ถ้าออนไลน์จะขายดีขนาดนี้ ยังต้องมีหน้าร้านอยู่ไหม

คุณใช่ไหม? ที่อยากเริ่มทำธุรกิจเป็นของตัวเองสักที และอยากคว้าโอกาสดี ๆ ช่วงหลังโควิด แต่ลังเลว่าการขายของแบบมีหน้าร้าน กับการขายของออนไลน์ แบบไหนจะเหมาะสมและให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน ในบทความนี้ Digital Tips จึงหยิบประเด็นการขายทั้ง 2 แบบมาเทียบกันให้เห็นชัด ๆ ลองอ่านก่อนนำไปปรับใช้จริง

Content Summary:

  • การขายของแบบมีหน้าร้าน คือ การที่เจ้าของธุรกิจเปิดพื้นที่สำหรับขายสินค้า ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าไปเยี่ยมชม และเลือกซื้อสินค้ากลับมาได้จริง ๆ
  • ก่อนขายของหน้าร้าน เจ้าของธุรกิจควรศึกษากลุ่มเป้าหมาย ทำเล การจัดร้าน และการบริหารจัดการหน้าร้าน
  • สำหรับการขายของออนไลน์ แม้จะไม่ต้องกังวลใจเรื่องทำเล และการบริหารจัดการหน้าร้าน แต่เจ้าของธุรกิจก็จะต้องรู้จักแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ และเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง

การขายของแบบมีหน้าร้าน คืออะไร?

Onsite Shop

Cr: https://engoo.co.th/app/lessons/where-do-you-go-shopping/uSsftIjNEeq89wuoANRUYg

การขายของแบบมีหน้าร้าน คือ การที่เจ้าของธุรกิจเปิดพื้นที่สำหรับขายสินค้า ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าไปเยี่ยมชม และเลือกซื้อสินค้ากลับมาได้จริง ๆ ในอดีตเกือบทุกธุรกิจจะต้องมีหน้าร้าน เพื่อความน่าเชื่อถือ และความสะดวกในการจัดเก็บสต็อกสินค้า แต่เมื่อโรคโควิด 19 ถือกำเนิดขึ้นมา การขายแบบออนไลน์ จึงกลายเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา และทำให้การขายแบบมีหน้าร้านลดลงเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน มีเพียงธุรกิจบางประเภทเท่านั้นที่ยังนิยมพึ่งพาหน้าร้านอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องแต่งกาย เพราะสินค้าเหล่านี้สำคัญต่อการอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน

การขายของออนไลน์ คืออะไร?

Marketplace

Cr: https://integrio.net/blog/how-to-build-a-marketplace-platform-main-steps-and-challenges

การขายของออนไลน์ คือ การที่เจ้าของธุรกิจจัดเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับสต็อกสินค้า โดยไม่ได้อนุญาตให้ลูกค้าเข้าไปเยี่ยมชม แต่เปิดช่องทางสำหรับซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แทน ไม่ว่าจะเป็น Social Media หรือเว็บไซต์ E-commerce ปัจจุบันการขายออนไลน์ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก และกลายเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องราคาสินค้า โปรโมชันลด แลก แจก แถม และการขนส่ง

ก่อนขายของมีหน้าร้าน ควรรู้อะไรบ้าง?

คนจำนวนมากสนใจขายของแบบมีหน้าร้าน มากกว่าขายออนไลน์ หากคุณเองก็เป็นหนึ่งในคนกลุ่มนี้ มาดูกันว่ามีอะไรที่คุณควรรู้บ้าง

  • รู้จักกลุ่มเป้าหมาย: เข้าใจลูกค้าของคุณว่าพวกเขาเป็นใคร ต้องการอะไร พฤติกรรมการซื้อของพวกเขาเป็นอย่างไร ข้อมูลนี้จะช่วยในการวางแผนการตลาดและการตั้งสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้า
  • ทำเลที่ตั้งร้าน: เลือกทำเลที่ดี มีลูกค้าผ่านไปมาเยอะ หรืออยู่ในแหล่งที่กลุ่มเป้าหมายของคุณเข้าถึงได้ง่าย ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย
  • การจัดร้านและบรรยากาศ: การจัดร้านที่ดึงดูดและให้บรรยากาศที่ดีจะทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบาย การจัดแสง สี และเสียงในร้านสามารถช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น
  • การบริหารสินค้าและสต็อก: ควรมีการจัดการสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้สินค้าหมดเร็วหรือค้างนานเกินไป และควรจัดวางสินค้าให้ดูน่าดึงดูดและสะดวกต่อการหยิบซื้อ

>> อ่านเพิ่มเติม: Target Audience คืออะไร พร้อม 5 ขั้นตอนการทำ Target Audience Analysis

ก่อนขายของออนไลน์ ควรรู้อะไรบ้าง?

หากวิธีการขายที่คุณสนใจ คือการขายออนไลน์ นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้!

