รู้จัก Ambush Marketing กลยุทธ์ชั้นเซียน ที่ช่วงชิงภาพจำแบบเนียน ๆ

หากคุณเคยชมการถ่ายทอดสดกีฬา หรืองานประกาศรางวัลทางโทรทัศน์ แล้วรู้สึกคุ้นชินกับโลโก้สินค้าที่แฝงอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของงาน นั่นแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์การตลาดแบบ Ambush Marketing กำลังดึงดูดให้คุณตกเป็นทาสการตลาดอย่างไม่รู้ตัว และในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการตลาดแขนงนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ออกสตาร์ทไปด้วยกันเลย!

Ambush Marketing คืออะไร

Ambush Marketing

ที่มา: https://inkbotdesign.com/ambush-marketing/ 

Ambush Marketing เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การตลาดแบบซุ่มโจมตี หรือ การตลาดแบบแฝงตัว จุดเด่นของการตลาดประเภทนี้ คือแบรนด์จะพยายามเชื่อมโยงตัวเองกับกิจกรรมทางการตลาดขนาดใหญ่ เช่น การแข่งขันกีฬา คอนเสิร์ต หรืองานอีเวนท์ต่าง ๆ โดยไม่เสนอตัวเป็นสปอนเซอร์หลักของงาน แน่นอนว่าวิธีนี้อาจเสี่ยงต่อการกระทำการผิดกฎหมาย เช่น การละเมิดสิทธิ์บางอย่างของแบรนด์อื่น ๆ แต่ Ambush Marketing ก็ถือเป็นทางเลือกที่ท้าทาย และมักจะได้ผลจริง

Ambush Marketing แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

เราสามารถแบ่ง Ambush Marketing ออกได้คร่าว ๆ เป็น 4 ประเภทตามความแตกต่างของเทคนิคที่ใช้ ดังนี้

1. การตลาดที่เน้นโจมตีแบบนักล่า (Predatory Ambushing)

เป็นเทคนิคที่แบรนด์หนึ่งโจมตีอีกแบรนด์หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนจดจำหรือระบุตัวผู้สนับสนุนที่แท้จริงได้ โดยกรณีที่โด่งดังมากที่สุดครั้งหนึ่งของโลก คือความบาดหมางระหว่าง Visa และ American Express เมื่อปี 1992 

Visa_Ambush MarketingAlt: Visa_Ambush Marketing

ที่มา: https://www.sportsbusinessjournal.com/Journal/Issues/2023/06/12/Champions/ambush-marketing.aspx 

ในปีนั้น Visa จ่ายเงินราว ๆ 20 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้ได้เป็นผู้สนับสนุนบัตรเครดิตอย่างเป็นทางการของมหกรรมกีฬาฤดูหนาวปี 92 และในช่วงหลายเดือนก่อนการแข่งขัน Visa ได้ฉายโฆษณาทางทีวีโดยแนะนำให้ผู้ถือบัตร American Express ทิ้งบัตรไว้ที่บ้าน เนื่องจากบัตร American Express ไม่จำเป็นต่อการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ 

แม้ถ้อยคำในโฆษณาจะเป็นเรื่องจริง เพราะตั๋วเข้าชมกีฬาในครั้งนั้นสามารถซื้อได้ด้วยบัตรเครดิต Visa เท่านั้น แต่แคมเปญโฆษณาเชิงรุกของ Visa ก็สร้างความเดือดดาลให้กับ American Express เป็นอย่างมาก และในไม่ช้า ก็ได้เปิดตัวซีรีส์สปอตทีวีของตัวเอง ภายใต้สโลแกน “เมื่อคุณไปสเปน คุณจะต้องมีหนังสือเดินทาง แต่คุณไม่จำเป็นต้องใช้วีซ่า” เพื่อตอบโต้แบรนด์คู่แข่งอย่าง Visa อย่างเผ็ดร้อน

2. การตลาดแบบอาศัยบารมี (Coattail Ambushing)

