6 เคล็ดลับการสร้าง Customer Persona ให้ตอบโจทย์ลูกค้าในปี 2024

การเขียน Persona หรือ Customer Persona ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำ Online Marketing เพราะหลาย ๆ ครั้งแผนการตลาดถูกวางโดยอาศัยเพียงความรู้ทางทฤษฎี ทำให้ไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจริงได้ ดังนั้น นักการตลาดจึงจำเป็นต้องสำรวจข้อมูลของลูกค้า และนำข้อมูลดังกล่าวมาสรุปเป็น Customer Persona เพื่อทำให้ภาพของแผนการตลาดที่มีชัดเจนขึ้น หากคุณกำลังเตรียมเขียน Customer Persona เพื่อลุยการตลาดในปี 2024 นี้ มาดูเคล็ดลับดี ๆ จาก Digital Tips

ทวนความเข้าใจ อะไรคือ Customer Persona?

Customer Persona คือ

ที่มา: https://www.trewmarketing.com/blog/b2b-buyer-personas-for-technical-companies 

Customer Persona คือ โปรไฟล์สมมติของลูกค้าที่คุณต้องการในการวาง Marketing Strategy แต่ละครั้ง ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูลในโปรไฟล์ดังกล่าวไม่ได้ได้มาจากการสมมติ แต่มาจากข้อมูลของลูกค้าเก่า หรือข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่คุณรวบรวมมาได้จากแหล่งต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และอีเมลที่ลูกค้าเก่าเคยลงทะเบียนไว้ หรือข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เก็บได้จาก Meta Pixel หรือ TikTok Pixel เป็นต้น

Customer Persona ยังจำเป็นอยู่ไหมในปี 2024?

Customer Persona ยังจำเป็นต่อการตลาดในปี 2024 เนื่องจากปัจจุบัน Journey ของลูกค้าซับซ้อนขึ้น เพราะมีทางเลือกมากขึ้น และที่สำคัญลูกค้าเองก็มีหลากหลายกลุ่มมากขึ้น คุณจึงจำเป็นต้องวางแผนการตลาดอย่างรัดกุม และใช้ Customer Journey ช่วยคาดคะเนความต้องการของลูกค้า ซึ่งแม่นยำมากกว่าการเดาสุ่มโดยไม่มีข้อมูล หรือลอกเลียนแบบจากคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ

>> อ่านเพิ่มเติม: Customer Journey คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจในปัจจุบัน

สร้าง Customer Persona ให้ตอบโจทย์ธุรกิจ ด้วย 6 เคล็ดลับจาก Digital Tips

โจทย์ในการทำการตลาดของปีนี้ซับซ้อนและท้าทายมากกว่าหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นปีที่ผู้คนเริ่มวิถีชีวิตแบบความปกติใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ และมีธุรกิจเปิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย หากคุณอยากสร้าง Customer Journey ให้ตอบโจทย์การตลาดในปีนี้ Digital Tips มี 6 เคล็ดลับดี ๆ มาฝากคุณ

1. สร้าง Customer Persona โดยอิงจากข้อมูลจริงเท่านั้น

Customer Persona ที่มีคุณภาพ ต้องเกิดจากการรวบรวมข้อมูลของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายตัวจริงของธุรกิจนั้น ๆ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาจะต้องมีปริมาณมากพอ ที่จะสามารถสรุปผลออกมาเป็นค่าเฉลี่ยได้ หลีกเลี่ยงการจับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะ 10-20 คน (หรือน้อยกว่านั้น) จากช่องทางการซื้อขายเดียวมาสร้าง Persona หรือเดาสุ่มเอาจากความน่าจะเป็น

2. ระบุทั้งสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และ สิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการลงใน Customer Persona

