10 body languages for presentation

Topic Summary

คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ!

ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีประโยชน์ให้เห็นเป็นรูปธรรม และคนทำงานหลายสาขาอาชีพสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที หากคุณเองก็อยากเรียนรู้สิ่งนี้ Digital Tips รวมมาไว้ให้คุณแล้ว มาเริ่มศึกษากันได้เลย

Content Summary

  • ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน คือ องค์ความรู้เรื่องการใช้อวัจนภาษา ที่ทำให้การสื่อสารสมบูรณ์แบบมากขึ้น
  • การใช้ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งานจะทำให้ทุกคำพูดของคุณฟังดูมีน้ำหนักมากขึ้น เสริมเสน่ห์ขณะนำเสนองาน และช่วยให้คนที่พูดไม่เก่ง สื่อสารออกไปได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
  • 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน ที่ควรทำ ได้แก่ การยืนตัวตรง, การสบตาผู้ฟัง, การใช้มือประกอบการพูด, การพยักหน้าในจังหวะสำคัญ, การยิ้ม, การเคลื่อนไหวอย่างมีจุดหมาย, การเงยหน้าและสบตา, การใช้ท่าทางเปิดกว้าง, การควบคุมการหายใจ และการโน้มตัวลงเล็กน้อย เพื่อแสดงความกระตือร้น

ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน คืออะไร?

ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน คือ องค์ความรู้เรื่องการใช้อวัจนภาษา ที่เมื่อใช้ควบคู่ไปกับวัจนภาษาแล้ว จะทำให้การสื่อสารสมบูรณ์แบบมากขึ้น รวมถึงเสริมเสน่ห์ให้ผู้พูดดูเป็นคนน่าเชื่อถือ เชี่ยวชาญในสาขางานที่ตัวเองดูแล ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกมากมายทั้งต่อตัวผู้พูดเอง และต่อองค์กร 

ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำคัญอย่างไร?

หากคุณยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจนว่า การเรียนรู้เรื่องภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน จะทำให้ชีวิตของคนทุก ๆ สาขาอาชีพง่ายขึ้นอย่างไร เราสรุปมาให้แล้ว ดังนี้

Working Presentation

Cr: https://secondnatureuk.co.uk/blog/how-to-assess-business-presentation-skills/

    • ช่วยให้ทุกคำพูดฟังดูมีน้ำหนักมากขึ้น: การพรีเซนต์งานด้วยท่าทางที่มั่นใจ ประกอบกับเนื้อหาที่เต็มไปด้วยสาระ และหลักฐานยืนยัน จะทำให้สารที่สื่อออกไปมีน้ำหนัก และน่าเชื่อถือ
  • เสริมเสน่ห์ให้กับผู้นำเสนองาน: แม้ข้อมูลที่เตรียมมาจะหนักแน่นและน่าสนใจมากแค่ไหนก็ตาม แต่หากผู้นำเสนองานขาดเสน่ห์ และดึงความสนใจไม่ได้ การนำเสนองานครั้งนั้นก็ไม่อาจบรรลุผล ดังนั้น คุณจึงควรเสริมทักษะเรื่อง Body Language เข้าไป เพื่อให้การนำเสนองานสมบูรณ์ขึ้น
  • ช่วยให้คนพูดไม่เก่ง สื่อสารได้ง่ายขึ้น: การนำเสนองานเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่พูดไม่เก่ง ดังนั้นการใช้ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งานเข้าช่วย จึงทำให้ทุกอย่างราบรื่นขึ้น

10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งานที่บรรดาคนทำงานควรเรียนรู้

ทันทีที่คำสั่งนำเสนองานมาถึง นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลให้แน่นแล้ว คุณควรเรียนรู้เรื่องการใช้ Body language ที่เหมาะสมด้วย ดังนี้

1. ยืนตัวตรงอย่างมั่นคง

ยืนตัวตรงแต่ไม่เกร็ง ให้ความรู้สึกมั่นใจและพร้อมในการนำเสนอ หลีกเลี่ยงการโยกตัวไปมาเพราะจะทำให้ดูประหม่า

2. สบตาผู้ฟัง

มองไปที่ผู้ฟังทีละคนหรือกลุ่มเล็กๆ เพื่อสร้างการเชื่อมต่อ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคุณสื่อสารตรงถึงพวกเขาและรู้สึกมีส่วนร่วม

3. ใช้มือประกอบการพูด

การใช้มือประกอบการพูดช่วยเน้นย้ำข้อความและทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ควรให้มือเคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการซ่อนมือไว้ในกระเป๋าหรือไขว้ไว้ด้านหลัง

