Engagement คือ

Engagement คือการที่กลุ่มเป้าหมายหรือคนที่ติดตามคุณอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ “มีส่วนร่วม” กับแบรนด์ หรือธุรกิจของคุณในช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่ง Metrics สำคัญนอกเหนือจาก Leads และ Conversion ในการวัดผลความสำเร็จของการทำ Digital Marketing และการทำ Social Media Marketing

โดยเฉพาะ Facebook ที่เป็นแพลตฟอร์มใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้ที่ช่วยสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดที่ดีกับทุกกลุ่มเป้าหมาย การวัดผล Engagement Facebook จึงกลายเป็นอีกหนึ่งค่าที่ใช้ในการวัดผลแคมเปญการทำโฆษณาและการทำ Content Marketing ที่นักการตลาดหลายคนห้ามมองข้ามไปโดยเด็ดขาด

ในบทความนี้เราเลยขอมาอธิบายความหมายว่าจริง ๆ แล้ว Engagement คืออะไร ธุรกิจสร้าง Engagement จากอะไรได้บ้าง เพื่อเป็นตัวช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้าง Engagement ให้การทำการตลาดของคุณพุ่งทะยานในปี 2023 ที่จะมาถึงนี้

Engagement คืออะไร 

Engagement คือ  ยอดตัวเลขที่ผู้พบเห็น “มีส่วนร่วม” ต่อคอนเทนต์หรือโฆษณาที่แบรนด์ได้เผยแพร่ไปทางแพลตฟอร์ม Social Media ทั้งการมีส่วนร่วมในทางบวก (Positive Feedback) เช่น ยอดถูกใจ (Like), ยอดแชร์ (Share), ปุ่มแสดงอารมณ์ (Reactions), ยอดในการแสดงความคิดเห็น (Comment) และการมีส่วนร่วมทางลบ (Negative Feedback) เช่น การแจ้งสแปม, การกดซ่อนโพสต์, การกด Report รายงานปัญหา เป็นต้น 

ซึ่ง Engagement ถือว่าเป็นค่าที่ใช้วัดการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคุณ สามารถนำเอาข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาการทำการตลาด Social Media Marketing ของคุณได้เป็นอย่างดี โดยแต่ละแพลตฟอร์ม Social Media ก็จะมีการนับยอด Engagement ที่แตกต่างกันออกไป แต่ในบทความนี้เราจะมาเน้นกันที่ Facebook Engagement

รู้จักกับ Facebook Engagement 

Facebook Engagement

Facebook Engagement คือการมีส่วนร่วมผ่านการกระทำใด ๆ ก็ตามจากกลุ่มผู้คน (Audience) ที่เกิดขึ้นบนเพจ Facebook ทั้งในการโพสต์คอนเทนต์และโฆษณา Facebook ของธุรกิจคุณ การมีส่วนร่วมที่ว่าจะนับตั้งแต่การกดปุ่มแสดงอารมณ์ (Reactions), การแสดงความคิดเห็น (Comments), การกดปุ่มแชร์ (Share), หรือแม้แต่การคลิกเพื่อมีส่วนรวมในแบบอื่น ๆ เปรียบเสมือนการที่ Audience มีการตอบรับแสดงความรู้สึกบางอย่างกับการนำเสนอคอนเทนต์หรือโฆษณาของแบรนด์คุณ ช่วยให้คุณรู้ว่าคอนเทนต์หรือโฆษณาตัวนั้นได้รับเสียงตอบรับอย่างไรบ้างในสายตาของผู้คนบน Facebook 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : ตัวจัดการโฆษณา Facebook (Facebook Ads Manager) คืออะไร? 

ทำไมธุรกิจควรมี Engagement Marketing

ต้องอธิบายถึงความหมายของ Engagement Marketing ให้เข้าใจก่อนว่า Engagement Marketing คือกลยุทธ์ในการทำการตลาดที่แบรนด์จะใช้การมีส่วนร่วมกับลูกค้าเป็นกลวิธีหลักในการทำให้ลูกค้าเปิดใจกับสินค้าของแบรนด์ เช่น การทำให้ลูกค้าเกิดการพูดคุยกันในเพจมากขึ้นหรือการกระตุ้นให้ลูกค้าแชร์คอนเทนต์และโฆษณาของแบรนด์คุณเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการพาแบรนด์ของคุณไปสู่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มอื่น ๆ 

