AI Deepfake

มิจฉาชีพเกิดขึ้นใหม่รายวัน และมักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนากลโกง ให้ไปถึงจุดที่ภาครัฐยากจะจัดการได้ หนึ่งในคือเทคโนโลยี AI Deepfake หรือ เทคโนโลยีปลอมแปลงใบหน้า ที่เป็นข่าวรายวันในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา เรามารู้จักเทคโนโลยีนี้กันให้ลึกซึ้งกันอีกสักนิด เพื่อป้องกันไม่ให้คุณหลงตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเหล่านี้กัน!

>> อ่านเพิ่มเติม: AI คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไร

AI Deepfake คืออะไร ทำงานอย่างไร

AI Deepfake

ที่มา: https://medium.com/@techforgood51/ai-deep-fake-technology-740a0a056189

AI Deepfake คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แขนงหนึ่งที่ใช้สร้างภาพ วิดีโอ และเสียงบันทึกปลอม เพื่อเลียนแบบลักษณะการพูดคุยของมนุษย์ โดยทำงานในลักษณะ Deep Learning หรือเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ให้ AI เรียนรู้และจดจำลักษณะใบหน้าของบุคคลเป้าหมายในหลาย ๆ มุมมอง เพื่อให้ AI จดจำการเคลื่อนไหวของใบหน้า รวมถึงอากัปกิริยาต่าง ๆ เช่น การยิ้ม การขยับปากพูด การแสดงอารมณ์ หรือการใช้ Machine Learning ประเภท Generative Adversarial Network เข้ามาช่วยให้ AI Deepfake ทำงานได้ดีขึ้น เลียนแบบได้เนียนขึ้น

AI Deepfake มีกี่ประเภท

อันที่จริง AI Deepfake มีหลายประเภท แล้วแต่การจัดหมวดหมู่ แต่หากแบ่งตามลักษณะการเลียนแบบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

Face Swaps

Face Swaps

ที่มา: https://remaker.ai/video-face-swap-online/

การสร้าง AI Deepfake ขึ้นจากสื่อ 2 ชุด เช่น คลิปวิดีโอ 2 คลิป ที่ถ่ายใบหน้าของคน 2 คนในองศาเดียวกัน โดย AI จะเรียนรู้จากชุดข้อมูล 2 ชุดนี้ ประเมินความเหมือนและความแตกต่าง ก่อนปลอมแปลงเป็นใบหน้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการยอดนิยมของมิจฉาชีพ

Re-enactments

Re-enactments

ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/Facial-Re-enactment-DeepFake-attack_fig1_362277216

การทำงานของ AI Deepfake ประเภทนี้ให้ความรู้สึกเหมือนการชมตุ๊กตาหุ่นมือ ที่จะขยับท่าทาตามการบังคับของมือคนเล่น เนื่องจากการแสดงสีหน้า การขยับปาก และท่าทางของบุคคลปลอมแปลงในวิดีโอ จะถูกควบคุมโดยบุคคลในวิดีโอต้นทาง

Voice Cloning

แปลตรงตัวว่า ‘การปลอมแปลงเสียง’ หมายถึง การใช้ AI บันทึกเสียงพูดของคน ๆ หนึ่ง และสร้างเสียงพูดเลียนแบบเสียงของคน ๆ นั้นขึ้นมา เพื่อเผยแพร่สิ่งที่เจ้าของเสียงไม่เคยพูดจริง ๆ

Synthetic Media Generation

Synthetic Media Generation

ที่มา: https://cmr.berkeley.edu/2022/10/synthetic-media-what-managers-need-to-know-about-this-emergent-phenomenon/

Synthetic Media Generation คือ การสร้างเนื้อหาเทียม ไม่ว่าจะเป็น ภาพปลอม เสียงปลอม วิดีโอปลอม เพลงปลอม มักนำมาใช้เพื่อสร้างหลักฐานเท็จ

Text-based Deep Fakes

AI Deepfake แบบ Text-based คือ การสร้างข้อความที่เลียนแบบสไตล์การเขียนหรือวิธีการสื่อสารของบุคคลหนึ่ง ทำให้ข้อความที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เขียนหรือพูดเอง ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้เป็นการสื่อสารจากบุคคลนั้นโดยตรง

