Voice Search คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการตลาดบน Google

“OK Google หาร้านอาหารใกล้ ๆ ให้หน่อย”


ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลแบบ Voice Search ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะ Voice Search คือ วิธีที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่สะดวกพิมพ์คำค้นหา และส่วนมากผู้คนมักค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ร่วมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังสถิติจาก Think with Google ที่ระบุว่า 27% ของประชากรโลกนิยมใช้ Voice Search บนสมาร์ทโฟน (Source: bloggingwizard) ทั้งนี้ Voice Search สัมพันธ์กับการตลาดบน Google ทั้ง SEO และ PPC อย่างมีนัยยะสำคัญ หากคุณอยากเพิ่มโอกาสในการหาลูกค้ามากขึ้นจากช่องทางนี้ ลองหาวิธีปรับปรุงคอนเทนต์ให้รองรับการใช้งานแบบ Voice Search มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย!

Voice Search คืออะไร

Voice Search คืออะไร

ที่มา: https://nightwatch.io/blog/voice-search-optimization 

Voice Search คือ การค้นหาข้อมูลบน Search Engine ด้วยเสียงพูด แทนการพิมพ์ Keyword ลงในช่องค้นหาตามปกติ โดย Search Engine อันดับ 1 ของโลกอย่าง Google เปิดให้ใช้งาน Voice Search หรือการค้นหาด้วยเสียงเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2011 และพัฒนาขีดความสามารถให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน Voice Search บน Google ใช้ AI ช่วยในการวิเคราะห์เสียงของมนุษย์ รวมทั้งประมวลผลภาษา ให้เข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละคำสั่งได้อย่างสมบูรณ์

Voice Search แตกต่างกับการค้นหาแบบเดิมอย่างไร

แน่นอนว่า Voice Search คือ วิธีที่คิดค้นขึ้นเพื่อเป็น Option หนึ่งในการค้นหาข้อมูล โดยเราสามารถสรุปความแตกต่างของ Voice Search เมื่อเทียบกับการค้นหาแบบปกติได้ออกเป็น 4 ข้อ ดังนี้

  • ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น: การค่อย ๆ ไล่หาตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ย่อมใช้เวลามากกว่าการคลิกที่ไอคอนรูปไมโครโฟนแล้วพูดประโยคที่ต้องการ อ้างอิงจากข้อมูลของ Krungsri ที่ระบุว่า “ใน 1 นาที คนเราสามารถพิมพ์ได้ 38 – 40 คำ แต่สามารถพูดได้มากถึง 110 – 150 คำ” 
  • มักจะต้องมีคำพูดสำหรับเปิดใช้งานฟังก์ชัน: หากเป็นการค้นหาข้อมูลทั่วไป คุณสามารถพิมพ์ Keyword หรือคำถามที่เกี่ยวข้องลงในช่องค้นหาได้เลย แต่หากเป็นการค้นหาด้วยเสียง มักจะต้องเปิดใช้งานฟังก์ชันด้วยคำสั่งบางอย่างก่อน เช่น “สวัสดี Siri” หรือ “OK Google”
  • ต้องทำงานบนอุปกรณ์ที่รองรับคำสั่งเสียง: เมื่อต้องการใช้งานการค้นหาด้วยเสียง คุณจะต้องพิจารณาก่อนว่า อุปกรณ์ที่คุณใช้ รองรับคำสั่งประเภทนั้นได้หรือไม่ 
  • เหมาะกับการค้นหาด้วย Longtail Keyword: ธรรมชาติของการค้นหาด้วยตัวอักษรกับการค้นหาด้วยเสียงแตกต่างกัน เพราะการพิมพ์เป็นตัวอักษร ผู้คนมักจะพิมพ์สั้น ๆ อาทิ หากต้องการหาร้านอาหารใกล้บ้าน คนจำนวนมากก็มักจะพิมพ์ว่า “ร้านอาหาร ใกล้ฉัน” ในขณะที่หากค้นหาด้วย Voice Search พวกเขามักพูดกับโปรแกรมในลักษณะถามคำถาม หรือคำสั่ง เช่น “หาร้านอาหารใกล้ ๆ ให้หน่อย” หรือ “มีร้านอาหารแถวนี้หรือไม่” เป็นต้น

