Aggressive Marketing

แต่ละธุรกิจย่อมมีวิธีการหาลูกค้าที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้วิธียิงโฆษณาแบบ Lead Generation ติดโปสเตอร์ ทำคลิป หรือติดต่อผ่าน Connection ที่รู้จักกัน แต่สิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนควรรู้ไว้ คือเทคนิคการหาลูกค้าในสมัยนี้จะเน้น ‘เชิงรุก’ มากกว่า ‘เชิงรับ’ และหนึ่งในเทคนิคเหล่านั้น ก็คือการใช้กลยุทธ์แบบ Aggressive Marketing หรือการตลาดเชิงรุกนั่นเอง รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ

>> อ่านเพิ่มเติม: 5 วิธีหาลูกค้าจาก Facebook ที่ทุกธุรกิจควรรู้ (อัปเดต 2024)

Aggressive Marketing คืออะไร

Cold Call Aggressive Marketing

ที่มา: https://2bcompany.com.br/diferencas-entre-telemarketing-e-inside-sales/

Aggressive Marketing หรือ การตลาดเชิงรุก คือ การทำการตลาดแบบเน้นสื่อสารอย่างตรงไปตรงมากับผู้บริโภค เข้าหาผู้บริโภคก่อน เพื่อดึงดูดให้พวกเขาสนใจในตัวแบรนด์ ด้วยการมอบข้อเสนอที่ทรงพลัง กลยุทธ์การตลาดประเภทนี้ เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการเพิ่มยอดขายภายในระยะเวลาอันสั้น หรือแบรนด์ที่อยู่ภายใต้ตลาดที่ต้องแข่งขันกันสูง

Aggressive Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘การตลาดเชิงรุก’ อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก แต่อันที่จริงแล้วนี่คือเทคนิคที่ใช้กันมาช้านาน และถือเป็นวิธีการแรก ๆ ที่นักขายจะนึกถึง อาทิ การยืนแจกใบปลิวตามบูธ การเสนอขายเครื่องกรองน้ำตามบ้าน หรือแม้แต่การโทรศัพท์เสนอขายโปรโมชันต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดี เราสามารถจัดกลุ่มการตลาดเชิงรุกออกได้กว้าง ๆ 4 กลุ่มดังนี้

1. การเสนอขายทางโทรศัพท์

การเสนอขายสินค้า/บริการทางโทรศัพท์ หรือที่ในวงการเซลส์รู้จักกันดีในนาม Cold Call มักใช้กับการทำธุรกิจแบบ B2B เพราะเบอร์ที่ต้องติดต่อเสนอขายมักเป็นเบอร์กลางขององค์กรต่าง ๆ

2. Email Marketing

การทำ Aggressive Marketing ที่ง่ายที่สุดก็คือการส่งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า/บริการ โปรโมชัน และงานอีเวนต์สำคัญต่าง ๆ ไปหาลูกค้าเป้าหมายผ่านอีเมล ซึ่งมักจะพบในธุรกิจแบบ B2B เช่นกัน

3. การเข้าหาลูกค้าแบบตัวต่อตัวผ่านตัวแทนขาย

วิธีนี้หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดี เช่น การที่เซลส์ยืนแจกใบผลิวในห้างสรรพสินค้า การออกร้าน หรือการให้คำแนะนำตามบูธต่าง ๆ ข้อดีคือสามารถพูดคุยกับลูกค้าแบบเห็นหน้าได้ แต่ข้อเสียก็คือเสี่ยงต่อการเกิดความรู้สึกในแง่ลบ

4. การทำ Aggressive Marketing บนออนไลน์

คุณสามารถทำการตลาดเชิงรุกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ เพียงยิงโฆษณาโดยตั้งค่ากลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับความต้องการ

Aggressive Marketing มีข้อดี – ข้อเสีย อย่างไร

Aggressive Marketing Benefits

ที่มา: https://www.marketexpress.in/2022/11/aggressive-vs-discrete-marketing-best-for-generation-z.html

ข้อดี

  • เพิ่ม Brand Awareness: การใช้ Aggressive Marketing ช่วยให้แบรนด์มีการปรากฏตัวที่แข็งแกร่งในตลาด ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงแบรนด์และผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้น
  • เร่งกระบวนการตัดสินใจซื้อ: กลยุทธ์นี้มักมีการนำเสนอข้อเสนอพิเศษหรือแคมเปญที่ดึงดูดใจซึ่งทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น
  • ขยายส่วนแบ่งตลาด: Aggressive Marketing ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ และขยายฐานลูกค้าได้เร็วกว่าวิธีการปกติ
  • เพิ่มยอดขายระยะสั้น: ด้วยการส่งเสริมการขายที่ทรงพลังและการเสนอข้อเสนอพิเศษ ยอดขายมักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ
  • สร้างเอกลักษณ์แบรนด์ที่เด่นชัด: การใช้กลยุทธ์ที่ชัดเจนและตรงไปตรงมาช่วยให้แบรนด์สร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและจดจำได้ง่ายในตลาด

