ผลิตภัณฑ์โดยอินฟลูเอ็นเซอร์” และ “ผู้บริโภคชาว Millenials และ Gen Z กว่า 72% กดติดตามแอคเคาท์ของอินฟลูเอ็นเซอร์บน Social Media” สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบัน Influencer Marketing คือ เทคนิคการตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ดี เหรียญย่อมมี 2 ด้าน มีผู้สนับสนุนก็ย่อมมีผู้ต่อต้าน และในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณไปรู้จักกับ Deinfluencer การตลาดแนวใหม่ที่เป็น “ผู้ต่อต้าน” ของ Influencer Marketing
Deinfluencer คืออะไร
Deinfluencer คือ แนวทางการสร้างสรรค์คอนเทนต์แนวใหม่ เพื่อตอบโต้การรีวิวผลิตภัณฑ์ของเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ ซึ่งมักจะรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เฉพาะในแง่ดีเท่านั้น เป้าหมายของ Deinfluencer คือ จุดประกายให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าทุกชิ้นย่อมมีทั้งข้อดี-ข้อเสีย และไม่ตกหลุมพรางคำโฆษณาของอินฟลูเอ็นเซอร์มากเกินไป จนเสียเงินซื้อสินค้าที่เกินกว่าความต้องการของตัวเอง
Deinfluencer เกิดขึ้นมาจากอะไร
กระแส Deinfluencer เริ่มขึ้นครั้งแรกในอเมริกา สันนิษฐานว่าเริ่มบูมราว ๆ เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 โดยแพลตฟอร์มที่เป็นต้นกำเนิดของเทรนด์นี้ ก็คือ Tiktok ผ่าน Hashtag #deinfluencer ที่มีรายงานว่าพุ่งขึ้นจาก 13 ล้านวิวสู่ 130 ล้านวิวในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (Source: Dailymail) ต้นกำเนิดของกระแสนิยมนี้ สืบเนื่องมาจากกระแสต่อต้านการบริโภคนิยม และการตระหนักถึงวิกฤตค่าครองชีพของโลก ซึ่งเหล่าผู้บริโภคใน Social Media ต่างก็แสดงความคิดเห็นว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของการซื้อเกินตัว มาจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์เกินจริงตามสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโฆษณาของเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ ที่เกิดขึ้นหลายหมื่นคนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ในฐานะเจ้าของธุรกิจ คุณเรียนรู้อะไรจากกระแส Deinfluencer ได้บ้าง
แม้จุดประสงค์ของกระแส Deinfluencer จะเป็นการต่อต้านการรีวิวสินค้าเกินจริง ซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบกับธุรกิจที่ยึดกลยุทธ์การตลาดแบบ Influencer Marketing พอสมควร แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น…ในฐานะเจ้าของธุรกิจ ยังมีบทเรียนสำคัญที่คุณสามารถเรียนรู้จากกระแสนี้ได้ ดังนี้
ที่มา: https://www.cbc.ca/news/business/deinfluencing-tiktok-trend-1.6755278
ผู้บริโภคยุคใหม่ เข้าใจเนื้องานของการทำโฆษณาเป็นอย่างดี
เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว การจ้างงานโฆษณา รายละเอียดการถ่ายทำ รวมถึงการติดต่อผู้มีชื่อเสียงมาเล่นภาพยนตร์โฆษณา อาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้บริโภค แตกต่างกับตอนนี้ ที่ทุกคนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ใคร ๆ ก็มีโอกาสกลายเป็นคนดัง และได้รับการว่าจ้างให้โฆษณาสินค้าได้เช่นเดียวกัน กระบวนการทำงานเหล่านี้ จึงถูกเปิดเผยในวงกว้างด้วย
แค่วานคนดังพูด….ไม่พอ!
แม้ Influencer Marketing จะเป็นเทคนิคการตลาดที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่คุณต้องไม่ลืมว่า คนดัง หรือ อินฟลูเอ็นเซอร์ ที่ได้รับการว่าจ้างมาให้โปรโมทสินค้า เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น ที่จะสามารถจูงใจผู้บริโภคได้ เพราะสิ่งที่สำคัญเหนือเรื่องอื่นใด ก็คือคุณภาพสินค้าที่สัมพันธ์กับราคานั่นเอง
ถ้าสินค้าไม่ดีจริง…ผู้บริโภคตัวจริงก็พร้อมแสดงตัว!
ไม่ใช่แค่แบรนด์เท่านั้นที่กำหนดได้ว่าอยากจะให้ใครรีวิว แต่ผู้บริโภคเองก็สามารถลุกขึ้นมาเป็นนักรีวิวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสินค้าที่ซื้อไปไม่เป็นที่พึงพอใจ ผิดจากที่โฆษณาไว้จนเกินรับได้ ซึ่งสิ่งนี้ย้ำเตือนให้คุณรู้ว่า “ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าเป็นอันดับหนึ่ง”
“โปรโมทสินค้าแบบเรียล ๆ” ช่วยดึงความสนใจได้
ลองโปรโมทสินค้าแนวใหม่ โดยไม่เน้นนำเสนอข้อดีของผลิตภัณฑ์แบบ 100% แต่สอดแทรก “ปัญหาจริง ๆ ที่ผู้บริโภคอาจเจอเมื่อใช้งาน” ลงไปด้วย อาทิ การรีวิวเครื่องสำอางของอินฟลูเอ็นเซอร์รายใหญ่บางคน ที่เลือกใช้การนำเสนอแบบเรียล ๆ เพื่อซื้อใจผู้ชม พวกเขาไม่ได้รีวิวแบบเน้นที่ข้อเสีย แต่เลือกที่จะพูดถึงข้อจำกัดบางประการอย่างตรงไปตรงมา เช่น “แป้งพัฟแบรนด์นี้ปกปิดดี แต่อาจไม่เหมาะกับคนผิวมัน” หรือ “น้ำหอมแบรนด์นี้หอมกลิ่นดอกไม้ แต่อาจต้องฉีดซ้ำ หากในวันนั้นอากาศร้อนอบอ้าว” เป็นต้น ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความจริงใจ และเชื่อใจแบรนด์มากขึ้น
สรุป
Deinfluencer คือ กระแสนิยมที่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภค เพื่อผู้บริโภค แม้ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับเจ้าของธุรกิจออนไลน์ แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในแวดวงการตลาด ที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ เพื่อปรับตัวกับพฤติกรรมการซื้อใหม่ ๆ ในอนาคต
อ้างอิง
NationalWorld. What is a deinfluencer? TikTok trend explained – and what it means for consumer culture
Available from: https://www.nationalworld.com/lifestyle/deinfluencer-tiktok-trend-explained-consumer-culture-4037185
My Imperfect Life. TikTok’s ‘deinfluencer’ trend is helping us decipher which viral gems are actually worth their hype
Available from: https://www.myimperfectlife.com/features/tiktok-deinfluencer-trend