cpc คือ

ใครที่ทำโฆษณาบน Google Ads หรือ Facebook Ads คงจะเคยได้ยินเมตริก (Metrics) หนึ่งที่สำคัญที่ใช้ในการวัดผลลัพธ์การทำโฆษณา นั่นคือ CPC หรือ Cost per Click แต่อาจจะไม่แน่ใจว่า CPC นั้นเป็นเมตริกที่ช่วยวัดผลในรูปแบบไหน การจ่ายเงินแบบ cpc มีลักษณะอย่างไร จะแตกต่างจากเมตริกอื่นๆ เช่น PPC CPA และ CPM แตกต่างกันอย่างไร ลองมาดูวิธีการใช้แคมเปญ CPC ในการทำ Digital Marketing พร้อมดูนิยามว่า Cost per Click หรือ CPC คืออะไรอย่างละเอียด เพื่อให้นักการตลาดออนไลน์เข้าใจข้อดี-ข้อจำกัดของการทำ CPC ได้ในบทความนี้ และนำไปใช้ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติม: Google Ads คืออะไร

CPC (Cost per Click) คืออะไร 

CPC ย่อมาจาก Cost per Click คือ ต้นทุนต่อคลิก หมายถึง การคิดเงิน Ads จากการคลิกโฆษณา ซึ่งผู้ลงโฆษณาจะต้องทำการจ่ายให้กับแพลตฟอร์มที่ได้ทำการยิงแอดโฆษณา โดยสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้เองต่อคลิก (Cost per Click) เองได้เลย เช่น จะจ่าย 5 บาทต่อคลิก, จ่าย 10 บาทต่อคลิก เป็นต้น

CPC (Cost per Click) คืออะไร

ยกตัวอย่างการยิงแอดโฆษณาแบบ CPC ที่ปรากฏขึ้นบน Search Ads ซึ่งผลลัพธ์ของโฆษณาที่ยิงด้วยแอดจะอยู่เหนือด้านบนผลลัพธ์ของการทำ SEO คือ Search Engine Optimization ที่เป็นการทำเว็บไซต์ให้ติดหน้า SERP แบบ Organic

อ่านเพิ่มเติม: ยิงแอดคืออะไร (การยิงแอดโฆษณา)

ทำความเข้าใจเรื่อง CPC 

ค่าใช้จ่ายในการทำ CPC 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำ CPC มักจะคิดจากราคาต่อ 1 คลิก โดยผู้ยิงโฆษณาสามารถกำหนดได้ว่าจะใช้งบประมาณแบบรายวัน (Daily Budget)​ หรืองบประมาณตลอดอายุการใช้งาน (Lifetime Budget) ในการทำแคมเปญได้ และเมื่อใช้งบประมาณที่ผู้ลงโฆษณาทำการกำหนด แอดก็จะหยุดแสดงผลอัตโนมัติ ซึ่งตัวผู้ลงโฆษณาจะทำการเสนอราคาต้นทุนต่อคลิก (CPC) สูงสุดสำหรับโฆษณาเองได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ตั้งราคาต้นทุนต่อคลิกสูงสุด 10 บาท ถ้ามีคนคนหนึ่งของคุณก็จะจ่ายค่าคลิกนี้ไม่เกิน 10 บาท แต่ถ้าไม่มีคนคลิกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าโฆษณาใดๆ

ต้นทุนต่อคลิกคำนวณอย่างไร

ต้นทุนต่อคลิกคำนวณอย่างไร

วิธีการคำนวณต้นทุนต่อคลิก (CPC) จะคำนวณจากการหารค่าใช้จ่ายของโฆษณา (Ads Cost) ​ด้วยจำนวนคลิกที่ได้รับ (Number of Clicks) ยกตัวอย่างเช่น หากแคมเปญของคุณใช้จ่าย 1000 บาทในหนึ่งวัน และคุณได้รับคลิก 100 ครั้ง CPC ที่คำนวณได้ของคุณจะเท่ากับ 10 บาทต่อคลิก

ทำไมธุรกิจควรทำความเข้าใจกับ CPC

CPC คือ หนึ่งเมตริกสำหรับที่ใช้สำหรับวัดผลลัพธ์ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด แน่นอนว่า จึงมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในแพลตฟอร์ม Digital Marketing ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น…