โดยแบรนด์เองก็จะได้ประโยชน์จากการทำ Engagement Marketing มากมายเช่น สามารถนำข้อมูลวัดผล Engagement ที่ได้มาวิเคราะห์และทำการออกแบบคอนเทนต์ ออกแบบโฆษณา และสร้างประสบการณ์ที่มีความหมาย โดนใจกลุ่มเป้าหมาย 

สิ่งนี้สามารถช่วยกระตุ้นการขาย ตลอดจนสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ เพิ่ม Brand Loyalty (ความภักดีต่อแบรนด์) และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ยั่งยืนกว่าวิธีการทำการตลาดแบบอื่น ๆ นั่นเอง

ประเภทของ Engagement 

เราลองมาดูประเภทของ Engagement กันบ้างว่าในปัจจุบันมี Engagement หรือ Facebook Engagement ประเภทไหนบ้างที่มาแรงและมีความสำคัญต่อการทำการตลาดดิจิทัลของธุรกิจ

1. Like / Reaction

Like / Reaction คือการกดแสดงความรู้สึกบนคอนเทนต์หรือโฆษณาใน Facebook (และ Social Media ตัวอื่น ๆ เช่น Instagram, TikTok) เป็นการแสดงความรู้สึกว่าเรารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เราเห็น โดยในปัจจุบันมี Emotion ของ Like / Reaction ดังนี้ (ยกตัวอย่าง Facebook)

ประเภทของ Engagement

  • Like (ถูกใจ)
  • Love (รัก)
  • Haha (หัวเราะ)
  • Care (ห่วงใย)
  • Sad (เศร้า)
  • Angry (โกรธ)
  • Wow (ตกใจ)

2. Comments

Comments คือการแสดงความคิดเห็นผ่านการพิมพ์ตัวอักษรหรือการโพสต์รูปและวิดีโอในช่องพูดคุยของคอนเทนต์หรือโฆษณาตัวนั้น ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการแสดงความรู้สึกผ่านตัวอักษร เช่น การสอบถามสิ่งที่สงสัย, การแสดงความคิดเห็นส่วนตัว, การแจ้ง Feedback ให้แบรนด์ได้ทราบ ฯลฯ

3. Shares

Shares คือการที่ผู้ที่พบเห็นคอนเทนต์และโฆษณาบน Facebook (และ Social Media ตัวอื่น ๆ เช่น Instagram, TikTok) เกิดความรู้สึกอะไรบางอย่างและอยากเอาเนื้อหาที่พบเห็นแชร์ลงไปยังหน้า Feed ของตัวเอง

ซึ่ง Shares เป็นประเภทของ Engagement ที่มีประโยชน์ต่อแบรนด์มากที่สุด เพราะจะช่วยให้เพื่อนหรือผู้ติดตามของคนที่กดแชร์เห็นเนื้อหาของโพสต์ดังกล่าว เป็นเหมือนการกระจายข่าวสารไปเรื่อย ๆ โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย 

Tips : การ Shares ของแพลตฟอร์ม Twitter จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ‘Retweet’ ซึ่งเป็นเหมือนการแชร์บน Social Media ประเภทอื่น ๆ ทุกประการ

 

4. Click-Throughs

Click-Throughs คือ Engagement ที่วัดผลว่ามีผู้ที่พบเห็นคอนเทนต์และโฆษณากดคลิกเข้าไปยังลิงก์ที่คุณโพสต์ไว้ในแคปชันหรือ Call To Action มากน้อยเพียงใด เป็นการวัดผลที่ช่วยทำให้คุณรู้ว่าสินค้าของคุณที่ได้ทำการโฆษณาไปนั้นมีความน่าสนใจมากพอให้พวกเขากดเข้าไปยังเว็บไซต์หรือลิงก์ปลายทางที่คุณต้องการหรือเปล่า เป็น Engagement ที่ใช้วัดผลได้ดีโดยเฉพาะการทำโฆษณาหรือการยิงแอด Facebook  

ยอด Engagement

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : CTR (Click-Throughs Rate) คืออะไร

ขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Engagement Marketing 

ในส่วนนี้เราจะขอมาอธิบายขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Engagement Marketing เพื่อเป็นส่วนช่วยให้คุณสามารถเริ่มการทำ Engagement Marketing ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบอกเลยว่าไม่ยากแน่นอน!

