KOC คืออะไร ต่างกับ KOL อย่างไร และแคมเปญของคุณควรเลือกอะไร

ในอดีตเวลาแบรนด์จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผู้บริโภคมักทราบข่าวสารจากโฆษณาทางโทรทัศน์ หรือสปอตวิทยุ แต่ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป แบรนด์จึงนิยมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ทาง Social Media ผ่านการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงอย่าง KOL หรือ Influencer จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ Social Media จากประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้น และนำพากระแสการใช้ KOC มาเป็นทางเลือกใหม่ในการโปรโมทสินค้า แล้ว KOC คืออะไร แตกต่างกับ KOL มากแค่ไหน มาเรียนรู้ไปพร้อมกัน!

KOC คืออะไร?

KOC คืออะไร

ที่มา: https://ecommercechinaagency.com/what-is-koc-marketing-why-do-you-need-it/ 

KOC คือ ผู้บริโภคทั่วไปที่มีความสนใจเฉพาะด้าน พวกเขาตัดสินใจซื้อและใช้งานสินค้าที่ตัวเองสนใจจริง ๆ ก่อนทำคลิปรีวิวประสิทธิภาพสินค้า เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ผู้ที่สนใจในสิ่งเดียวกัน จนกระทั่งมีผู้ติดตามจำนวนหนึ่งทาง Social Media และกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดสำหรับผู้บริโภคกลุ่มเล็ก ๆ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงถูกเรียกว่า KOC หรือ Key Opinion Consumer นั่นเอง

KOC ต่างกับ KOL อย่างไร?

KOL-vs-KOC

ที่มา: https://www.hicom-asia.com/what-koc-marketing-is-and-how-to-get-started/ 

แม้ว่า KOC (Key Opinion Consumer) และ KOL (Key Opinion Leader) จะใช้นิยามผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดเหมือนกัน แต่บทบาทของบุคคล 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ KOC จะใช้นิยาม “ผู้บริโภคทั่วไป” ที่ตัดสินใจซื้อสินค้าและนำมารีวิวตามความรู้สึกของตนเอง จนทำให้มีผู้ติดตามเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่ KOL จะใช้นิยาม “คนมีชื่อเสียง” ซึ่งเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเป็นที่รู้จักกันดีในวงกว้าง อาทิ บิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดังอย่างคุณอายตา เจ้าพ่อแห่งวงการไอทีอย่างคุณอู๋ Spin9 นายอาร์ม คุณกอล์ฟมาเยือน ฯลฯ ซึ่งจะมียอด Follower หลักหมื่นจนถึงหลักล้านขึ้นไป

>> เคลียร์ชัดอาชีพ KOL และการถือกำเนิดของ KOL Management 

ถ้าอย่างนั้น KOC กับ Influencer เหมือนกันหรือไม่?

แน่นอนว่า KOC และ Influencer มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน กล่าวคือ Influencer คือนักสร้างคอนเทนต์ที่มีผู้ติดตามทาง Social Media ตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป และสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า ในขณะที่ KOC ไม่ใช่คนมีชื่อเสียง เป็นเพียงผู้ใช้งานที่รีวิวสินค้าตามจริง จนได้รับความเชื่อถือจากผู้คนกลุ่มเล็ก ๆ ที่สนใจในสิ่งเดียวกัน

เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนขึ้น เราขอยกตัวอย่างพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ของน.ส. A ที่เป็น Influencer และน.ส. B ที่เป็น KOC

  • น.ส. A: โด่งดังจากการทำคอนเทนต์ลงใน Reels และ TikTok จนมีผู้ติดตามใน Instagram และ TikTok มากถึง 10,000 + และในทุก ๆ วันน.ส. A จะสนุกไปกับการตัดต่อคลิปรีวิวเครื่องสำอาง ร้านอาหาร คาเฟ่ และคอนเทนต์เชิงไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เพื่อโพสต์ลงบน Social Media
  • น.ส. B: ชื่นชอบการ Pre-order ชุดเวียดนามน่ารัก ๆ ที่กำลังเป็นกระแส และทำคลิปรีวิวปัญหาที่ตัวเองเคยเจอจากการซื้อชุดเวียดนามลงบน Lemon8 จนมีผู้ที่ชอบซื้อชุดเวียดนามเหมือนกันมาคอมเมนต์โต้ตอบ และกดติดตามคลิปรีวิวของเธอ เพื่อเป็น Reference ในการซื้อชุดเวียดนามใหม่ ๆ ใส่เอง

ข้อดีของการโปรโมทสินค้าผ่าน KOC คืออะไร?

