10 Content Checklist ที่ต้องทำ ถ้าอยากให้แคมเปญปังในปี 2024

อยากทำคอนเทนต์ให้ปัง เพิ่มยอดขายแบบถล่มทลายรับปี 2024 ไหม? ลองมาทำ Health Check ให้กับคอนเทนต์ของคุณกันหน่อย! ผ่าน 10 Content Checklist ที่ Digital Tips รวบรวมมาให้ เตรียมกระดาษปากกาให้พร้อม แล้วมาดูกันว่า คอนเทนต์ของคุณมีจุดเด่นด้านไหน และจำเป็นต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

1. คุณกำหนดเป้าหมายของคอนเทนต์ชัดเจนหรือยัง?

Content Objective

ที่มา: https://www.weboundmarketing.com/your-sales-funnel-content/ 

ข้อแรกของการทำ Content Checklist คือการเช็กเป้าหมายของการทำคอนเทนต์ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการใช้คำ สี รูปภาพ และ Mood&Tone โดยรวมของคอนเทนต์คุณ ดังนั้น ลองตรวจสอบให้มั่นใจว่า ทุก ๆ คอนเทนต์ที่เพิ่งจะโพสต์ลงไป หรือมีแผนจะโพสต์ในปี 2024 นั้น มีเป้าหมายที่วางไว้ชัดเจนหรือยัง เช่น ทำเพื่อเพิ่ม Engagement (ยอดไลก์, คอมเมนต์, แชร์) หรือทำเพื่อเพิ่มจำนวน Lead เป็นต้น

2. เคย Research ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายจริงจังหรือไม่?

ข้อนี้เป็น Content Checklist ที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจที่ทั้งโพสต์คอนเทนต์และยิงแอดควบคู่กันไป ลองพิจารณาดูว่า ก่อนที่จะตั้งค่า Target Audience คุณเคยทำ Research เพื่อสืบหากลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจังหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การโพสต์แบบสอบถามลงใน Facebook Group, การว่าจ้างเอเจนซี่ที่ทำ Social Listening หรือการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน เป็นต้น หากที่ผ่านมาคุณยังไม่เคยเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง แนะนำให้เริ่มต้นทำในปี 2024 นี้

3. เคยทำ Keyword Research หรือไม่?

Keyword Research 

ที่มา: https://www.wordstream.com/articles/keyword-research-for-seo-copywriting 

คุณทราบหรือไม่? แม้คอนเทนต์ที่ทำจะไม่ใช่บทความ SEO คุณก็สามารถนำหลักการของ Keyword Research มาใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากหลาย ๆ ครั้ง โพสต์ที่อยู่บน Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ TikTok ก็แสดงผลบนหน้า Google Search เช่นเดียวกับหน้าเว็บไซต์ปกติ ดังนั้น หากคุณทำ Keyword Research และนำ Keyword เหล่านั้นมาใช้กับคอนเทนต์บน Social Media ด้วย ก็จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงมากขึ้น

4. คุณให้ความสำคัญกับภาพรวมของ Visual Element มากน้อยแค่ไหน?

Visual Element 

ที่มา: https://www.occreates.com/guide-to-visual-elements-a-series/ 

Visual Element คือสิ่งที่นักสร้างสรรค์หลาย ๆ คนมักหลงลืม เราจึงต้องนำข้อนี้มาไว้ใน Content Checklist ฃของคุณด้วย ดังนั้น แนะนำให้ลองกลับไปเช็กว่า ที่ผ่านมา Mood&Tone ของการใช้สี ฟอนต์ การจัดวาง และรสนิยมที่สะท้อนผ่านงานของคุณเป็นอย่างไร สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้มากแค่ไหน และที่สำคัญ ภาพรวมของงานทั้งหมดดูเป็นเอกภาพหรือไม่ หากภาพรวมดูไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (เลือกสี เลือกฟอนต์ตามใจแบบไม่มี CI ครอบ) ก็ยากที่คนจะจดจำอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้

>> อ่านเพิ่มเติม: รู้จักกับ Corporate Identity (CI) ตัวช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

5. ทุก ๆ คอนเทนต์ของคุณโดดเด่นกว่าคู่แข่งอย่างไร?

ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์รูปแบบใด สำหรับลงบนแพลตฟอร์มใดก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงมากที่รูปแบบและเนื้อหาจะซ้ำกับคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ ดังนั้น แนะนำให้ลองพิจารณาดูว่า ที่ผ่านมาความโดดเด่นของแบรนด์คุณคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายจะสามารถจดจำคุณได้จากอะไร

6. คุณเคยทดลองแปลคอนเทนต์เป็นภาษาอื่นบ้างหรือยัง?

ลองตรวจสอบดูว่า ธุรกิจของคุณมีลูกค้าต่างชาติบ้างหรือไม่ หากพอมีอยู่บ้างประปราย คุณอาจเพิ่มจำนวนพวกเขาให้มากขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ด้วยการทำคอนเทนต์มากกว่า 1 ภาษา โดยในระยะแรก ๆ อาจเลือกเฉพาะบางคอนเทนต์มาแปล เพื่อลองวัดผลว่า สามารถใช้เนื้อหาคอนเทนต์เดียวกันได้หรือไม่ หรือหากต้องทำเนื้อหาใหม่ที่แตกต่างออกไป จะคุ้มทุนหรือไม่ อย่างไร

7. บนหน้าฟีดของคุณ มี User-generated Content บ้างไหม?

User-generated Content ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่สมควรอยู่ใน Content Checklist ของคุณ เพราะถ้าบนฟีดมี User-generated Content คั่นระหว่างคอนเทนต์ที่แบรนด์ทำเองบ้าง ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้าอีกด้วย

8. คุณเคยลองทำ Content Repurposing หรือยัง?