ขั้นตอนที่ 1 : ทำการสร้าง Buyer Persona 

Buyer Persona คือการให้คุณได้จำลองและรู้จักตัวตนที่แท้จริงของทั้งลูกค้าและตัวตนของแบรนด์ (Brand Persona) ซึ่งการกำหนด Persona Target ได้อย่างแม่นยำ จะเป็นผลดีกับการทำการตลาดของคุณในระยะยาว ช่วยให้คุณสื่อสารไปหากลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 

การสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าที่ถูกต้องมีผลต่อการทำ Engagement Marketing ของธุรกิจคุณอย่างแท้จริง ซึ่งคุณต้องทำการพิจารณาว่าลูกค้าในปัจจุบันและอนาคตของคุณต้องการข้อมูลประเภทใดและมีสิ่งใดบ้างที่เขาคาดหวังจากการทำการตลาดของธุรกิจคุณ

การสร้าง Buyer Persona ที่มีประสิทธิภาพนั้นคุณต้องระบุให้ชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายที่คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าของคุณนั้นคือใคร และพวกเขาจะมีปัญหาหรือความต้องการอะไรบ้าง โดยเมื่อคุณระบุ Persona ของธุรกิจได้แล้วคุณก็จะพอเห็นภาพมากขึ้นว่าคุณควรจะต้องทำใช้กลยุทธ์การสื่อสารแบบใดที่จะทำให้พวกเขาอยากสร้าง Engagement กับธุรกิจของคุณ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Persona คืออะไร ทำไมเราควรสร้างผู้ใช้จำลองในการทำการตลาด 

ขั้นตอนที่ 2 : กำหนด Brand Voice

Brand Voice คือน้ำเสียงและสไตล์การเล่าเรื่องของแบรนด์ที่ใช้ในการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าคุณจะสร้างเนื้อหาสำหรับคอนเทนต์รูปแบบไหน เช่น Blog, Video Content หรือโพสต์บน Social Media อะไร สไตล์ที่คุณเขียนจะกลายเป็นกระบอกเสียงของแบรนด์ของคุณที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการจดจำแบรนด์

ซึ่ง Brand Voice จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกอยากสร้างยอด Engagement กับแบรนด์เพราะถ้าพวกเขาชอบเนื้อหาของคอนเทนต์ที่มีสไตล์การเล่าเรื่องที่ถูกใจ ก็จะเป็นเรื่องง่ายในการที่พวกเขาจะแสดงการมีส่วนร่วมอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Like, Comment, Shares หรือ Click-Throughs ต่อโพสต์ของแบรนด์คุณได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 : ระดมไอเดียกับทีมและแพลนการสร้างคอนเทนต์

หลังจากที่คุณกำหนด Persona และ Brand Voice ของธุรกิจได้แล้วขั้นตอนต่อมาก็ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนนั่นก็คือการลองนำสิ่งที่คุณกำหนดขึ้นมาระดมไอเดียกับทีมการตลาดของคุณและทำการสร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กับสิ่งที่คุณกำหนดไว้ขึ้นมา

เช่นหากธุรกิจของคุณขายเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงแนวเซ็กซี่ ใช้ Facebook เป็นช่องทางการขายหลัก มี Persona เป็นกลุ่มวัยรุ่นผู้หญิงอายุประมาณ 20-30 ปี เลือกใช้ Brand Voice เป็นเหมือนเพื่อนสาว Guru ด้านแฟชั่นมีจริตผู้หญิงเซ็กซี่ การสร้างเนื้อหาของคอนเทนต์ที่คุณเลือกใช้ก็ต้องเลือกใช้การโชว์สินค้าอย่างชัดเจน มีการเล่นมุกตลก ๆ ใช้ศัพท์สมัยใหม่ตามเทรนด์ มีการคุยกับคนที่มา Comments อยากสนุกสนาน ตอบคำถามเรื่องไซส์เสื้ออย่างจริงใจ ก็จะเป็นตัวอย่างในการสร้าง Engagement ให้ธุรกิจได้

ขั้นตอนที่ 4 : ทำการสร้าง Content Calendar และเริ่มทดลองเผยแพร่จริง

หลังจากที่คุณกำหนดรูปแบบของคอนเทนต์คร่าว ๆ มาแล้วขั้นตอนต่อมาคือการลองเผยแพร่คอนเทนต์นั้นลงในแพลตฟอร์มจริง ๆ เพื่อเช็กดูว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณจะชื่นชอบและมี Engagement กับคอนเทนต์ที่คุณคิดไว้หรือเปล่า