  • เป็นเมตริกที่ช่วยทำให้เข้าใจเมตริกอื่นๆ เช่น ROAS (ผลตอบแทนจากค่าโฆษณา) ตามงบประมาณ เป็นต้น 
  • ช่วยในการวางแผนและคาดการณ์การเข้าชมโดยประมาณตามงบประมาณที่จ่าย
  • ทำให้ธุรกิจเห็นว่าแอดโฆษณาหรือคอนเทนต์ที่ใช้ในการยิงแอดมีคุณภาพที่จะดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้หรือไม่
  • เป็นการทำ Data Driven Marketing ที่ช่วยทำให้วิเคราะห์ได้ว่าการใช้งบประมาณในการยิงแอดโฆษณาโดยเฉลี่ยเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด

CPC PPC CPA และ CPM แตกต่างกันอย่างไร 

CPC แตกต่างจาก PPC อย่างไร 

CPC แตกต่างจาก PPC อย่างไร

CPC เป็นการคิดค่าแอดโฆษณาเป็นจำนวนเงินจริงจากการคลิกต่อ 1 ครั้ง หากไม่เกิดการคลิกก็จะไม่เสียเงินค่าโฆษณา เป็นเมตริกที่วัดบนหน้าแพลตฟอร์ม เช่น CPC Facebook คือ การคิดเงินที่เสียไปตามจำนวนคลิกบน Facebook เป็นต้น

ส่วน Pay-Per-Click (PPC) เป็นวิธีการทำ SEM โดยกำหนดเกณฑ์การจ่ายเงินเอาไว้ว่า เมื่อมีผู้ใช้งานบน Search Engine คือ ซอฟต์แวร์ออนไลน์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลออนไลน์ เช่น Google พบเห็นและทำการคลิกเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์จากบนหน้า Search Engine หรือถ้าในฝั่งของ Faebook ก็จะเป็นการคิดเงินตามจำนวนคลิก โดยจะเสียเงินตอนที่คนคลิกเข้ามาดูโฆษณาแต่ละครั้ง 

อ่านเพิ่มเติม: SEM คืออะไร

CPC แตกต่างจาก CPA อย่างไร 

CPC แตกต่างจาก CPA อย่างไร

​​CPC หรือ Cost per Click เป็นการจ่ายเงินต่อคลิกที่เกิดขึ้น ส่วน CPA หรือ Cost per Action คือ รูปแบบการจ่ายผลตอบแทนให้กับแพลตฟอร์มต่างๆ เมื่อมีการกระทำตามที่กำหนดไว้ เช่น กดลงทะเบียน, กดซื้อสินค้า, การกด Add to Cart เป็นต้น หรือกลุ่มที่เป็น Lead คือ คนที่มีแนวโน้มจะสนใจซื้อ แต่ถ้าหากลูกค้าคลิกเข้าชมโฆษณาแต่ไม่ได้ซื้อสินค้า ผู้ลงโฆษณาก็จะไม่เสียเงินค่าโฆษณา

ส่วนสูตรการคำนวณก็จะแตกต่างกัน คือ 

CPC จะคิดจาก งบประมาณแอดโฆษณา / จำนวนคลิก = CPC 

CPA จะคิดจาก งบประมาณแอดโฆษณา / จำนวนของ Conversion ที่ได้ = CPA

CPC แตกต่างจาก CPM อย่างไร

CPC แตกต่างจาก CPM อย่างไร

CPC จะเป็นรูปแบบการเรียกเก็บเงินโดยผู้ลงโฆษณาจะจ่ายเมื่อผู้ใช้คลิกที่โฆษณาเท่านั้น ส่วน CPM หมายถึงต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้งหรือต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้ง (Cost Per Thousand Impressions) จึงเน้นไปที่การยิงโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ ซึ่งการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักนั้นจะนำมาสู่ Engagement คือ การมีส่วนร่วมกับแบรนด์, การสนใจซื้อ ฯลฯ ต่อไปในอนาคตได้มากขึ้น

