รู้หรือไม่? ปัญหาอันดับต้น ๆ ของ Online Marketing คือ การใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการยิงโฆษณา แต่ไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าตัวจริงได้ นั่นเพราะธุรกิจเหล่านั้นขาดการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่ได้ประสิทธิภาพ และเพื่อแก้ปัญหานี้ Digital Tips จึงขอแชร์เทคนิคการค้นหา Target Audience หรือ กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ตัวช่วยเพิ่มยอดขายของคุณให้ทะลุเป้า ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกัน!

Target Audience คืออะไร?

Target Audience แปลตรงตัวได้ว่า “กลุ่มเป้าหมาย” หมายถึง กลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้าและบริการของแบรนด์อย่างแท้จริง โดยทั่วไปจะจำแนกเป็นกลุ่ม ๆ ตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ความสนใจ ฯลฯ เพื่อให้แบรนด์นำข้อมูลนี้ไปใช้ในการสร้างสื่อโฆษณา หรือสร้างแคมเปญทางการตลาดให้สัมฤทธิ์ผล

ทำไมต้องค้นหา Target Audience?

การค้นหา Target Audience จะช่วยกำหนดทิศทางของการทำการตลาด ทำให้ธุรกิจสามารถบริหารงบประมาณและเวลาได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดขึ้น ลองสมมติว่าคุณคือเจ้าของร้านขายอาหารเสริมจากประเทศเกาหลี ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่สตรีวัยทำงาน อายุ 35 -40 ปี แต่หากคุณไม่ได้ศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ดี แล้วลงทุนเช่าสำนักงานในย่านที่มีแต่วัยรุ่น หรือทุ่มงบโฆษณาบน Facebook โดยเน้นให้คนทุกเพศ ทุกช่วงอายุ และทุกพื้นที่ มองเห็นเป็นวงกว้าง โอกาสที่สินค้าของคุณจะเป็นที่รู้จักในหมู่กลุ่มเป้าหมายตัวจริงย่อมมีน้อย และอาจส่งผลให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด

เราจะค้นหา Target Audience ได้อย่างไร?

การค้นหา Target Audience มีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและความเชี่ยวชาญของนักการตลาด ว่าถนัดใช้วิธีไหน แต่สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มกระบวนการนี้เป็นครั้งแรก Digital Tips ขอแนะนำ 7 วิธีที่จะช่วยให้การค้นหากลุ่มเป้าหมายของคุณง่ายขึ้น ดังนี้

ompetitor Analysis

1. ศึกษาจากคู่แข่ง

ภาษิตที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” สำหรับโลกธุรกิจ นอกจากจะหมายถึงการศึกษาวิธีการของคู่แข่ง เพื่อวางแผนหาวิธีรับมือแล้ว อีกนัยหนึ่งยังหมายถึงการศึกษา “กลุ่มลูกค้า” ของคู่แข่งอีกด้วย เพราะธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน ย่อมต้องอาศัยกำลังซื้อจากลูกค้ากลุ่มเดียวกัน ในเบื้องต้น หากคุณยังไม่มีเครื่องมือพิเศษใด ๆ แนะนำให้เริ่มจากวิธีง่าย ๆ เช่น การเข้าไปดู Social Media ทุกช่องทางของแบรนด์คู่แข่ง ว่าคนกลุ่มใดมักกดไลก์ คอมเมนต์ และแชร์โพสต์ หรืออาจลองสืบค้นดูว่า แบรนด์คู่แข่งเคยว่าจ้าง Influencer คนไหนเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าบ้าง เป็นต้น 

2. สำรวจ Social Media Insights

นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลของคู่แข่ง ซึ่งเป็นข้อมูล “นอกบ้าน” แล้ว การเก็บข้อมูล “ในบ้าน” ก็สำคัญเช่นเดียวกัน หากธุรกิจของคุณสร้าง Social Media เป็นของตัวเองมาระยะหนึ่ง และเคยทำคอนเทนต์ลงไปในแต่ละช่องทางแล้ว แนะนำให้ลองดู Insights ของแต่ละช่องทาง เพื่อสำรวจว่า คนกลุ่มใดมีแนวโน้มที่จะสนใจสินค้าและบริการของคุณ

