บทสรุป 12 ข้อคิด จาก คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จาก Exclusive Talk ดำเนินรายการโดย พี่ตุ้ม #หนุ่มเมืองจันท์

1.ธุรกิจที่กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายความว่ากำไรมาก และธุรกิจที่กำไรน้อย ขายมาก ไม่ได้หมายความว่า กำไรน้อย

กำไรมาก ขายน้อย = กำไรน้อย
กำไรน้อย ขายมาก = กำไรมาก

2. วิกฤติ คือ โอกาส และ โอกาส ก็คือ วิกฤติ

ในวันที่เรารุ่งเรืองที่สุด ต้องนึกเผื่อไว้ตลอดว่าถ้าวิกฤติมาจะทำอย่างไร ห้ามเหลิง ห้ามคิดว่าเรายิ่งใหญ่แล้ว เพราะถ้าเราไม่คิดไว้ก่อน เวลามีปัญหา เราอาจต้องล้มละลายก็ได้

ในทางกลับกัน ตอนที่วิกฤติมืดที่สุด อย่าท้อใจ เพราะเดี๋ยวแสงสว่างจะมา ต้องคิดไว้เลยว่า ตอนฟื้นแล้ว โอกาสอะไรจะมา ต้องเตรียมตัวรับ ที่สำคัญคือ ห้ามตาย ไหนๆเสียค่าเล่าเรียนแล้ว ต้องได้บทเรียนจากมันด้วย

3. เลือกทำในสิ่งที่ ‘ยาก’

เวลาเจอสิ่งที่คนอื่นมองว่า ‘ยาก’ หรือ ‘ทำไม่ได้’ คุณธนินท์จะชอบเข้าไปศึกษา เพราะในขณะที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะทำธุรกิจง่ายๆ แต่เรากลับเลือกของยาก เปรียบเทียบเหมือนชกมวยอยู่บนเวทีคนเดียว สะดุดขาตัวเองล้ม กรรมการนับ10 ลุกขึ้นมาก็ยังเป็นแชมป์อยู่ดี

แต่ที่สำคัญ คือ ต้องเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย แม้วันนี้จะเล็กก็ไม่เป็นไร แต่ในวันหนึ่งที่ทำสำเร็จจะเท่มาก และต่อให้จะมีคนพยายามทำตาม ถึงตอนนั้นก็ตามไม่ทันแล้ว (นี่เลยเป็นสาเหตุที่คนชอบมองว่า CP ผูกขาด แต่ในความเป็นจริงมันเป็นเพราะธุรกิจเหล่านี้ ทำยากกว่านั่นเอง)

4. เลือกธุรกิจที่มีอนาคตและ ยั่งยืน (ต่อเนื่องจากข้อ 3)

อีกข้อคิดคือ เราจะทำทุกธุรกิจที่อยากทำไม่ได้ เพราะเรามีเวลาจำกัด และเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ดังนั้น วิธีการเลือกธุรกิจ นอกจากจะเลือกทำธุรกิจที่ยากแล้ว ก็ต้องเลือกธุรกิจที่โลกยอมรับและมีอนาคตด้วย

เพราะเวลาเกิดวิกฤติจริงๆ แล้วเราจำเป็นต้องตัดใจขายธุรกิจบางตัวทิ้งไป ถ้าธุรกิจเราไม่มีอนาคต บางทีต่อให้ให้ฟรี นักลงทุนยังไม่เอาเลย ตัวอย่างเช่น คุณธนินทร์ ตอนนั้น ก็ขาย เทสโก้ โลตัส ไป ซึ่งตอนอังกฤษมาซื้อ เค้าไม่ต่อราคาเลย (แถมยังเหลือให้อีก 25% อีก) ก็ได้เงินตรงนี้ไปใช้หนี้

5. เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะกับตลาด

การผลิตเทคโนโลยีเป็นเรื่องยาก แต่การนำมาใช้นั้นง่าย

ยกตัวอย่าง เช่น สมัยก่อนคนชอบมองว่า เกษตรกรจะไปใช้เทคโนโลยียากๆได้อย่างไร แต่ในความเป็นจริง ความยากมันอยู่ที่คนผลิตเทคโนโลยี แต่พอเกษตรกรนำมาใช้มันง่ายแล้ว (และยิ่งต้องการความง่าย เทคโนโลยีก็ยิ่งต้อง advance มากตามขึ้นไปด้วย)

ในทางกลับกัน ตอนที่ขยายไปทำธุรกิจที่จีน คุณธนินท์หาข้อมูลจนพบว่า มอเตอร์ไซค์ที่ทนที่สุด ขับขึ้นเขาได้ ซ่อมง่าย คือ Honda ซึ่งตอนไปญี่ปุ่น รุ่นนี้เค้าไม่ใช้กันแล้ว เพราะมีรุ่นที่ดีกว่า ทำให้เจรจาขอซื้อมาในราคาที่ถูกมากได้ และขายดีมากที่จีน

บทเรียนเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า จงเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเสมอไป

6. ธุรกิจไม่มีสูตรสำเร็จ จงมองโอกาสตรงหน้าให้ออก (ข้อนี้ล้ำมาก!)