โดยปกติแล้วค่าโฆษณาในแบบ CPC อาจจะมีราคาที่สูงกว่าการยิงโฆษณาแบบ CPM แต่ก็มักจะใช้ในแคมเปญที่ต้องการสร้างโอกาสในการขาย เพราะช่วยกระตุ้นการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ที่ทำโฆษณาให้มีมากขึ้น เกิด และทำให้ CTR คือ ค่าสัดส่วนของจำนวนผู้คนที่เห็นโฆษณาและคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ที่สูงขึ้น ต่างจาก CPM ที่เน้นการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness) จากการวัดผลการมองเห็นแอดเป็นหลัก

ส่วนสูตรการคำนวณก็จะแตกต่างกัน คือ 

CPC จะคิดจาก งบประมาณแอดโฆษณา / จำนวนคลิก = CPC 

CPM จะคิดจาก ค่าแอดที่ใช้ /ยอดการมองเห็น (Impression) x1000 = CPM

การประมูล CPC ด้วยตนเองคืออะไร (Cost per Click Bidding)

(Cost per Click Bidding)

การประมูล CPC ด้วยตนเอง หรือ ​​Manual CPC คือ การกำหนด CPC สูงสุดสำหรับแต่ละโฆษณาตาม คำ Keyword ที่ต้องการกำหนดเป้าหมายด้วยตัวเองได้ ซึ่งการประมูล CPC ด้วยตัวเองจะเหมาะกับแคมเปญที่ผู้ลงโฆษณารู้อยู่แล้วว่า Keyword ไหนที่ช่วยทำให้รับคลิกและ Conversion ที่ดี และทำการกำหนดเงินเพื่อประมูล (Bidding) ใน Keyword นั้นให้สูงขึ้น เพื่อเอาชนะคู่แข่งใน Keyword เดียวกันได้ง่ายขึ้น

ราคาที่เพิ่มขึ้นต่อการประมูล CPC คืออะไร

ราคาที่เพิ่มขึ้นต่อการประมูล CPC คือ การเพิ่มต้นทุนโฆษณาในการประมูลให้เพิ่มขึ้นต่อคลิก โดยแพลตฟอร์มต่างๆ จะใช้การประมูลอัตโนมัติเพื่อปรับราคาข้อเสนอของผู้ลงโฆษณาตาม Conversion ตามที่ได้รับ

วิธีกำหนด PPC และ CPC ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การที่จะยิงแอด PPC และ CPC ให้มีประสิทธิภาพ จะต้องทำความเข้าใจขั้นตอนการยิงแอดโฆษณาพื้นฐานเสียก่อน โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็นการยิง CPC ผ่าน Google Ads มาดูกันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

  • ทำ Keyword Research

ทำ Keyword Research

หา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายใช้และตรงกับ Search Intent ของพวกเขา โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Google Keyword Planner ในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่ต้องการได้เลย

  • วิเคราะห์แนวโน้ม

วิเคราะห์แนวโน้ม

ทำการวิเคราะห์แนวโน้มการค้นหา คลิก และการแข่งขันของ Keyword ที่ต้องการจะยิงแอดว่ามีแนวโน้มมากหรือน้อยเท่าไหร่ ควรลงทุนประมูลคำนั้นๆ หรือไม่ เมื่อเทียบกับงบประมาณที่มี และเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากนั้นให้เลือกคำคีย์เวิร์ดประเภท Long Tail Keywords ที่มี Search Volume และมีแนวโน้มการแข่งขันไม่สูงจนเกินไปออกมา และนำไปวิเคราะห์ต่อว่าคำเหล่านี้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลอื่นร่วมด้วย เช่น จำนวนประชากร อายุ สถานที่ตั้ง เป็นต้น

  • จัดเรียง Keyword

ทำการจัดเรียง Keyword ที่ได้ใหม่ โดยเลือกคำที่ควรจะอยู่ด้วยกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และปรับแต่งให้เป็น Long Tail Keywords หลังจากนั้นสร้าง Ad สำหรับ Ad Group แต่ละกรุ๊ปขึ้นมา

