ไขข้อสงสัย ทำไมลูกค้ากด Add to cart บนเว็บไซต์ไว้ แต่ไม่ซื้อ

เจ้าของธุรกิจที่ลงทุนสร้างระบบ E-commerce ไว้บนเว็บไซต์ ย่อมต้องเคยรู้สึกปวดใจกับยอด “Card Abandon” หรือการที่ลูกค้าใช้ฟังก์ชัน Add to cart เพื่อเลือกสินค้าที่ตัวเองสนใจใส่ไว้ในตะกร้า แต่กลับไม่ยอมกดสั่งซื้อจริง ๆ หากคุณอยากรู้สาเหตุของพฤติกรรมนี้ และกำลังหาวิธีแก้ไข Digital Tips รวบรวมข้อมูลสำคัญมาให้แล้ว ไปดูกัน!

การที่ลูกค้ากด Add to cart ไว้แต่ไม่ซื้อ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

แม้การที่ลูกค้ากด Add to cart ไว้ แล้วไม่ซื้อ จะไม่ได้ทำให้แบรนด์ต้องเสียสินค้าเหล่านั้นไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพฤติการณ์เช่นนี้ของลูกค้าจะไม่ส่งผลกระทบกับแบรนด์ อย่างไรก็ดี เราสามารถสรุปผลกระทบดังกล่าวได้คร่าว ๆ 3 ข้อ ดังนี้

Cart Abandon

ที่มา: https://www.hotjar.com/blog/shopping-cart-abandonment-rate/ 

ในทุก ๆ ปี ธุรกิจ E-commerce ทั่วโลกสูญเสียรายได้ราว ๆ 18 พันล้านเหรียญต่อปี

ข้อมูลจาก drip ยืนยันว่า การละทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์ของลูกค้า ทำให้แบรนด์สูญเสียโอกาสในการขาย โดยหากคำนวณสถิติโดยรวมจากเว็บไซต์ E-commerce ทั่วโลกแล้วจะคิดเป็นเงินได้ถึง 18 พันล้านเหรียญต่อปี และหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะลุกลามกลายเป็นปัญหาอื่น ๆ ต่อไป

ความเชื่อมั่นของลูกค้าจะค่อย ๆ ลดลง

การที่ลูกค้าตัดสินใจกด Add to cart สินค้าที่ชอบเอาไว้แล้ว แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจไม่ทำรายการต่อ เป็นไปได้ว่าจะต้องมีปัจจัยอะไรบางอย่างมาทำให้เปลี่ยนใจ ทั้งนี้ หากปัจจัยดังกล่าวมาจากแบรนด์ เช่น ราคารวมส่งสูงเกินไป หรือ UX/UI เข้าใจยาก ฯลฯ จนทำให้ลูกค้าจำนวนมากต้องละทิ้งตะกร้า ความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ก็จะลดลงในอนาคต

เพิ่มโอกาสทำกำไรให้แบรนด์คู่แข่ง

การที่ลูกค้าเข้าชมสินค้าในเว็บไซต์และกด Add to cart เพื่อหยิบใส่ตะกร้าไว้ อาจเป็นไปได้ว่าพวกเขากำลังทำเช่นนี้บนหลาย ๆ เว็บไซต์ เพื่อเปรียบเทียบว่าซื้อบนเว็บไซต์ไหนจึงจะคุ้มค่ากว่ากัน ดังนั้น การที่ลูกค้าละทิ้งตะกร้าบนเว็บไซต์ของคุณ ก็เป็นไปได้ว่าพวกเขาเลือกซื้อสินค้าชนิดเดียวกันบนเว็บไซตือื่นเรียบร้อยแล้ว และผลกำไรก็ตกอยู่กับแบรนด์เจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ

สาเหตุที่ลูกค้ากด Add to cart บนเว็บไซต์ไว้แต่ไม่ซื้อ 

เพื่อให้คุณปรับปรุงคุณภาพของเว็บไซต์ และโปรโมชันส่งเสริมการขายออนไลน์ให้โดนใจผู้บริโภคมากขึ้น Digital Tips จึงรวบรวม 5 สาเหตุที่ลูกค้ากด Add to cart ไว้ แต่ก็ละทิ้งตะกร้าสินค้าไปมาฝากคุณ ลองศึกษาและหาทางแก้ไขให้เร็วที่สุด!

ค่าจัดส่งสูงเกินไป และมีตัวเลือกบริการขนส่งให้เลือกน้อย

หากคุณเคยท่องเว็บไซต์ประเภท E-commerce ด้วยตัวเองอยู่บ้าง คุณจะทราบดีว่า ราคาที่ลูกค้าเห็นตอนคลิกหยิบสินค้าใส่ตะกร้า เป็นเพียงราคาสินค้าก่อนบวกภาษีและค่าจัดส่ง ด้วยเหตุนี้ ลูกค้าหลาย ๆ คนที่เข้าสู่หน้าสั่งซื้อแล้วได้เห็นราคาสุทธิหลังบวกค่าจัดส่งจริง ๆ จึงตัดสินใจกดปิดหน้าจอลงอย่างง่ายดาย เหมือนไม่เคยสนใจสินค้าแบรนด์นี้มาก่อน

