Google Tag Manager หรือ GTM คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถนำ Tag ซึ่งเป็นโค้ดที่คอยบอก Bot ให้ติดตามวัดผลข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลผลลัพธ์การทำการตลาดและการโฆษณาและอื่น ๆ อีกมากมายที่จำเป็นต่อการทำการตลาดดิจิทัล, Social Media Marketing และการสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดให้ธุรกิจเติบโต ควบคู่ไปกับการเชื่อมกับ Google Analytics ที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกตัวสำหรับนักการตลาดดิจิทัลทุกคน
ในบทความนี้ Digital Tips เลยขอมาอธิบายเรื่องราวการใช้งาน Google Tag Manager แบบจัดเต็ม ให้คุณได้ทราบว่า Google Tag Manager (GTM) คืออะไร พร้อมวิธีติดตั้งแบบอัปเดตปี 2022 หากพร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลย
Google Tag Manager (GTM) คืออะไร
Google Tag Manager หรือ GTM คือระบบจัดการบริหาร Tag ซึ่งเป็นโค้ดหรือสคริปต์ (Script) ที่ถูกนำมาติดตั้งในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อ Tracking ผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นช่วยให้เราสามารถใส่แท็กต่าง ๆ เช่น Facebook Pixel, Google Ads Tracking, Java Script หรือแท็กอื่น ๆ ที่เราต้องการนำมาติดเพื่อดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ ทำให้นักการตลาดสามารถติดตามผลลัพธ์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์และค่า Metrics ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้อย่างง่ายดายแบบไม่ต้องง้อ Developper ให้ดึงข้อมูลให้
Google Tag Manager แตกต่างจาก Google Analytics อย่างไร
Google Tag Manager แตกต่างจาก Google Analytics ตรงที่ Google Tag Manager จะมีหน้าที่สำหรับการเป็น Dashboard ให้คุณสามารถบริหารจัดการแท็กต่าง ๆ บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจำนวนมาก ๆ ได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องพึ่ง Developer เลยทั้งในเรื่องของการติดตั้งโค้ดที่สามารถจัดการได้ผ่านแพลตฟอร์มโดยไม่ต้องไปยุ่งกับโค้ดหลังบ้านเรียกว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการติดตั้งแท็กที่ครบ จบ ในแพลตฟอร์มเดียว แต่ฝั่งของ Google Analytics จะมีหน้าที่เป็น Dashboard ที่แสดงผลลัพธ์ของ Metrics ต่าง ๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเช่น Traffic, Visitor, Time Spending, User Location, User Gender และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ Tag เลยแม้แต่น้อย
อย่างไรก็ตามแม้ทั้ง 2 เครื่องมือ จะมีความแตกต่างกันในหน้าที่การทำงานแต่ในการทำงานของฝั่งนักการตลาด คุณต้องใช้ 2 เครื่องมือนี้ให้ทำงานร่วมกันโดยใช้งาน Google Tag Manager ในการจัดการเรื่องของ Tag ที่จะคอย Tracking ข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญแล้วใช้ Google Analytics ในการเป็น Dashboard ใหญ่เพื่อติดตามผลลัพธ์และวัดผลการทำงานของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของธุรกิจคุณ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Data Analytics คืออะไร
องค์ประกอบของ Google Tag Manager
ในการทำงานของ Google Tag Manager หากคุณต้องการจะศึกษาให้เข้าใจแบบมีประสิทธิภาพนั้นคุณต้องเข้าใจการทำงานทั้ง 3 องค์ประกอบก่อนซึ่งมีดังนี้
1. Tags
