เช็กด่วน! 5 ความเสี่ยงในการใช้เครื่องมือ AI ที่นักการตลาดต้องเผชิญ

ปี 2023 นี้ ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการพัฒนา AI ให้เจริญก้าวหน้าอย่างน่าทึ่ง มีการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ AI อย่างหลากหลายในทุกภาพส่วน โดยเฉพาะวงการ Digital Marketing ที่ใช้เครื่องมือ AI ช่วยวางแผนโฆษณา คิดคอนเทนต์ ทำภาพกราฟิก และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน AI ก็ยังไม่สามารถทำงานอย่างสมบูรณ์ได้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องซ้ำด้วยตนเองเพื่อความแม่นยำ และในบทความนี้ เราจะมาสรุปกันว่า 5 ความเสี่ยงในการใช้เครื่องมือ AI ทำงานเกี่ยวกับการตลาดมีอะไรบ้าง


>> อ่านเพิ่มเติม: รู้จัก 5 เครื่องมือ AI เอาใจสายการตลาด ไม่พลาดทุกการวางกลยุทธ์

เมื่อถามข้อสงสัยกับเครื่องมือ AI อาจไม่ได้ความจริงเสมอไป

ข้อจำกัดที่ใหญ่ที่สุดของเครื่องมือ AI โดยเฉพาะพวกแชตบอตที่ทำงานเสมือน Search Engine ก็คือความสามารถในการแปลความหมายของคำถามที่ผู้ใช้งานป้อนเข้าไป ซึ่งแน่นอนว่า “AI อาจจะแปลความหมายเหล่านั้นไม่ได้ 100%” และแม้จะแปลคำถามได้ แต่คำตอบที่มอบให้ก็อาจจะผิดพลาดเช่นกัน 

ความผิดพลาดของ-Bard

ที่มา: https://payloadspace.com/bardai-incorrectly-answers-jwst-question/ 

ตัวอย่างหนึ่งของการให้ข้อมูลที่ผิดมหันต์ เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา Bard ปล่อยภาพ GIF โฆษณาผ่านทาง X (Twitter) ในภาพเป็นการบันทึกหน้าจอ เมื่อพิมพ์คำถามว่า “What new discoveries from the James Webb Space Telescope can I tell my 9 year old about?”  (การค้นพบใหม่ ๆ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศของ James Webb ครั้งใดบ้าง ที่ฉันสามารถเล่าให้ลูกวัย 9 ขวบฟังได้) คำตอบที่ได้จาก Bard คือหัวข้อย่อยประมาณ 3 ข้อ พร้อมทั้งให้ข้อมูลว่า กล้องโทรทรรศน์ของ James Webb ถูกใช้ถ่ายภาพ Exoplanet (ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ) ดวงแรก ซึ่งนั่นไม่ใช่ข้อมูลจริง ข้อผิดพลาดนี้ทำให้มูลค่าการตลาดของ Bard ลดลงกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ช่วงเปิดตัว

ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ AI อาจสะท้อนอคติบางอย่าง

อัลกอริทึมของเครื่องมือ AI จะทำงานโดยคำนวณความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ ซึ่งบางครั้งผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจก่อให้เกิดความอยุติธรรมบางอย่างกับคนบางกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบอคติทางเพศในระบบการกำหนดเป้าหมายของ Facebook Ads (ทำงานโดยระบบ AI ของ Facebook) ผ่านการตั้งค่าโฆษณาเพื่อรับสมัครพนักงานส่ง Pizza Hut ก่อนจะพบว่าโฆษณามักจะแสดงผลให้กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดย AI มีอคติทางเพศจริง

การใช้งานเครื่องมือ AI ยังมีข้อจำกัด

ข้อจำกัด-ChatGPT

ที่มา: https://fintechcircle.com/insights/how-fintech-start-ups-can-use-chat-gpt-across-their-marketing-activities-to-10x-growth-this-quarter/ 

แม้เครื่องมือ AI จะได้รับการพัฒนาจนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ยกตัวอย่างเช่น ChatGPT เวอร์ชันที่เปิดให้ใช้งานฟรี ซึ่งจะอัปเดตข้อมูลล่าสุดถึงปี 2021 เท่านั้น ทำให้คุณไม่สามารถสืบค้นข้อมูลจากมัน เพื่อนำไปเขียนบทความการตลาดแบบ Tropical Content ได้ หรือแม้แต่จะใช้วางแผนการตลาด ก็อาจจะไม่ได้แผนการตลาดที่เหมาะสมกับช่วงเวลามากพอ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความเข้าใจในภาษา เพราะเครื่องมือ AI บางตัวจะสามารถถอดรหัสภาษาพูดของมนุษย์ได้ ในขณะที่บางตัวจะเข้าใจเฉพาะการพิมพ์ภาษาทางการ ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการให้ AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ หรือเขียนคำโฆษณา