ข้อเสีย

  • อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์แบรนด์ในระยะยาว: หากใช้ Aggressive Marketing บ่อยเกินไป อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าถูกครอบงำและไม่พึงพอใจ ซึ่งสามารถทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์ในระยะยาว
  • ความรู้สึกลบจากลูกค้า: การโฆษณาที่หนักหน่วงหรือข้อความที่ดูบีบบังคับอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกถูกทำร้ายจากการขายหนัก ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การตอบสนองที่เป็นลบจากลูกค้า
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเผชิญคดีกฎหมาย: การตลาดแบบ Aggressive Marketing โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับการอ้างอิงคู่แข่ง อาจนำไปสู่การดำเนินคดีทางกฎหมายจากคู่แข่งหรือผู้บริโภค

Aggressive Marketing เหมาะกับลูกค้าแบบไหน

แน่นอนว่า Aggressive Marketing คือกลยุทธ์ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น จึงไม่ได้เหมาะกับลูกค้าทุกกลุ่ม และนี่คือตัวอย่างของกลุ่มลูกค้าที่เรามองว่า สามารถเข้าถึงด้วยกลยุทธ์การตลาดเช่นนี้ได้

  • ลูกค้าที่มีความต้องการเร่งด่วน: ลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการในเวลาอันรวดเร็ว เช่น สินค้าที่เกี่ยวกับฤดูกาลหรือต้องการสินค้าที่ตอบโจทย์ปัญหาทันที
  • ลูกค้าที่ชอบแสวงหาข้อเสนอดี ๆ: ลูกค้าที่ต้องการข้อเสนอพิเศษ ส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่ดึงดูด เพราะ Aggressive Marketing มักใช้วิธีการลดราคาหรือข้อเสนอพิเศษเพื่อดึงดูดลูกค้า
  • ลูกค้าในตลาดที่มีการแข่งขันสูง: ในตลาดที่มีแบรนด์หลายรายแข่งขันกัน การใช้ Aggressive Marketing อาจช่วยให้แบรนด์สามารถโดดเด่นและเข้าถึงลูกค้าได้ก่อนคู่แข่ง
  • ลูกค้าที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นทางอารมณ์: ลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจซื้อโดยอิงตามอารมณ์หรือแรงกระตุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นลูกค้าที่ตอบสนองต่อการตลาดเชิงรุกได้ดี

แชร์ 4 เทคนิคการใช้ Aggressive Marketing เพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายให้ได้ผล!

อ่านมาจนถึงตรงนี้ หากผู้ประกอบการท่านใดพิจารณาแล้วว่า สินค้า/บริการของท่านเหมาะแก่การหาลูกค้าด้วย Aggressive Marketing หรือการตลาดเชิงรุก ลองทำตาม 4 เทคนิคเหล่านี้

Aggressive Marketing Tactics

ที่มา: https://fastercapital.com/content/Ultimate-FAQ-Direct-marketing-strategy–What–How–Why–When.html

1. สร้างความสัมพันธ์กับเหล่า Influencer ให้มาก ๆ เข้าไว้

ลอง Research ดูว่า กลุ่มเป้าหมายของคุณมักเสพสื่อจาก Influencer กลุ่มใด แล้วพยายามเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ หรือหาโอกาสร่วมงานกับพวกเขาเหล่านั้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายจดจำแบรนด์ของคุณได้ และเปิดรับคุณ เมื่อกระบวนการเสนอขายเชิงรุกเริ่มต้นขึ้น

2. จุดความรู้สึกเร่งด่วนให้เกิดขึ้นในใจลูกค้า

แคมเปญการตลาดจำนวนมากมีองค์ประกอบของความกลัว ตัวอย่างเช่น โฆษณาอาจสื่อเป็นนัยว่าคุณจะไม่น่าดึงดูดเท่ากับนางแบบ เว้นแต่คุณจะซื้อโคโลญจน์ที่นางแบบใช้ นอกจากนี้ โฆษณายังอาจเตือนด้วยว่าบ้านของคุณจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย เนื่องจากมีการโจรกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งนี่ก็คือเทคนิคที่ใช้เข้าหาลูกค้าแบบเชิงรุกนั่นเอง