Tags คือ Tracking Code ต่าง ๆ ที่พวกแพลตฟอร์มทั้งหลายอยากให้คุณติดที่เว็บไซต์ของคุณนั่นเองไม่ว่าจะเป็น Javascript, Google Analytics, Facebook Pixel, Google Tags, Adwords Conversion Tracking codeฯลฯ ที่เป็น Tags ที่สำคัญต่อการทำการตลาดของคุณเช่น Retargeting, Data Analytics โดยที่ภายในระบบ GTM จะมี Template ไว้ให้คุณเลือกว่าคุณจะสร้าง Tags ของแพลตฟอร์มไหน แล้วคุณก็แค่เข้าไปกรอกข้อมูลตามที่ระบุไว้โดยที่ไม่ต้องเข้าไปแก้ไขที่ Source Code หรือระบบหลังบ้านของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันแต่อย่างใด
2. Triggers
Triggers คือตัวกลางสำหรับการกำหนด Condition ให้กับ Tag นั้น ๆ ว่าคุณอยากให้มันทำงานเมื่อไหร่ เช่น เมื่อโหลดหน้าเว็บไซต์ เมื่อมีคนคลิกที่ลิงก์เมื่อมีคนกดปุ่ม CTA ภายในเว็บไซต์ ฯลฯ โดย Triggers ที่ใช้กันบ่อย ๆ ก็จะมี เช่น All Pages ที่เป็นการให้ Tag นั้น ๆ ทำงานเมื่อมีการโหลดหน้าเว็บไซต์, Click เมื่อมีคนกดที่ปุ่ม CTA ก็จะให้ Tag ที่เป็น Event ส่งค่าไป, Scroll depth เป็นการให้ Tag นั้น ๆ ทำงานเมื่อมีการกดเลื่อนเว็บไซต์ เป็นต้น
3. Variables
Variables คือตัวแปรต่าง ๆ ที่อยู่ในแพลตฟอร์มของ GTM ที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อยกเว้นให้กับ Trigger ได้ซึ่ง Variables จะมีอยู่ 2 แบบ ก็คือ Built-in และ User-Defined Variables ซึ่งในเลือกนั้นคุณสามารถใช้เป็นตัวแปรที่อยู่ใน Data Layer แล้วส่งค่าไปยัง Google Analytics เพื่อทำการเก็บข้อมูล แล้วนำไปใช้วิเคราะห์ต่อไปได้
วิธีติดตั้ง Google Tag Manager อัปเดตปี 2022
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการอธิบายเรื่องวิธีติดตั้ง Google Tag Manager อัปเดตปี 2022 ที่บอกเลยว่าไม่ยากและไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีความรู้ด้านโค้ดก็สามารถทำได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างบัญชีใน Tag Manager
เริ่มต้นเปิดเว็บไซต์ Google Tag Manager แล้วกดสมัครสร้างบัญชี แต่ถ้าคุณมีบัญชีของ G-Suite หรือ Google Workspace อยู่แล้วก็สามารถสร้างบัญชีด้วยการเชื่อมต่อกับอีเมลได้เลย โดยการใช้งาน Google Tag Manager สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าบริการ หลังจากที่เราล็อกอินเข้าใช้งานแล้วหน้าแรกที่เราจะเจอ คือหน้า Dashboard ของ GTM ซึ่งสังเกตว่าจะมีปุ่ม “Create Account” อยู่ก็ให้กดเข้าไปและกรอกรายละเอียดในช่องต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งมีทั้งหมด 5 อย่างได้แก่
- ชื่อ Account หรือโปรเจกต์ที่จะทำ (คุณสามารถใส่ชื่อโดเมนเว็บไซต์ได้)
- เลือกประเทศ
- ใส่ URL เว็บไซต์ของเรา (ไม่ต้องมี https://)
- เลือกประเภทของ Container (เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่คุณจะเอา Tag มาใส่)
- เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วกด “Create” เพื่อสร้างบัญชีได้
จากนั้นให้คุณอ่าน Terms of Service Agreement หรือข้อตกลงการใช้งานและนโยบายของเขา ซึ่งตรงนี้คุณต้องกดยอมรับ และเมื่อยอมรับแล้วระบบจะแสดงโค้ดติดตั้งให้คุณเพื่อนำไปติดตั้ง Tag Manager ให้กับเว็บไซต์ในขั้นตอนถัดไปได้แล้ว
2. ติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์
สำหรับการเริ่มติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์มีอยู่ 2 วิธีที่เราอยากแนะนำ ซึ่งคุณจะเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ มาเริ่มกันที่วิธีแรกคือการนำโค้ดจาก GTM ไปฝังไว้หลังบ้านที่เป็นหน้า Coding ซึ่งตรงนี้ จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องโค้ดหรือการทำงานของโค้ดในระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ (ซึ่งนักการตลาดอาจลองขอความช่วยเหลือจาก Developer) ในการติดตั้งโค้ดเหล่านี้ให้โดยโค้ดชุดแรกฝังอยู่ที่ <head> ของเว็บไซต์ และโค้ดอีกชุดให้ฝังไว้หลัง <body>
ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือการติดตั้ง Tag Manager ผ่าน Plug-in ของ CMS ซึ่งอาจจะเหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีระบบการทำงานหลังบ้านของ WordPress โดยให้คุณดาวน์โหลด Plug-in “Google Tag Manager for WordPress” และให้เปิดการใช้งานหรือ Activate ตัว Plug-in ด้วย และให้คุณกด Copy ตัว GTM ID มาจากหน้า Tag Manager ที่คุณทำการได้สร้างขึ้นในขั้นตอนที่แล้ว แล้วนำ GTM ID ที่ Copy มาไปใส่ในช่องว่างของ Plug-in โดยให้กดที่ Setting > Plug-in > Google Tag Manager for WordPress เมื่อวาง GTM ID เสร็จเรียบร้อยแล้วกด “Save Changes” ก็เท่ากับว่าการติดตั้ง GTM ของเว็บไซต์คุณได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทำไมคุณควรติด Google Tag Manager
- ทำให้การติดตั้ง Tag ในเว็บไซต์รวดเร็วและง่ายมากขึ้น
Google Tag Manager ช่วยทำให้นักการตลาดสามารถทำงานด้าน Data Analytics ได้ง่ายมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งกับการทำโค้ดหลังบ้านของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเลย สามารถจัดการได้ด้วยตัวเองไม่ต้องพึ่ง Developer (แต่อาจต้องพึ่งในช่วงแรกให้ติด Code Google Tag Manager ฝังในเว็บไซต์)
- จัดการ Tag ทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ในแพลตฟอร์มเดียว
ไม่ต้องใช้เครื่องมือหลายตัวหรือสลับเครื่องมือให้วุ่นวาย เพราะใน Google Tag Manager สามารถทำให้คุณจัดการการทำงานของ Tag ทั้งหมดในเว็บไซต์ได้ในแพลตฟอร์มเดียว และช่วยทำให้การติดตามผลการทำงานได้ละเอียดขึ้นด้วย
- ช่วยให้นักการตลาดติดตามผลลัพธ์การทำการตลาดดิจิทัลได้ดีขึ้น
นอกจากนักการตลาดแล้วทีมอื่น ๆ ที่ทำงานด้าน Marketing ไม่ว่าจะเป็น AE, Sales, Media Buyer ได้สามารถเข้ามาดูผลลัพธ์การทำการตลาดดิจิทัล การทำ Social Media Marketing และ Website Marketing ได้ง่ายมากขึ้นจากการเข้ามาเช็กผลลัพธ์ในหน้า Dashboard ของตัว GTM
- เห็นถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
หากคุณมีการใช้งาน Google Tag Manager ควบคู่ไปกับการใช้งาน Google Analytics จะทำให้คุณสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคและ Customer Journey ได้ตลอดเวลา และคุณจะได้รู้ว่าควรจะต้อง Optimize เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในกรณีที่เป้าหมายที่คิดไว้ไม่เป็นไปตามแพลน
- เครื่องมือฟรี ใช้งานไม่เสียค่าบริการ
Google Tag Manager เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดที่ใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าบริการ มีประสิทธิภาพและความแม่นยำของข้อมูลสูง ชวนคนในทีมให้มาช่วยจัดการสร้าง Tag , Trigger และ Variable ที่ต้องการได้ด้วย
- ช่วยสร้างการเติบโตให้ธุรกิจออนไลน์ได้
ซึ่งการใช้งาน Google Tag Manager ก็เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยให้การทำธุรกิจออนไลน์หรือการตลาดดิจิทัลของคุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้นผ่านการใช้ Tools ที่จะช่วยให้การติดตามพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและส่งมอบการทำโฆษณา การยิงแอด Facebook ฯลฯ ไปหาคนกลุ่มนั้นได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : data science คืออะไร