เรื่องบางเรื่อง เหมือนเส้นผมบังภูเขา

คุณธนินท์ ยกตัวอย่างตอน จีนมีการประกาศหา คนที่ต้องการเป็นเอเย่นต์เอามอเตอร์ไซด์เก่าไปขายทั่วโลก (เนื่องจากต้องการเงินจากต่างประเทศเข้ามา) เลยให้ทีมไปต่อรองว่า งั้นขอเป็นเอเย่นต์ขาย แต่มอเตอร์ไซด์ไม่ต้องออกนอกประเทศ ให้คนจีนใช้ไปได้มั๊ย

จากนั้น ก็ไปลงประกาศหนังสือพิมพ์จีนว่า ใครอยากได้มอเตอร์ไซด์ ก็ให้บอกญาติๆ ที่อยู่ต่างๆประเทศซื้อให้ ให้โอนเงินมา กลายเป็นว่าแปบเดียว 20,000 คัน ขายหมดและไม่พอขาย เลยเป็นที่มาของการเริ่มต้นทำธุรกิจมอเตอร์ไซด์ของ CP

ข้าน้อยขอคารวะ!

7. เสี่ยงได้ แต่ห้ามล้มละลาย

การทำธุรกิจต้องมีความเสี่ยง เราหนีไม่พ้น

เสี่ยง 30 ชนะ 70 ถ้าความเสี่ยงนั้นไม่ทำให้ล้มละลาย คุณธนินท์พร้อมจะเสี่ยง

ในทางกลับกัน ถ้าโครงการใหญ่มาก จนมีโอกาสให้ล้มละลาย แม้เพียงนิดเดียว ก็ไม่ทำเด็ดขาด (อย่าเสี่ยงเกินหน้าตัก)

อย่าคิดว่า บริษัทใหญ่จะล้มไม่ได้ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เสี่ยงเกินตัว เกินความสามารถก็มีโอกาสล้มได้เช่นกัน

8. การพัฒนาคนต้องให้เค้า ‘ลงมือทำ’ และให้ ‘อำนาจ’ อย่าไปชี้นำ แค่ชี้แนะ เวลาทำงาน การทำผิด คือ การเสียค่าเล่าเรียน ต้องไม่กลัวผิด แต่ขอให้รู้ว่า เสียแล้ว ผิดพลาดแล้ว ต้องให้โอกาส

9. คนเป็นผู้นำ ต้องเห็นแก่บริษัทและ พนักงานคนอื่นๆก่อน ตัวเองอยู่ที่โหล่ แม้จะเป็นธุรกิจส่วนตัว คุณก็ต้องทำเพื่อบริษัทและพนักงานก่อนเสมอ

10. มองหาความเก่งในตัวคนอื่น

คนเก่งในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ

ถ้าเราเข้าหาเค้า เรียนรู้จากเค้า จริงใจและยกย่องเค้า คนเก่งๆ เค้าก็ย่อมไม่ปฏิเสธ

อย่าไปดูความด้อยของคน ต้องหาจุดเด่น หาความเก่งของเขาให้เจอ
แล้วเราจะเคารพเขาได้ด้วยความจริงใจ

11. อุปสรรคและปัญหา คือ อาหาร 3 มื้อสำหรับนักธุรกิจ เราต้องเจอแน่นอน

คุณธนินทร์ให้ความสำคัญกับปัญหา และแก้ปัญหามาก

เพราะว่าไม่มีอะไรไม่มีปัญหา

ยกเว้นว่า เราจะไม่ทำอะไร ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมีปัญหา ยิ่งเปลี่ยนแปลงมาก ปัญหาก็ยิ่งมาก ดังนั้นต้องแก้ เลี่ยงไม่ได้

ที่สำคัญคือ จงเรียนรู้จากการปฏิบัติ อย่ารู้จากทฤษฎี ต้องทำไปแก้ไป มันไม่มีตำรา

12. ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว

เวลาสำเร็จ คุณธนินท์ไม่เคยฉลองความสำเร็จ

เพราะรู้ว่า เมื่อสำเร็จแล้ว จะตามมาด้วยปัญหาอีก

ยิ่งสำเร็จใหญ่ ก็จะยิ่งตามมาด้วยปัญหาใหญ่

ทุกๆวันต้องดูว่า เรามีอะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลงมั๊ย อย่าไปอิจฉาใคร ต้องสร้างตัวเองให้ดีขึ้นตลอดเวลา

Credit: แฟนเพจ Matichon Book


Virtual Try-on บน Google
AI Marketing | Google
Virtual Try-on ฟีเจอร์สำหรับลองเสื้อก่อนซื้อจริงบน Google Shopping

ท่ามกลางกระแส E-commerce ที่กำลังมาแรง Google โปรแกรม Search Engine อันดับ 1 ของโลกจึงกระโดดลงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันในสนามนี้บ้าง ด้วยการเปิดตัว Google…

AI Deepfake
AI Marketing
AI Deepfake คืออะไร? ทำไมต้องระวัง เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพอย่างไร

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1…

การตลาดสายเทา
Marketing
การตลาดสายเทาคืออะไร ต่างกับการตลาดสายขาวอย่างไร นักการตลาดต้องรู้!

สำหรับคนที่คลุกคลีกับวงการ Marketing มาสักพัก โดยเฉพาะนักการตลาดที่เน้นทำ SEO เป็นหลัก น่าจะเคยได้ยินคำ 2 คำที่พันผูกกับวงการ SEO มาช้านาน นั่นคือ…