ราว ๆ ปลายปี 2022 Meta ได้เปิดตัวโฆษณาแบบใหม่ “Collaborative Ads” หรือที่เอเจนซี่การตลาดนิยมเรียกว่า “CPAS” ซึ่งโฆษณาประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจ E-commerce โดยเฉพาะ เจ้าของธุรกิจคนไหนที่นำสินค้าไปวางขายบนเว็บไซต์ E-commerce ห้ามพลาดบทความนี้! มาดูกันว่า CPAS คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่แบบ และจะช่วยดันยอดให้ธุรกิจ E-commerce ได้อย่างไร
>> อ่านเพิ่มเติม: สอนยิงแอด Facebook ขั้นตอนลงโฆษณาเฟสบุ๊ค อัพเดตล่าสุด 2023
CPAS คืออะไร
Collaborative Performance Advertising Solution หรือ CPAS คือ รูปแบบโฆษณาหนึ่งบน Meta ที่กำหนดให้ธุรกิจที่วางขายสินค้าบนเว็บไซต์ E-commerce ต่าง ๆ (เช่น Shopee, Lazada) สามารถสร้างแคมเปญโฆษณาแบบ Dynamic Ads บน Facebook ได้ เพื่อโชว์สินค้าของตัวเองให้ลูกค้าที่อาจจะเคยเข้าไปเยี่ยมชมร้านในเว็บไซต์ E-commerce แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ มีโอกาสเห็นสินค้าอีกครั้ง และดำเนินการบางอย่างที่สร้าง Conversion ให้กับแบรนด์
CPAS มีประโยชน์อย่างไร
เพื่อให้คุณมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าประโยชน์ของโฆษณาแบบ CPAS คืออะไร เราขอสรุปคุณสมบัติของ CPAS ออกเป็น 4 ข้อดังนี้:
- ช่วยกระตุ้นยอดขายผลิตภัณฑ์ของคุณบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-commerce พันธมิตร ด้วยการใช้งานแคมเปญโฆษณา เช่น โฆษณาแค็ตตาล็อก Advantage+
- เพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ หรือร้านของคุณแอปพลิเคชัน E-commerce โดยเฉพาะ
- สร้างกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเป็นลูกค้าจำนวนมากจากแคมเปญการรับรู้
- ช่วยคำนวณยอดขายและ Conversion อื่นๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-commerce
วัตถุประสงค์ของการสร้างโฆษณาแบบ CPAS มีอะไรบ้าง
โฆษณาแบบ CPAS จะแบ่งวัตถุประสงค์ของการโฆษณา (Objective) ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
ที่มา: https://www.silvermouse.com.my/blog/set-up-facebook-collaborative-ads-shopee-lazada/
1. The Awareness Objective
หากวัตถุประสงค์ของการสร้าง CPAS คือ การสร้างการรับรู้เป็นวงกว้าง ทำให้ผู้คนรู้จักและมองเห็นสินค้าของคุณ การเลือกวัตถุประสงค์โฆษณาเป็น The Awareness Objective ก็เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ดี แม้ว่าแคมเปญของคุณจะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อการรับรู้ แต่คุณจะสามารถวัด Conversion ของผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-commerce ได้
2. The Traffic Objective
หากคุณต้องการเพิ่มปริมาณการคลิกชมร้านของคุณบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-commerce พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้โฆษณาของคุณแข่งขันกับเว็บไซต์พันธมิตรนั้น ๆ การเลือก The Traffic Objective ก็ถือได้ว่าตอบโจทย์มากที่สุด (และเช่นเคย คุณสามารถวัด Conversio nได้)
3. The Sales Objective
หากเป้าหมายของคุณคือการหาลูกค้าใหม่ กำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่ และกระตุ้นยอดขาย แนะนำให้เลือก The Sales Objective ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้ที่เคยแสดงความสนใจในข้อเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันเห็นโฆษณาของคุณ นอกจากนี้ โฆษณาแบบ CPAS ยังจะแสดงผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ในกลุ่มแคตตาล็อกที่ใช้ร่วมกันจากเว็บไซต์ E-commerce เหล่านั้นอีกด้วย
หากต้องการเปิดใช้งานโฆษณา CPAS ต้องทำอย่างไร
เราสามารถสรุปขั้นตอนการเปิดใช้งาน CPAS ออกได้คร่าว ๆ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ที่มา: https://www.most2414.com/collaborative-ads-cpas-ecommerce/
- สร้างบัญชีบน Facebook Business Manager ใส่ข้อมูลสำคัญของแบรนด์เอาไว้ให้เรียบร้อย
- คลิกที่ “กำหนดพาร์ทเนอร์” แล้วกรอก ID ของเว็บไซต์ E-commerce ที่มีร้านของคุณอยู่ลงไป ลงไป จากนั้นส่งอีเมลเพื่อขอแคตตาล็อกสินค้าจากเว็บไซต์นั้น ๆ
- เมื่อแคตตาล็อกมาถึงแล้ว คุณจึงจะสามารถเข้าไปเลือกสินค้าเพื่อสร้างโฆษณาแบบ CPAS ได้
- หลังจากเลือกสินค้าแล้ว ระบบจะให้คุณตั้งค่าการยิงแอด Facebook ตามขั้นตอนปกติ ให้เลือก Campaign Objective เป็น Sales
- จากนั้นตั้งค่ากลุ่มเป้าหมาย ใส่ลิงก์แนบ (ป้อนลิงก์ปลายทางในเว็บไซต์ E-commerce ที่คุณต้องการ) และรันโฆษณาตามปกติ
สรุป
ความพิเศษของโฆษณาแบบ CPAS คือ การผนึกกำลังร่วมกันระหว่างเว็บไซต์ E-commerce พันธมิตร และฟีเจอร์ยิงโฆษณาของ Meta ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการโฆษณาก็คือแบรนด์ที่ต้องการเพิ่ม Conversion และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในการขาย แต่เหนือสิ่งอื่นใด การจะเปิดใช้งาน CPAS ได้ คุณจำเป็นต้องเคยใช้งาน Facebook Ads และรู้จักเครื่องมือต่าง ๆ มากพอสมควร หากคุณต้องการเพิ่มทักษะการใช้งาน Facebook Ads ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น รอติดตามคอร์สเรียนยิงแอดดี ๆ จาก Digital Tips ที่พร้อมเปิดลงทะเบียนในปี 2024 นี้ ทางเว็บไซต์: https://academy.thedigitaltips.com/browse หรือ Facebook Page: Digital Tips Academy
อ้างอิง
Meta. About Collaborative Ads
Available from: https://web.facebook.com/business/help/330750424503545?
Meta. About Collaborative Ads campaign objectives
Available from: https://web.facebook.com/business/help/420275856353754?helpref=page_content