Voice Search ทำงานอย่างไร

เราสามารถสรุปขั้นตอนการทำงานของ Voice Search เป็นลำดับแบบคร่าว ๆ ได้ดังนี้

Voice Search Process

ที่มา: https://seranking.com/blog/voice-search-seo/ 

  • คัดกรองเนื้อหาในข้อความเสียง: จำแนกตัวข้อความเสียงออกจากเสียงพื้นหลัง
  • แปลงคลื่นเสียง: เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นข้อมูลดิจิทัล
  • วิเคราะห์เสียง: ประมวลผลชุดข้อมูลดิจิทัลนั้น ๆ
  • เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลใน Search Engine: เมื่อระบบทราบแล้วว่าผู้ใช้งานต้องการค้นหาอะไร ก็เชื่อมต่อการทำงานกับ Search Engine และส่งคำตอบที่เกี่ยวข้องบนในปรากฏบนหน้า Search
  • บันทึกและจดจำข้อมูล: Voice Search จะบันทึกข้อมูลการค้นหา และจดจำลักษณะการเรียบเรียงคำ สำเนียง รวมทั้งเรื่องที่คุณมักจะค้นหาบ่อย ๆ ไว้ในฐานข้อมูลด้วย

Voice Search มีประโยชน์ต่อการตลาด Google อย่างไร

ดังที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า การค้นหาด้วยเสียง หรือ Voice Search มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำการตลาดบน Google ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO หรือการซื้อโฆษณาผ่าน Google Ads โดยสามารถอธิบายได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ช่วยเพิ่ม Website Traffic จากอุปกรณ์เคลื่อนที่

ปัจจุบัน Algorithm ของ Google ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์มากพอ ๆ กับคุณภาพของเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็น ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) รวมทั้งการแสดงผลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Friendly) โดยหนึ่งในผลลัพธ์ที่จะยืนยันถึงคุณสมบัติดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ก็คือจำนวนผู้ใช้งานที่เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ดังนั้น การที่ผู้คนสามารถค้นหาข้อมูลผ่าน Voice Search ซึ่งเหมาะแก่การใช้งานบน Tablet และ Smarphone ได้ จึงช่วยเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ต่าง ๆ นั่นเอง

2. ช่วยให้คุณเข้าถึง Audience หลากหลายมากขึ้น

ความนิยมของ Voice Search มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอำนวยความสะดวกให้กับคนหลายกลุ่ม ทั้งคนที่ต้องการประหยัดเวลา ผู้สูงอายุ ผู้พิการทางสายตา ฯลฯ ดังนั้น Voice Search จึงช่วยเปิดโอกาสให้คุณได้พบปะกับ Audience หลายกลุ่มมากขึ้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Local SEO

Local SEO

ที่มา: https://www.mandr-group.com/how-schema-markup-can-boost-your-local-seo-ranking/?post_type=blog_post 

Local SEO คือการทำ SEO เพื่อส่งเสริมธุรกิจเฉพาะพื้นที่ เพื่อมุ่งแข่งขันเฉพาะกับเว็บไซต์คู่แข่งที่อยู่ในละแวกเดียวกัน และมุ่งแสวงหา Audience ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งการทำ SEO ประเภทนี้ ถือได้ว่าสอดรับกันดีกับการค้นหาแบบ Voice Search เนื่องจากพฤติกรรมของคนที่ใช้ Voice Search มักใช้เพื่อตามหาสถานที่ใน Location ที่ตัวเองสนใจ อาทิ “หาคาเฟ่ใกล้อโศก”, “แนะนำร้านอาหารใกล้ BTS” ดังนั้น เมื่อมีคนค้นหาข้อมูลแบบระบุพิกัดแน่ชัด ก็ย่อมทำให้ยอดการเข้าถึงของเว็บไซต์ที่ทำ Local SEO เพิ่มสูงขึ้น