โดยเราแนะนำว่าให้คุณทำการสร้าง Content Calendar ขึ้นมาเพื่อเป็นการวางแพลนว่าในเดือน/สัปดาห์นั้น ๆ ว่าคุณจะมีการเผยแพร่คอนเทนต์อะไรบ้าง ลงวันไหน เวลาใด ในช่วงแรกอาจจะลองหว่านรูปแบบคอนเทนต์ที่หลากหลายไปก่อนเพื่อหาคอนเทนต์ที่กลุ่มเป้าหมายมี Engagement มากที่สุดและค่อยนำผลลัพธ์รูปแบบคอนเทนต์ที่ได้ยอด Engagement มากที่สุดมาเผยแพร่ลงในแพลตฟอร์มให้บ่อยมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Inbound Marketing คืออะไร?

ขั้นตอนที่ 5 : วัดผลและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 

ทั้งนี้เราก็ไม่สามารถตอบได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนที่เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มเป้าหมายและได้ยอด Engagement ที่ดีที่สุดเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ความน่าสนใจของสินค้า, รูปแบบคอนเทนต์ที่นำเสนอ, การเล่าเรื่องและ Brand Voice ที่ใช้ ฯลฯ 

ดังนั้นคุณจำเป็นต้องทดลองและหาคำตอบในแบบของคุณเองและนำผลลัพธ์ที่ได้มาพัฒนาและปรับปรุงกับการทำ Engagement Matketing ของคุณอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้จะช่วยให้การทำ Engagement Marketing ของธุรกิจมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

เคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพ Engagement Marketing ให้กับธุรกิจ

ในการสร้าง Engagement Marketing ให้ประสบความสำเร็จนั้นนอกจากทำตามขั้นตอนที่ได้แนะนำไป เราก็ขอมาอธิบายถึงเคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพ Engagement Marketing ให้กับธุรกิจที่จะเข้ามาติดจรวดการทำ Engagement Marketing ของคุณให้ทรงพลังมากยิ่งขึ้นดังนี้

    • Make your data manageable – ทำข้อมูลให้จัดการได้ง่ายที่สุด มีการใช้งาน Tools ต่าง ๆ ที่เป็น Dashboard ในการเห็นข้อมูลยอด Engagement หลังบ้านของแพลตฟอร์มเช่น Facebook Business Manager, Google Analytics, TikTok Business Manager 
    • Find the right platform – ค้นหาแพลตฟอร์มที่เหมาะสม หาให้เจอว่าแพลตฟอร์มที่ใช่สำหรับธุรกิจของคุณคืออะไรแนะนำว่าต้องดูจากลักษณะสินค้าที่คุณขายและแพลตฟอร์มที่กลุ่มเป้าหมายของคุณเลือกใช้งานมากที่สุด
    • Personalize the experience – ใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อสร้างคอนเทนต์และมอบประสบการณ์ที่มีความเป็น Personalized เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุณกำลังสื่อสารกับพวกเขาอยู่ จะช่วยกระตุ้นการสร้าง Engagement ได้เป็นอย่างดี
    • Research your content strategyContent Marketing เป็นส่วนสำคัญของการตลาดแบบ Engagement Marketing เพื่อตอกย้ำตัวตนของธุรกิจคุณ แนะนำว่าควรต้องสำรวจคู่แข่งทั้งในด้านการทำคอนเทนต์และ SEO อย่างจริงจัง เพื่อดูว่าในตลาดเดียวกับธุรกิจคุณมีคู่แข่งนำเสนอคอนเทนต์แบบไหนไปแล้ว และเราจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร
    • Go big on social – กล้าที่จะลงมือทำในสิ่งที่แตกต่าง เช่น โพสต์คอนเทนต์ที่มีความหมายโดยใช้คำพูดที่เฉียบคม มีอารมณ์ขัน และการกำหนดเป้าหมายที่ถูกต้อง อาจทำให้ยอด Engagement และยอด Conversion ของธุรกิจคุณเพิ่มขึ้นก็ได้
    • Experiment with AI – ลองใช้ AI Tools ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการทำคอนเทนต์แบบไหนที่มีผลดีต่อธุรกิจและการสร้าง Engagement ของคุณ เช่นการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคแบบ Real-Time เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์และมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้า เช่น Hubspot, Concured, BrightEdge, Crayon ฯลฯ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Engagement 

