Bounce Rate คืออะไร มีผลต่อการทำ SEO มากแค่ไหน พร้อมวิธีเช็ก

สำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และทำ SEO เพื่อหาลูกค้าใหม่ ๆ บน Search Engine คงเคยได้ยินคำว่า Bounce Rate จากปากของเอเจนซี่ที่รับทำ SEO ให้ หรือจากผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์มาบ้าง แต่อาจจะยังไม่เข้าใจความหมาย และมองไม่เห็นความสำคัญของ Bounce Rate เท่าใดนัก ในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณไปดูว่า Bounce Rate คืออะไร สำคัญกับการทำ SEO มากแค่ไหน มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

Bounce Rate คืออะไร

Bounce Rate คือ เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่คลิกออกจากเว็บไซต์หลังจากชมเนื้อหาเพียงหน้าเดียวเท่านั้น ใช้สำหรับเป็นตัวแปรว่า ผู้เข้าชมส่วนใหญ่เข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณโดยที่ไม่ตอบโต้อะไรเลยบ่อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่า ยิ่ง Bounce Rate มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า เนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณยังไม่น่าสนใจมากพอ

Bounce Rate คืออะไร

ที่มา: https://www.lido.app/metrics/bounce-rate 

วิธีการคำนวณค่า Bounce Rate

ค่า Bounce Rate คำนวณได้โดยใช้สูตร (จำนวนการเข้าชมหน้าเดียว / จำนวนการเข้าชมทั้งหมด) * 100

ตัวอย่างเช่น

หากเว็บไซต์มีการเข้าชมทั้งสิ้น 1,000 ครั้ง และในจำนวนนั้น มีผู้ที่เข้าชมเพียงหน้าเดียวแล้วออกจากเว็บไซต์ทั้งสิ้น 200 คน ค่า Bounce Rate จะเท่ากับ (200/1,000)*100 = 20%

**จากคำแนะนำของ Semrush ค่า Bounce Rate ที่อยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ควรเกิน 40%

ปัจจัยที่ทำให้ค่า Bounce Rate สูงขึ้น

มีเหตุผลหลัก ๆ อยู่ไม่กี่ข้อที่ทำให้ค่า Bounce Rate สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

หน้าเว็บไซต์หน่วง โหลดช้า

Page Speed Slow

ที่มา: https://acclaim.agency/blog/things-that-slow-down-your-wordpress 

ลองนึกดูว่า ผู้เข้าชมจะรู้สึกอย่างไร หากเว็บไซต์ที่พวกเขาตั้งใจจะคลิกเข้าไปชมดาวน์โหลดช้ามาก หรือช้าจนทำให้เครื่องค้าง ดังนั้น การที่หน้าเว็บไซต์หน่วงจึงเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ค่า Bounce Rate สูง 

เนื้อหาไม่น่าสนใจ

แม้จะเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ แต่ข้อมูลทางสถิติของ Semrush ยืนยันว่า ประเภทของหน้าเว็บไซต์ที่มักจะมีค่า Bounce Rate สูงถึง 65 – 90% คือหน้า Blog และ Dictionary ซึ่งตรงกับพฤติกรรมของผู้เข้าชมสมัยนี้ที่มักจะหลีกหนีเนื้อหายาว ๆ อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าโดยปกติค่า Bounce Rate ของหน้า Blog อยู่ในอัตราที่สูงมากอยู่แล้ว หากเนื้อหาใน Blog ไม่น่าสนใจ ก็อาจทำให้ค่า Bounce Rate สูงขึ้นกว่าเดิม

ตั้งชื่อ Headline หรือเขียน Description ที่ทำให้เข้าใจผิด

การเขียนหัวข้อและคำอธิบายกำกวม หรือใช้คำเชิงโฆษณามากเกินไปจนทำให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาผิด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Bounce Rate สูง เพราะเมื่อคลิกเข้าไปอ่านแล้วไม่พบเนื้อหาอย่างที่คิดไว้ ผู้ชมก็มักจะคลิกออกจากเว็บไซต์ทันที