  • เพิ่ม Negative Keyword

Negative Keyword คือ คำหรือกลุ่มคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับโฆษณาที่ต้องการ หากทำการกำหนด Negative Keyword ลงไปก็จะช่วยทำให้เมื่อมีคนเสิร์ช Negative Keyword เหล่านี้ก็จะไม่ปรากฏผลลัพธ์ขึ้น จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและกรองกลุ่มคนที่ไม่ใช่เป้าหมายออกไปได้

  • คำนวณงบประมาณ

ทำการคำนวณหา Max Cost สำหรับการคลิกแต่ละครั้ง เพื่อควบคุมงบประมาณ โดยใช้สูตร Max CPC = (กำไรจากลูกค้าแต่ละคน) * (1 – profit margin) * (conversion rate ของเว็บไซต์)

  • วิเคราะห์คู่แข่ง

วิเคราะห์คู่แข่ง

  • ลงมือทำ Copy Ads

การเขียน Copy Ads จะต้องเขียนให้ดึงดูดผู้ใช้งานและเขียนให้ดีต่อ Algoritym ของ Google Ads ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เขียนให้ตรงตามความยาวของ Google Ads โดย Headline 1, 2 และ 3 จะต้องยาวไม่เกิน 30 ตัวอักษรในแต่ละหัวข้อ, Description 1 และ 2 แต่ละคำอธิบายต้องยาวไม่เกิน 90 ตัวอักษร นอกจากนี้ ต้องทำการใส่ Display URL และ Path ลงไปด้วย ส่วน Keyword เองก็สำคัญควรที่จะนำมาใส่เอาไว้ใน Headline และ Description ด้วย

  • ใช้เทคนิค CTA ให้มีประโยชน์

CTA หรือ Call-To-Action จะใส่เพื่อกระตุ้นให้ผู้พบเห็นทำอะไรบางอย่างกับแอด จึงควรเขียนให้กระชับ ชัดเจน และตรงไปตรงมา เพื่อทำให้รู้ว่าคลิกแล้วจะได้อะไร

  • ใส่ Extensions

ใส่ Extensions

Extensions คือ ​​ลิงก์ที่แสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหา จะแสดงอยู่ใต้ล่าง Title และ Meta Description ด้านบนสุด แนะนำให้ใส่เพื่อเพิ่มโอกาสในการคลิกมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

เมื่อกำหนดให้ CPC ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะเกิดผลลัพธ์อย่างไร 

เมื่อทำการปรับปรุง CPC ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วจะช่วยทำให้เกิด Conversion อย่างที่ธุรกิจต้องการได้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น

  • ช่วยทำให้บรรลุเป้าหมายในการยิงแอดและช่วยเพิ่ม Traffic เข้าเว็บไซต์ โดยการใช้ข้อมูลที่มีอาจจะวิเคราะห์มาจาก Google Analytics แล้วนำมาใช้เป็นเป้าหมายในการยิงแอด ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นคนที่เข้าเว็บไซต์ของคุณอยู่แล้วก็มีโอกาสคลิกซ้ำมากขึ้น ทำให้มีโอกาสซื้อเพิ่มมากขึ้นด้วย
  • ช่วยปรับปรุงแคมเปญโฆษณาให้ดีมากขึ้นจากการวัดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
  • ช่วยในการตัดสินใจเปลี่ยนแคมเปญได้อย่างรวดเร็ว หากพบว่าการยิงแอดแบบ CPC ไม่คุ้มค่ากับการทำโฆษณาในบางประเภท

อ่านเพิ่มเติม: Google Analytics คืออะไร

วิธีลด CPC ในกรณีที่ต้นทุนต่อคลิกแพงเกินไป

วิธีลด CPC ในกรณีที่ต้นทุนต่อคลิกแพงเกินไป

หากไม่ต้องการที่จะเสียเงินค่าโฆษณาที่แพงมากจนเกินไป จะต้องมีแผนและวิธีการป้องกันไม่ให้จ่ายต่อคลิกที่มากจนเกินไป ลองมาดูกันดีกว่าว่าจะมีวิธีการลด CPC ในกรณีที่ต้นทุนต่อคลิกแพงเกินไปอย่างไรบ้าง