Engagement เหมือนหรือแตกต่างกับคำว่า Interaction หรือไม่

Engagement มีความแตกต่างกับคำว่า Interaction แม้ทั้ง 2 คำจะแปลความหมายถึงการแสดงความรู้สึกและอารมณ์ร่วมกับธุรกิจคุณแต่ Engagement จะต้องเป็นสิ่งที่สามารถวัดผลได้ มีตัวเลขในการแสดงผลค่าเฉลี่ยอย่างชัดเจนในทุกยอด เช่น Like, Reactions, Comment, Share หรือ Click-Throughs ซึ่งแตกต่างจาก Interaction ที่ไม่สามารถวัดผลได้เป็นเหมือนคำนิยามของการมีส่วนร่วมเฉย ๆ 

Employee Engagement คืออะไร  

แม้จะมีคำว่า Engagement เหมือนกันแต่คำว่า Employee Engagement คือความผูกพันที่พนักงานมีต่องานและองค์กร เป็นสภาวะที่พนักงานในองค์กรรู้สึกมีพลังและแรงจูงใจที่จะมุ่งมั่นทุ่มเททำงานที่ได้รับในแต่ละวัน

ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Human Resources และการบริหารจัดการบุคคล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Engagement Marketing หรือ Facebook Engagement เลยแม้แต่น้อย แค่มีคำว่า Engagement เป็น Keyword เหมือนกันเท่านั้น (เพราะฉะนั้นอย่าสับสนล่ะ!) 

สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ Engagement 

ถ้าธุรกิจของคุณอยากได้ยอด Engagement เยอะ ๆ นั้น กุญแจสำคัญก็คือการรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของคุณมีความชื่นชอบคอนเทนต์แบบไหน แล้วลองทำคอนเทนต์ให้แปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น

หันมาพูดคุยกับพวกเขามากขึ้น เพื่อให้คนกลุ่มนี้เกิด Brand Royalty ธุรกิจของคุณก็จะได้ยอด Engagement ที่มีคุณภาพ และต่อยอดไปสู่การปิดการขาย สร้าง Conversion ให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้นั่นเอง

 

อ้างอิงข้อมูล 

Mike Eckstein, Social Media Engagement: Why it Matters and How to Do it Well, Jan, 6, 2022, https://buffer.com/library/social-media-engagement/ 
Marketo, Engagement Marketing: A Complete Guide, https://www.marketo.com/engagement-marketing/ 
Jessica Malnik, Facebook Engagement: What Is It & How Do You Measure It?,  Apr, 1, 2021, https://databox.com/facebook-engagement-tips  

10 body languages for presentation
Marketing Psychology
ลิสต์ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน สำหรับพนักงานมือโปร 

Topic Summary คนทำงานเตรียมแชร์ไว้ 10 ภาษากายเพื่อการพรีเซนต์งาน เพิ่มสกิลการเป็นมือโปร และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวคุณ! ในบรรดาความรู้เรื่อง Body Language ทั้งหมด ภาษากายที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน…

body languages
Marketing Psychology
เช็กก่อนใคร! ตำแหน่งของ Body Language ตัวช่วยอ่านพฤติกรรมคนจากภาษากาย

Topic Summary อยากรู้ไหม? เวลาอ่านใจคนจากภาษากาย ตำแหน่งของ Body Language ส่วนใดบ้างที่คุณต้องดู และแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญอย่างไร ใคร ๆ ก็อยากเชี่ยวชาญการอ่านใจคนด้วยภาษากาย…

what is psychology of pricing
News
เข้าใจจิตวิทยาราคา พร้อมแจกกลยุทธ์การตั้งราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วกว่าที่เคย

เพิ่งเปิดธุรกิจใหม่ ควรตั้งราคาอย่างไรดี Digital Tips แชร์เทคนิคการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา พร้อมเคลียร์ชัดความหมายของจิตวิทยาราคา อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที! Content Summary  จิตวิทยาราคา คือ การกำหนดราคาสินค้าโดยอ้างอิงจากการรับรู้ทางจิตวิทยา…