Emotional Marketing เมื่อการซื้อของขึ้นอยู่กับอารมณ์มากกว่าเหตุผล

สถิติของ Motista ระบุว่า “ผู้บริโภคกว่า 71% จะแนะนำแบรนด์ที่ตัวเองรู้สึกเชื่อมโยงทางอารมณ์ให้กับผู้อื่น” ซึ่งนั่นเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า บางครั้งการตัดสินใจซื้อก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับว่า ผู้บริโภคจะรู้สึก “มีอารมณ์ร่วม” กับแบรนด์นั้น ๆ มากแค่ไหน และในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ Emotional Marketing หรือ การตลาดอารมณ์ ให้มากขึ้นกว่าเดิม ลองอ่านดูแล้วนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้เลย!

Emotional Marketing คืออะไร?

Emotional Marketing

ที่มา: https://www.linkedin.com/pulse/how-using-emotional-marketing-content-can-help-drive 

Emotional Marketing คือ การทำการตลาดและสร้างสรรค์โฆษณาโดยมุ่งกระตุ้นอารมณ์ของผู้ชมเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกประทับใจ เร้าใจ ตื้นตันใจ หรือสะเทือนใจ จนนำไปสู่การสังเกตเห็น ตระหนักรู้ และจดจำเกี่ยวกับตัวแบรนด์ในที่สุด ตัวอย่างการใช้ Emotional Marketing ที่คุ้นเคย ได้แก่ โฆษณาบริษัทประกันชีวิตต่าง ๆ หรือโฆษณาที่สร้างขึ้นเนื่องในวันแม่ วันพ่อ และวันครู เป็นต้น

Emotional Marketing ทำงานอย่างไร?

หลาย ๆ คนอาจกำลังสงสัย ว่า “ทำไมการใช้ Emotional Marketing จึงมักจะได้ผล” ในเมื่อคนส่วนใหญ่ก็น่าจะทราบดีว่า ความประทับใจ ตื้นตันใจ หรือสะเทือนใจที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการโฆษณา ซึ่งความจริงแล้ว ถึงแม้ว่าจะเป็นอย่างนั้น แต่การตลาดอารมณ์ก็ทำงานกับจิตสำนึกของผุ้ชมได้อยู่ดี ดังจะอธิบายต่อไปนี้

การทำงานของ Emotional Marketing

ที่มา: https://www.einsteinmarketer.com/emotions-b2b-marketing/ 

Emotional Marketing ทำให้ผู้ชม “จำได้”

“ผู้ชมจะตัดสินใจซื้อหรือไม่” ไม่ใช่เป้าหมายในระยะสั้นของแบรนด์ที่ตัดสินใจใช้กลยุทธ์ Emotional Marketing เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการ คือการสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ร่วมกับผู้ชม เพื่อให้ผู้ชมสามารถจดจำ Mood&Tone โลโก้ สี ภาพ ผลิตภัณฑ์ และชื่อแบรนด์ได้ในขั้นต้น

สร้างความประทับใจให้กับผู้ชม

เป็นที่ทราบกันดีว่า Emotional Marketing มักถูกใช้ในภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งไม่ว่าการดำเนินเรื่องของโฆษณาชิ้นนั้นจะเป็นอย่างไร มีความสุข ความเศร้า การตกระกำลำบาก หรือความผิดหวัง แฝงอยู่มากแค่ไหน แต่โฆษณาเหล่านั้นก็มักจะสร้างบทสรุปที่ซาบซึ้งใจ จนทำให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจอยู่เสมอ

กระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันระหว่างผู้ชม

เป็นปกติวิสัยของคนเรา ที่เวลารู้สึกถูกใจสิ่งใด ก็มักจะอยากแบ่งปันหรือพูดถึงสิ่งนั้นให้คนรอบข้างฟัง เช่นเดียวกับงานโฆษณาชิ้นโปรดที่ดูแล้วกินใจ ซาบซึ้งใจ ดังนั้น Emotional Marketing จึงมักจะกระตุ้นนิสัยข้อนี้ของผู้ชม

มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ

หลังจากฝังลึกลงในความทรงจำของผู้ชม จนทำให้พวกเขาจดจำแบรนด์ได้ และยังสร้างความประทับใจจนทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล สุดท้ายแล้ว Emotional Marketing ก็จะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้ชมได้ในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโฆษณาของแบรนด์นั้น ๆ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นบางอย่างที่ตรงกันกับผู้ชม หรือสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น โฆษณาเครื่องสำอางที่แฝงความสำคัญของการเติบโตเป็นผู้หญิง หรือโฆษณารถยนต์ที่แฝงความสำคัญของการใช้รถใช้ถนน เป็นต้น

อยากสร้าง Emotional Marketing ให้ได้ผล ต้องทำอย่างไร?

เมื่อคุณมั่นใจแล้วว่า ในการสร้างชิ้นงานโฆษณาครั้งต่อไป จะลองใช้กลยุทธ์ Emotional Marketing หรือ การตลาดอารมณ์ดูสักครั้ง นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำ!

