ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์รองเท้า หรือแบรนด์เครื่องประดับ เพราะนอกจากจะสะท้อนตัวตนของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมี Vibe ที่สนุก ท้าทาย และอยู่กับความสวยงาม ในบทความนี้ Digital Tips จึงรวบรวม 3 Case Study สำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่นักธุรกิจหน้าใหม่เช่นคุณต้องรู้มาฝาก ไปติดตามกันได้เลย!

>> อ่านเพิ่มเติม: 6 Step วางแผนการตลาดให้ปังกว่าใคร ฉบับธุรกิจเปิดใหม่ไฟแรง

ก่อนการทำแบรนด์เสื้อผ้า คุณต้องรู้อะไรบ้าง

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ เราแนะนำให้คุณเริ่มต้นจากการลำดับความคิดก่อนว่า มีอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ก่อนเปิดกิจการนี้ และนี่คือสิ่งที่เรารวบรวมมาได้:

เป้าหมายของแบรนด์คืออะไร

ธุรกิจจะไม่อาจไปต่อได้ หากขาดการวางหมุดหมายที่ชัดเจน ลองพิจารณาดูว่า Target Audience ของคุณเป็นใคร พวกเขามีไลฟ์สไตล์แบบใด และคุณเองอยากนำเสนอตัวตนแบรนด์แบบไหน แบรนด์ของคุณมีจุดยืนอย่างไร

คู่แข่งมีแบรนด์อะไรบ้าง และพวกเขามีจุดเด่น – จุดด้อยอย่างไร

ก่อนจะทำธุรกิจ การทำ Competitor Analysis คือสิ่งสำคัญ แนะนำให้ศึกษาคู่แข่งก่อนทุกครั้ง ว่าคู่แข่งของคุณมีแบรนด์ใดบ้าง พวกเขามีจุดเด่น – จุดด้อยอย่างไร และเมื่อเทียบกันแล้ว Brand Positioning ของคุณกับพวกเขาเป็นอย่างไร

จะออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไร

แน่นอนว่าสำหรับการทำแบรนด์เสื้อผ้า การออกแบบคือสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าลืมไตร่ตรองให้ดีว่าคุณจะพิจารณาเลือกวัสดุในการตัดเย็บอย่างไร ดีลกับโรงงานไหน และวางแผนอย่างไรจึงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

จะตั้งราคาอย่างไร

ลองสำรวจตลาด คิดคำนวณต้นทุน ทั้งต้นทุนหลักและต้นทุนแฝงให้ดี เพื่อตัดสินใจว่าคุณควรจะตั้งราคาอย่างไร ต่างจากคู่แข่งมากแค่ไหน และที่สำคัญ พึงตั้งราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย

จะวางกลยุทธ์การตลาดอย่างไร

อย่าลืมวางแผนว่าคุณจะโปรโมทสินค้าอย่างไร ผ่านช่องทางไหน จะว่าจ้าง Influencer หรือไม่ โดยวาง Marketing Strategy ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

3 Case Study การทำแบรนด์เสื้อผ้า สำหรับคนอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง

สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่ที่กำลังวางแผนจะสร้างแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง ลองศึกษาการวางกลยุทธ์การตลาด และวิธีการโปรโมทแบรนด์จาก 3 Case Study เหล่านี้!

UNIQLO

Uniqlo คือ แบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ก่อตั้งโดยคุณ Tadashi Yanai เจ้าของอาณาจักรธุรกิจแนว Fast Retailing ปัจจุบัน Uniqlo มีมากกว่า 300 สาขาในญี่ปุ่น และกว่า 1,000 สาขาทั่วโลก

Uniqlo

ที่มา: https://engoo.co.th/app/daily-news/article/uniqlo-family-business-to-fast-fashion-giant/qDkZXL8SEe6-TDu-QCqvxA

จุดขายของ Uniqlo คือการผสานความเป็น Fast Fashion เข้ากับนวัตกรรมการผลิตเสื้อผ้าชั้นสูง ทำให้ผู้สวมใส่จดจำ Uniqlo ในฐานะ ‘แบรนด์เสื้อผ้าคุณภาพ’ ซึ่งสะท้อนภาพนี้ได้ชัดกว่าแบรนด์ Fast Fashion ธรรมดา นอกจากนี้ ยังวางแผนการตลาดโดยนำเสนอแนวคิดหลัก ‘LifeWear Fashion’ เป็นตัวชูโรง ตอกย้ำให้ผู้บริโภคมีภาพจำเรื่องคุณภาพควบคู่ไปกับการจดจำตราสินค้าของ Uniqlo

