จิตวิทยาการตลาด

เคยไหม? ตั้งใจจะไปหาน้ำผลไม้ดี ๆ ดื่มสักขวด แต่ความอยากก็หายไปทันทีเมื่อไปยืนอยู่หน้าตู้แช่ในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะเห็นน้ำผลไม้มากมายเรียงกันเต็มตู้แช่จนเลือกไม่ถูก นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่เป็นหนึ่งในจิตวิทยาการตลาด (Marketing Psychology) ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายชื่อ The Paradox of Choice หากคุณอยากรู้จักกับทฤษฎีนี้ให้มากขึ้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน

เคลียร์ชัด! อะไรคือ The Paradox of Choice

Alt: The Paradox of Choice
ที่มา: https://www.linkedin.com/pulse/book-review-3200-45-paradox-choice-barry-schwartz-cullen-p-haynes

The Paradox of Choice คือ ทฤษฎีจิตวิทยาการตลาดที่นำเสนอโดย Barry Schwartz ว่าด้วยเรื่องของ “ความขัดแย้งในการเลือก” ซึ่งเกิดจากการมีตัวเลือกมากเกินไป อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ในอดีตเรามักจะเข้าใจว่า การมีตัวเลือกมาก ๆ จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่ Barry กลับค้นพบความขัดแย้งในเรื่องนี้ เพราะเมื่อมีตัวเลือกมากเกินไป กลับทำให้การตัดสินใจจะเลือกอะไรสักอย่างทำได้ยากขึ้น เพราะแทนที่จะตื่นเต้นกับตัวเลือกต่าง ๆ เราจะหมกมุ่นอยู่กับการคิดถึงโอกาสที่พลาดไป หรือที่คนไทยชอบพูดว่า “รักพี่เสียดายน้อง” นั่นเอง


แจก 4 เทคนิค การนำ The Paradox of Choice มาปรับใช้

จิตวิทยาการตลาด The Paradox of Choice อาจสร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของร้านไอศกรีม ร้านเค้ก หรือร้านขายของที่ต้องการโชว์สินค้ามากมายในตู้ให้ลูกค้าเลือก หากคุณเองก็เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้ Digital Tips มี 4 เทคนิคดี ๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้!

1. รวบรวมข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้า แล้วจัดโซน หรือกำหนดระยะเวลาในการเลือก

ในกรณีที่ธุรกิจของคุณมีหน้าร้านชัดเจน เช่น ร้านขายเค้ก ร้านขายไอศกรีม ร้านเครื่องดื่ม อาหาร ฯลฯ แนะนำให้ลองจัดกรุ๊ปสำหรับลูกค้าที่มีความสนใจแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น โซนอาหารสำหรับคนรับประทานมังสวิรัติ  โซนอาหารสำหรับคนรักเนื้อ โซนอาหารนานาชาติ ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น หรืออาจกำหนดระยะเวลา เช่น โซนอาหารมังสวิรัติเฉพาะวันพฤหัสบดี หรือโซนอาหารนานาชาติเฉพาะวันเสาร์ เพื่อเพิ่มข้อจำกัดในการเลือกให้กับลูกค้า

Alt: Grab Food
ที่มา: https://primer.com.ph/tips-guides/2018/11/13/how-to-use-grabfood-and-grabexpress/

สำหรับธุรกิจที่ค้าขายออนไลน์ คุณก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นเดียวกัน และอาจจะจัดการได้ง่ายกว่า เพราะคุณสามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อออกแบบคัดเลือกให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้ ตัวอย่างแอปพลิเคชันที่ใช้วิธีนี้ เช่น Grab, Line Man หรือ Spotify ที่จัด Playlist ประจำสัปดาห์ให้กับผู้ฟัง เป็นต้น

2. เสนอทางเลือกที่ลดความเสี่ยงให้กับลูกค้า

เหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้จิตวิทยาการตลาด The Paradox of Choice มีผลต่อจิตใจของลูกค้า คือการที่พวกเขากังวลว่า หากเลือกผิดจะสูญเสียโอกาสที่ดีกว่าไป ดังนั้น เราแนะนำให้คุณลองเสนอทางเลือกที่จะทำให้พวกเขากล้าตัดสินใจมากขึ้น เช่น โปรแกรมทดลองใช้ฟรี (หากไม่พึงพอใจยินดีคืนเงิน) การขายสินค้าไซซ์ทดลอง หรือหากเป็นอาหาร อาจมีส่วนลดสำหรับการสั่งซื้อครั้งแรก เพื่อดึงดูดใจ