ทำวิจัย Emotional Marketing

ที่มา: https://saaspartners.io/what-is-client-research-the-value-of-knowing-your-customers/ 

ลองทำวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ

หากคุณไม่อยากเสี่ยงดวงกับการเดาสุ่ม แนะนำให้ลองศึกษาอย่างจริงจังจากกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการวิจัยทางการตลาดกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลว่า กลุ่มเป้าหมายของคุณมักเชื่อมโยงกับอารมณ์แบบใด และความรู้สึกแบบไหนที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขามากที่สุด

ใช้ Storytelling ในการสร้างชิ้นงานโฆษณา

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการใช้กลยุทธ์แบบ Emotional Marketing ก็คือการสร้างชิ้นงานโฆษณาแบบ Storytelling หรือการเล่าเรื่อง โดยหลังจากที่คุณสำรวจจนทราบแน่ชัดแล้วว่า กลุ่มเป้าหมายของคุณมักจะหวั่นไหวกับอารมณ์แบบใด คุณก็สามารถมุ่งสร้างอารมณ์แบบนั้น ผ่านการสร้างโครงเรื่อง ฉาก ตัวละคร และบทสนทนา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจกับกลุ่มเป้าหมายของคุณได้

ศึกษาเรื่องพลังของสีและเสียง เพื่อนำมาใช้สร้างอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งสีและเสียงต่างก็มีผลต่ออารมณ์ของผู้ชมด้วยกันทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น สีแดง กระตุ้นความรู้สึกรุนแรง สีเขียว แสดงถึงความสมดุล เป็นต้น เราจึงแนะนำให้คุณศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม เพื่อนำไปประกอบการสร้างชิ้นงานโฆษณาที่ดึงดูดผู้ชมได้มากขึ้น

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ Emotional Marketing 

เพื่อให้คุณเห็นภาพและเข้าใจแจ่มชัดมากขึ้น เรารวบรวม 3 ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ Emotional Marketing จาก 3 แบรนด์ดังมาให้คุณแล้วในหัวข้อนี้ ไปดูกัน!

ไทยประกันชีวิต

Emotional Marketing ถือเป็นกลยุทธ์หลัก ๆ ในการสร้างโฆษณาของ “ไทยประกันชีวิต” จนคว้ารางวัลบนเวทีระดับสากลมากมาย ดังเช่นโฆษณา “Until We Meet Again” ที่เรานำมาเป็นตัวอย่างนี้ ซึ่งคว้ารางวัลจากเวที London International Award 2022 มาได้สำเร็จ ด้วยโครงเรื่องที่สร้างทั้งความตื้นตันใจ สะเทือนใจ และประทับใจให้กับผู้ชม แฝงการบอกเล่าถึงปัญหาเด็กหายในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็น แบรนด์ให้ความสำคัญกับปัญหาของสังคม

Emotional Marketing - ไทยประกันชีวิต

ที่มา: https://today.line.me/th/v2/article/l9vJVX 

ชมโฆษณา: https://www.youtube.com/watch?v=Tc9wZdFtSYc 

Volkswagen

โฆษณาชุด “Safe Happens” ของ Volkswagen ตัดสินใจโปรโมทรถยนต์รุ่น Jetta ผ่านการแสดงภาพฉากอุบัติเหตุทางรถยนต์เสมือนจริง ที่สร้างทั้งความตกใจไปพร้อม ๆ กับความตระหนักรู้เรื่องอุบัติเหตุให้กับผู้คน ความหวาดกลัวในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการชมโฆษณานี้ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์รุ่น Jetta เพิ่มสูงขึ้นในที่สุด

Emotional Marketing - Volkswagen

ที่มา: https://www.oneclub.org/awards/theoneshow/-award/5734/safe-happens 

ชมโฆษณา: https://www.youtube.com/watch?v=W5YNZTG4lkc 

Pepsi

ปิดท้ายกันที่โฆษณาชุด “Bring home Happiness with Pepsi” จาก Pepsi ประเทศมาเลเซีย ที่ทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันตรุษจีนปี 2023 ภายใต้ Concept การหวนรำลึกถึงอดีตที่มีความสุขในวัยเด็ก และการนึกถึงเป๊บซี่ฉลากเก่า ๆ เมื่อ 20-30 ปีก่อน โฆษณาชุดนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ Emotional Marketing ควบคู่ไปกับ Nostalgia Marketing ซึ่งล้วนแล้วแต่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนี้

Emotional Marketing - Pepsi

ชมโฆษณา: https://www.youtube.com/watch?v=xu6plPEvmdQ 

สรุป

Emotional Marketing คือ หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาชิ้นใหม่ ๆ เพื่อเพิ่ม Engagement ให้กับช่องทางต่าง ๆ ของแบรนด์ พร้อม ๆ กับการสร้างภาพจำที่ดีขึ้นให้กับแบรนด์ด้วย เหล่าเจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาเรื่องนี้ และทดลองใช้กลยุทธ์นี้ดูสักครั้ง

อ้างอิง

Hubspot. The Ultimate Guide to Emotional Marketing

Available from: https://blog.hubspot.com/marketing/emotion-marketing 

SPIRALYTICS. Emotional Marketing: Power and Impact

Available from: https://www.spiralytics.com/blog/emotional-marketing-what-it-is-and-how-it-works/

Virtual Try-on บน Google
AI Marketing | Google
Virtual Try-on ฟีเจอร์สำหรับลองเสื้อก่อนซื้อจริงบน Google Shopping

ท่ามกลางกระแส E-commerce ที่กำลังมาแรง Google โปรแกรม Search Engine อันดับ 1 ของโลกจึงกระโดดลงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันในสนามนี้บ้าง ด้วยการเปิดตัว Google…

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…