UX/ UI ไม่สวยงาม ไม่น่าสนใจ และใช้งานยาก

Bad UX Website

ที่มา: https://watchthem.live/bad-website-design-examples/ 

บ่อยครั้งที่คนมักหลงลืมความสำคัญของ UX/UI ทำให้บนหน้าเว็บไซต์มีแต่ปุ่ม รูปภาพ ตัวอักษร หรือป้ายโฆษณาที่ยุ่งเหยิง ชวนให้สับสน ลายตา และไม่น่าสนใจ แน่นอนว่าถ้าคลิกไปเจอเว็บไซต์ประเภทนี้เมื่อไหร่ ผู้เข้าชมก็มักจะออกจากเว็บไซต์ทันทีเช่นเดียวกัน

จะเกิดอะไรขึ้นหากค่า Bounce Rate ของเว็บไซต์สูงขึ้น

สำหรับประเด็นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ทั้ง Semrush และ Neil Patel ยืนยันตรงกันว่า “Bounce Rate ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับการจัดอันดับของ Google” แต่เป็นเพียงตัวชี้วัดที่แสดงให้เจ้าของเว็บไซต์เห็นว่า เนื้อหาของคุณตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากแค่ไหน หากพวกเขาคลิกเข้ามาชมและคลิกออกจากเว็บไซต์ทันทีโดยไม่ได้คลิกชมหน้าอื่นต่อ ก็อาจตีความได้ว่า เนื้อหาบนเว็บไซต์ยังไม่ตอบโจทย์ผู้เข้าชมมากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์ที่เน้นทำ SEO เนื่องจากเว็บไซต์ประเภทนี้จะมีหน้า Blog ค่อนข้างมาก หากอ่านแค่หน้าเดียวแล้วไม่คลิกไปยัง Internal Link อื่น ๆ เลย ก็เป็นไปได้ว่า เนื้อหาใน Blog ไม่น่าสนใจ และนานวันไปอันดับบน Google ก็อาจลงได้

อย่างไรก็ดี หากเราไม่โฟกัสที่การทำ SEO แต่มุ่งไปยังคำถามที่ว่า “ค่า Bounce Rate สูงขึ้น เป็นเรื่องดีหรือไม่ดี” คำตอบของ Google คือให้มองที่ “รูปแบบของเนื้อหาบนเว็บไซต์”

  • หากคุณมีไซต์ที่ต้องการให้ผู้คนเข้าชมเพียงหน้าเดียว เช่น ส่งข้อความถึงคุณ หรือเขียนรีวิวผลิตภัณฑ์ให้กับคุณ ค่า Bounce Rate ที่สูงขึ้น คือเรื่องปกติ
  • ในทางกลับกัน หากเว็บไซต์ของคุณออกแบบมาเพื่อให้ผู้ชมคลิกดูมากกว่า 1 หน้า เช่น หน้ารายการผลิตภัณฑ์ ใส่สินค้าลงตะกร้า สั่งซื้อ และชำระเงิน การที่ค่า Bounce Rate สูงขึ้น คือเรื่องที่ควรแก้ไข เพราะนั่นอาจตีความได้ว่า ลูกค้าจะสั่งซื้อแล้วแต่เปลี่ยนใจในภายหลัง หรือวิธีการชำระเงินอาจจะยุ่งยากเกินไป เป็นต้น

วิธีเช็กค่า Bounce Rate 

Bounce Rate GA4

ที่มา: https://bradgerick.com/google-analytics-4/bounce-rate-ga4/ 

ปัจจุบัน คุณสามารถเช็กค่า Bounce Rate ของแต่ละหน้าได้บน Google Analytics ทั้งนี้ ถ้าคุณอัปเดตเป็น GA4 เรียบร้อยแล้ว ระบบจะคำนวณ Bounce Rate จาก “เปอร์เซ็นต์ของเซสชันที่มีไม่มีส่วนร่วม” ซึ่ง “เซสชันที่มีส่วนร่วม” หมายถึง การเข้าชมนาน 10 วินาทีขึ้นไป ดังนั้น หากผู้คนชมเว็บไซต์ของคุณเกินกว่า 10 วินาทีแล้วคลิกออกจากเว็บไซต์ไป แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ตอบโต้อะไรกับเว็บไซต์ การเข้าชมนั้นก็จะไม่ถูกคำนวณว่าเป็น Bounce Rate นั่นเอง