ข้อเสียของการติด Google Tag Manager
แต่ก็ใช่ว่าการใช้งาน Google Tag Manager จะมีแต่ข้อดีอย่างเดียว เพราะในบางมุมของการใช้งานก็แอบมีข้อเสียเหมือนกัน ซึ่งเราจะขอเป็นที่แรกที่จะมาบอกคุณ
- อาจต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคสักเล็กน้อย
การทำงานของ Google Tag Manager นั้นจริงอยู่อย่างที่เราบอกไปว่าไม่มีความรู้ด้านโค้ดก็สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าจะให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด คุณต้องศึกษาเรื่องของโค้ดและการทำงานของระบบหลังบ้านของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันติดตัวไว้ด้วย จะช่วยให้การใช้งาน Google Tag Manager ของคุณลื่นไหลและผิดพลาดน้อยที่สุด
แต่สำหรับใครที่กำลังจะเริ่มใช้งานและยังไม่รู้ว่าในการใช้งาน Google Tag Manager จริง ๆ ต้องเริ่มใช้งานอย่างไรในตัว GTM ก็มี Guide สอนการใช้งานในแพลตฟอร์มให้นะ
- ต้องใช้เวลาในการทำงาน
ในการใช้งาน Google Tag Manager ในครั้งแรก ๆ ถ้าคุณเป็นมือใหม่อาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้หรือศึกษาตัวแพลตฟอร์มสักระยะเพื่อให้คุ้นชินกับการทำงานก่อน
- ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา
หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน Google Tag Manager ไม่ว่าจะเป็นฝั่งของ Tag , Trigger และ Variable อาจจะมีปัญหาที่ต้องปวดหัวกันสักนิดเพราะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของหลังบ้านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันด้วย ดังนั้นต้องเผื่อเวลาในการแก้ปัญหาให้ดี
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Google Tag Manager
เราสามารถติดตามอะไรได้บ้างจากการติด Google Tag Manager
คุณสามารถติด Tags บน Google Tag Manager ยกตัวอย่างเช่น Google Conversion Tag, Facebook Pixel, Google Ads Tracking หรือแม้แต่ TikTok Pixel และ 3rd Party ต่าง ๆ เช่น ซึ่งจะเป็น JavaScript Code ที่เอาไปติดไว้ที่ Source Code ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ ซึ่งคุณสามารถกดเข้าไปอ่านรายละเอียดสิ่งที่สามารถติดตามได้จากการติด Google Tag Manager ได้ที่ > https://support.google.com/tagmanager/answer/6102821
ข้อสรุปของ Google Tag Manager
การใช้งาน Google Tag Manager ไม่ใช่แค่เพียงเป็นตัวช่วยสำหรับบริหารจัดการพวก Tags ต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวแต่ในการทำการตลาดจริง ๆ คุณสามารถนำ GTM มาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Event Tracking ต่าง ๆ, Enhanced Ecommerce รวมถึงการใช้เป็นส่วนหนึ่งในการติดตามพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายผ่านการทำงานร่วมกับ Google Analytics นั่นเอง จึงต้องบอกเลยว่า Google Tag Manager คือเครื่องมือสำคัญของนักการตลาดดิจิทัลในปัจจุบันอย่างแท้จริง
อ้างอิงข้อมูล
Amanda Gant, What Is Google Tag Manager and Why Use It? The Truth About Google Tag Manager., https://www.orbitmedia.com/blog/what-is-google-tag-manager-and-why-use-it/
Julius Fedorovicius, 11 Reasons Why You Should Use Google Tag Manager, October 11, 2022 https://www.analyticsmania.com/post/reasons-why-you-should-use-google-tag-manager/
Jorge Vergara, Google Tag Manager: What Is It and How Does It Work?, May, 24, 2021 https://www.cyberclick.net/numericalblogen/google-tag-manager-what-is-it-and-how-does-it-work