3. พยายามเน้นย้ำเรื่องความรู้สึกมากกว่าเหตุผล

ลูกค้ามักตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อจากความรู้สึก ดังนั้น แทนที่จะมุ่งอธิบายเพียงว่าสินค้า/บริการของคุณมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร แนะนำให้พยายามพุ่งเป้าไปที่เรื่องของอารมณ์เป็นหลัก เช่น การเสนอขายเครื่องซักผ้าที่มีพลังซักดีเยี่ยม ทำให้แม่บ้านเหลือเวลาว่างสำหรับครอบครัวมากขึ้น เป็นต้น

4. สร้างความแตกต่างระหว่างคุณกับคู่แข่งให้ชัดเจน

ลองทำ Competitor Analysis ดูว่า แบรนด์ของคุณและคู่แข่งมีข้อแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง และมีคุณสมบัติใดที่แบรนด์ของคุณทำได้ดีกว่า แล้วนำเรื่องนั้นมาเป็นจุดขาย เปรียบเทียบให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจน

สรุป

Aggressive Marketing คือหนึ่งในกลยุทธ์การขายที่มีมาช้านาน แม้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามยุคสมัย แต่ใจความสำคัญก็ยังคงเดิม คือการทำการตลาดเชิงรุก วิ่งเข้าหาลูกค้าก่อน เพื่อสร้างการจดจำและคว้าโอกาสให้ได้ก่อนคู่แข่ง อย่างไรก็ดี หากใช้กลยุทธ์นี้อย่างไม่รู้จังหวะเวลา ก็อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้

 

อ้างอิง

business.com. Turn It Up: Aggressive Marketing Strategies for Startups in Any Industry

Available from: https://www.business.com/articles/5-aggressive-marketing-strategies-for-startups-in-any-industry/

LinkedIn. The Power of Aggressive Marketing: Why It Works (Whether We Like It or Not)

Available from: https://www.linkedin.com/pulse/power-aggressive-marketing-why-works-whether-we-like-kaizentechbd-jm7dc

ของมือสองเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กับกระแส YONO เพราะราคาถูกและยังอยู่ในสภาพดี
Money Tips
รู้จัก YONO (You Only Need One) เมื่อความฟุ่มเฟือยไม่ใช่เทรนด์ในหมู่วัยรุ่นอีกต่อไป!

เมื่อสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้เราอู้ฟู่ งั้นก็ควรหันมาประหยัดกันได้แล้ว! รู้จักกับเทรนด์ YONO (You Only Need One) จากวัยรุ่นเกาหลีใต้ ชวนทุกคนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต เมื่อพูดถึงมุมมองในการใช้ชีวิต วัยรุ่นหลายคนคงเลือกทำทุกวันให้เหมือนกับวันสุดท้าย…

แอป Duolingo เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาที่เรียนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน
Marketing Psychology
หลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในแอป “Duolingo” ทำอย่างไรให้คนเสพติดการเรียนภาษา

ถ้าพูดถึงแอปเรียนภาษายอดฮิตก็ต้องนึกถึงแอป Duolingo ที่ไม่ได้มีดีแค่ความปากจัดของนกฮูกเขียว แต่มีหลักจิตวิทยาแอบซ่อนเอาไว้ ที่ทำให้ผู้เรียนทุกคนเสพติดการเรียนแบบไม่รู้ตัว! ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยเห็นมีมของ “นกฮูกเขียว” ผ่านตากันมาบ้าง ทั้งประโยคชวนเจ็บจี๊ดและแสนจิกกัด หรือหน้าตาแอปพลิเคชันตลก ๆ ที่คนแชร์กันเต็มโซเชียล…

วิธีการจัดการคิวของลูกค้าตามหลัก Psychology of Waiting
Marketing Psychology
Psychology of Waiting ทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ต่อคิว ไม่รู้สึกว่ารอนานจนอยากเลิกซื้อ!

หลายแบรนด์เสียโอกาสทางการค้า เพราะลูกค้าเห็นความยาวของแถวต่อคิวแล้วรู้สึกท้อ ขอเลือกซื้อของเจ้าอื่นแทนดีกว่า มาใช้หลักการ Psychology of Waiting ในการจัดการแถวคิวกันเถอะ! เวลาเห็นร้านไหนมีคนต่อแถวยาว เรามักจะมองว่าร้านนั้นต้องขายดีมากแน่ ๆ แต่หลายครั้งก็อาจเห็นผู้คนบ่นลงโซเชียลมีเดียบ่อย…