รู้จักเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนา AI Deepfake

หากคุณอยากทำความรู้จักกับ AI Deepfake ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แน่นอนว่าคุณต้องรู้จักกับเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อ AI ประเภทนี้ก่อน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 5 ประเภท ดังนี้

  • Generative Adversarial Network (GAN): ใช้เครื่องสร้างและอัลกอริธึมตัวแยกแยะเพื่อพัฒนาเนื้อหา Deepfake ทั้งหมด
  • เครือข่ายประสาทเทียมแบบ Convolutional: การวิเคราะห์รูปแบบในข้อมูลภาพ ใช้ในการจดจำใบหน้าและการติดตามการเคลื่อนไหว
  • Autoencoders: เทคโนโลยีเครือข่ายประสาทที่ระบุคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องของเป้าหมาย เช่น การแสดงออกทางสีหน้าและการเคลื่อนไหวร่างกาย จากนั้นจึงนำคุณลักษณะเหล่านี้ไปปรับใช้กับวิดีโอต้นทาง
  • Natural Language Processing: การประมวลผลภาษาธรรมชาติ คือสาขาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ วิเคราะห์ และประมวลผลภาษามนุษย์ (เช่น ภาษาเขียนหรือภาษาพูด) ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
  • High-performance Computing: การใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพื่อการประมวลผลและคำนวณที่ซับซ้อนในระดับที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่สามารถทำได้

จะรู้ได้อย่างไร ว่าภาพที่เห็นเป็นคนจริงหรือ AI Deepfake

Digital Tips รวบรวมวิธีสังเกตคลิปวิดีโอที่ทำโดย AI Deepfake มาฝากคุณทั้งหมด 4 วิธี ดังนี้

AI Deepfake Qualification

ที่มา: https://www.thesun.ie/tech/10095113/deepfake-ai-generated-people-impossible-detect/

ดวงตาที่ผิดปกติ

ไม่ว่า AI Deepfake จะพัฒนาไปมากแค่ไหน แต่จุดหนึ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่ก็คือ ความสมจริงของดวงตา วิธีสังเกตก็ง่าย ๆ หากดวงตาของบุคคลในคลิปวิดีโอเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นปกติ เช่น กะพริบตาน้อยครั้งมาก ๆ หรือหันไปในทิศทางที่ไม่จำเป็น ให้สันนิษฐานไว้เลยว่า…นั่นไม่ใช่คนแต่เป็น AI

ผมและผิวหนังไม่สมจริง

ภาพหรือวิดีโอที่สร้างด้วย AI Deepfake มักจะมีส่วนของผมและผิวหนังที่เบลอ มองไม่เห็นขอบ หรือนวลเนียนเกินความเป็นจริง

เสียงพูดไม่ตรงกับปาก

นี่คือข้อบกพร่องที่สังเกตได้ง่ายที่สุด และมักทำให้คลิปหลอกลวงของมิจฉาชีพกลายเป็นวิดีโอขำขัน เพราะคำที่พูดออกมากับลักษระการขยับปากจะไม่ตรงกัน หรือมองออกว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน

แสงที่ไม่เป็นธรรมชาติ

การทำ AI Deepfake ชนิดที่นำใบหน้าของอีกคนมาสวมทับบนใบหน้าของอีกคนหนึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องแสงและเงาเสมอ ดังนั้น แนะนำให้สังเกตดี ๆ หากบนใบหน้ามีเงาตกกระทบมากเกินไป หรือมีแสงเงาดูแตกต่างจากภาพรวมในคลิป นั่นอาจเป็นภาพที่สร้างโดย AI