Customer Persona Pain Point

ที่มา: https://persona.qcri.org/blog/pain-points-and-personas/ 

การสร้างเพียงโปรไฟล์สมมติคร่าว ๆ ที่ระบุเพียงแค่ว่า ลูกค้าสมมติท่านนั้น ๆ ชอบอะไร อาจไม่ตอบโจทย์การตลาดในปี 2024 เท่าใดนัก เนื่องจากหลาย ๆ ครั้ง การตัดสินใจของลูกค้าขับเคลื่อนด้วยความรู้สึก “ไม่ชอบ” มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าผู้หญิงบางคนอาจไม่เคยกำหนดแบรนด์ที่ถูกใจแบบตายตัว สามารถเลือกซื้อสินค้าชิ้นใดจากแบรนด์ใดก็ได้ แต่จะไม่ซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ทดลองเครื่องสำอางกับสัตว์เด็ดขาด เป็นต้น ดังนั้น แนะนำให้คุณสำรวจข้อมูลทั้ง “สิ่งที่ลูกค้าต้องการ” และ “สิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ” ไปพร้อม ๆ กัน

3. ลองใช้ AI สร้างภาพถ่ายของลูกค้าใน Customer Persona ของคุณ

Customer Persona ที่มีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วยรายละเอียดที่สมจริง จะทำให้คุณทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และหนึ่งในวิธีที่จะสร้าง Customer Persona ตามโจทย์นั้น ก็คือการใส่ภาพถ่ายลงไปด้วย ซึ่งคุณอาจมอบหน้าที่ให้กับเหล่า Generative AI ในการสร้างภาพถ่ายลูกค้าให้เกิดขึ้นจริง

>> อ่านเพิ่มเติม: 5 เว็บไซต์ AI วาดรูป ที่พลิกโฉมทั้งศิลปะและการตลาดไปตลอดกาล

4. อธิบายปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญ

แทนที่จะใส่เฉพาะประวัติส่วนตัว ความชอบ หรือความไม่ชอบลงใน Customer Persona ลองเพิ่มข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลงไปอีกนิด นั่นคือสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือปัญหาที่ลูกค้าตัวอย่างใน Customer Persona กำลังเผชิญ เช่น หากสินค้าของคุณคือเครื่องสำอาง ปัญหาที่ลูกค้าของคุณกำลังเผชิญอาจเกี่ยวกับสิว ผิวมัน รอยแผลเป็น หรือริ้วรอยที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ เป็นต้น อย่างไรก็ดี พึงระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลเหล่านี้ ต้องได้มาจากการ Research จริง ๆ เท่านั้น

5. พยายามสร้างประวัติให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Customer Persona Full Version

ที่มา: https://compose.ly/content-strategy/user-persona-guide 

คุณอาจลองนำ Customer Persona ที่เคยทำมาตลอดทุกปีมาเปรียบเทียบกัน และลองดูว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างในประวัติของลูกค้าตัวอย่างที่คุณยังไม่เคยใส่เข้าไป ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนา อาชีพเก่า สถานภาพสมรส ฯลฯ แนะนำให้ลิสต์ข้อมูลเหล่านี้ และสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้การวิเคระาห์ลูกค้าเป็นไปอย่างแม่นยำมากขึ้น

6. ให้ลูกค้าแต่ละคนใน Customer Persona เป็นตัวแทนลูกค้าแต่ละกลุ่มของคุณ

ในกรณีที่คุณมีลูกค้าหลายกลุ่ม Customer Persona จะเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี ที่ช่วยให้คุณฝึกทำความรู้จักกับลูกค้าแต่ละกลุ่มของคุณได้ง่ายขึ้น เราแนะนำให้คุณจัดทำ Customer Persona ตามกลุ่มลูกค้าที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้โปรไฟล์ของลูกค้าตัวอย่างซ้ำซ้อน และเกิดความสับสนในภายหลัง

สรุป

โดยสรุปแล้ว การสร้าง Customer Persona ให้ตอบโจทย์การทำธุรกิจในปี 2024 จะเน้นไปที่การลงรายละเอียด และการสำรวจข้อมูลจากลูกค้าจริงให้ได้หลากหลายมิติมากขึ้น รวมทั้งทำความเข้าใจทั้งประเด็นด้านบวก และประเด็นด้านลบ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าอย่างรอบด้าน เพื่อคาดเดาความต้องการของลูกค้าให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น



อ้างอิง

CAREERFOUNDRY. How to Define a User Persona

Available from: https://careerfoundry.com/en/blog/ux-design/how-to-define-a-user-persona/ 

milanote. How to create a customer persona: 2024 Step-by step Guide

Available from: https://milanote.com/guide/persona 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…