เป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นที่รู้จักโดยการเป็นผู้สนับสนุนบุคคลที่เข้าร่วมในกิจกรรม เช่น การที่แบรนด์ชุดกีฬาจับนักกีฬาดาวรุ่งเซ็นสัญญา เพื่อทำชุดแข่งขันที่มีโลโก้ของตัวเองติดอยู่ให้ เป็นต้น

3. การละเมิดทรัพย์สินหรือเครื่องหมายการค้า (Property or Trademark Infringement)

คือการที่แบรนด์ใช้โลโก้ สัญลักษณ์ หรือวลีของแบรนด์อื่น เพื่อส่งเสริมบริการที่มักจะนำไปสู่ความสับสนในหมู่ลูกค้า และลดความพยายามทางการตลาดของเจ้าของทรัพย์สิน

4. การตลาดแบบโจมตีตัวเอง (Self Ambushing)

กลยุทธ์นี้คล้ายคลึงกันกับการซุ่มโจมตีแบบนักล่า แตกต่างกันที่แบรนด์มีสิทธิ์ในฐานะผู้สนับสนุน แต่กลับเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา

Ambush Marketing มีข้อดี – ข้อเสียอย่างไร

แน่นอนว่าทุก ๆ กลยุทธ์การตลาดย่อมมีข้อดี – ในตัวเอง Ambush Marketing ก็เช่นกัน และนี่คือข้อดี – ข้อเสียที่เราอยากให้คุณพิจารณาก่อนตัดสินใจใช้กลยุทธ์นี้จริง ๆ

ตัวอย่าง Ambush Marketing

ที่มา: https://drvidyahattangadi.com/how-to-make-ambush-marketing-work/ 

ข้อดีของ Ambush Marketing 

  • Ambush Marketing แสดงถึงความฉลาดและสร้างสรรค์ ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ จึงช่วยลับคมประสิทธิภาพการทำงานของทีมได้เป็นอย่างดี
  • แนวคิดตั้งต้นของ Ambush Marketing คือการช่วงชิงความสำคัญมาจากผู้ที่เป็นเจ้าของมัน โดยไม่ต้องลงทุนเป็นตัวเงิน จึงทำให้แบรนด์ประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้อย่างน่าอัศจรรย์
  • Ambush Marketing สามารถสร้างการรับรู้ให้เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากทำสำเร็จ แบรนด์ของคุณก็จะเป็นที่พูดถึงในหมู่ผู้บริโภคเป็นวงกว้าง

ข้อเสียของ Ambush Marketing 

  • Ambush Marketing ค่อนข้างเสี่ยงต่อการละเมิดข้อกฎหมาย และอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทที่รุนแรง
  • การคำนวณ ROI ที่ได้จากกลยุทธ์นี้เป็นเรื่องยาก และอาจไม่สามารถทำได้เลย
  • การจะทำให้ Ambush Marketing ได้ผลเป็นเรื่องยาก ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส

สรุป

Ambush Marketing คือ หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่เก่าแก่ แต่ยังคงความน่าสนใจ ทว่าในปัจจุบันการจะทำให้กลยุทธ์นี้สัมฤทธิ์ผลตามที่ตั้งใจนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากผู้คนนิยมทำกิจกรรมผ่านออนไลน์ มากกว่าการร่วมงานอีเวนต์ดังเช่นที่ผ่าน ๆ มา นอกจากนี้ หากพลาดมีกรณีพิพาทที่แก้ไขได้ยาก ก็อาจตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ จนทำให้แบรนด์เสื่อมเสียชื่อเสียงในระยะยาว

อ้างอิง

Wordstream. Ambush Marketing: What It Is & Why It Works

Available from: https://www.wordstream.com/blog/ws/2018/04/04/ambush-marketing 

SendPulse. Ambush Marketing

Available from: https://sendpulse.com/support/glossary/ambush-marketing 

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…