ตอบข้อสงสัย ภาพมีมมีลิขสิทธิ์ไหม เอาไปใช้ทำคอนเทนต์ได้หรือไม่?

เมื่อใดก็ตามที่นึกอยากทำ Realtime Content มีม (Meme) มักจะเป็นไอเดียแรก ๆ ที่คนทำการตลาดเลือกใช้ เพราะเสพง่าย ได้อารมณ์ขัน ทันกระแส และเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับลูกค้าได้ดี อย่างไรก็ตาม ขอบเขตในการใช้ภาพมีมทำคอนเทนต์ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น “ภาพมีมมีลิขสิทธิ์ไหม?”, “ภาพมีมแต่ละภาพจะถือได้ว่าใครเป็นเจ้าของ?” หรือแม้แต่คำถามที่สวนทางกับการกระทำว่า “เราสามารถใช้ภาพมีมทำคอนเทนต์ได้ไหม?” หากคุณเองก็สงสัยประเด็นเหล่านี้ มาหาคำตอบไปด้วยกันกับ Digital Tips

ภาพมีม (Meme) คืออะไร?

ภาพมีม คืออะไร

ที่มา: https://www.socialpilot.co/social-media-terms/social-media-meme 

ข้อมูลจากพจนานุกรม Merriam Webster ระบุว่า ภาพมีม (Meme) คือ รูปภาพหรือวิดีโอที่น่าสนใจ ซึ่งเผยแพร่อย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ หรืออีกนัยหนึ่ง ภาพมีม อาจหมายถึงความคิด พฤติกรรม หรือรูปแบบบางอย่างที่แพร่กระจายจากคนสู่คนก็ได้ ผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของคำ ๆ นี้ สันนิษฐานกันว่าเป็น Richard Dawkins นักชีววิทยาชาวอังกฤษ โดยเขากล่าวถึงคำว่ามีมครั้งแรกในหนังสือ The Selfish Gene (1976) และให้คำจำกัดความว่า “หน่วยของการถ่ายทอดวัฒนธรรม” เพื่อเปรียบเทียบมีมกับยีน เพราะนอกจากจะออกเสียงคล้ายกันแล้ว ทั้งสองสิ่งยังสามารถแพร่กระจายและเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไปได้เช่นเดียวกัน

>> อ่านเพิ่มเติม: ส่อง 7 มีมฮิตปี 2023 ตัวช่วยคิด Content Marketing ให้สนุกยิ่งขึ้น!

ภาพมีมมีประโยชน์อย่างไร?

แม้ภาพมีมจะเน้นความตลกขบขัน แต่ประโยชน์ที่แท้จริงของมันมีมากกว่านั้น ซึ่งเราสามารถสรุปประโยชน์ของภาพมีมแบบคร่าว ๆ ได้ดังนี้

ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น

การทำคอนเทนต์โดยใช้ภาพมีม คือการเปิดประตูสู่โลกของคนรุ่นใหม่ โดยมีการสร้างอารมณ์ขันเป็นใบเบิกทาง ด้วยเหตุนี้ ภาพมีมจึงกลายเป็นสไตล์การทำคอนเทนต์ที่ขาดไม่ได้ในหมู่ธุรกิจออนไลน์ ซึ่งมักจะเน้นกลุ่มลูกค้าเป็นคนรุ่นใหม่

ประหยัดเวลาในการออกแบบกราฟิก

หากคุณเข้าใจความหมายของภาพมีม และรู้ว่าหัวใจสำคัญของภาพนั้น ๆ อยู่ตรงไหน แทนที่จะออกแบบกราฟิกอย่างอลังการข้ามวันข้ามคืน สิ่งที่คุณต้องทำอาจเหลือเพียงแค่การเปลี่ยนประโยคบางประโยค หรือคำบางคำในภาพมีม เพื่อเล่นมุกให้เข้ากับธุรกิจของคุณ และเชื่อไหม…Engagement อาจจะมากกว่างานที่ทุ่มออกแบบกราฟิกให้มีหลาย ๆ องค์ประกอบก็เป็นได้!

สร้างความผูกพันระหว่างลูกค้ากับแบรนด์

ระหว่างผู้ใหญ่ที่เคารพกับเพื่อนรัก คุณมักจะเล่าเรื่องตลกให้ใครฟัง? การนำภาพมีมมาทำคอนเทนต์ก็เช่นกัน หากแบรนด์ลองทำเช่นนี้ดูบ้าง จะช่วยลดช่องว่างระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพราะลูกค้าที่รู้สึกตลกกับภาพมีม ก็จะเริ่มรู้สึกว่าแบรนด์คือ “เพื่อนซี้” ที่แชร์เรื่องสนุก ๆ ระหว่างกัน

ภาพมีมมีลิขสิทธิ์หรือไม่?

แน่นอนว่าปัจจุบัน คำตอบของคำถามนี้ยังเป็นที่ถกเถียงและยังมีความคลุมเครือค่อนข้างมาก เนื่องจากแต่ละประเทศย่อมตีความคำว่าลิขสิทธิ์แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี เราขอสรุปข้อมูลที่เราค้นพบ ดังนี้