ปรับปรุงคอนเทนต์และเว็บไซต์อย่างไร ให้สอดคล้องกับระบบ Voice Search

หลังจากที่ทราบแล้วว่า ประโยชน์ของ Voice Search คืออะไร หากคุณต้องการปรับปรุงคอนเทนต์และเว็บไซต์ให้ Support การค้นหาแบบ Voice Search นี่คือ 4 เทคนิคที่คุณเริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้!

1. อัปเกรดเว็บไซต์ให้รองรับการทำงานแบบ Mobile Friendly

วิธีตรวจสอบ Mobile Ability

ที่มา: https://www.benchmarkone.com/blog/intro-to-google-search-console/ 

พยายามปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ดีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เนื่องจากผู้ใช้งาน Voice Search มักใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ หากคุณไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ในปัจจุบันสามารถใช้งานบน Mobile ได้ดีหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้โดยเข้าไปที่ Google Search Console แล้วเลือกเมนู Mobile Usability

2. เขียนคอนเทนต์โดยตั้งชื่อหัวข้อให้เป็นคำถาม

ทันทีที่แตะไอคอนรูปไมโครโฟนเพื่อใช้งาน Voice Search ผู้คนมักค้นหาข้อมูลด้วยประโยคคำถาม เสมือนกำลังคุยกับเพื่อนที่ปรึกษา ดังนั้น แนะนำให้คุณตั้งชื่อหัวข้อให้เป็นประโยคคำถาม รวมทั้งใช้คำให้ใกล้เคียงกับภาษาพูดบ้าง เพื่อให้ระบบค้นหาของ Google จับคำถามเหล่านั้นได้ และเลือกนำไปแสดงบนผลการค้นหา

3. Optimize Longtail Keyword ให้มากขึ้น

เลือกใช้ Longtail Keyword ในบทความให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับประโยคค้นหาแบบยาว ๆ หรือ Keyword ค้นหาที่ลงรายละเอียด ในการใช้งานแบบ Voice Search ยกตัวอย่างเช่น หากคุณคิดจะเขียนคอนเทนต์รวมที่จอดรถ เดิมทีอาจใช้เพียง Keyword ว่า “ที่จอดรถ” หรือ “ที่จอดรถฟรี” ก็อาจเพิ่ม Related Keyword เป็น Longtail Keyword เพื่อการค้นหาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น “หาที่จอดรถฟรีใกล้ BTS” หรือ “หาที่จอดรถฟรี (ชื่อย่าน)” เป็นต้น

สรุป

Voice Search คือ ฟีเจอร์การค้นหาด้วยเสียงที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการทำการตลาด Google และยังมีส่วนในการกำหนดทิศทางการตลาดออนไลน์ในอนาคตอีกด้วย คุณจึงควรศึกษาเรื่อง Voice Search ไว้ในเบื้องต้น และลงมือปรับแต่งเว็บไซต์ เพื่อให้ธุรกิจของคุณก้าวทันกระแสใหม่ ๆ ของโลกการตลาด รวมทั้งเก็บเกี่ยวโอกาสในการค้นพบ Audience ใหม่ ๆ จากการค้นหาแบบ Voice Search ด้วย

อ้างอิง

Search Engine Journal. Voice Search: What Is It & How Does It Work? 

Available from: https://www.searchenginejournal.com/what-is-voice-search/463344/#close 

Search Engine Journal. How Can Voice Search Benefit Your SEO?

Available from: https://www.searchenginejournal.com/how-can-voice-search-benefit-your-seo/473408/ 

pumpkin. Benefits of voice search for SEO

Available from: https://www.pumpkinwebdesign.com/benefits-of-voice-search-for-seo/

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…