คุณก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่หาลูกค้า B2B ผ่าน LinkedIn Marketing ใช่ไหม? ในบทความนี้ Digital Tips ขอนำเสนอการใช้เครื่องมืออย่าง LinkedIn Analytics เพื่อให้การวางกลยุทธ์การตลาดของคุณง่ายขึ้น แล้ว LinkedIn Analytics คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง และจะเป็นประโญชน์กับคุณมากแค่ไหน มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน!
>> อ่านเพิ่มเติม: B2B คืออะไร ใช้กลยุทธ์แตกต่างจากธุรกิจ B2C C2B หรือ C2C อย่างไร
LinkedIn Analytics คืออะไร?
ที่มา: https://whatagraph.com/templates/linkedin-report
LinkedIn Analytics คือ ระบบการเก็บข้อมูลเชิงลึกบน LinkedIn ที่สามารถให้ข้อมูลได้ว่า กลุ่มผู้ชมของคุณคือคนกลุ่มไหน ช่วงอายุประมาณเท่าไหร่ อาศัยอยู่ในภูมิภาคไหน และพวกเขามักจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับโพสต์แบบไหนมากกว่ากัน โดยหลัก ๆ แล้ว LinkedIn Analytics จะมีประโยชน์แบบเดียวกับระบบหลังบ้านของ Meta หรือ TikTok เพราะสามารถใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการวางกลยุทธ์การตลาด ตลอดจนตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทางได้
ต้องการใช้ LinkedIn Analytics ทำอย่างไร?
หากคุณยังไม่เคยคลิกเข้าไปดูข้อมูลใน LinkedIn Analytics มาก่อน แนะนำให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้
- Login เข้าสู่หน้า LinkedIn ตามปกติ
- สำหรับโปรไฟล์ส่วนตัว: คลิกที่รูปโปรไฟล์มุมซ้ายของหน้าเว็บ > ดูข้อมูลส่วน Analytics และ Show all analytics ระบบจะแสดงยอดการเข้าชมโปรไฟล์ ยอด Followers ตลอดจนบอด Engagement โดยรวม
- สำหรับเพจธุรกิจ: คลิกที่ไอคอน Work ที่มุมบนขวาของหน้าเว็บ จากนั้นเลือก Pages และคลิกที่เพจธุรกิจของคุณ > สังเกตที่เมนูด้านบนของหน้าเพจ เลือก Analytics จะมีเมนูย่อยให้เลือกสำหรับการดูข้อมูลวิเคราะห์
รวม 5 เทคนิคการใช้ LinkedIn Analytics ที่นักการตลาดควรรู้
เมื่อเข้าไปเช็กข้อมูลส่วน LinkedIn Analytics ได้แล้ว คำถามต่อมาก็คือ ข้อมูลส่วนนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง หรือนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดได้อย่างไร Digital Tips มี 5 เทคนิคที่คุณจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ ทั้งนี้ ขออนุญาตแนะนำเฉพาะการใช้ LinkedIn Analytics บนเพจธุรกิจเท่านั้น
1. ดูภาพรวมประสิทธิภาพของการทำคอนเทนต์
ที่มา: https://blog.hootsuite.com/linkedin-analytics/
ดังที่คุณทราบว่าบน LinkedIn คุณสามารถทำโพสต์แบบ Multi-photo แบบเดียวกับบน Facebook หรือโพสต์บทความการตลาดเจ๋ง ๆ เพื่อหวังผลทาง SEO ได้ ดังนั้น หากคุณอยากรู้ว่าทุก ๆ คอนเทนต์ที่ทำมาให้ผลลัพธ์ดี/ไม่ดีอย่างไร สามารถใช้ LinkedIn Analytics เช็กดูได้ โดยเช็กที่หมวด Content และเลือก Metrics ตามที่คุณต้องการ เช่น หากตั้งค่า Metrics เป็น Impression ระบบก็จะแสดงกราฟการเข้าถึงทั้งจาก Organic และการยิงโฆษณา นอกจากนี้ คุณยังสามารถเช็กประสิทธิภาพเป็นรายคอนเทนต์ได้อีกด้วย
2. วิเคราะห์ผู้เยี่ยมชม เพื่อปรับคอนเทนต์ให้เหมาะสม
ที่มา: https://blog.hootsuite.com/linkedin-analytics/
บน LinkedIn Analytics คุณสามารถตรวจสอบได้ว่ากลุ่มผู้ชมของคุณคือใคร พวกเขามักจะอ่านคอนเทนต์ผ่าน Device ไหน (คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่) และที่สำคัญ สามารถเช็ก Demographics ในเชิงลึกได้ เพียงเข้าไปดู LinkedIn Analytics และเลือกหมวด Visitors
3. วิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมาย
เป้าหมายของการทำการตลาดบน LinkedIn คือการค้นหา Lead ใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการจับจ่าย และแน่นอนว่าทุก ๆ แบรนด์ที่มีบัญชี LinkedIn สามารถใช้ LinkedIn Analytics เพื่อวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมายได้ เพียงเลือกเช็กที่หมวด Lead และดูว่าขณะนี้คุณมี Lead เพิ่มขึ้นมากี่ราย และพวกเขามาจากช่องทางไหนกันบ้าง นอกจากนี้ คุณยังสามารถดาวน์โหลดโอกาสในการขาย และวัดผลกระทบของแคมเปญของคุณได้โดยการดูตัวชี้วัด เช่น อัตราความสำเร็จ ต้นทุนต่อโอกาสในการขาย และอื่น ๆ ข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าอะไรได้ผลและอะไรไม่ได้ผล เพื่อให้คุณปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณต่อไป
4. ดูสถานการณ์ของผู้ติดตาม (Followers)
จำนวน Followers เองก็สำคัญไม่แพ้จำนวน Lead เนื่องจาก LinkedIn ก็ถือได้ว่าเป็น Social Media เจ้าหนึ่งเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากคุณอยากทราบว่าขณะนี้ยอด Followers ของคุณเป็นอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปมากแค่ไหน เช็กได้ที่หมวด Followers ระบบจะสรุปยอดให้ดูคร่าว ๆ บน Followers Highlight และสรุปข้อมูลโดยละเอียดในเมนู Followers Demographics
5. ทำ Competitor Analysis
ที่มา: https://blog.hootsuite.com/linkedin-analytics/
การวิเคราะห์คู่แข่งของ LinkedIn ช่วยให้คุณสามารถติดตามและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเพจของคุณกับธุรกิจหรือองค์กรที่คล้ายคลึงกัน วิธีนี้สามารถช่วยคุณระบุด้านที่คุณทำได้ดีและด้านที่คู่แข่งอาจมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคุณ โดยวิธีเช็กคู่แข่งสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงเลือกหมวด Competitors ระบบจะสรุปคู่แข่งที่ทำคอนเทนต์หรือทำธุรกิจใกล้เคียงกับคุณ พร้อมจำนวน Followers รวม และ Followers ใหม่ของบัญชีนั้น ๆ มาให้ดูด้วย
สรุป
โดยสรุปแล้ว LinkedIn Analytics คือเครื่องมือที่สำคัญมากต่อการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดบน LinkedIn ของคุณ เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดจึงควรฝึกใช้เครื่องมือนี้ให้ชำนาญ ตลอดจนสรุปข้อมูลประจำเดือนเพื่อเช็กความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ
อ้างอิง
Hootsuite. LinkedIn Analytics: The 2024 Guide for Marketers
Available from: https://blog.hootsuite.com/linkedin-analytics/
Buffer. LinkedIn Analytics: Key Metrics to Track
Available from: https://buffer.com/library/linkedin-analytics/