เพิ่ม Quality Score ในเว็บไซต์ 

Quality Score คือ เครื่องมือวิเคราะห์ด้าน Data Analytic ของ Google Ads ที่จะช่วยให้ทราบว่าคุณภาพโฆษณาของคุณว่าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผู้ลงโฆษณารายอื่นๆ มีระดับ 1-10 โดยมีระบบจะคำนวณคะแนนคุณภาพ 3 ส่วน ดังนี้

  • อัตราการคลิกผ่านที่คาดหวัง (Expected Clickthrough Rate): โอกาสที่ผู้ใช้จะคลิกโฆษณาที่แสดงให้เห็น โดยการตรวจสอบให้แน่ใจว่า รายละเอียดโฆษณานั้นตรงกับ Keyword ที่ใช้หรือไม่
  • ความเกี่ยวข้องกับแอดโฆษณา (Ad Relevance): โฆษณาควรที่จะดึงดูดความสนใจและตรงกับ Search Intent ของกลุ่มเป้าหมาย 
  • หน้าเว็บไซต์ (Landing Page): หน้า Landing Page ควรเกี่ยวข้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายตามหาและเกี่ยวข้องกับโฆษณา รวมถึงความเร็วในการโหลดหน้า Landing Page ก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพมากพอในการเข้าถึงจากทุกอุปกรณ์การสื่อสาร เพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าไม่ต้องรอโหลดนาน

อ่านเพิ่มเติม: Data Analytic คืออะไร 

ทำ Keyword Research

อย่าลืมทำ Keyword Research เพื่อค้นหา Keyword ที่ตรงกับ Search Intent ของผู้คนและตอบโจทย์กับสินค้าและบริการของธุรกิจ โดยเริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้ 

  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน: ทำการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจโดยลองจับคู่เข้ากับโฆษณาและสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกำลังทำการค้นหาอยู่
  • แบ่งโฆษณาออกเป็นกลุ่ม: ทำการแบ่งโฆษณาที่ทำออกเป็นกลุ่มตามคำ Keyword ที่ผู้คนค้นหา 
  • ทำการจัดกลุ่ม: ตั้งชื่อกลุ่ม และจัดกลุ่ม Keyword ที่ตรงกับสิ่งที่ผู้คนค้นหา เช่น หากคุณกำลังทำการตลาดเกี่ยวกับหูฟัง ให้ทำการดูว่าคุณมีสินค้าที่เป็นหูฟังกี่ประเภท อย่างหูฟังแบบครอบหู หูฟังแบบสาย หูฟังแบบ Bluetooth หลังจากนั้นทำการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและ Keyword ที่ต้องการใช้ให้ตรงกัน

ข้อดี ข้อจำกัดของการทำ CPC 

ข้อดีของการทำ CPC

ข้อจำกัดของการทำ CPC

เพิ่มยอด Traffic เข้าเว็บไซต์

ใช้งบประมาณในการทำโฆษณาสูงกว่าแบบ CPM

เพิ่มมูลค่าที่สูงขึ้น

เรตราคาต่างกันมากในแต่ละแคมเปญ

เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีลิสต์รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย

มีผลดีต่อการรับรู้แบรนด์และผลิตภัณฑ์น้อย

ข้อดีของการทำ CPC

การยิงแอดแบบ CPC ช่วยดึงดูดปริมาณการเข้าชมไปยังเว็บไซต์ของผู้โฆษณาได้มากที่สุด จึงช่วยเพิ่มโอกาสทางการขายหลังจากที่มีผู้ชมเข้ามายังเว็บไซต์ได้มากกว่าแคมเปญแบบ CPM ที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และก็อาจจะเหมาะกับธุรกิจที่ทำ CRM คือ Customer Relationship Management ที่มีรายชื่อว่าที่ลูกค้าในมือ การยิง CPC ก็จะช่วยกระตุ้นความสนใจของพวกเขาได้โดยตรงมากยิ่งขึ้นด้วย