ระวัง! AI Deepfake สร้างความเสียหายในเรื่องอะไรได้บ้าง

  • AI Deepfake สามารถสร้างวิดีโอหรือเสียงที่จำลองบุคคลขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและกฎหมายความเป็นส่วนตัว เช่น การใช้ใบหน้าและเสียงของบุคคลเพื่อสร้างเนื้อหาที่บิดเบือน
  • สามารถถูกนำไปใช้ในการสร้างข่าวปลอม หรือเนื้อหาที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การสร้างวิดีโอที่นักการเมืองหรือบุคคลสำคัญพูดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง ซึ่งสามารถทำลายชื่อเสียงและสร้างความสับสนให้กับสังคม
  • เมื่อผู้คนเริ่มตระหนักถึงความสามารถในการสร้างเนื้อหา Deepfake อาจทำให้ความเชื่อมั่นในวิดีโอหรือภาพที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ลดลง ผู้คนอาจสงสัยในความจริงของเนื้อหาทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาในความน่าเชื่อถือของข้อมูล

สรุป

AI Deepfake ที่มิจฉาชีพชอบใช้ บางคนอาจสบประสาทว่าดูออกได้ง่าย และไม่ค่อยมืออาชีพ แต่อย่าลืมว่าเทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาได้ค่อนข้างเร็วและไกล หากวันใดประมาท ไม่สังเกตให้ดี คุณเองก็อาจตกเป็นเหยื่อของ AI Deepfake เวอร์ชันที่พัฒนาแล้วก็ได้ ดังนั้น แนะนำให้สังเกตความผิดปกติให้ละเอียด โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสวิดีโอคอลกับคนแปลกหน้า

 

อ้างอิง

BBC. Deepfake technology: What is it, how does it work, and what can it be used for?

Available from: https://www.bbc.co.uk/newsround/69009887

Techtarget. What is deepfake technology?

Available from: https://www.techtarget.com/whatis/definition/deepfake

KYCAML Guide. Understanding the Different Types of Generative AI Deepfake Attacks

Available from: https://kycaml.guide/blog/understanding-the-different-types-of-generative-ai-deepfake-attacks/

ของมือสองเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กับกระแส YONO เพราะราคาถูกและยังอยู่ในสภาพดี
Money Tips
รู้จัก YONO (You Only Need One) เมื่อความฟุ่มเฟือยไม่ใช่เทรนด์ในหมู่วัยรุ่นอีกต่อไป!

เมื่อสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้เราอู้ฟู่ งั้นก็ควรหันมาประหยัดกันได้แล้ว! รู้จักกับเทรนด์ YONO (You Only Need One) จากวัยรุ่นเกาหลีใต้ ชวนทุกคนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต เมื่อพูดถึงมุมมองในการใช้ชีวิต วัยรุ่นหลายคนคงเลือกทำทุกวันให้เหมือนกับวันสุดท้าย…

แอป Duolingo เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาที่เรียนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน
Marketing Psychology
หลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในแอป “Duolingo” ทำอย่างไรให้คนเสพติดการเรียนภาษา

ถ้าพูดถึงแอปเรียนภาษายอดฮิตก็ต้องนึกถึงแอป Duolingo ที่ไม่ได้มีดีแค่ความปากจัดของนกฮูกเขียว แต่มีหลักจิตวิทยาแอบซ่อนเอาไว้ ที่ทำให้ผู้เรียนทุกคนเสพติดการเรียนแบบไม่รู้ตัว! ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยเห็นมีมของ “นกฮูกเขียว” ผ่านตากันมาบ้าง ทั้งประโยคชวนเจ็บจี๊ดและแสนจิกกัด หรือหน้าตาแอปพลิเคชันตลก ๆ ที่คนแชร์กันเต็มโซเชียล…

วิธีการจัดการคิวของลูกค้าตามหลัก Psychology of Waiting
Marketing Psychology
Psychology of Waiting ทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ต่อคิว ไม่รู้สึกว่ารอนานจนอยากเลิกซื้อ!

หลายแบรนด์เสียโอกาสทางการค้า เพราะลูกค้าเห็นความยาวของแถวต่อคิวแล้วรู้สึกท้อ ขอเลือกซื้อของเจ้าอื่นแทนดีกว่า มาใช้หลักการ Psychology of Waiting ในการจัดการแถวคิวกันเถอะ! เวลาเห็นร้านไหนมีคนต่อแถวยาว เรามักจะมองว่าร้านนั้นต้องขายดีมากแน่ ๆ แต่หลายครั้งก็อาจเห็นผู้คนบ่นลงโซเชียลมีเดียบ่อย…