Meta Insights - Audience

ยกตัวอย่างเช่น การดู Insights ของ Facebook และ Instagram ให้เข้าไปที่ Meta Business Suite (ต้อง Login Facebook ก่อน) จากนั้นเลือกเมนู Insights และคลิก Audience ระบบจะสรุปข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มคนที่กดติดตามบัญชีของคุณ โดยแสดงจำนวนมาก-น้อยเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้ให้อย่างชัดเจน

3. ใช้ Google Analytics

สำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง Google Analytics เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่คุณสามารถใช้งาน เพื่อดู Insights ของผู้ที่กดเข้าชมเว็บไซต์ได้ 

Google Analytics - Audience

เริ่มจาก Login บัญชี Google และเข้าไปที่ Google Analytics  เลือกเมนู Audience แล้วคลิก Demographics ระบบจะแสดงข้อมูลประชากรศาสตร์ของ User ทั้งหมดที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ และแสดงจำนวนมาก-น้อยเช่นเดียวกับ Meta Business Suite

4. สร้างแบบสอบถาม

วิธีเรียบง่ายที่คนมักมองข้าม คือ การสร้างแบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า ซึ่งคุณอาจจัดทำชุดแบบสอบถามสั้น ๆ สำหรับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหน้าร้าน หรือจัดทำแบบสอบถามออนไลน์ แนบลงไปในเว็บไซต์ และโพสต์ลง Social Media อย่างไรก็ดี การจะทำให้ลูกค้าเต็มใจทำแบบสอบถามเป็นเรื่องที่ยาก จึงอาจจะต้องพ่วงกิจกรรมที่ดึงดูดใจเล็กน้อย เช่น เชิญชวนให้ตอบแบบสอบถามในเว็บไซต์ลุ้นของที่ระลึก หรือเก็บคะแนนสะสมเพื่อรับส่วนลด เป็นต้น

Buyer Persona

ที่มา: https://amywright.me/what-is-a-buyer-persona/ 

5. ลองทำ Buyer Persona

Buyer Persona คือ การจำลองโปรไฟล์ของลูกค้าสมมติ เหมาะกับธุรกิจที่เคยเก็บข้อมูล Target Audience มาแล้วเบื้องต้น โดยขั้นแรก คุณจะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนว่า กลุ่มลูกค้าของคุณมักจะเป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ แล้วจึงลองจัดทำประวัติของลูกค้าสมมติที่อยู่ในกลุ่มนั้นมาหนึ่งคน โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

  • อายุ, เพศ, สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ
  • ความสนใจและปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน
  • ลักษณะของสินค้าหรือบริการที่สนใจ
  • เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
  • ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้า
  • ฯลฯ

หากคุณสนใจเรื่อง Buyer Persona สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: How to Create a Buyer Persona 

6. ลองทำ A/B Testing ตอนยิงโฆษณาบน Facebook

โดยปกติแล้ว การทำ A/B Testing จะใช้กับการทดลองยิงโฆษณา 2 ชิ้น และเปรียบเทียบว่าโฆษณาชิ้นไหนจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน ซึ่งตัวแปรที่นำมาเปรียบเทียบก็สามารถเลือกได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นงาน ตำแหน่งการจัดวาง หรือแม้แต่กลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น หากคุณมีข้อมูล Target Audience 2 ชุด ที่ต้องการตรวจสอบให้แน่ใจ หรือกำลังทดลองค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดยทยอยตัดตัวเลือกที่ไม่น่าเป็นไปได้ออก การทำ A/B Testing ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีที่ตอบโจทย์ทีเดียว

7. ลงทุนสมัครใช้บริการ Third Party

หากคุณต้องการพัฒนาระบบการค้นหา Target Audience ให้ละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น การสมัครใช้บริการเว็บไซต์ Third Party คือวิธีเดียวที่จะทำให้คุณ “ค้นหาข้อมูลที่ Search เองตามธรรมชาติไม่ได้” ซึ่งจะขอยกตัวอย่าง 2 เว็บไซต์ ดังนี้