ข้อจำกัดของการทำ CPC 

การยิงแอดแบบ CPC จะจ่ายเงินค่าโฆษณาที่สูงกว่า CPM โดยค่าใช้จ่ายจะจ่ายมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทำให้แคมเปญโฆษณามีราคาที่แตกต่างกันมาก เช่น การเสนอราคา, คุณภาพแอด, คุณภาพของเว็บไซต์ปลายทางอย่างการเขียนเนื้อหา/การวาง Keyword/การทำ CTA คือ Call-to-action ฯลฯ นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับการโฆษณาแบบ CPM การยิงแอดแบบ CPC จะแสดงผลให้ผู้คนเห็นน้อยกว่า จึงอาจจะไม่ได้ช่วยในการสร้างการจดจำแบรนด์ได้มากนัก

คำถามที่พบบ่อย 

CPC ที่ปรับปรุงแล้ว (ECPC) คืออะไร

CPC ที่ปรับปรุงแล้ว หรือ Estimated Cost per Click: ECPC คือ Smart Bidding รูปแบบหนึ่งที่ช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับ Conversion ให้กับการทำโฆษณา โดยทำงานร่วมกับราคาเสนอ CPC สูงสุดที่ผู้ลงโฆษณาตั้งไว้ และจะโฟกัสไปที่ Conversion หรือการคลิกที่เป็น Conversion เป็นหลัก

ECPC จะใช้ได้เฉพาะกับการทำแคมเปญ Paid Search ที่เป็นข้อความ แคมเปญการค้นหา และเครือข่ายดิสเพลย์ (GDN) เท่านั้น แต่จะใช้กับเครือข่ายดิสเพลย์ (GDN) และ แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ไม่ได้ 

ข้อสรุป 

CPC หรือ Cost per Click คือ เมตริกหนึ่งในการยิงแอดโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยจะคิดเองตามต้นทุนต่อคลิก ทำให้เจ้าของธุรกิจดึงดูดลูกค้าเข้ามาหาแบรนด์ได้มากขึ้น โดยเสียงบประมาณตามจริงที่เกิดขึ้น แน่นอนว่า ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายหรือ Conversion ที่แบรนด์ต้องการได้มากกว่าที่เคย

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการยิงแอดที่นิยมใช้เพื่อยิงโฆษณาแบบ CPC คือ Google Ads ซึ่งผู้ลงโฆษณาควรศึกษาวิธีการใช้ทั้งการตั้งค่ากลุ่มเป้าหมาย ตั้งค่างบประมาณ ตั้งค่าแอดต่างๆ เพื่อการยิงแอดที่มีประสิทธิภาพ 

ส่วนใครที่ไม่รู้ว่าจะ Tracking เว็บไซต์เพื่อทำให้ได้ข้อมูลของผู้ใช้เว็บไซต์มาใช้ในการยิงแอดก็สามารถใช้ Google Tag Manager ในการติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อดู Insight ที่ละเอียดได้อย่างรวดเร็ว และนำมาใช้ในการยิงแอดต่อได้ และนอกจากเครื่องมือติดตามแบบละเอียดแล้วก็ยังมีเครื่องมือที่ใช้ดู Search Intent ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเช่น Google Trend คือ เครื่องมือที่ใช้ดูแนวโน้มหรือเทรนด์ในการค้นหาของคนตามช่วงเวลาได้ ซึ่งการใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันก็จะช่วยทำให้การยิงโฆษณาไม่ว่าจะในรูปแบบ CPC CPA หรือ CPM เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากใช้ Data ที่น่าเชื่อถือเข้ามาช่วยในการตัดสินใจตั้งค่าแอดแบบละเอียดนั่นเอง

อ้างอิง

Kelly Lyons.  (2022).  What Is Cost Per Click (CPC) & Why It Matters.  [Online]. retrieve from: https://www.semrush.com/blog/cost-per-click/

Brooke Osmundson.  (2022).  What Is Cost Per Click (CPC)?.  [Online]. retrieve from: https://www.searchenginejournal.com/what-is-cost-per-click-cpc/463179/#close

JAKE FRANKENFIELD.  (2022). Cost Per Click (CPC) Explained, With Formula and Alternatives.  [Online]. retrieve from: https://www.investopedia.com/terms/c/cpc.asp

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…