ผลการสำรวจของ GS Statcounter ระบุว่า ในปี 2022 “Google ถือครอง Marketshare ของ Search Engine ไว้มากถึง 91.9%” และยังเป็นเว็บไซต์ที่มียอดการเข้าชมสูงถึงเดือนละ 89.3 พันล้านครั้งอีกด้วย (Source: Similarweb) นั่นแสดงให้เห็นว่า Google คือช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่มียอดการเข้าถึงสูงขนาดไหน ด้วยเหตุนี้ Google Ads จึงกลายเป็น 1 ในช่องทางการยิงโฆษณายอดนิยม หากคุณเองก็กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งนี้ เราขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการเข้าใจเรื่อง Target Audience ใน Google Ads กันก่อน
รู้จักกับ Google Ads ช่องทางโฆษณายอดนิยม
ที่มา: https://dieneudenker.de/en/blog/more-website-traffic-with-google-ads
Google Ads คือ การยิงโฆษณาผ่านเครือข่ายของ Google เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาใน Search Engine ทั้งนี้ โฆษณา Google Ads ไม่ได้มีเพียงการโฆษณาบนหน้า Search อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโฆษณาใน Youtube โฆษณาที่เป็นแบนเนอร์แฝงตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เรียกว่า Google Display Network และโฆษณาในส่วนของ Google Shopping Ads อีกด้วย
Target Audience ใน Google Ads มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
เมื่อเข้าสู่หน้าการสร้างแคมเปญโฆษณา ระบบจะให้คุณระบุกลุ่มเป้าหมายผ่านการตั้งค่า 6 หมวดหมู่ ดังนี้
1. Affinity Segments
ที่มา: https://searchengineland.com/affinity-audiences
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจ กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ หรือไลฟ์สไตล์ เช่น ผู้ที่มีนิสัยรักสัตว์ ผู้ที่ชอบปลูกต้นไม้ หรือผู้ที่ชอบชีวิตในยามค่ำคืน ฯลฯ ซึ่งเหมาะแก่การตั้งค่าโดยมี Buyer Pasona อยู่ในมือ เพื่อลองสมมติให้เห็นภาพว่า ลูกค้าของคุณจะเป็นคนที่ชอบหรือไม่ชอบอะไร
2. Custom Segments
ที่มา: https://www.wordstream.com/blog/ws/2022/10/18/google-ads-custom-segments
การ Filter หาลูกค้าในอุดมคติผ่านการป้อน Keyword ที่คิดว่าคนเหล่านั้นจะค้นหา รวมถึงชื่อเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ที่คนเหล่านั้นเคยใช้งาน เพื่อให้โฆษณาของคุณเข้าถึงคนได้เฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้น
3. Detailed Demographics
ที่มา: https://www.adaptworldwide.com/insights/2019/google-detailed-demographics
การค้นหากลุ่มเป้าหมายจากข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพการสมรส สถานะความเป็นผู้ปกครอง อาชีพ ระดับรายได้ ฯลฯ โดยแนะนำให้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของสินค้าที่มีต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมายและกำลังซื้อเป็นหลัก
4. Life Events
ที่มา: https://www.aronsonads.com/blog/life-events-targeting-google-adwords/
การระบุกลุ่มเป้าหมายโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นกับชีวิตของคน ๆ นั้น เช่น เพิ่งแต่งงาน เรียนจบ ย้ายบ้านใหม่ ออกจากงาน เป็นต้น
5. In-market
ที่มา: https://www.storegrowers.com/in-market-audiences/
การค้นหากลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มว่ากำลังวางแผนจะซื้ออะไรบางอย่าง โดย Google Ads จะคัดกรองจากคนที่ Search หาข้อมูลเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เพื่อตัดสินว่าคน ๆ นั้นมีโอกาสจะตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทไหน
6. Your Data Segments
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยเลือกกลุ่มคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับช่องทางต่าง ๆ ของคุณ แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ๆ ดังนี้
- Website and App Visitor: เลือกกลุ่มเป้าหมายที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ
- Customer Match: เลือกกลุ่มเป้าหมายจากฐานข้อมูลใน CRM
- Similar Segments: เลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจแบบเดียวกับผู้ที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ หรือลูกค้าปัจจุบัน
สรุป
การรู้จักกับ Target Audience ใน Google Ads ทำให้คุณเห็นว่า Google ให้ความสำคัญกับเรื่องกลุ่มเป้าหมายมากแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาร์ทที่เกี่ยวกับความสนใจ (Interest) ที่ Google เน้นเป็นพิเศษ และอนุญาตให้ผู้ใช้งานตั้งค่าได้ตั้งแต่ความสนใจปกติธรรมดา ไปจนถึงความสนใจในสินค้าประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการสร้างยอดขายได้โดยตรง ดังนั้น หากธุรกิจของคุณมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง Google Ads ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางโฆษณาที่ทำเงินได้ดีที่สุดช่องทางหนึ่งเลยทีเดียว
อ้างอิง
Google Ads Help. About Audience Targeting
Available from: https://support.google.com/google-ads/answer/
WordStream. Google Ads Audience Targeting: 15 Powerful & Underused Strategies
Available from: https://www.wordstream.com/blog/ws/2022/09/21/google-ads-audience-targeting-cheat-sheet