AdTargeting

ที่มา: https://adtargeting.io/interest-targeting 

AdTargeting คือ เว็บไซต์สำหรับค้นหา Keyword ที่เหมาะสม เพื่อนำไประบุเป็นกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา เพียงคุณพิมพ์ Keyword ที่ต้องการ ระบบจะแสดง Keyword ที่เกี่ยวข้องมาให้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่า แต่ละ Keyword มียอดการค้นหาเท่าใด ผู้คนที่ค้นหามักเป็นเพศหญิงหรือชาย อายุเท่าไหร่ และคนเหล่านั้นมักสนใจในเรื่องใด 

*สามารถใช้งานฟรีได้ 3 Keyword ต่อวัน 

Mandala AI

ที่มา: https://www.mandalasystem.com/blog/th/82/mandala-analytics-07102020 

Mandala AI หนึ่งใน Third Party ยอดนิยมในวงการนักการตลาด ลักษณะการทำงานของเว็บไซต์คล้ายคลึงกับ AdTargeting แต่ละเอียดกว่า กล่าวคือ เมื่อพิมพ์ Keyword ที่ต้องการลงไปใน Mandala AI ระบบจะแสดงให้เห็นว่า Keyword ดังกล่าวถูกค้นหาในทุก ๆ ช่องทางจำนวนกี่ครั้ง คนที่ค้นหาเป็นเพศชายหรือหญิง อายุเท่าไหร่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ไหน โดยคุณสามารถ Filter ช่วงเวลาได้อย่างละเอียด และสามารถสืบค้นข้อมูลเชิงลึกอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย

*สามารถทดลองใช้ฟรีได้ 15 วัน

สรุป

การทำการตลาดโดยเน้นผลิตโฆษณาออกสู่สายตาของคนหมู่มากอย่างไม่ระบุกลุ่มเป้าหมาย แม้จะเพิ่มโอกาสในการเจอ “ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ” แต่ก็สิ้นเปลืองงบประมาณ และอาจทำให้ธุรกิจขาดดุลได้ ดังนั้น ทุกแบรนด์จึงควรค้นหา Target Audience และบันทึกข้อมูลกลุ่มเป้าหมายตัวจริงเก็บไว้ เพื่อพัฒนาการวางแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มยอดขายได้จริง

อ้างอิง

Marketing Evolution. Steps to Find Your Target Audience

Available from: https://www.marketingevolution.com/marketing-essentials/target-audience 

Hubspot. Target Audience: How to Find Yours [+ 5 Campaign Examples]

Available from: https://blog.hubspot.com/marketing/target-audience

Neil Patel. How to Find Your Target Audience

Available from: https://neilpatel.com/blog/target-audience/

คัมภีร์สร้างความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ฉบับนักธุรกิจใหม่
Business
คัมภีร์สร้างความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ฉบับนักธุรกิจใหม่

การสร้างความน่าเชื่อถือสำคัญอย่างยิ่งกับธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เพิ่งเปิดใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีคนทำการตลาดออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก และลูกค้าเองไม่สามารถตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของผู้ขายได้ หากไม่ทำให้เชื่อใจ พวกเขาก็จะไปซื้อสินค้ากับธุรกิจคู่แข่ง หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจเปิดใหม่ ที่กำลังหาแนวทางการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ศึกษาได้จากคอนเทนต์นี้   Content Summary…

4 สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนทำคอนเทนต์ดูดวง เอาใจสายมู
Marketing | News
4 สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนทำคอนเทนต์ดูดวง เอาใจสายมู

กระแสบน Social Media เกี่ยวกับการดูดวง หมอดู และสายมู แสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ดูดวง ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยได้มากขนาดไหน จึงไม่แปลกที่หลาย ๆ แบรนด์จะมักจะทำ Seasonal…

คอนเทนต์แบบไหนที่คุณควรทำบนเพจธุรกิจแฟชั่น
Marketing | News
แชร์ 4 รูปแบบคอนเทนต์ ที่คนทำธุรกิจแฟชั่นต้องรู้

สำหรับคนทำธุรกิจแฟชั่น ไม่มีอะไรจะยากไปกว่าการนำเสนอคอนเทนต์ตามเทรนด์ฮิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการต่อสู้กับสงครามราคา ที่มีผู้เข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นมากมายจนนับไม่ถ้วน หากคุณเองก็เป็นเจ้าของธุรกิจเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับแฟชั่น ลองมาดูกันว่า ควรทำคอนเทนต์แบบไหน จึงจะซื้อใจผู้บริโภคได้   Content…