ตัวอย่าง Content Repurposing 

ที่มา: https://www.searchenginejournal.com/repurposing-content/483605/ 

คุณไม่จำเป็นต้องคิดหัวข้อคอนเทนต์ใหม่ตลอดเวลา เพราะสำหรับงานบางชิ้น หากถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็สามารถนำมา Repost ซ้ำได้ หรือถ้าหากคุณต้องการความสดใหม่ อาจปรับแก้ Artwork ให้สวยงามสะดุดตาขึ้นกว่าเดิม นอกจากจะประหยัดเวลาคิดคอนเทนต์แล้ว ยังเป็นการ Refresh งานใหม่ ให้สามารถเรียก Engagement ได้อีกครั้ง

>> อ่านเพิ่มเติม: รู้จัก Content Repurposing เรื่องเก่าเล่าใหม่ เพิ่มพลังให้เพจอีกครั้ง 

9. คุณมีวิธีวัด Performance ของคอนเทนต์อย่างไร?

หาข้อสรุปให้ได้ว่าที่ผ่านมาคุณมีวิธีวัดผลคอนเทนต์อย่างไร หากอาศัยเพียงการดูยอดไลก์ ยอดแชร์ ลองเปลี่ยนเป็นการดู Insights หรือข้อมูลเชิงลึกในแต่ละโพสต์ เพื่อดูให้ลึกขึ้นว่า แต่ละคนโพสต์มีคนเข้าถึง (Reach) มากแค่ไหน และเมื่อพวกเขาเข้ามาดูแล้ว มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ตัดสินใจ Engage กับโพสต์ของคุณ (Engagement Rate)

10. คุณเคยคำนวณ ROI และ ROAS อย่างจริงจังหรือไม่?

Content Checklist ข้อสุดท้าย คือการดูว่าคุณเคยคำนวณต้นทุนและรายได้อย่างจริงจังหรือไม่ ซึ่ง Metrics ที่จะช่วยคุณได้ คือ ROI (Return of Investment) และ ROAS (Return on ads spending) หากที่ผ่านมาคุณไม่เคยคำนวณลึกไปจนจุดนี้ เริ่มต้นใหม่อีกครั้งในปี 2024

สรุป

และทั้งหมดนี้ คือ 10 Content Checklist ที่ Digital Tips รวบรวมมาเพื่อทุก ๆ ธุรกิจ เพราะการฝึกทำ Audit จะทำให้คุณรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง และก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ ในแง่ของการทำธุรกิจ การ Audit ยังถือเป็นการกอบกู้วิกฤตงบประมาณ ที่อาจรั่วไหลไปโดยใช่เหตุจากกระบวนการที่ไม่สมบูรณ์อีกด้วย

อ้างอิง

Socialmediatoday. Content Marketing Checklist for 2024: 24 Steps to Online Success [Infographic]

Available from: https://www.socialmediatoday.com/news/content-marketing-checklist-2024-24-steps-online-success/702762/ 

Checklist for managers. Content Creation Checklist

Available from: https://www.checklistsformanagers.com/checklist/content-creation-checklist 

 

ของมือสองเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กับกระแส YONO เพราะราคาถูกและยังอยู่ในสภาพดี
Money Tips
รู้จัก YONO (You Only Need One) เมื่อความฟุ่มเฟือยไม่ใช่เทรนด์ในหมู่วัยรุ่นอีกต่อไป!

เมื่อสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้เราอู้ฟู่ งั้นก็ควรหันมาประหยัดกันได้แล้ว! รู้จักกับเทรนด์ YONO (You Only Need One) จากวัยรุ่นเกาหลีใต้ ชวนทุกคนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต เมื่อพูดถึงมุมมองในการใช้ชีวิต วัยรุ่นหลายคนคงเลือกทำทุกวันให้เหมือนกับวันสุดท้าย…

แอป Duolingo เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาที่เรียนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน
Marketing Psychology
หลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในแอป “Duolingo” ทำอย่างไรให้คนเสพติดการเรียนภาษา

ถ้าพูดถึงแอปเรียนภาษายอดฮิตก็ต้องนึกถึงแอป Duolingo ที่ไม่ได้มีดีแค่ความปากจัดของนกฮูกเขียว แต่มีหลักจิตวิทยาแอบซ่อนเอาไว้ ที่ทำให้ผู้เรียนทุกคนเสพติดการเรียนแบบไม่รู้ตัว! ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยเห็นมีมของ “นกฮูกเขียว” ผ่านตากันมาบ้าง ทั้งประโยคชวนเจ็บจี๊ดและแสนจิกกัด หรือหน้าตาแอปพลิเคชันตลก ๆ ที่คนแชร์กันเต็มโซเชียล…

วิธีการจัดการคิวของลูกค้าตามหลัก Psychology of Waiting
Marketing Psychology
Psychology of Waiting ทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ต่อคิว ไม่รู้สึกว่ารอนานจนอยากเลิกซื้อ!

หลายแบรนด์เสียโอกาสทางการค้า เพราะลูกค้าเห็นความยาวของแถวต่อคิวแล้วรู้สึกท้อ ขอเลือกซื้อของเจ้าอื่นแทนดีกว่า มาใช้หลักการ Psychology of Waiting ในการจัดการแถวคิวกันเถอะ! เวลาเห็นร้านไหนมีคนต่อแถวยาว เรามักจะมองว่าร้านนั้นต้องขายดีมากแน่ ๆ แต่หลายครั้งก็อาจเห็นผู้คนบ่นลงโซเชียลมีเดียบ่อย…