เหตุผลของการ Add to cart แต่ไม่ซื้อ

ที่มา: https://www.sendcloud.com/shopping-cart-abandonment-rate-shipping/ 

แน่นอนว่า สาเหตุก็คืออัตราค่าจัดส่งที่สูงลิ่วจนเกินไป และบางเว็บไซต์ก็มีพาร์ทเนอร์บริษัทขนส่งให้เลือกน้อย ลูกค้าจึงรู้สึกว่าตัวเองไม่มีทางเลือก และสามารถจ่ายค่าส่งถูกกว่านี้ได้ หากไปซื้อบนแพลตฟอร์มอื่น เช่น Marketplace หรืออาจจะเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าชนิดเดียวกัน ดังนั้น แนะนำให้จัดโปรโมชันฟรีค่าจัดส่ง เมื่อซื้อสินค้าครบตามยอดที่กำหนดไว้ เพื่อซื้อใจลูกค้าก่อนในเบื้องต้น ก่อนพยายามติดต่อพาร์ทเนอร์บริษัทขนส่งให้มากขึ้นต่อไป

กระบวนการชำระเงินยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป

E-commerce Payment

ที่มา: https://exactly.com/blog/ecommerce-payment-methods 

เมื่อกด Add to cart จนพอใจแล้ว และคลิกต่อไปยังหน้าสั่งซื้อ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังก็คือช่องทางการชำระเงินที่สะดวก จ่ายง่าย และจบเร็ว ดังนั้น เว็บไซต์ใด ๆ ก็ตามที่พยายามทำขั้นตอนตรงนี้ให้ซับซ้อน เพื่อหวังจะสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ เช่น กด Add to card แล้วไปยังหน้าชำระเงิน และยังมีหน้าย่อย ๆ ให้กรอกข้อมูลมากมายก็จะกดชำระเงินได้ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้มักจะตรงกันข้าม เพราะการทำเช่นนี้ยิ่งทำให้พวกเขาต้องเสียลูกค้าไป

เว็บไซต์ดาวน์โหลดข้อมูลช้า ค้างบ่อย 

ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ก็สำคัญ หากหน้ารายการสินค้าดาวน์โหลดช้า หรือค้างจนต้องกด Refresh หน้าใหม่ซ้ำ ๆ ลูกค้าก็จะรู้สึกเหนื่อยใจ และยอมแพ้ให้กับการสั่งซื้อบนเว็บไซต์ของคุณ จนไม่ยอมกลับเข้าอีกก็เป็นได้

ลูกค้าเริ่มรู้สึกกังขาในระบบรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

ในยุคสมัยที่มีมิจฉาชีพมากมายเช่นนี้ หากเว็บไซต์ของคุณหละหลวมเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ปราศจากหน้าขออนุญาตเก็บข้อมูลจากคุกกี้ บังคับให้ลูกค้ากดสมัครสมาชิกก่อนการสั่งซื้อ หรือบังคับให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อชำระเงิน โดยไม่สามารถเลือกชำระผ่านช่องทางอื่นได้ ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ปลอดภัย และคลิกออกจากเว็บไซต์ไปทันที

ลูกค้าไม่พร้อมที่จะซื้อสินค้าในตอนนี้

บางครั้งการที่ลูกค้ากด Add to cart ไว้ แล้วไปไม่ถึงหน้าสั่งซื้อ สาเหตุอาจมาจากความพร้อมของตัวลูกค้าเอง เช่น เงินในบัญชีมีไม่เพียงพอ หรืออาจจะต้องการเพียงมาลองเปรียบเทียบราคากับแพลตฟอร์มอื่นก็เป็นไปได้ อย่างไรก็ดี แม้นี่จะไม่ใช่ความผิดพลาดที่มาจากตัวแบรนด์ แต่หากคุณไม่อยากพลาดโอกาสทำกำไร แนะนำให้เก็บข้อมูลของคนที่กด Add to cart แล้วไม่สั่งซื้อเอาไว้ เพื่อนำมาทำ Remarketing ซ้ำ เพราะแม้จะยังไม่พร้อมซื้อในตอนนี้ แต่การได้เห็นโฆษณาตัวเดิมบ่อย ๆ จะสามารถกระตุ้นความต้องการซื้อได้

สรุป

โดยสรุปแล้ว สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ คือการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดไวอยู่เสมอ และเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มี Journey ไปถึงแค่หน้า Add to cart เอาไว้ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาต่อไป

อ้างอิง

le site. 5 Reasons Why Your Customers Abandon Their Shopping Carts

Available from: https://www.lesite.ca/en/5-reasons-why-your-customers-abandon-their-shopping-cart/ 

drip. 21 Cart Abandonment Statistics To Help Build Your 2023 Strategy

Available from: https://www.drip.com/blog/cart-abandonment-statistics 

bolt. 14 Reasons for Cart Abandonment and Strategies to Improve Conversions

Available from: https://www.bolt.com/thinkshop/14-reasons-for-cart-abandonment-and-strategies-to-improve-conversions 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…