จากความแตกต่างระหว่าง KOC, KOL และ Influencer ข้างต้น จะเห็นได้ว่า เกณฑ์การแบ่งที่ชัดเจนที่สุด ก็คือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและฐานผู้ติดตามนั่นเอง ซึ่งในบรรดาคนทั้ง 3 กลุ่มนี้ KOC คือ กลุ่มที่มีฐานผู้ติดตามน้อยที่สุด แต่การเลือกใช้ KOC ก็มีข้อดีที่คุณไม่สามารถคาดหวังจาก KOL และ Influencer ได้ ดังนี้

ตัวอย่างงาน-KOC

ที่มา: https://www.linkedin.com/pulse/what-%E7%A7%8D%E8%8D%89-seeding-atmall-com-1f 

เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ โดยใช้งบประมาณต่ำ

แม้จะมีฐานผู้ติดตามน้อยที่สุด แต่ในบรรดาทั้ง 3 กลุ่มนี้ KOC คือผู้ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพราะพวกเขาเองก็คือหนึ่งในผู้ใช้งานจริง ที่ทดลองใช้สินค้าจนรู้ลึกถึงข้อดีและข้อเสีย แบรนด์ใหญ่ ๆ ในสมัยนี้จึงนิยมหว่านงบประมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อกระจายสินค้าให้ KOC รีวิวลงบนช่องทางของตัวเอง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวจริง

รีวิวจาก KOC มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง

ผู้ติดตามของ KOC ท่านนั้น ๆ จะรู้ดีว่า KOC คนที่ตัวเองกำลังติดตามจะรีวิวสินค้าจากประสบการณ์จริง ดังนั้น แม้ว่าคลิปรีวิวจาก KOC แต่ละคนจะมียอดวิวน้อยตามขนาดของฐานผู้ติดตาม แต่ Engagement ที่ได้รับนั้นจะเป็นของจริง และมาจากผู้ที่ให้ความสนใจในสินค้าจริง ๆ

จะรู้ได้อย่างไร ว่าควรเลือกใช้ KOC หรือ KOL?

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังไตร่ตรองว่า ควรโปรโมทสินค้าโดยใช้ KOL หรือ KOC มีเกณฑ์การพิจารณาหลัก ๆ อยู่ 3 ข้อด้วยกัน 

งบประมาณ

งบประมาณคือสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรก เนื่องจากการว่าจ้าง “ตัวแทน” การโปรโมท ใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ยิ่งคุณสนใจจะใช้ KOL งบประมาณต่อคนที่จะต้องเตรียมไว้อาจสูงถึงหลักแสน (ขึ้นอยู่กับรูปแบบคอนเทนต์ และระยะเวลาที่นำไปใช้) ดังนั้น หากคุณประเมินแล้วว่างบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการว่าจ้าง KOL 1 หรือ 2 คน แนะนำให้ลองใช้ KOC หรือ Nano/Micro Influencer แทน

กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์

ในกรณีที่งบประมาณค่อนข้างพร้อม สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสินค้าที่คุณจะขายด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากคุณต้องการโปรโมทสินค้าประเภทเครื่องสำอาง เสื้อผ้า หรืออาหารเสริม ที่วาง Customer Persona ไว้ว่า เป็นสาว ๆ อายุ 15-25 ปี ชอบเสพ Social Media เป็นชีวิตจิตใจ คุณอาจพิจารณาว่าจ้าง KOC ได้ ในขณะเดียวกัน หากสินค้าที่คุณขายค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม ราคาค่อนข้างสูง หรือวางขายเฉพาะในช็อปเท่านั้น KOL ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่า KOC

พิจารณาว่าสามารถใช้ KOC และ KOL ร่วมกันได้หรือไม่

กลยุทธ์ของแบรนด์ใหญ่ ๆ บางแบรนด์ อาจเลือกใช้ทั้ง KOL และ KOC ภายใต้งบโฆษณาก้อนเดียวกัน กล่าวคือ เลือก KOL ที่มีชื่อเสียงในวงการเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ มาเป็นตัวชูโรง เพื่อเรียกความสนใจบนสื่อหลักสัก 2-3 คน และกระจายงบประมาณอีกส่วนสำหรับจ้าง KOC เพื่อโปรโมทสินค้าแบบวงใน ให้กับผู้ใช้จริงตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อหวังเพิ่มยอดขายทั้งจากลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ไปพร้อม ๆ กัน

สรุป

KOC คือ กลุ่มคนที่จะมาพลิกโฉมแวดวงการตลาด เพื่อตอกย้ำให้เรารู้ว่า ผู้บริโภคเริ่มให้น้ำหนักกับความคิดเห็นของผู้ใช้จริงด้วยกันมากกว่าคำโฆษณาของแบรนด์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าแบรนด์จะพยายามดีลกับ KOC ในลักษณะของการว่าจ้าง แต่ก็ไม่อาจควบคุมทิศทางการทำงานของ KOC ได้มากนัก เพราะหากควบคุมมากเกินไป ความสมจริงที่เป็นเสน่ห์ของ KOC และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้ก็จะหายไปนั่นเอง

อ้างอิง

Relevantaudience. KOL Vs. KOC: What Are They And Why Do Brands Need Them

Available from: https://www.relevantaudience.com/kol-vs-koc-what-are-they-and-why-do-brands-need-them/ 

LinkedIn. KOC vs KOL Differences: A Guide to the world of “influencers.”

Available from: https://www.linkedin.com/pulse/koc-vs-kol-differences-guide-world-influencers-michael-glasek-%E7%8E%8B%E6%98%8A%E6%98%8E 

 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…