารถทำได้ดังนี้

ปรับ LCP ด้วยการลดเวลาดาวน์โหลดเว็บไซต์

ปัญหาเว็บไซต์ดาวน์โหลดช้าส่วนใหญ่เกิดจากไฟล์รูปภาพ แนะนำให้ย่อขนาดไฟล์ทุกครั้งก่อนอัปโหลด หรือเปลี่ยนจากอัปโหลดรูปภาพเป็นไฟล์ JPG. หรือ PNG. ธรรมดา เป็นไฟล์ WEBP. ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใหม่ให้รองรับการบีบอัดไฟล์ขั้นสุด แต่ภาพยังคมชัดเท่าเดิม และจะแสดงผลบนเว็บไซต์เท่านั้น 

ปรับ FID ด้วยการเพิ่มความเร็วในการตอบสนองต่อผู้ใช้

เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเว็บไซต์ หลาย ๆ คนจึงเผลอดาวน์โหลดปลั๊กอินมาเก็บไว้มากมาย ซึ่งมีผลทำให้หน่วยความจำทำงานหนัก และเว็บไซต์หน่วง แนะนำให้ลบปลั๊กอินที่ไม่จำเป็นออก นอกจากนี้ การลบ JavaScript ที่ไม่จำเป็น รวมถึงการย่อขนาดไฟล์ภาพ ก็สามารถทำให้เว็บไซต์ทำงานเร็วขึ้นได้

ปรับ CLS ด้วยการปรับดีไซน์ UI ใหม่

การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้ทั้งสวยงามและใช้งานง่าย เป็นพาร์ทของงานฝั่ง UI หรือ User Interface หากคุณต้องการเพิ่มคะแนนในส่วนนี้ แนะนำให้ Re-design ใหม่ เน้นแก้ไขส่วนที่บกพร่อง แล้วอย่าลืมปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ให้แสดงผลได้ดีทั้ง Desktop และ Mobile 

จะเช็กคะแนน Core Web Vitals ได้อย่างไร

 

เช็ก Core Web Vitals ผ่าน Google Search Console 

ที่มา: https://undershirtguy.com/core-web-vitals/ 

เช็ก Core Web Vitals ผ่าน PageSpeed Insights 

ที่มา: https://www.smashingmagazine.com/2021/04/complete-guide-measure-core-web-vitals/ 

การเช็กคะแนน Core Web Vital โดยทั่วไปสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ ตรวจสอบโดยใช้ Google Search Console (เลือกเมนู Core Web Vitals) หรือเช็กผ่าน PageSpeed Insights ซึ่งทั้ง 2 เครื่องมือสามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 

สรุป – Core Web Vitals สำคัญอย่างไร

การปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อเพิ่มคะแนน Core Web Vitals นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการขึ้นอันดับ 1 บนหน้า Google Search แล้ว ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่ในหน้าเว็บไซต์นานขึ้น และรู้สึกเชื่อถือในมาตรฐานของแบรนด์ นอกจากนี้ การหมั่นตรวจเช็กประสิทธิภาพของเว็บไซต์บ่อย ๆ เพื่อเพิ่มคะแนน Core Web Vitals ยังทำให้คุณมีโอกาสได้ทำ Website Audit และแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

อ้างอิง

Search Console Help. Core Web Vitals report

Available from: https://support.google.com/webmasters/answer/

Moz. What are Core Web Vitals?

Available from: https://moz.com/learn/seo/performance-metrics 

Yoast. 5 ways to improve your Core Web Vitals

Available from: https://yoast.com/boost-core-web-vitals/ 

 

Mr Beast
YouTube
รู้จัก Mr Beast ยูทูบเบอร์ระดับโลก และเทคนิคที่ทำให้คลิป Go Viral 

คนที่ชอบเสพคอนเทนต์บน YouTube เป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะคอนเทนต์แนวทำชาเลนจ์ คงไม่มีใครไม่รู้จักช่องของ Mr Beast ยูทูบเบอร์ชาวอเมริกันที่ก้าวเข้าสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีพันล้านตอนอายุไม่ถึง 30 ปี แท้จริงแล้ว Mr…

เทรนด์คลิป TikTok
TikTok
3 เทรนด์คลิป TikTok ที่แพลตฟอร์มคัดมาแล้วว่าฮอตฮิตที่สุด!

ธุรกิจของคุณทำคลิป TikTok อยู่ใช่ไหม? อยากรู้ไหมว่าคลิปแบบไหนที่ประทับใจคนดูมากที่สุด Digital Tips รวบรวมข้อมูลจากรายงาน “Trends Digest Series” ของ TikTok…

Long-tail Keywords
Marketing
 5 วิธีหา Long-tail Keywords ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดที่ทำการตลาดแบบ SEO คงรู้ถึงความสำคัญของ Keyword เป็นอย่างดี เพราะช่วยให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก หรืออยู่อันดับต้นๆ ในการค้นหา ซึ่งส่วนใหญ่มักเลือกใช้ Keyword สั้นๆ ที่มี…