4. พยักหน้าในจังหวะสำคัญ

การพยักหน้าเล็กน้อยในขณะพูด คือภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน ที่คนจำนวนมากนิยมใช้ เพราะช่วยแสดงความมั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งที่พูด และยังช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามมากขึ้น

Smile while your presentation

Cr: https://medium.com/@ignitetraining/top-tips-to-improve-body-language-for-effective-presentation-skills-6001934e808a

5. ยิ้มอย่างเป็นมิตร

ยิ้มเพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายและเปิดใจรับฟัง ควรยิ้มเมื่อพูดถึงเรื่องที่เป็นบวกหรือเพื่อสร้างความเป็นมิตร

6. เคลื่อนไหวอย่างมีจุดหมาย

เดินเคลื่อนไหวไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ยืนอยู่กับที่นานเกินไป การเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะช่วยให้ดูมีพลังและไม่เบื่อหน่าย

7. เงยหน้าขึ้นและสบตาเป็นระยะ

หลีกเลี่ยงการก้มมองสไลด์หรือโน้ตนานเกินไป การเงยหน้าขึ้นบ้างและสบตาผู้ฟังแสดงถึงความพร้อมและการใส่ใจในผู้ฟัง

8. ใช้ท่าทางเปิดกว้าง

หลีกเลี่ยงการไขว้แขนหรือปิดกั้นตัวเอง การใช้ท่าทางที่เปิดกว้างจะทำให้คุณดูมีความเป็นมิตรและเปิดรับผู้ฟังมากขึ้น

9. ควบคุมการหายใจให้สม่ำเสมอ

หายใจลึก ๆ และช้า ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์และลดความตื่นเต้น ทำให้คุณสามารถพูดได้ชัดเจนและมั่นคงมากขึ้น

10. โน้มตัวเล็กน้อย เพื่อแสดงความกระตือรือร้น

การโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยแสดงถึงความตั้งใจและความกระตือรือร้นในการนำเสนอ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความสนใจในสิ่งที่กำลังพูด

3 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งานที่คุณไม่ควรทำ 

Bad body language

Cr: https://www.cemp.ac.uk/downloads/Debbie%20Holley%27s%20Projects/quickstart/pop_nonverbal.htm

    • ยืนไขว้แขน: การไขว้แขนเป็นท่าทางที่แสดงถึงการปิดกั้นตนเองหรือป้องกันตนเอง ซึ่งอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคุณไม่เปิดกว้างหรือไม่พร้อมรับฟังความคิดเห็น ขณะที่การไขว้ขาจะทำให้ดูเหมือนขาดความมั่นใจและดูผ่อนคลายเกินไปในบางบริบท
    • ก้มหน้ามองลงต่ำตลอดเวลา: การมองลงบ่อย ๆ แสดงถึงความประหม่าและไม่มั่นใจ นอกจากนี้ยังทำให้คุณขาดการเชื่อมต่อกับผู้ฟัง แนะนำให้มองผู้ฟังเป็นระยะและหันไปมองสไลด์หรือโน้ตเฉพาะในบางจังหวะ เพื่อคงความสนใจของผู้ฟังให้อยู่กับคุณ
    • ท่าทางที่ดูกระวนกระวายใจ: เช่น การยืนโยกไปมา การเล่นปากกา การจับผม หรือขยับนิ้วบ่อย ๆ ซึ่งอาจแสดงถึงความตื่นเต้นหรือไม่พร้อม การเคลื่อนไหวเหล่านี้จะทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิและมองว่าคุณไม่มั่นใจในการพรีเซนต์ 
  •  

สรุป

ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน จะช่วยปรับบุคลิกให้คนที่ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง กล้าที่จะพูดในที่สาธารณะมากยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบเจอโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจ Digital Tips ยังมีคอร์สน่าสนใจเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมด้านบุคลิกภาพมากมาย ดูรายละเอียดที่ Facebook: Digital Tips Academy หรือคลิกที่เมนู ‘คอร์สเรียน’ บนหน้าเว็บไซต์ thedigitaltips 

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…

รวมสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อต้องการใช้ psychology of pricing เป็น banner
Marketing Psychology
ระวัง! สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing และเทคนิคตั้งราคาสินค้า ฉบับ (ไม่) แนะนำ

คุณใช่ไหม? ที่อยากใช้ Pricing Strategy แต่กลับเดินผิดทางจนลูกค้าเก่า – ใหม่หายหมด เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่เช็กด่วน! สิ่งที่ไม่ควรทำ Psychological of Pricing…