ระวัง! ให้เครื่องมือ AI ช่วยเขียนเนื้อหาให้ อาจได้ต้นฉบับซ้ำกับผู้อื่น

โดยทั่วไปเนื้อหาที่สร้างโดยเครื่องมือ AI จะไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านบุคลิกภาพหรือแบรนด์ เป็นผลให้เมื่อป้อนคำสั่งบน AI ช่วยเขียนเนื้อหาหัวข้อเดียวกัน แม้จะเป็นการเขียนเนื้อหาถึงแบรนด์ต่างแบรนด์กัน แต่ก็มีโอกาสสูงที่เนื้อหาจะออกมาเหมือนกัน หรือจะอธิบายให้ง่ายกว่านั้น ลองสมมติว่า คุณป้อนคำสั่ง “เขียนบทความหัวข้อ การตลาดออนไลน์สำคัญอย่างไร” บทความที่คุณได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะซ้ำกับคนอื่น ๆ ที่ป้อนคำสั่งคล้ายกัน

ลิขสิทธิ์ของผลงานที่ได้จากเครื่องมือ AI ยังค่อนข้างคลุมเครือ

ลิขสิทธิ์-AI

ที่มา: https://oecd.ai/en/wonk/rails-licenses-trustworthy-ai 

บ่อยครั้งที่เครื่องมือ AI ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างว่า ผลงานที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพ 3 มิติ โลโก้ หรืออื่น ๆ จะสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ แม้ว่าคำตอบจากกรมทรัพย์สินทางปัญญายังยืนยันว่า “ผลงานจากเครื่องมือ AI ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะบุคคลเท่านั้น” แต่ข้อสรุปดังกล่าวยังพ่วงท้ายด้วยความเห็นว่า แม้งานที่คิดขึ้นโดย AI จะไม่มีลิขสิทธิ์ แต่การนำงานที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้เพื่อประกอบเป็นงานใหม่ น่าจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งการทำงานของเครื่องมือ AI จำเป็นต้องอาศัยการป้อนข้อมูลผลงานที่เคยมีอยู่ให้ AI ได้เรียนรู้ จึงยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า สรุปแล้วผลงานจาก AI ปลอดลิขสิทธิ์ 100% หรือไม่

>> อ่านเพิ่มเติม: งานศิลปะจาก AI ลิขสิทธิ์เป็นของใคร ศิลปินปรับตัวอย่างไรเมื่อ AI ครองโลก

สรุป

และทั้งหมดนี้คือความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือ AI ทำงานที่เกี่ยวกับการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการเขียนคำโฆษณา เขียนบทความ ทำโลโก้ ทำภาพกราฟิก หรือวางแผนการตลาด เนื่องจากต้องยอมรับว่า เครื่องมือ AI ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด และยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

อ้างอิง

Wordstream. 7 Serious Risks You Face Using AI for Marketing

Available from: https://www.wordstream.com/blog/ws/2023/06/28/ai-for-marketing 

MashableSE Asia. Bard Shared False Information in Google’s Announcement

Available from: https://sea.mashable.com/tech/22513/bard-shared-false-information-in-googles-announcement

คัมภีร์สร้างความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ฉบับนักธุรกิจใหม่
Business
คัมภีร์สร้างความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ฉบับนักธุรกิจใหม่

การสร้างความน่าเชื่อถือสำคัญอย่างยิ่งกับธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เพิ่งเปิดใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีคนทำการตลาดออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก และลูกค้าเองไม่สามารถตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของผู้ขายได้ หากไม่ทำให้เชื่อใจ พวกเขาก็จะไปซื้อสินค้ากับธุรกิจคู่แข่ง หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจเปิดใหม่ ที่กำลังหาแนวทางการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ศึกษาได้จากคอนเทนต์นี้   Content Summary…

4 สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนทำคอนเทนต์ดูดวง เอาใจสายมู
Marketing | News
4 สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนทำคอนเทนต์ดูดวง เอาใจสายมู

กระแสบน Social Media เกี่ยวกับการดูดวง หมอดู และสายมู แสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ดูดวง ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยได้มากขนาดไหน จึงไม่แปลกที่หลาย ๆ แบรนด์จะมักจะทำ Seasonal…

คอนเทนต์แบบไหนที่คุณควรทำบนเพจธุรกิจแฟชั่น
Marketing | News
แชร์ 4 รูปแบบคอนเทนต์ ที่คนทำธุรกิจแฟชั่นต้องรู้

สำหรับคนทำธุรกิจแฟชั่น ไม่มีอะไรจะยากไปกว่าการนำเสนอคอนเทนต์ตามเทรนด์ฮิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการต่อสู้กับสงครามราคา ที่มีผู้เข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นมากมายจนนับไม่ถ้วน หากคุณเองก็เป็นเจ้าของธุรกิจเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับแฟชั่น ลองมาดูกันว่า ควรทำคอนเทนต์แบบไหน จึงจะซื้อใจผู้บริโภคได้   Content…