3. แสดงความยินดี เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่า พวกเขาได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว

การแสดงความยินดี คือจิตวิทยาการตลาดแบบหนึ่ง เพราะจะทำให้ลูกค้าที่กำลังลังเลมั่นใจมากขึ้น โดยคุณจะปรับใช้กับการซื้อขายหน้าร้าน หรือการขายบนออนไลน์ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น พนักงานหน้าร้าน กล่าวแสดงความยินดี และยืนยันให้ลูกค้ามั่นใจว่า เค้กที่พวกเขาเลือกเป็นหนึ่งในรสชาติที่ขายที่สุดและมักจะหมดเร็วกว่ารสชาติอื่น หรือการขึ้นป๊อบอัปแสดงความยินดี เมื่อลูกค้าหยิบสินค้าลงตะกร้า และกดชำระเงินบนเว็บไซต์

4. ใช้หลักฐานทางสังคม (Social Proof) เพื่อสร้างความมั่นใจ

Alt: Consumer Review
ที่มา: https://embedsocial.com/blog/positive-review-response-examples/

คุณสามารถใช้จิตวิทยาการตลาดหลาย ๆ ทฤษฎีช่วยส่งเสริมกันได้ เช่น ใช้หลักฐานทางสังคม (Social Proof) สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เช่น ติดรูปถ่ายพร้อมข้อความรีวิวของลูกค้าท่านอื่น ๆ ไว้ใกล้ ๆ กับตู้โชว์สินค้า หรือสำหรับการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ คุณอาจออกแบบให้มีกล่องแสดงข้อความรีวิวเชิงบวกจากลูกค้าท่านอื่น ๆ ปรากฏขึ้น ไม่ว่าลูกค้าจะกดสั่งซื้อสินค้าชิ้นไหนก็ตาม


สรุป

The Paradox of Choice คือ หนึ่งในจิตวิทยาการตลาดพื้นฐาน ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของเราอยู่บ่อยครั้ง เพียงแต่ผู้บริโภคหลาย ๆ ท่านอาจไม่เคยสังเกต อย่างไรก็ดี เมื่อก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นผู้ประกอบการ เราแนะนำให้คุณทำความรู้จักกับกลยุทธ์นี้ และลองศึกษาวิธีการปรับใช้ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด


อ้างอิง

MIT. The Paradox of Choice: Too many flavors at the ice cream store

Available from: https://oge.mit.edu/the-paradox-of-choice/ 

CONVERSION UPLIFT. 11 Strategies From The Paradox of Choice To Boost Conversions!

Available from: https://conversion-uplift.co.uk/post/11-paradox-of-choice-strategies-for-conversion/

คัมภีร์สร้างความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ฉบับนักธุรกิจใหม่
Business
คัมภีร์สร้างความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ฉบับนักธุรกิจใหม่

การสร้างความน่าเชื่อถือสำคัญอย่างยิ่งกับธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เพิ่งเปิดใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีคนทำการตลาดออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก และลูกค้าเองไม่สามารถตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของผู้ขายได้ หากไม่ทำให้เชื่อใจ พวกเขาก็จะไปซื้อสินค้ากับธุรกิจคู่แข่ง หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจเปิดใหม่ ที่กำลังหาแนวทางการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ศึกษาได้จากคอนเทนต์นี้   Content Summary…

4 สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนทำคอนเทนต์ดูดวง เอาใจสายมู
Marketing | News
4 สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนทำคอนเทนต์ดูดวง เอาใจสายมู

กระแสบน Social Media เกี่ยวกับการดูดวง หมอดู และสายมู แสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ดูดวง ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยได้มากขนาดไหน จึงไม่แปลกที่หลาย ๆ แบรนด์จะมักจะทำ Seasonal…

คอนเทนต์แบบไหนที่คุณควรทำบนเพจธุรกิจแฟชั่น
Marketing | News
แชร์ 4 รูปแบบคอนเทนต์ ที่คนทำธุรกิจแฟชั่นต้องรู้

สำหรับคนทำธุรกิจแฟชั่น ไม่มีอะไรจะยากไปกว่าการนำเสนอคอนเทนต์ตามเทรนด์ฮิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการต่อสู้กับสงครามราคา ที่มีผู้เข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นมากมายจนนับไม่ถ้วน หากคุณเองก็เป็นเจ้าของธุรกิจเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับแฟชั่น ลองมาดูกันว่า ควรทำคอนเทนต์แบบไหน จึงจะซื้อใจผู้บริโภคได้   Content…