สรุป

Bounce Rate คือ หนึ่งในตัวแปรที่สามารถบ่งบอกคุณภาพของเว็บไซต์ได้ โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ที่ทำ SEO ดังนั้น หากเมื่อใดก็ตามที่พบว่า Bounce Rate ของหน้าไหนบนเว็บไซต์สูงเกินกว่าปกติ แนะนำให้รีบหาสาเหตุหรือ Optimize เนื้อหาในหน้านั้นใหม่ เพื่อรักษาอันดับบน Search Engine ไว้

อ้างอิง

Semrush. What Is Bounce Rate and What Is a Good Rate?

Available from: https://www.semrush.com/blog/bounce-rate/#bounce-rate-in-google-analytics:-ua-vs–ga4 

Neil Patel. Bounce Rate: What Is It and What Is a Good Number? 

Available from: https://neilpatel.com/blog/bounce-rate-analytics/ 

Search Engine Journal. 12 Reasons Your Website Can Have A High Bounce Rate

Available from: https://www.searchenginejournal.com/website-bounce-rate/332439/#close 

Google. [UA] Bounce rate

Available from: https://support.google.com/analytics/answer/1009409?hl=en 

ของมือสองเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กับกระแส YONO เพราะราคาถูกและยังอยู่ในสภาพดี
Money Tips
รู้จัก YONO (You Only Need One) เมื่อความฟุ่มเฟือยไม่ใช่เทรนด์ในหมู่วัยรุ่นอีกต่อไป!

เมื่อสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้เราอู้ฟู่ งั้นก็ควรหันมาประหยัดกันได้แล้ว! รู้จักกับเทรนด์ YONO (You Only Need One) จากวัยรุ่นเกาหลีใต้ ชวนทุกคนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต เมื่อพูดถึงมุมมองในการใช้ชีวิต วัยรุ่นหลายคนคงเลือกทำทุกวันให้เหมือนกับวันสุดท้าย…

แอป Duolingo เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาที่เรียนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน
Marketing Psychology
หลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในแอป “Duolingo” ทำอย่างไรให้คนเสพติดการเรียนภาษา

ถ้าพูดถึงแอปเรียนภาษายอดฮิตก็ต้องนึกถึงแอป Duolingo ที่ไม่ได้มีดีแค่ความปากจัดของนกฮูกเขียว แต่มีหลักจิตวิทยาแอบซ่อนเอาไว้ ที่ทำให้ผู้เรียนทุกคนเสพติดการเรียนแบบไม่รู้ตัว! ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยเห็นมีมของ “นกฮูกเขียว” ผ่านตากันมาบ้าง ทั้งประโยคชวนเจ็บจี๊ดและแสนจิกกัด หรือหน้าตาแอปพลิเคชันตลก ๆ ที่คนแชร์กันเต็มโซเชียล…

วิธีการจัดการคิวของลูกค้าตามหลัก Psychology of Waiting
Marketing Psychology
Psychology of Waiting ทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ต่อคิว ไม่รู้สึกว่ารอนานจนอยากเลิกซื้อ!

หลายแบรนด์เสียโอกาสทางการค้า เพราะลูกค้าเห็นความยาวของแถวต่อคิวแล้วรู้สึกท้อ ขอเลือกซื้อของเจ้าอื่นแทนดีกว่า มาใช้หลักการ Psychology of Waiting ในการจัดการแถวคิวกันเถอะ! เวลาเห็นร้านไหนมีคนต่อแถวยาว เรามักจะมองว่าร้านนั้นต้องขายดีมากแน่ ๆ แต่หลายครั้งก็อาจเห็นผู้คนบ่นลงโซเชียลมีเดียบ่อย…