  • รู้จักกลุ่มเป้าหมาย: เช่นเดียวกับการขายแบบมีหน้าร้าน คุณต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายก่อน เพราะในหลาย ๆ ธุรกิจ กลุ่มเป้าหมายที่ชอบซื้อของผ่านหน้าร้านอาจคนละกลุ่มกับผู้ที่ชอบซื้อของผ่านออนไลน์
  • วิธีการสมัคร และค่าธรรมเนียมของ E-commerce: อย่าลืมทำการบ้านเรื่องวิธีสมัครเข้าร่วมแพลตฟอร์ม E-commerce และค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระต่อเดือน
  • เทคนิคการถ่ายภาพ: แน่นอนว่าการขายของออนไลน์ไม่มีหน้าร้าน ลูกค้าจึงไม่สามารถเห็นสินค้าจริงได้ จำเป็นต้องดูผ่านภาพอย่างเดียว คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการถ่ายภาพให้สวยงาม โชว์สินค้าอย่างโดดเด่น เห็นแล้วน่าซื้อ
  • การบริหารสินค้าและสต็อก: ควรมีการจัดการสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้สินค้าหมดเร็วหรือค้างนานเกินไป เช่นเดียวกับการขายแบบมีหน้าร้าน

เปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย ของการขายของแบบมีหน้าร้าน กับการขายของออนไลน์

ก่อนจะตัดสินใจว่าควรขายของผ่านออนไลน์ หรือควรเปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้อย่างจริงจัง Digital Tips แนะนำให้คุณลองศึกษาข้อดี – ข้อเสียเหล่านี้ก่อน

Online vs In-store

Cr: https://www.signs.com/online-vs-in-store/

การขายของแบบมีหน้าร้าน

ข้อดี

  • มีตัวตนชัดเจน: ลูกค้าสามารถเข้ามาซื้อสินค้าได้โดยตรง ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • มีโอกาสได้ลูกค้าขาจร: ลูกค้าที่เดินผ่านหน้าร้านมีโอกาสเข้ามาซื้อสินค้าโดยที่อาจจะไม่ได้วางแผนล่วงหน้า และการจัดตกแต่งร้านให้ดูดีก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้
  • การให้บริการลูกค้าแบบส่วนตัว: ช่วยให้คุณสามารถพูดคุยและให้บริการลูกค้าได้โดยตรง สร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดี ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
  • ประสบการณ์การทดลองสินค้า: ลูกค้าสามารถเห็นและสัมผัสสินค้าได้ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำหรับสินค้าที่ต้องการการทดลองก่อนซื้อ เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายสูง: หน้าร้านจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งค่าจ้างพนักงาน ค่าบำรุงรักษา ค่าเช่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ตลอดจนค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ
  • ความเสี่ยงจากทำเล: ทำเลที่ตั้งสำคัญมาก หากร้านอยู่ในทำเลที่ไม่ดี เช่น ไม่มีลูกค้าผ่านเข้ามาเพียงพอ หรือมีการแข่งขันสูงในพื้นที่เดียวกัน ยอดขายอาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่าย
  • ข้อจำกัดด้านเวลา: ธุรกิจที่มีหน้าร้านต้องมีเวลาทำการที่ชัดเจน เช่น เปิด-ปิดในเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจไม่สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้านอกเวลาทำการ ต่างจากร้านค้าออนไลน์ที่สามารถให้บริการได้ 24 ชั่วโมง

การขายของออนไลน์

ข้อดี

  • ต้นทุนต่ำกว่า: ไม่ต้องเช่าที่หรือจ่ายค่าสาธารณูปโภคเหมือนการเปิดหน้าร้าน ช่วยลดต้นทุนเริ่มต้นและต้นทุนการดำเนินงาน
  • เข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก: การขายออนไลน์ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงลูกค้าได้ไม่จำกัดสถานที่ ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าของคุณจากที่ใดก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
  • เปิดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง: ลูกค้าสามารถเข้ามาดูสินค้าและทำการซื้อได้ตลอดเวลา ทำให้คุณมีโอกาสทำยอดขายได้มากขึ้น เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาทำการ
  • เข้าถึงข้อมูลลูกค้าและวิเคราะห์ได้ง่าย: การขายออนไลน์สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าและวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสีย

  • การแข่งขันสูง: การขายออนไลน์มีการแข่งขันที่สูงมาก เนื่องจากผู้ค้าออนไลน์รายอื่นสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเดียวกันได้ง่าย ทำให้ต้องใช้กลยุทธ์และนวัตกรรมเพื่อดึงดูดลูกค้า
  • ลูกค้าไม่เห็นสินค้าก่อนซื้อ: ลูกค้าไม่สามารถสัมผัสหรือทดลองสินค้าก่อนที่จะทำการซื้อ ทำให้มีความลังเลใจและอาจตัดสินใจไม่ซื้อ โดยเฉพาะสำหรับสินค้าที่ต้องการการสัมผัสหรือการทดลอง เช่น เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง: แม้ว่าการขายออนไลน์จะลดต้นทุนในการเช่าที่ แต่ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้าอาจเป็นภาระ โดยเฉพาะถ้าต้องจัดส่งฟรีหรือเสนอค่าจัดส่งต่ำเพื่อแข่งขันกับร้านอื่น

สรุป

เราไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ว่าธุรกิจนี้ควรมีหน้าร้าน ธุรกิจนั้นไม่ควรมี เพราะเราต้องดูองค์ประกอบอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของต้นทุน กำไร ชื่อเสียง ประเภทสินค้าบริการ รวมทั้งจุดประสงค์ของเจ้าของร้านเอง แต่บทความนี้จะสามารถเป็นแนวทาง

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…