นอกจากวางรากฐานของแนวคิดที่ชัดเจน และการกำหนด ‘จุดแข็ง’ ของแบรนด์ที่ยากเกินกว่าแบรนด์อื่น ๆ จะก้าวตามแล้ว การให้ความสำคัญกับ CI ของแบรนด์นี้ก็น่าสนใจ พวกเขาเลือกใช้สีหลักเพียง 2 สี คือสีแดงกับสีขาว ใช้ฟอนต์ที่มีความหนาพอดี และมักออกแบบอาร์ตเวิร์กที่มีเลย์เอาท์ไม่ซับซ้อน จับต้องได้ง่าย เพื่อสะท้อนภาพความเรียบง่ายของ Uniqlo ให้ชัดเจนขึ้น

เสน่ห์อีกหนึ่งข้อที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคเดินเข้าร้าน Uniqlo คือการ Mix & Match ชุดบนตัวหุ่นให้โมเดิร์น แต่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตจริง ไม่เน้นโชว์ดีไซน์หรือเนื้อผ้าที่หวือหวา และไม่มีข้อห้าม หากลูกค้าอยากจะถ่ายภาพเก็บไว้ เพื่อใช้เป็น Reference ในการแต่งกาย

MERGE

MERGE แบรนด์ไทยน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้ราว ๆ 1 – 2 ปี โดยคุณพรปวีณ์ ด่านมิ่งเย็นวงศ์ CEO สาวเจ้าของแบรนด์ แนวคิดของการทำแบรนด์เสื้อผ้าแบรนด์นี้ คือการให้ความสำคัญกับความหลากหลาย และเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหนก็สามารถดูดีได้ในแบบฉบับของตนเอง

MERGE

ที่มา: https://www.pomelofashion.com/th/en/clothes/merge

ด้วยจุดขายที่ไปด้วยกันได้กับแนวคิดเรื่อง Diversity นี้เอง ทำให้ MERGE ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงเปิดตัว และยังคงเป็นที่จับตามองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก MERGE ให้ความสำคัญกับการนำเสนอตัวตนบน Social Media และมักนำเสนอภาพถ่ายของนางแบบหลากไซซ์ หลายสไตล์ ทำให้ลูกค้าหลาย ๆ คนมั่นใจในการแต่งกายมากขึ้น

SABINA

SABINA อีกหนึ่งแบรนด์ไทยที่ถือกำเนิดจากการผลิตชุดชั้นในสตรี ก่อนจะพัฒนาโดยผสมผสานเรื่องแฟชั่นเข้าไป และดีไซน์เสื้อผ้าผู้หญิงที่นำมา Mix&Match ได้ทั้ง Innerwear และ Outerwear ก่อตั้งมาแล้วราว 60 ปี โดยคุณอดุลย์และคุณจินตนา ธนาลงกรณ์

SABINA

ที่มา: https://page.line.me/mvn7586a/showcase/77910920856020/item/579622476570311

ปัจจุบัน SABINA ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ชุดชั้นในผู้หญิงแนวแฟชั่นแถวแรกของประเทศ และส่งขายไปทั่วโลก ด้วยการปรับตัวตามเทรนด์แฟชั่นในปัจจุบัน และการวาง Marketing Strategy อย่างเป็นรูปเป็นร่าง มีการพัฒนาภาพลักษณ์บน Social Media กำหนด Brand Charactor ที่ชัดเจน และจัดทำ Sales Content ควบคู่ไปกับ Knowledge Content แบรนด์นี้จึงถือเป็นหนึ่งใน Case Study การทำแบรนด์เสื้อผ้าที่มีจุดเด่นเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับตลาด และหมั่นศึกษาเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลานั่นเอง

สรุป

ทั้ง 3 Case Study ข้างต้น เป็นตัวอย่างการทำแบรนด์เสื้อผ้าให้กับคุณได้ในแง่มุมที่ต่างกัน กล่าวคือ Uniqlo เป็นภาพแทนของแบรนด์ที่กำหนดตัวตนและจุดขายไว้อย่างชัดเจน MERGE คือภาพแทนของแบรนด์ที่เล่นกับกระแสสังคม และ SABINA คือภาพแทนของแบรนด์ที่รู้จักปรับตัว จนสามารถพยุงแบรนด์ให้อยู่ยืนยง ดังนั้น พึงศึกษาจาก 3 แบรนด์นี้ และนำเอาข้อดีของแต่ละแบรนด์ไปปรับใช้กับแบรนด์ใหม่ของคุณ

 

อ้างอิง

Thairath Money. รู้จักปรัชญา “LifeWear Fashion” ของ Uniqlo กับการปั้นแบรนด์ที่ไม่ขอยืนบนตลาดฟาสต์แฟชั่นอีกต่อไป

Available from: https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/corporates/2756663

TODAY. ลาซาด้า ร่วมฉลองวันสตรีสากล ส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการหญิงยุคใหม่

Available from: https://workpointtoday.com/lazada-merge/

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…