ลิขสิทธิ์ภาพมีม

ที่มา: https://makeameme.org/meme/what-is-happening-5c6d40 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bytes Care Blogs (นิวคาสเซิล, สหรัฐอเมริกา) ซึ่งให้บริการเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางดิจิทัล ระบุว่า หากมีมสร้างจากรูปภาพหรือวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ และผู้สร้างมีมเองก็ยังไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็อาจสรุปได้ว่า ผู้สร้างมีมกำลังละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงานอยู่ อย่างไรก็ดี มีอีกอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณา นั่นคือ “การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ (Fair Use)” เช่น การวิจารณ์ การล้อเลียน การเสิร์ชหาข้อมูลผ่าน Search Engine การรายงานข่าว การวิจัย หรือการเก็บข้อมูล ซึ่งต้องพิจารณากันต่อไปว่า ภาพมีมนั้น ๆ เข้าข่าย Fair Use หรือไม่ โดยวัดจากสัดส่วนการใช้งาน การแสวงหารายได้ และความกระทบกระเทือนกับเจ้าของลิขสิทธิ์ 

Fair Use

ที่มา: https://www.harrisonpensa.com/fair-dealing-allows-use-of-copyrighted-work/ 

เช่นเดียวกับกฎหมายในประเทศไทย ที่ยังค่อนข้างคลุมเครือเมื่อต้องนำมาใช้ตัดสินเรื่องภาพมีม โดยข้อมูลจากบทความวิชาการ “ปัญหาการให้ความคุ้มครองมีมตามกฎหมายลิขสิทธิ์” โดยคุณจุฑามาศ นามไพร ระบุว่า บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ที่เพียงพอ กล่าวคือ หากพิจารณาว่า “ภาพมีมคืองานที่มีลิขสิทธิ์” ก็ต้องแบ่งภาพมีมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาพมีมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ และภาพมีมที่ดัดแปลงจากผลงานของคนอื่น และก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า งานนั้น ๆ สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ และภาพที่นำมาดัดแปลงมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์มากน้อยเพียงใด

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภาพมีมอาจมีหรือไม่มีลิขสิทธิ์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น รูปแบบการนำมาใช้งาน การคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผลงาน ฯลฯ เป็นต้น

เราควรจะเอาภาพมีมไปใช้ทำคอนเทนต์หรือไม่ หรือควรหลีกเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์อย่างไร?

จะเห็นได้ว่า ภาพมีมที่เข้าข่ายมีปัญหา คือภาพมีมที่ดัดแปลงมาจากรูปภาพหรือวิดีโอของคนอื่น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือการสร้างภาพมีมขึ้นมาใหม่ คุณอาจค้นหาแรงบันดาลใจจากมุกตลกที่คนเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่เมื่อถึงขั้นตอนการสร้าง แทนที่จะนำภาพของคนอื่นมาใช้เลยทันที ก็เปลี่ยนเป็นภาพที่ทีมถ่ายทำเอง หรือดราฟต์ขึ้นมาเองแทน เพื่อป้องกันปัญหากรณีดัดแปลงผลงานเพื่อแสวงหารายได้ ซึ่งอาจไม่เข้าข่าย Fair Use (ในประเทศไทยก็มีบทบัญญัติเรื่อง Fair Use เช่นกัน)

สรุป

โดยสรุปแล้ว คุณสามารถทำคอนเทนต์โดยใช้ภาพมีมได้ แต่แนะนำให้ใช้ Material ของตัวเองในการสร้างสรรค์ภาพมีม เช่น แทนที่จะแคปภาพมาจากภาพยนตร์หรือการ์ตูนตรง ๆ ก็อาจถ่ายภาพใหม่ หรือใช้ภาพจาก Stock ที่ซื้อมาแบบถูกลิขสิทธิ์แทน

อ้างอิง

Bytes Care Blogs. Are Memes Copyright Infringement?

Available from: https://bytescare.com/blog/are-memes-copyright-infringement 

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. “ปัญหาการให้ความคุ้มครองมีมตามกฎหมายลิขสิทธิ์” โดยคุณจุฑามาศ นามไพร

Available from: http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6312012006/166374678832378f2b85dfe38f057054f50e66c16d_abstract.pdf 

Merriam Webster. Meme

Available from: https://www.merriam-webster.com/dictionary/meme 

AI Affiliate
AI Marketing
แจกเทคนิคทำ AI Affiliate เข้าถึงลูกค้า ประหยัดเวลา เซฟแรง

สำหรับคนทำ Affiliate Marketing ไม่มีอะไรจะยากไปกว่าการหาวิธีปิดการขาย หรือการสร้างเนื้อหา ข้อความโฆษณา รูปภาพ เพื่อดึงดูดให้คนยอมซื้อสินค้าผ่าน Affiliate ของตัวเอง อย่างไรก็ดี หากคุณเองก็เป็นนักการตลาดที่กำลังกังวลในเรื่องนี้…

Mobile Marketing
Marketing
บอกต่อ 5 เทคนิคทำ Mobile Marketing เพิ่มยอดขาย ได้ใจลูกค้า

ในยุคสมัยที่ใครๆ ต่างก็พกสมาร์ทโฟน บางคนมีสมาร์ทวอช และบางคนก็พกแท็บเลตติดตัวตลอดเวลา การทำ Mobile Marketing ถือได้ว่าตอบโจทย์และทรงประสิทธิภาพ เพราะเข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งาน และทำให้โอกาสในการปิดการขายเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่กำลังสนใจกลยุทธ์การตลาดดี ๆ…

Bilibili
Marketing
Bilibili คืออะไร – รู้จักแพลตฟอร์มสัญชาติจีน ม้ามืดแห่งวงการสตรีมมิ่ง

หลายคนอาจทราบดีอยู่แล้วว่า จีนคือประเทศนักพัฒนาที่ชอบคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาใช้เอง ไม่ว่าจะเป็น Weibo ที่เรารู้จักกันดี หรือ Douyin แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นเวอร์ชันจีน และในบทความนี้ เราจะมาคุณไปรู้จักกับ Bilibili อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่คนจีนคิดค้น…